ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ

          นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากรได้เตรียมการเปิดให้ประชาชนเข้าชมโบราณวัตถุที่ได้รับมอบจากสหรัฐอเมริกาและผู้บริจาคชาวไทย หลังจากพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับมอบโบราณวัตถุดังกล่าวในนามของรัฐบาล ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายนที่ผ่านมา โดยครอบพระเศียรทองคำสมัยล้านนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๑ ที่ได้รับมอบจากครอบครัวชาวอเมริกัน จะจัดแสดงที่ห้องประวัติศาสตร์โบราณคดีล้านนา อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ ส่วนเครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรีจากแหล่งเตาจังหวัดบุรีรัมย์ อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๙ ที่รับมอบจากนายโยธิน และนางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ จัดแสดงที่ห้องประวัติศาสตร์โบราณคดีสมัยลพบุรี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งแต่วันพุธที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๕ เป็นต้นไป           อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ขณะนี้ทางสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติได้ดำเนินการพัฒนารูปแบบ การจัดแสดงโบราณวัตถุที่ห้องประวัติศาสตร์โบราณคดีสมัยลพบุรี อาคารมหาสุรสิงหนาท แล้วเสร็จ รวมถึงการจัดแสดงเครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรีจากแหล่งเตาจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน ๑๖๔ รายการ ที่ได้รับมอบใหม่ในครั้งนี้ เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้เข้าชมและศึกษาหาความรู้ตามเจตนารมณ์ของผู้มอบ และให้คนไทยโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ได้ภาคภูมิใจในความสามารถของคนไทยในอดีตที่เป็นศูนย์กลางการผลิตเครื่องปั้นดินเผาคุณภาพดีมาแต่โบราณ อีกทั้งยังเป็นสินค้าส่งออกไปยังราชสำนักเมืองพระนครและเมืองอื่นภายในอาณาจักรเขมรโบราณ          อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวอีกว่า “เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ กรมศิลปากรได้ดำเนินการศึกษาขุดค้นเตาเผา โบราณ ซึ่งพบเป็นจำนวนมากในอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ต่อมาได้สร้างอาคารคลุมกลุ่มเตาเผา พร้อมจัดแสดงเป็นศูนย์ข้อมูลสำหรับผู้สนใจเข้าชม ๒ แห่ง ประกอบด้วย ศูนย์ข้อมูลแหล่งเตาเผาโบราณบ้านสวาย และศูนย์ข้อมูลแหล่งเตาโบราณนายเจียน จึงขอแนะนำให้ผู้ที่ได้เข้าชมการจัดแสดงเครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรีจากแหล่งเตาจังหวัดบุรีรัมย์ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และมีโอกาสเดินทางไปยังจังหวัดบุรีรัมย์ เข้าเยี่ยมชมแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผากลุ่มนี้ เป็นการเติมเต็มเรื่องราวของเครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรีที่ได้รับมอบในครั้งนี้ด้วย”แหล่งเตาเผาโบราณบ้านสวายแหล่งเตาโบราณนายเจียน




การเกิดโรคระบาดนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกพื้นที่ ไม่เว้นกระทั่งพื้นที่ห่างไกลซึ่งเป็นเกาะกลางทะเลอย่าง "เกาะสมุย" ที่มีการตรวจพบผู้ติดเชื้อจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ ไวรัสโควิด-19 เนื่องจากปัจจุบันการพัฒนาระบบคมนาคมมีความทันสมัยมากขึ้น การเดินทางระหว่างแผ่นดินใหญ่กับพื้นที่เกาะสมุยจึงมีความสะดวกสบายกว่าในอดีต จึงส่งผลต่อการแพร่ระบาดของโรคชนิดต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นเช่นเดียวกัน หากกล่าวถึงการเกิดโรคระบาดในพื้นที่เกาะสมุย นอกจาก ไวรัสโควิด -19 แล้ว เกาะสมุยเคยประสบปัญหาสถานการณ์การเกิดโรคระบาดมาแล้ว แต่เป็นปัญหาการเกิดโรคระบาดในสุกร จากเอกสารจดหมายเหตุ มณฑลชุมพร ชุด จังหวัดสุราษฎร์ธานี สฎ 0016 ที่ว่าการอำเภอพุนพิน พบว่า ในปี พ.ศ. 2458 สุกร ในพื้นหมู่ที่ 5 ตำบลมะเร็จ ท้องที่อำเภอเกาะสมุย เกิดโรคระบาดตาย 45 ตัว โดยมีการสั่งการให้ตั้งด่านกักกันการขนย้ายสุกร และเมื่อโรคระบาดสงบลง จึงยกเลิกด่านและอนุญาตให้พ่อค้าจากอำเภอเกาะสมุย สามารถค้าขายได้ตามปกติ   รายละเอียดสามารถมาศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา ถนนกาญจนวนิช ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ๙๐๑๑๐ โทร. ๐ ๗๔๒๑ ๒๕๖๒, ๐ ๗๔๒๑ ๒๔๗๙ โทรสาร ๐ ๗๔๒๑ ๒๑๘๒ E-mail : national.archives.songkhla@gmail.com Website : http://www.finearts.go.th/songkhlaarchives/ 


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           53/6ประเภทวัสดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               42 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


         มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ วันประสูติสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี          สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นพระราชธิดาพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ที่ประสูติแต่พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ประสูติ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาศ ในหมู่พระมหามณเฑียร ภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๔๖๘          เมื่อแรกประสูติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา  ต่อมาเมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๐ เปลี่ยนคำนำพระนามเป็น สมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา ครั้นถึงรัชกาลที่ ๘ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๗๘ โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำนำพระนามเป็น สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา ในรัชกาลที่ ๙ เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๑๒ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศทหาร ตำแหน่งพันโทหญิง ผู้บังคับการพิเศษ ในกองพันทหารราบที่ ๒ กรมผสมที่ ๕         สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๙ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔ สิริพระชันษา ๘๕ ปี โปรดเกล้าฯ ให้จัดสัปตปฎลเศวตฉัตร (เศวตฉัตร 7 ชั้น) ถวายเป็นเครื่องเพิ่มพระเกียรติยศเป็นพิเศษ พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๕        สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี นับเป็นพระราชปนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากพระบรมชนกนาถ   ภาพ : สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           37/4ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              56 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 132/3เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 168/3เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


ฟ้อนม่านมุยเชียงตา         ฟ้อนม่านมุยเชียงตา การฟ้อนแบบหนึ่ง ที่ได้รับอิทธิพลจากพม่าถ่ายทอดผ่านท่ารำ การแต่งกาย ดนตรี บทร้อง ซึ่งมีการพัฒนาขึ้นในช่วงสมัยของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ผสมผสานท่วงทำนองดนตรีพม่า และเพลงไทยเดิม อาทิ เพลงโยดายา เว่นซัยนันดา กลุ่มเพลงที่พม่าได้รับอิทธิพลจากกรุงศรีอยุธยาเมื่อครั้งเสียกรุง มีเนื้อร้องเป็นภาษาแปลงให้คล้ายกับสำเนียงพม่า ในปัจุบันไม่สามารถแปลความหมายได้         เมื่อครั้งพระราชชายาเจ้าดารารัศมี เสด็จกลับมาประทับ ณ เมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ ได้ทรงนำเพลงและรูปแบบการแสดงด้านนาฏศิลป์ จากกรุงเทพฯ มาผสมผสานกับการฟ้อนพื้นเมือง เกิดเป็นการฟ้อนรูปแบบใหม่ กำหนดให้เป็นมาตรฐานหลากหลายชุดการแสดง อาทิ ฟ้อนม่านมุยเชียงตาฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนกำเบ้อ (ผีเสื้อ) ฟ้อนม่านแม่เล้ ระบำซอ ฟ้อนโยค เป็นต้น          จากบทความเรื่องฟ้อนม่าน ของหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิสกุล ในวารสารศิลปากร ปีที่ ๒ เล่ม ๑ มิถุนายน ๒๔๙๑ ความว่า “ข้าพเจ้าได้ดูฟ้อนม่านครั้งแรกเมื่อตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ขึ้นไปเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ เนื่องแต่ประเพณีทางเหนือ มีการทำขวัญแก่ผู้ที่ได้ไปถึงเมืองครั้งแรก พระราชชายาเจ้าดารารัศมี และเจ้าหลวงแก้วนวรัฐ จึงทรงทำขวัญประทานข้าพเจ้าและน้อง ๆ ซึ่งขึ้นไปถึงเชียงใหม่เป็นครั้งแรก และมีฟ้อนในเวลากลางคืน เราได้ดูฟ้อนเมือง (เชียงใหม่) ของพระราชชายาที่ ๆ พักในคืนแรก และดูฟ้อนม่านของเจ้าหลวงที่คุ้มในคืนรุ่งขึ้น ผู้ฟ้อนเป็นหญิงสาวแต่งตัวแบบพะม่า นุ่งซิ่นยาวถึงพื้น ใส่เสื้อเอวสั้น มีลวดอ่อนงอนขึ้นไปจากเอวเล็กน้อยและแขนเสื้อยาวถึงข้อมือ มีแพรห่มสีต่าง ๆ คล้องคอทิ้งยาวลงมาถึงเข่า เกล้ามวยบนกลางหัวและปล่อยชายผมลงมาข้าง ๆ บนบ่า มีดอกไม้สดใส่รอบมวยเป็นพวงมาลัย และอุบะยาวห้อยลงมากับชายผม ในเวลากราบลง ๓ หน พร้อมกับคำร้องว่า - สู่เค สู่ - เค สู่ – เค นั้น งามอ่อนหวานจับหูจับตาเป็นอย่างยิ่ง ทั้งทำนองเพลงและท่าฟ้อนรำเห็นได้ว่า คือเพลงช้าและเพลงเร็วนั้นเอง” ฟ้อนม่านมุยเชียงตานี้ นับว่าเป็นการแสดงที่พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ได้ผสมผสานท่วงท่า ท่วงทำนอง การแต่งกาย อันเป็นเอกลักษณ์ของพม่าและล้านนาเข้าด้วยกัน จนกลายเป็นรูปแบบการแสดงนาฏศิลป์ล้านนาอันงดงาม และมีการนำออกแสดงหลายครั้งในวาระสำคัญต่าง ๆ อาทิ การรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี พุทธศักราช ๒๔๖๙ เมื่อครั้งเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ จวบจนกระทั่งปัจจุบันก็ยังคงได้รับการสืบทอด และนำออกแสดงในวาระสำคัญต่าง ๆ ซึ่งได้กลายเป็นเอกลักษณ์ของรูปแบบนาฏศิลป์ล้านนาที่ได้รับการผสมผสานศิลปะการแสดงของพม่าอันงดงาม ติตตราตรึงใจผู้ที่ได้ชมเสมอมาผู้เรียบเรียง : นายวีระยุทธ ไตรสูงเนิน นักจดหมายเหตุชำนาญการ ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติอ้างอิง๑. สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า. ๒๕๕๘. จดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนิร เลียบมณฑลฝ่ายเหนือ พระพุทธศักราช ๒๔๖๙. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).๒. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เจ้าดารารัศมี. ๒๕๕๗. กรุงเทพฯ : บริษัท วินอินดีไซน์ จำกัด๓. พูนพิศมัย ดิศกุล, หม่อมเจ้า. ๒๔๙๑  “ฟ้อนม่าน หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล.”  วารสารศิลปากร, ๒(๑), ๒๒-๒๕.


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           21/5ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                46 หน้า : กว้าง 5.2 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           57/4ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                26 หน้า : กว้าง 4.8 ซม. ยาว 56.8 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


         ‘พระพุทธรูปปางสมาธิ’ ของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี          100 ปี ศิลปสู่สยาม สุนทรีศิลปแห่งนวสมัย          พ.ศ. 2495 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี มีดำริให้จัดงานเฉลิมฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เนื่องในวโรกาสมหามงคลกาลที่พระพุทธศักราชเวียนมาบรรจบครบ 2,500 ปี ในวันวิสาขบูชา พ.ศ. 2500 โดยให้มีการก่อสร้าง ‘พุทธมณฑล’ ณ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เพื่อเป็นพุทธานุสรณียสถานและศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของประเทศ รัฐบาลได้มอบหมายให้กรมศิลปากร ซึ่งมี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี คณบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้ออกแบบและปั้นหล่อพระพุทธรูปพระประธานของพุทธมณฑล          หนังสือ ‘พุทธมณฑล’ โดย คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสืออนุสรณ์พุทธบูชา ในคณะกรรมการอำนวยการจัดสร้างพุทธมณฑล บันทึกไว้ว่า ศาสตราจารย์ศิลป์ได้ปั้นพระพุทธรูปไว้ 4 แบบ นำเสนอต่อคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณาให้ความเห็น คณะกรรมการฯ ได้คัดเลือกพระพุทธรูปปางลีลา ซึ่งเป็นต้นแบบให้กับพระศรีศากยะทศพลญาณ พระประธานที่ประดิษฐานเป็นศูนย์กลางของพุทธมณฑล          ‘พระพุทธรูปปางสมาธิ’ ฝีมือศาสตราจารย์ศิลป์ เดิมตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ ซึ่งเป็นห้องทำงานของท่าน จึงอาจเป็น 1 ใน 4 ของพระพุทธรูปต้นแบบที่ท่านได้ปั้นหล่อไว้เพื่อนำไปเสนอต่อคณะกรรมการฯ พระพุทธรูปองค์นี้เป็นผลงานที่ผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างความเหมือนจริงตามธรรมชาติ และรูปแบบเหนือจริงตามอุดมคติที่อ้างอิงจาก ‘คัมภีร์มหาบุรุษลักษณะ’ โดยมีพุทธลักษณะที่สำคัญ คือ พระพักตร์นิ่งสงบ พระเนตรเหลือบต่ำ มีลักษณะสมจริงเหมือนใบหน้าของมนุษย์ พระรัศมีเป็นเปลวเพลิง ตั้งอยู่บนอุษณีษะ (กะโหลกนูน) คล้ายมวยผม พระเกศาเป็นรูปก้นหอย ครองจีวรห่มเฉียง ริ้วจีวรเป็นธรรมชาติ ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานบัว          ‘พระพุทธรูปปางสมาธิ’ ของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี จัดแสดงอยู่ในนิทรรศการพิเศษ “100 ปี ศิลปสู่สยาม สุนทรียศิลปแห่งนวสมัย” ระหว่างวันที่ 18 มกราคม – 9 เมษายน 2566 ณ อาคารนิทรรศการ 4 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เปิดให้เข้าชมวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 9.00 – 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)


ชื่อผู้แต่ง                  - ชื่อเรื่อง                   ลมสูรย์ – ลมจันทร์ นิมิตท้องฟ้า และตำรายาเกร็ด ครั้งที่พิมพ์               - สถานที่พิมพ์            - สำนักพิมพ์               - ปีที่พิมพ์                  - จำนวนหน้า              ๑๑๖   หน้า หมายเหตุ                สข.๑๐๕ หนังสือสมุดไทยขาว อักษรไทย ภาษาไทย เส้นหมึก (เนื้อหา)                  กล่าวถึงวิธีการดูลมหายใจทางจมูกด้านซ้าย และขวา กำหนดว่าด้านขวา เป็นลมสูรย์กาลา และด้านซ้าย เป็นลมจันทร์กาลา หากลมด้านใดเดินสะดวก สามารถทำนายถึงดวงชะตา เช่น เหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น สถานะของเจ้าชะตา การเดินทาง โชคลาภ โรคภัย และกล่าวถึงตำรายาเกร็ด


          ในสังคมชาวพุทธ เราถูกสอนให้เข้าใจถึงความไม่เที่ยงแท้ของชีวิต ทุกอย่างไม่มีอะไรแน่นอน มีขึ้น มีลง มีสูง มีต่ำ มีใหม่ มีเก่า ฯลฯ ทุกอย่างมีความเสื่อมเป็นธรรมดา จิตใจมนุษย์ก็เหมือนกัน มีการแปรเปลี่ยนตลอดวัน เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย มีความทุกข์ร้องไห้ มีความสุข สนุกสนาน ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ใดอยู่ได้นาน ตามแต่สถานการณ์ต่างๆ จะนำพาไป ในทางพระพุทธศาสนาเปรียบจิตใจมนุษย์เหมือนลิง จิตมีเกิดดับ อุปมาเหมือนลิงท่องเที่ยวในป่าใหญ่ ห้อยโหนกิ่งไม้จากกิ่งหนึ่งไปอีกกิ่งหนึ่ง จิตมนุษย์มีการเคลื่อนไหวเฉกเช่นเดียวกัน มีความคิดที่ฟุ้งซ่านเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา การได้ทำสมาธิหรือการทำอานาปานสติเหมือนเป็นการหาหลักมามัดลิงไว้ให้สงบลงบ้าง เพื่อจะได้ใช้สติพิจารณาดูความเป็นไปของจิตใจตนเอง เมื่อพิจารณาจึงได้เห็นบางอย่าง จิตใจมนุษย์มักชื่นชอบและหลงใหลไปกับค่านิยมในสังคมได้แบบง่ายๆ กิเลศต่างๆ บำรุงจิตใจ จนกายเป็นลิงตัวใหญ่ที่มีพละกำลังมากมาย มีความทะยานอยากได้อยากมีในสิ่งที่ก็รู้อยู่แก่ใจว่ามันไม่เที่ยงแท้ เดี๋ยวก็เสื่อม            นิทรรศการ "ใจเรา ใจลิง (The Monkey Mind)" โดย ชัชวาล อ่ำสมคิด นี้เกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจข้างต้น ชัชวาลใช้จิตนาการสร้างสรรค์ผลงานที่แสดงรูปลักษณ์ของจิต โดยอาศัยรูปทรงของสัตว์ โดยเฉพาะลิงสายพันธุ์ต่างๆ อุปมา อุปไมย เปรียบเทียบความไม่แน่นอนของจิตใจมนุษย์ผ่านท่าทาง เรื่องราวสภาพแวดล้อม น้อมนำให้ผู้ชมผลงานสัมผัสได้ถึงจินตนาการและความงามของประติมากรรมที่ทำจากวัสดุทองสำริด           นิทรรศการ ใจเรา ใจลิง (The Monkey Mind) จัดแสดงวันที่ 3 – 30 มีนาคม 2566 ณ อาคาร 6 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เปิดทำการวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 9.00 น. – 16.00 น. (หยุดวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)


... โบราณสถานพะเนียดคล้องช้าง เมืองลพบุรี ... “...ราวหนึ่งในสี่ของลิเออ (๑ กิโลเมตร) จากเมืองละโว้มี เพนียดอยู่แห่งหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ล้อมรอบด้วยคันดินสูงเป็นที่นั่งดูของผู้ทัศนา ภายในแนวคันดินนี้มีเสาต้นใหญ่ๆ ปักลงในดิน ห่างกันชั่วระยะสองฟุต ใช้เป็นช่องสำหรับหลบออกมาของพวกนักล่าช้างเมื่อถูกช้างไล่ติดพันมา ทางด้านท้องทุ่งนั้นมีช่องทางเข้าออกใหญ่ และตรงกันข้ามด้านที่มาจากในเมืองนั้น เขาสร้างเป็นช่องทางเล็กๆ เข้าไว้เป็นทางเดินแคบๆซึ่งช้างจะผ่านไปได้โดยยาก ทางแคบนี้สิ้นสุดลงที่คอกใหญ่แห่งหนึ่งซึ่งเขาใช้เป็นที่สำหรับฝึกช้างให้เชื่อง…” จดหมายเหตุการเดินทางสู่ประเทศสยาม ของบาทหลวงตาชารด์ โบราณสถานพะเนียดคล้องช้าง ตั้งอยู่ในค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด ๗๗x๙๕ เมตร มีคันดินกว้าง ๑๐ เมตร ความสูง ๒-๓ เมตร ล้อมรอบ ทางทิศตะวันออกเว้นเป็นช่องทางเข้า-ออก ส่วนทางทิศตะวันตกเชื่อมต่อกับประตูเมืองเของเขตคูเมืองกำแพงเมืองชั้นที่ ๒ เมืองลพบุรี ซึ่งยังคงปรากฏร่องรอยของแนวกำแพงก่ออิฐถือปูน และช่องประตูที่มีเสาและบานประตูไม้เสริมความแข็งแรงด้วยหมุดเหล็ก ชาวบ้านเรียกกันโดยทั่วไปว่า “ประตูพะเนียด” ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดเกี่ยวกับประวัติการก่อสร้าง สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นก่อน พ.ศ. ๒๒๑๖ เนื่องจากจดหมายเหตุของคณะบาทหลวงฝรั่งเศสบันทึกเหตุการณ์ไว้ โดยสรุปว่า เมืองละโว้เป็นเมืองที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงโปรดการเสด็จมาประทับมากกว่าเมืองอื่นๆ พระองค์เสด็จมาประทับทุกๆ ปีคราวละ ๙-๑๐ เดือน เพื่อทรงไล่เสือและคล้องช้าง ส่วนในจดหมายเหตุการเดินทางสู่ประเทศสยามของบาทหลวงตาชารด์ ซึ่งเดินทางมากับคณะทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ในปี พ.ศ. ๒๒๒๘ ได้บันทึกเรื่องราวการจับช้างและฝึกช้างให้เชื่องซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงจัดให้ เชอวาลิเอร์ เดอ โชมองต์ ราชทูตฝรั่งเศสและคณะได้ชม นอกจากนี้ในผังเมืองละโว้ Plan de la Ville de Louvo ที่มีการคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ต่อกันมาจากต้นฉบับแผนที่ร่างโดยเมอซิเออร์ เดอ ลามาร์ (M. de la Mare) ผู้ร่วมเดินทางมากับคณะราชทูตเชอวาลิเอร์ เดอ โชมองต์ เมื่อปี ๒๒๒๘ พบว่าในทางด้านทิศตะวันออกของเมืองละโว้นอกแนวกำแพงเมืองชั้นที่ ๒ บริเวณตรงกับประตูเมืองปรากฏสิ่งก่อสร้างเป็นกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ ภายในมีแนวของสิ่งปลูกสร้างเป็นจุดตั้งเรียงกันผังรูปสี่เหลี่ยมซ้อนกัน ๒ ชั้น และทางด้านทิศตะวันตกในส่วนที่อยู่ถัดจาก ประตูเมืองออกไปเป็นรูปสี่เหลี่ยมซึ่งอาจจะเป็นอาคารสิ่งปลูกสร้างบางอย่าง และมีคำอธิบายเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า “ที่ที่เรานำช้างมา” และ “ไว้เก็บช้างป่า” สอดคล้องตรงกับปรากฏในแผนที่ Plan de la Ville de Louvo Demeure ordinaire des Rois de Siam ของกรมแผนที่ทหาร พิมพ์ปี ๒๔๗๗ ที่มีคำอธิบายภาษาไทยคู่กับชื่อสถานที่ต่างๆซึ่งบรรยายไว้เป็นภาษาฝรั่งเศส โดยกล่าวถึงบริเวณดังกล่าวว่า “พระเนียดเป็นที่สำหรับจับช้างป่า” ซึ่งหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับโบราณสถานพะเนียดคล้องช้างดังกล่าวนี้มีความสำคัญทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์เป็นอย่างสูง โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเมืองลพบุรีในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในปี ๒๕๖๓ สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี ทำการขุดตรวจทางโบราณคดีพะเนียดคล้องช้าง ประตูพะเนียด และคันดินกำแพงเมือง เมืองลพบุรี พบหลักฐานว่าการสร้างพะเนียดคล้องช้างใช้วิธีการขุดลอกหน้าดินออก เพื่อนำไปพูนเป็นแนวคันดินโดยรอบเชื่อมต่อกับแนวกำแพงเมืองชั้นที่ ๒ หลังจากนั้นจึงนำเอาเศษอิฐหักมาบดถมปรับพื้นที่ แต่ไม่พบร่องรอยของเสาตะลุง ตามที่ปรากฏหลักฐานในผังเมืองละโว้ Plan de la Ville de Louvo ของคณะราชทูตและบาทหลวงชาวฝรั่งเศส ในพะเนียดคล้องช้างมีการจัดระบบประปาวางท่อดินเผานำน้ำเข้ามาใช้ โดยมีบ่อพักน้ำก่ออิฐถือปูนมีอาคารหลังคาคลุม แนวของท่อประปาจะผ่านเข้ามาทางทิศตะวันออกของพะเนียดคล้องช้าง การศึกษาชั้นดินทางวัฒนธรรมพบว่ามีการใช้งานพะเนียดคล้องช้าง ๒ สมัย คือ สมัยอยุธยาตอนปลาย พุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓ โบราณวัตถุที่พบได้แก่ ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาแม่น้ำน้อย จังหวัดสิงห์บุรี เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ชิง ท่อดินเผา ชิ้นส่วนงาช้าง และเครื่องมือเหล็ก และสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔-๕ โบราณวัตถุที่พบได้แก่ ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีน ส่วนการขุดตรวจทางโบราณคดีบริเวณประตูพะเนียดและคันดินกำแพงเมือง เมืองลพบุรี พบหลักฐานว่ามีการก่อสร้างและใช้งาน ๓ ระยะ ได้แก่ สมัยแรกเริ่มกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๒๐ พบร่องรอยการปักเสาระเนียดที่อาจเป็นแนวกำแพงเมืองรุ่นแรก ในระยะที่ ๒ ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๒ มีการสร้างคันดินความสูงไม่มากนักขึ้นทางทิศตะวันออกของแนวเสาระเนียดเดิม และก่อกำแพงอิฐขึ้นบนคันดิน นอกจากนี้ยังพบร่องรอยของการขุดตัดแนวคันดินและกำแพงอิฐออกไปสอดคล้องกับบันทึกในเอกสารทางประวัติศาสตร์ว่าในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดเกล้าฯ รับสั่งให้รื้อแนวกำแพงอิฐเมืองลพบุรีออก และระยะที่ ๓ รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พุทธศตวรรษที่ ๒๓) ปรากฏร่องรอยการถมดินเสริมแนวกำแพงเมืองให้มีความสูงเพิ่มขึ้น พร้อมกับการซ่อมแซมประตูและกำแพงเมืองขึ้นใหม่ ผู้เรียบเรียงข้อมูล : นางสุริยา สุดสวาท นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี เอกสารประกอบ : ตาชารด์,บาทหลวง. จดหมายเหตุการณ์เดินทางสู่ประเทศสยาม ครั้งที่ ๑ และจดหมายเหตุการณ์เดินทางสู่ ประเทศสยามครั้งที่ ๒ ของบาทหลวงตาชารด์ และภาคผนวกเรื่องไทยกับฝรั่งเศสเป็นเป็นไมตรีกัน ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ (สันต์ ท. โกมลบุตร,ผู้แปล). นนทบุรี: สำนักพิมพ์ศรีปัญญา, ๒๕๕๑ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟีเจอร์วัน. รายงานผลการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถาน ประตูเพนียดและเพนียดคล้องช้าง ณ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี เสนอสำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๖๓


Messenger