ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งเตาเผาภาชนะสมัยล้านนาจากกระบวนการทางโบราณคดี
องค์ความรู้เรื่อง “ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งเตาเผาภาชนะสมัยล้านนาจากกระบวนการทางโบราณคดี”
โดย นางสาวนงไฉน ทะรักษา นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่
.
ปัจจุบัน กรมศิลปากรได้ดำเนินการสำรวจแหล่งเตาเผาเครื่องถ้วยในสมัยล้านนาพบ จำนวน 10 แหล่งเตา ได้แก่ แหล่งเตาสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ แหล่งเตาเวียงกาหลง (และแหล่งเตาวังเหนือ จ.ลำปาง) แหล่งเตาพาน จังหวัดเชียงราย แหล่งเตาเวียงบัว แหล่งเตาทุ่งเตาไห แหล่งเตาห้างฉัตร แหล่งเตาบ้านแม่ทะ และแหล่งเตาเสริมงาม จังหวัดลำปาง และแหล่งเตาบ่สวก จังหวัดน่าน
.
ยังมีภาชนะที่พบจากแหล่งโบราณคดีและโบราณสถาน ซึ่งเชื่อว่ามาจากแหล่งเตาที่ยังไม่ได้รับการค้นพบอีก 2 แหล่งเตา คือ แหล่งเตาเชียงแสน ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะตั้งอยู่ใกล้กับเมืองเชียงแสน และเป็นบริเวณที่มีแหล่งดินที่ใช้ในการผลิตเครื่องถ้วย อันเหมาะสม และอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ โดยอาจจะสัมพันธ์กับแหล่งเตาที่มีผู้ให้ข้อมูลว่าตั้งอยู่ในตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย แหล่งเตาอีกแห่งที่ยังไม่ได้รับการค้นพบ คือ แหล่งเตาหริภุญไชย ซึ่งชิ้นส่วนภาชนะจากแหล่งเตานี้ มักพบทั่วไปในแหล่งโบราณคดีที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมหริภุญไชย และน่าจะมีการผลิตมาตั้งแต่สมัยหริภุญไชยจนถึงสมัยล้านนาในราวพุทธศตวรรษที่ 19-20
.
แหล่งเตาเผาภาชนะในสมัยล้านนา มีอายุสมัยเฉลี่ยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 - พุทธศตวรรษที่ 23 โดยแหล่งเตาเหล่านี้ มักจะตั้งอยู่ห่างจากเมืองหลักหรือเมืองสำคัญเป็นระยะทางไม่เกิน 30 กิโลเมตร แหล่งเตาที่ตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบเดียวกัน จะมีระยะห่างระหว่างแหล่งเตาประมาณ 70-75 กิโลเมตร (ยกเว้น แหล่งเตาเวียงกาหลงแหล่งเตาสันกำแพง ซึ่งแม้จะตั้งอยู่คนละแอ่งที่ราบ แต่ก็มีระยะห่างเพียง 73 กิโลเมตร) บริเวณที่ตั้งของเตาเผาจะอยู่ใกล้กับแหล่งทรัพยากรสำคัญ คือ ดินและแหล่งน้ำ จึงมักจะอยู่ในบริเวณหุบเขา ใกล้กับที่ราบ แต่ก็สามารถเข้าถึงได้ง่าย
.
สภาพของแหล่งโบราณคดีประเภทเตาเผาภาชนะเหล่านี้ จะพบเนินเล็กๆเตี้ยๆ สลับกับที่ราบ คล้ายที่ลอนลูกคลื่น แต่ตำแหน่งของเนินจะอยู่ค่อนข้างใกล้กันมาก หลักฐานที่พบบนผิวดินมักจะเป็นชิ้นส่วนภาชนะที่บิดเบี้ยว (หรือเป็นขยะ ซึ่งเกิดจากความผิดพลาดระหว่างการเผา) ชิ้นส่วนกี๋ (สิ่งที่ใช้รองภาชนะในเตาเผา) และชิ้นส่วนดินเผาไฟ (คือ ผนังเตา) กระจายอยู่ทั่วบริเวณ
.
แหล่งโบราณคดีประเภทนี้ จะไม่พบสิ่งก่อสร้างที่เป็นตัวกำหนดหรือบอกขอบเขต หรือเรียกได้ว่าจากหลักฐานทางโบราณคดี ไม่พบสิ่งบ่งชี้ถึงการประกอบกิจกรรมอย่างอื่นนอกจากการผลิตภาชนะ
ยกเว้น แหล่งเตาเวียงบัวและแหล่งเตาเวียงกาหลง ที่พบคูน้ำ-คันดิน อันเป็นสิ่งกำหนดขอบเขตชุมชนหรือเมืองโบราณสมัยล้านนาอย่างชัดเจน จึงเป็นเมืองที่มีเตาเผาภาชนะตั้งอยู่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของเมืองด้วย
.
จากการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีพบว่า แหล่งโบราณคดีและโบราณสถานมักจะพบภาชนะจากแหล่งเตาท้องถิ่นหรือแหล่งเตาที่ตั้งอยู่ใกล้ที่สุดเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ภาชนะจากแหล่งเตาพานและแหล่งเตาสันกำแพงสามารถพบได้ทั่วไปตามแหล่งโบราณคดี/โบราณสถานหลายพื้นที่ข้ามแอ่งที่ราบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แหล่งเตาสองแห่งนี้ เป็นแหล่งผลิตเครื่องถ้วยที่สำคัญของอาณาจักร ส่วนเครื่องถ้วยจากแหล่งเตาเวียงกาหลงนั้น ก็พบกระจายตัวหลายพื้นที่และข้ามแอ่งที่ราบเช่นกัน แต่จำนวนที่พบมีจำนวนน้อยมาก เมื่อเทียบอัตราส่วนกับชิ้นส่วนภาชนะทั้งหมดที่พบในแหล่งโบราณคดีแห่งหนึ่ง จึงอาจกล่าวได้ว่า เครื่องถ้วยเวียงกาหลงเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมมากเช่นกัน แต่น่าจะเป็นสินค้าที่มีราคาแพง สังเกตได้จากคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่นับได้ว่ามีความประณีตมากที่สุดในบรรดาแหล่งเตาเผาของล้านนา ทั้งความละเอียดของเนื้อดิน ความหนาของเนื้อภาชนะ การเคลือบที่ทำได้บางมาก แต่สม่ำเสมอตลอดทั้งใบ และฝีมือการเขียนลายของช่างที่ลงฝีแปรงได้อย่างหนักแน่นและคมชัด
โดย นางสาวนงไฉน ทะรักษา นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่
.
ปัจจุบัน กรมศิลปากรได้ดำเนินการสำรวจแหล่งเตาเผาเครื่องถ้วยในสมัยล้านนาพบ จำนวน 10 แหล่งเตา ได้แก่ แหล่งเตาสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ แหล่งเตาเวียงกาหลง (และแหล่งเตาวังเหนือ จ.ลำปาง) แหล่งเตาพาน จังหวัดเชียงราย แหล่งเตาเวียงบัว แหล่งเตาทุ่งเตาไห แหล่งเตาห้างฉัตร แหล่งเตาบ้านแม่ทะ และแหล่งเตาเสริมงาม จังหวัดลำปาง และแหล่งเตาบ่สวก จังหวัดน่าน
.
ยังมีภาชนะที่พบจากแหล่งโบราณคดีและโบราณสถาน ซึ่งเชื่อว่ามาจากแหล่งเตาที่ยังไม่ได้รับการค้นพบอีก 2 แหล่งเตา คือ แหล่งเตาเชียงแสน ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะตั้งอยู่ใกล้กับเมืองเชียงแสน และเป็นบริเวณที่มีแหล่งดินที่ใช้ในการผลิตเครื่องถ้วย อันเหมาะสม และอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ โดยอาจจะสัมพันธ์กับแหล่งเตาที่มีผู้ให้ข้อมูลว่าตั้งอยู่ในตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย แหล่งเตาอีกแห่งที่ยังไม่ได้รับการค้นพบ คือ แหล่งเตาหริภุญไชย ซึ่งชิ้นส่วนภาชนะจากแหล่งเตานี้ มักพบทั่วไปในแหล่งโบราณคดีที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมหริภุญไชย และน่าจะมีการผลิตมาตั้งแต่สมัยหริภุญไชยจนถึงสมัยล้านนาในราวพุทธศตวรรษที่ 19-20
.
แหล่งเตาเผาภาชนะในสมัยล้านนา มีอายุสมัยเฉลี่ยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 - พุทธศตวรรษที่ 23 โดยแหล่งเตาเหล่านี้ มักจะตั้งอยู่ห่างจากเมืองหลักหรือเมืองสำคัญเป็นระยะทางไม่เกิน 30 กิโลเมตร แหล่งเตาที่ตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบเดียวกัน จะมีระยะห่างระหว่างแหล่งเตาประมาณ 70-75 กิโลเมตร (ยกเว้น แหล่งเตาเวียงกาหลงแหล่งเตาสันกำแพง ซึ่งแม้จะตั้งอยู่คนละแอ่งที่ราบ แต่ก็มีระยะห่างเพียง 73 กิโลเมตร) บริเวณที่ตั้งของเตาเผาจะอยู่ใกล้กับแหล่งทรัพยากรสำคัญ คือ ดินและแหล่งน้ำ จึงมักจะอยู่ในบริเวณหุบเขา ใกล้กับที่ราบ แต่ก็สามารถเข้าถึงได้ง่าย
.
สภาพของแหล่งโบราณคดีประเภทเตาเผาภาชนะเหล่านี้ จะพบเนินเล็กๆเตี้ยๆ สลับกับที่ราบ คล้ายที่ลอนลูกคลื่น แต่ตำแหน่งของเนินจะอยู่ค่อนข้างใกล้กันมาก หลักฐานที่พบบนผิวดินมักจะเป็นชิ้นส่วนภาชนะที่บิดเบี้ยว (หรือเป็นขยะ ซึ่งเกิดจากความผิดพลาดระหว่างการเผา) ชิ้นส่วนกี๋ (สิ่งที่ใช้รองภาชนะในเตาเผา) และชิ้นส่วนดินเผาไฟ (คือ ผนังเตา) กระจายอยู่ทั่วบริเวณ
.
แหล่งโบราณคดีประเภทนี้ จะไม่พบสิ่งก่อสร้างที่เป็นตัวกำหนดหรือบอกขอบเขต หรือเรียกได้ว่าจากหลักฐานทางโบราณคดี ไม่พบสิ่งบ่งชี้ถึงการประกอบกิจกรรมอย่างอื่นนอกจากการผลิตภาชนะ
ยกเว้น แหล่งเตาเวียงบัวและแหล่งเตาเวียงกาหลง ที่พบคูน้ำ-คันดิน อันเป็นสิ่งกำหนดขอบเขตชุมชนหรือเมืองโบราณสมัยล้านนาอย่างชัดเจน จึงเป็นเมืองที่มีเตาเผาภาชนะตั้งอยู่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของเมืองด้วย
.
จากการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีพบว่า แหล่งโบราณคดีและโบราณสถานมักจะพบภาชนะจากแหล่งเตาท้องถิ่นหรือแหล่งเตาที่ตั้งอยู่ใกล้ที่สุดเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ภาชนะจากแหล่งเตาพานและแหล่งเตาสันกำแพงสามารถพบได้ทั่วไปตามแหล่งโบราณคดี/โบราณสถานหลายพื้นที่ข้ามแอ่งที่ราบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แหล่งเตาสองแห่งนี้ เป็นแหล่งผลิตเครื่องถ้วยที่สำคัญของอาณาจักร ส่วนเครื่องถ้วยจากแหล่งเตาเวียงกาหลงนั้น ก็พบกระจายตัวหลายพื้นที่และข้ามแอ่งที่ราบเช่นกัน แต่จำนวนที่พบมีจำนวนน้อยมาก เมื่อเทียบอัตราส่วนกับชิ้นส่วนภาชนะทั้งหมดที่พบในแหล่งโบราณคดีแห่งหนึ่ง จึงอาจกล่าวได้ว่า เครื่องถ้วยเวียงกาหลงเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมมากเช่นกัน แต่น่าจะเป็นสินค้าที่มีราคาแพง สังเกตได้จากคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่นับได้ว่ามีความประณีตมากที่สุดในบรรดาแหล่งเตาเผาของล้านนา ทั้งความละเอียดของเนื้อดิน ความหนาของเนื้อภาชนะ การเคลือบที่ทำได้บางมาก แต่สม่ำเสมอตลอดทั้งใบ และฝีมือการเขียนลายของช่างที่ลงฝีแปรงได้อย่างหนักแน่นและคมชัด
(จำนวนผู้เข้าชม 714 ครั้ง)