ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 57/3ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 12 หน้า : กว้าง 4.8 ซม. ยาว 56.8 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อผู้แต่ง พระโหราธิบดี
ชื่อเรื่อง แบบเรียนภาษาไทยจินดามณี
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ -
สำนักพิมพ์ -
ปีที่พิมพ์ -
จำนวนหน้า ๑๓๔ หน้า
หมายเหตุ สด.๐๐๙ หนังสือสมุดไทยดำ อักษรไทยและอักษรขอม ภาษาไทยและภาษาบาลี เส้นหรดาล
(เนื้อหา) จินดามณีจัดเป็นแบบเรียนภาษาไทยเล่มแรกของสยามประเทศ แต่งขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยพระมหาราชครู จุดประสงค์ในการแต่ง เพื่อให้กุลบุตรไทยได้เล่าเรียนหนังสือไทย อ่านออกเขียนได้ถูกต้องตลอดจนแต่งบทประพันธ์ต่างๆ ได้
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป กรมศิลปากร เปิดรับสมัครอบรมศิลปะภาคฤดูร้อน ครั้งที่ 40 ประจำปี 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 โดยได้รับการตอบรับจากเยาวชนและประชาชนผู้สนใจเป็นอย่างมาก ขณะนี้เหลือเพียงทักษะการวาดการ์ตูน ป.1 – ป.3 (รอบเช้า) ที่ยังว่างอยู่ สามารถสมัครเรียนได้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566 หรือจนกว่าจะเต็ม
ทักษะการวาดการ์ตูน
ป.1 – ป.3 (รอบเช้า - อ.สุธีรา รุ่งเรืองเสาวภาคย์) เต็ม
ป.1 – ป.3 (รอบเช้า - อ.ดินหิน รักพงษ์อโศก) ว่าง 10 ที่
ป.1 – ป.3 (รอบบ่าย - อ.สุทธาสินีย์ สุวุฒโฑ) เต็ม
ป.4 – ป.6 (รอบเช้า - อ.ศันสนีย์ รุ่งเรืองสาคร) เต็ม
ป.4 – ป.6 (รอบบ่าย - อ.ภูเบศร์ สินอำพล) เต็ม
ทักษะการวาดสีน้ำ
ป.4 – ป.6 (รอบบ่าย - อ.ณรงค์เดช ศุขสายชล) เต็ม
ม.1 ขึ้นไป – บุคคลทั่วไป (รอบบ่าย - อ.พัชรินทร์ อนวัชประยูร) เต็ม
ทักษะการวาดเส้น
ม.1 ขึ้นไป – บุคคลทั่วไป (รอบเช้า - อ. อัจจิมา เจริญจิตร ตนานนท์) เต็ม
การรับสมัคร
สมัครและชำระค่าลงทะเบียนได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป
** ไม่รับโอนเงิน ไม่รับสมัคร หรือรับจองทางออนไลน์ใดๆ ทั้งสิ้น **
เอกสารที่ใช้ในการสมัคร
1. รูปถ่าย 1 นิ้ว จำนวน 1 ใบ
2. สำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาบัตรประชาชนของผู้เข้ารับการอบรม
3. ค่าลงทะเบียนคนละ 1,700 บาท ต่อคอร์ส
(รวมอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรมแล้ว)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ฝ่ายวิชาการ โทร. 02 282 2639 หรือที่ Facebook: TheNationalGalleryThailand
เลขทะเบียน : นพ.บ.458/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 62 หน้า ; 4.5 x 52.5 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 159 (163-173) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : ปฐมมูล--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
งาช้างประหลาด
พุทธศตวรรษที่ ๒๔
สมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
นำมาจัดแสดงในนิทรรศการ “Museum Unveiling” เรื่องลึก เบื้องหลังพิพิธภัณฑ์ไทย ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
งาช้างประหลาดกิ่งนี้ มีผิวหยักเป็นปล้อง ๆ เกิดจากความผิดปกติทางธรรมชาติของช้าง ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะพิเศษของงาช้างที่พบได้ยาก และถูกนำมาจัดเก็บและแสดงในหอพิพิธภัณฑ์ตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ ๕ จากบัญชีรายการโบราณวัตถุที่เก็บรักษาในพิพิธภัณฑสถาน พ.ศ. ๒๔๔๐ ระบุว่า รายการที่ ๒๗๘๖ ชื่อวัตถุ “งาช้างปล้อง” จำนวน ๑ กิ่ง
นอกจากนี้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ยังเก็บรวบรวมงาประหลาดแบบต่าง ๆ ไว้อีกหลายกิ่ง อาทิ งาช้างบิดเกลียวจำหลักพระพุทธรูปห้าพระองค์ งาช้างบิดแตกออกเป็นห้ากิ่งพันกัน งาช้างคุด โดยแนวคิดการรวบรวมวัตถุที่เป็นของประหลาดเหล่านี้ปรากฏชัดเจนใน ประกาศเรื่องให้เอาของต่าง ๆ มาตั้งหอมิวเซียม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๙ ความตอนหนึ่งกล่าวว่า
“...ผู้หนึ่งผู้ใดมีของประหลาด ที่จะเอามาตั้งในหอมิวเซียมนี้ ขอให้เอามา ณ วันพุธ เดือนสิบ แรมสามค่ำ จนถึง ณ วันอาทิตย์ เดือนสิบ แรมสิบสี่ค่ำ จะให้มีพนักงานรับแลลงเลขนำเบอร์ ทุก ๆ สิ่งของผู้ที่เอามาแล้วจะให้ตั๋วพิมพ์ใบเสร็จให้กับผู้ที่เอาของมาให้...”
ครั้นต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๗ นายแฮร์มูนนิค เดอ จองก์ห์ (H. Munniks de Jongh) ได้ส่งรูปงาช้างปล้องและจดหมายสอบถามเกี่ยวกับงาช้างปล้องในสยามมาถึงเจ้าพระยาพลเทพ เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการในขณะนั้น และกระทรวงเกษตราธิการได้สอบถามมายังราชบัณฑิตยสภา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีลายพระหัตถ์ตอบกลับลงวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ ความตอนหนึ่งกล่าวว่า
“...ข้าพเจ้ามีความยินดีที่จะตอบได้ว่างาเปนปล้อง ๆ เช่นนี้เปนเอง ที่ในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร กรุงเทพฯ นี้ก็มีงาเหมือนเช่นนั้นอยู่กิ่งหนึ่ง ซึ่งข้าพเจ้าได้ให้ถ่ายรูปฉายาลักษณ์ส่งมายังเจ้าคุณพร้อมกับจดหมายฉะบับนี้เพื่อจะได้ส่งไปยังนายแฮร์มูนนิคเดอจองก์ห์เปนสำคัญ งาที่ผิดธรรมดานอกจากที่เปนปล้อง ๆ อย่างนี้ยังมีอีกหลายอย่าง บางทีกิ่งเปน ๓ กิ่งพันพันก็มี ดังได้ถ่ายรูปมาให้ดูด้วยอีกแผ่น ๑ ข้าพเจ้าสันนิษฐานว่าเกิดแต่โรคของช้างบางตัวที่ทำให้งางอกวิปริตผิดธรรมดาไปเช่นนั้น...”
อ้างอิง
กรมศิลปากร. สมเด็จพระปิยมหราช พระผู้พระราชทานกำเนิดพิพิธภัณฑสถานเพื่อประชา. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๗.
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (๔) ศธ.๒.๑.๑/๑๖๔. เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ กรมศิลปากร เรื่อง ขอให้ช่วยพิจารณางาช้างซึ่งเปนปล้อง ๆ (๗ มี.ค. ๒๔๗๒ - ๓๐ ก.พ. ๒๔๗๔).
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.๕ น.๔๙.๒/เอกสารกระทรวงนครบาล รัชกาลที่ ๕. เรื่อง บัญชีสิ่งของพิพิธภัณฑ์ (๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๐).
องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านตั๋วเมืองน่ารู้...ร่วมอนุรักษ์และสืบสานอักษรธรรมล้านนาตอน "ผางประทีป"ผางประทีป หรือ ผางประทีส คือ ประทีปที่เป็นเครื่องจุดไฟเป็นพุทธบูชาหรือบูชาสืบอายุ หรืออีกนัยหนึ่งเป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้จุดแทนเทียนให้แสงสว่างเวลากลางคืน คำว่า "ประทีป" หมายถึง แสงไฟ คำว่า "ผาง" หมายถึง ภาชนะรองรับน้ำมันหรือไขที่เป็นเชื้อเพลิงของประทีปเอกสารอ้างอิง- ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รุ่งเรืองศรี. พจนานุกรมล้านนา - ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง. เชียงใหม่; โครงการสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ. ปรับปรุงครั้งที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๗, หน้า ๔๕๔.#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน #อักษรธรรมล้านนา #ผางประทีปอ่านเพิ่มเติมใน องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เรื่อง "อานิสงส์ผางประทีป" >> https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=750008277164519&id=100064660602557&mibextid=Nif5oz
ชิ้นส่วนธรรมจักรศิลา พบที่เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เก็บรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
ชิ้นส่วนธรรมจักรสลักจากหิน กว้าง ๓๗ เซนติเมตร ยาว ๗๕ เซนติเมตร อยู่ในสภาพชำรุดพบเพียงครึ่งวง เป็นธรรมจักรประเภทสลักทึบ ไม่เจาะช่องว่างระหว่างซี่กำ ตรงกลางเป็นดุมกลมยื่นออกมา ล้อมด้วยแถบลายกลีบบัว ถัดออกมาเป็นส่วนซี่กำสลักลายคล้ายหัวเสา ส่วนกงล้อสลักลวดลายเม็ดเพชรพลอยสลับด้วยลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ขนาบด้วยแถบลายจุดไข่ปลาหรือลายเม็ดประคำ กรอบนอกของกงล้อสลักลายเปลวไฟ ลวดลายที่ปรากฏเป็นลวดลายที่นิยมสลักบนธรรมจักรในสมัยทวารวดี ซึ่งยังพบบนธรรมจักรศิลา ที่พบจากการขุดแต่งเจดีย์หมายเลข ๒ และ ๑๑ เมืองโบราณอู่ทองด้วย กำหนดอายุชิ้นส่วนธรรมจักรนี้ในสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ - ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว
ธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์แทนเหตุการณ์การแสดงธรรมครั้งแรกของพระพุทธเจ้า หรือการปฐมเทศนา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณาสี ประเทศอินเดีย โดยนิยมทำคู่กับประติมากรรมรูปกวางหมอบ การใช้สัญลักษณ์รูปธรรมจักรพบตั้งแต่ศิลปะอินเดียโบราณ ราวพุทธศตวรรษที่ ๓ – ๖ (ประมาณ ๒,๐๐๐ - ๒,๓๐๐ ปีมาแล้ว) จากหลักฐานภาพสลักรูปธรรมจักรบนเสาโตรณะ ที่สถูปสาญจี ถือเป็นภาพสลักที่เห็นถึงความสมบูรณ์ขององค์ประกอบของเสาธรรมจักรที่ยังเหลืออยู่ ปัจจุบันยังพบร่องรอยการตั้งเสาธรรมจักร ณ สถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น สถูปที่เมืองสารนาถซึ่งเป็นสถานที่แสดงปฐมเทศนาของพระพุทธเจ้า ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชได้สร้างเสาธรรมจักรพร้อมจารึกตั้งไว้ด้านหน้าของสถูป ต่อมาเมื่อความนิยมในการสร้างพระพุทธรูปได้แพร่หลายขึ้น การสร้างเสาธรรมจักรในประเทศอินเดียจึงลดลง การสร้างรูปธรรมจักรจึงปรากฏเป็นองค์ประกอบร่วมกับพระพุทธรูปตอนปฐมเทศนา
บริเวณเมืองโบราณอู่ทองพบธรรมจักรศิลารวมทั้งสิ้น ๔ ชิ้น ที่สำคัญคือธรรมจักรศิลาพร้อมเสาและแท่นฐานรองรับ พบจากขุดแต่งเจดีย์หมายเลข ๑๑ ซึ่งพบเพียงชุดเดียวในประเทศไทย ทำให้สันนิษฐานได้ว่าในสมัยทวารวดีมีการประดิษฐานธรรมจักรบนเสาพร้อมแท่นฐานรองรับ ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าศาสนสถาน ตามคติที่รับมาจากอินเดีย นอกจากนี้ยังพบรูปธรรมจักรหันด้านสันออก ขนาบด้วยกวางหมอบเหลียวหลังทั้ง ๒ ข้าง บริเวณส่วนฐานของพระพุทธรูปศิลาแสดงพุทธประวัติตอนแสดงปฐมเทศนาด้วย โบราณวัตถุดังกล่าวนี้ เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงถึงการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในดินแดนไทยในระยะแรก เมื่อกว่าพันปีมาแล้ว
เอกสารอ้างอิง
เชษฐ์ ติงสัญชลี. ลวดลายในศิลปะทวารวดี : การศึกษาที่มาและการตรวจสอบกับศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ-วกาฏกะ.(พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๖๕.
ธนิต อยู่โพธิ์. ธรรมจักร. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร , ๒๕๐๘.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทวารวดีศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. (พิมพ์ครั้งที่ ๒). นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.
อมราลักษณ์ ทรัพย์สุคนธ์. “วิวัฒนาการของลวดลายบนธรรมจักรสมัยทวารวดี”. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์บัณฑิตคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๑๕.
ที่มาภาพประกอบ
ห้องสมุดดิจิตอล ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล เว็บไซต์ http://www.thapra.lib.su.ac.th/supatlib