...

รายงานการเดินทางไปราชการต่างประเทศ โครงการส่งเสริมพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนไปประกอบศาสนกิจ ณ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ประเทศอินเดีย-เนปาล ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ รุ่นที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๑๑ – ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๘

รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศอินเดีย-เนปาล

๑.      ชื่อโครงการ : โครงการส่งเสริมพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนไปประกอบศาสนกิจ ณ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ประเทศอินเดีย-เนปาล ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘

 

๒.      วัตถุประสงค์ :

๑.    เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเป็นการน้อมฯ รับสนองต่อพระราชปณิธานที่ทรงมีพระเมตตาในการสถาปนาจัดตั้งกองทุนเผยแผ่พระธรรมในพระพุทธศาสนาตามพระราชประสงค์

๒.    เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของระเบียบกรมการศาสนาว่าด้วยกองทุนส่งเสริมการ   เผยแผ่พระพุทธศาสนาเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๖ (๒) เพื่อใช้ดอกผลของเงินทุนในการบริหารจัดการส่งเสริมให้พระสงฆ์และพุทธบริษัทไปประกอบศาสนกิจ ณ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล เพื่อประโยชน์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

๓.    เพื่อเปิดโอกาสให้พระภิกษุผู้ประกอบคุณงามความดีได้ไปจาริกแสวงบุญ และเรียนรู้พระพุทธศาสนาจากประสบการณ์จริงในดินแดนพุทธภูมิ สร้างความมั่นใจในศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา เพื่อนำมาถ่ายทอดสู่เด็ก เยาวชน และประชาชน

๔.    เพื่อเป็นรางวัลชีวิต และเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้กับพุทธบริษัทผู้เสียสละอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนาและประกอบคุณงามความดีเพื่อแผ่นดิน

๓.      กำหนดเวลา : ๑๑-๑๘ มีนาคม ๒๕๕๘

๔.      สถานที่ : ประเทศอินเดีย-เนปาล

๕.      หน่วยงานผู้จัด : กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

๖.      หน่วยงานสนับสนุน : กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

๗.      กิจกรรม : ศึกษาดูงาน ณ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ประเทศอินเดีย-เนปาล

๘.      คณะผู้แทนไทย :     ๑๒๐ คน โดยมีผู้แทนจากกรมศิลปากร ดังนี้

๑.      สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

นางสาลินี ชุ่มวรรณ            นักจดหมายเหตุชำนาญการพิเศษ

๒.      สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

นางสาวอัจฉรา แข็งสาริกิจ    ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ

๙.      สรุปสาระของกิจกรรม :

 

คณะผู้เดินทางไปประกอบศาสนกิจ ณ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล

 

 

๑๐.   ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม

ตลอดระยะเวลา ๗ วัน เปรียบเสมือนเป็นการเดินตามรอยพระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งยังสัมผัสได้ถึงพลังแห่งความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ โดยเฉพาะพระเจ้าอโศกมหาราช ที่ทรงสร้างหลายสิ่งอย่างเพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในดินแดนชมพูทวีปแห่งนี้

ไม่ว่าจะเป็นพระมหาเจดีย์พุทธคยา ซึ่งแต่เดิมพระเจ้าอโศกมหาราชโปรดให้สร้างเป็นวิหารขนาดเล็ก ต่อมากษัตริย์แห่งราชวงศ์กุษาณะโปรดให้ขยายเป็นเจดีย์ซ้อนทับ จนสมัยราชวงศ์ปาละได้บูรณะปฏิสังขรณ์และขยายให้ใหญ่และสูงกว่าเดิม

ขณะที่เดินขึ้นเขาคิชฌกูฏ เมืองราชคฤห์ เพื่อนมัสการพระคันธกุฎีของพระพุทธองค์ หลายคนอาจคิดว่าต้องใหญ่โตหรือหรูหรา แต่แท้จริงแล้วเป็นเพียงพื้นที่สี่เหลี่ยมขนาดพอดีตัว ไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวก เป็นเพียงสถานที่อันเงียบสงบ เหมาะแก่การเจริญภาวนา ตรงนี้เองที่ชี้ให้เราเห็นว่า ศาสนาพุทธของแต่ละประเทศมีความเชื่อหรือการปฏิบัติที่แตกต่างกัน แต่พระพุทธเจ้ายังคงเป็นศูนย์รวมจิตใจของทุกคนไว้ด้วยกันโดยไม่มีความแตกแยก

เพียง ๗ วัน กับโครงการส่งเสริมพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนไปประกอบศาสนกิจ ณ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ประเทศอินเดีย-เนปาล ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ แม้จะเป็นเวลาเพียงน้อยนิด แต่ก็เป็นเสมือนก้าวแรกของการหยั่งลึกแห่งศรัทธาที่ผ่านการเรียนรู้และสัมผัสด้วยตาตนเอง ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์จริงที่สามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต และเพิ่มขวัญและกำลังใจที่จะประกอบคุณงามความดีต่อไป

(จำนวนผู้เข้าชม 891 ครั้ง)


Messenger