ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.604/4 ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 193 (399-407) ผูก 4 (2566)หัวเรื่อง : อภิธัมมา--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
คำว่า “ บัว ” หมายถึง พืชที่เกิดในน้ำจืด สามารถจัดประเภทบัวได้ ๒ ประเภท คือ ปทุมชาติ และอุบลชาติ
“ปทุมชาติ” คือ บัวสำหรับกินฝักและเง่า (หัวบัว) เป็นอาหาร ได้แก่ บัวหลวงและบัวสัตตบงกช สีของดอกบัวทั้งสองชนิดนี้มีทั้งสีขาวและสีแดง รูปทรงของดอกบัวทั้งสองก็แตกต่างกัน กล่าวคือ ดอกบัวหลวงรูปทรงของดอกตูมจะมีความกว้าง ๑ ส่วน สูง ๒ ส่วน และประดิษฐ์เป็นลายบัวได้มากชนิด กับเป็นบ่อเกิดของลายกระหนกครึ่งซีก (ที่เรียกว่ากระหนกสามตัว) ส่วนบัวสัตตบงกชนั้นทรงของดอกบัวตูมจะมีลักษณะป้อมเตี้ยกว่าบัวหลวง ใช้ประดิษฐ์เป็นลายบัวกระหนก พุ่มตัวเทศและบัวปากฐาน บัวทั้งสองชนิดนี้มีก้านเป็นหนามเล็ก ๆ พอระคายมือเล็กน้อยเมือเวลาจับต้อง ดอกและใบชูขึ้นเหนือน้ำตลอดตั้งแต่ดอกตูบจนดอกบานและดอกโรยกลายเป็นฝัก (ภายในเป็นเมล็ดบัว) สำหรับฝักบัวนั้นใช้รับประทานได้ทั้งเมล็ดอ่อนและเมล็ดแก่ นอกจากทรงของดอกบัวนำไปประดิษฐ์เป็นลายบัวได้หลายแบบแล้วก็ตาม แม้แต่เกสรของดอกบัวยังนำไปประดิษฐ์เป็นลายได้เช่นกัน
“อุบลชาติ” คือ บัวสำหรับกินสาย (โดยนำเอาก้านของดอกมารับประทาน) ได้แก่ บัวสัตตบุษย์ บ้างก็เรียกชื่อว่า บัวเผื่อน บัวผัน ดอกมีสี ขาว แดง แต่ถ้าเป็นพันธ์ขนาดเล็กมักมีหลายสี เช่น ชมพู ขาบ เหลือง ม่วง เป็นต้น มักเลี้ยงเป็นบัวประดับเพื่อความสวยงาม เพราะก้านของดอกเล็กมาก ดอกและใบมักอยู่เหนือน้ำแค่ปริ่ม ๆ น้ำเท่านั้น ทรงของบัวสัตตบุษย์หรือบัวกินสายนี้มีลักษณะเป็นดอกผอม ๆ ยาว ๆ ใช้ประดิษฐ์เป็นลักษณะของบัวปลายเสาและลายกรวยเชิง
ที่มา: https://datasipmu.finearts.go.th/academic/33
ต้นแบบกระถางธูปสังเค็ดงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๔๕๓ พระราชทานวัดจีนและศาลเจ้า ติดหน้าสิงห์ ๒ ข้าง
สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๔๕๓
ส่งมาจากห้องกลางกระทรวงมหาดไทย เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๑
ปัจจุบันจัดแสดง ณ พระทีนั่งพรหมเมศธาดา หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
กระถางธูปสังเค็ดการถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ ลักษณะเป็นกระถางธูปทองเหลืองติดรูปหน้าสิงห์สองข้าง ปากกระถางผาย คอคอด ส่วนกลางป่อง เชิงสูงตั้งตรง ฐานเป็นวงแหวนซ้อนกันสี่ชั้น ส่วนกลางของกระถางธูปมีจารึกอักษรไทยประดิษฐ์เลียนแบบตัวอักษรจีนอ่านว่า “จปร” ซึ่งเป็นอักษรพระปรมาภิไธยย่อของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาจากคำว่า “มหาจุฬาลงกรณ์ปรมราชาธิราช” ด้านบนเป็นข้อความอักษรจีน เรียงจากซ้ายไปขวา คำว่า “護我大行” แปลว่า ปกป้องคุ้มครองข้าพเจ้าสู่การเดินทาง (หมายถึงรัชกาลที่ ๕ เสด็จสวรรคต) ด้านซ้ายของกระถางธูปมีข้อความในแนวตั้งว่า “皇暹叻丹那高成查百式拾玖殺旦” แปลว่า ในปีที่ ๑๒๙ ของราชวงศ์สยามแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๔๕๓) และด้านขวาของกระถางธูปมีข้อความว่า “第六代御贈” พระราชทานโดย รัชกาลที่ ๖
กระถางธูปสังเค็ดใบนี้ มีประวัติว่าเป็นรายการวัตถุลำดับที่ ๑๔ ในบัญชีเคลื่อนย้ายมาจากห้องกลางกระทรวงมหาดไทยเมื่อช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ โดย รองอำมาตย์เอก หลวงวิสูตร์สมบัติ ปลัดกรมเสมียนตรา เป็นผู้ควบคุมการเคลื่อนย้ายพร้อมกับรายการโบราณวัตถุอื่น ๆ
เครื่องสังเค็ดแต่เดิมมีความหมายถึงทานวัตถุที่ถวายพระสงฆ์ ต่อมาในปัจจุบันมักใช้เรียกสิ่งของที่จัดสร้างขึ้นถวายพระสงฆ์เนื่องในงานอวมงคล โดยในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการจัดสร้างเครื่องสังเค็ดหลายสิ่ง ไม่เพียงแต่เฉพาะที่ถวายพระสงฆ์เท่านั้น แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ สำหรับบุคคล สำหรับพระอารามทุกศาสนา และสำหรับสถานที่ อาทิ โรงเรียนและโรงพยาบาล ในพระราชนิพนธ์เรื่อง “ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖” โดยราม วชิราวุธ* ทรงกล่าวไว้ความตอนหนึ่งของสิ่งที่งดและเพิ่มเกี่ยวกับงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความตอนหนึ่งว่า “...งดสังเค็ดแบบเก่าซึ่งมีของถวายพระเปนเครื่องใหญ่ เพิ่มสังเค็ดแบบใหม่ ให้ทั้งพระ วัด โรงเรียน โรงสวดศาสนาต่าง ๆ และศาลเจ้า...”
กระถางธูปใบนี้เป็นหนึ่งในเครื่องสังเค็ดที่จัดสร้างขึ้นเนื่องในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระราชทานแก่วัดจีนและศาลเจ้าต่าง ๆ ทั้งในพระนครและตามหัวเมืองเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระบรมชนกนาถ
*พระนามแฝงของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
อ้างอิง
กรมศิลปากร. เครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศ งานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร. กรุงเทพฯ: สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ, ๒๕๖๑.
ฤทธิเดช ทองจันทร์. มรดกศิลป์ศาลเจ้าแม่ม่าจ้อโป้ จังหวัดพังงา. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๖๔.
ราม วชิราวุธ (พระนามแฝง). ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๕.
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (๔)ศธ.๒.๑.๑/๒๑. เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ กรมศิลปากร เรื่อง บัญชีสิ่งของส่งมาจากกระทรวงมหาดไทย (๔ ส.ค. ๒๔๗๑-๔ ส.ค. ๒๔๗๔).
อุโบสถวัดหนองโพ เป็นโบราณสถานสำคัญของจังหวัดนครสวรรค์ที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของชุมชนหนองโพตั้งแต่ช่วงตั้งถิ่นฐานสมัยต้นรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน และสิ่งปลูกสร้างสำคัญของวัดเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะที่สำคัญถึงศิลปะทั้งด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม รวมถึงเป็นต้นแบบศิลปกรรมที่ส่งอิทธิพลต่อการก่อสร้างอุโบสถ และอาคารศาสนสถานในสมัยรัชกาลที่ 6 ในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตรและจังหวัดพิษณุโลก จำนวนมากกว่า 50 แห่ง
---------------------
จุลเกียรติ ไพบูลย์เกษม ผู้เขียน
องค์ความรู้ความร่วมมือระหว่างสำนักศิลปากรที่ 4 ลพบุรี กับชุมชน
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “ของขวัญปีใหม่จากใจกรมศิลปากร” วิทยากร นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕
ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน เรื่อง เครื่องบิน “จ้าวผู้ครองนครน่านที่ ๑”ต้นธารประวัติศาสตร์การบินเมืองน่านนับเป็นเวลากว่า ๑๐๐ ปี ของประวัติศาสตร์การบินไทยที่พัฒนาและเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยเมืองน่านก็ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างประวัติศาสตร์การบินสยามในยุคแรกเริ่ม .เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๘ เจ้าอุปราช (มหาพรหม ณ น่าน) เจ้าอุปราชเมืองนครน่าน (เจ้ามหาพรหมสุรธาดา ครองเมืองระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๖๑ - ๒๔๗๔) ได้ทรงบริจาคทุนทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน ๙,๐๐๐ บาท เพื่อซื้อเครื่องบินให้แก่กองทัพบกสยาม จำนวน ๑ ลำ.ปี พ.ศ. ๒๔๖๒ กระทรวงกลาโหมได้จัดซื้อเครื่องบิน ๑ เครื่อง ตามที่ นายพลตรี เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน มอบให้ จำนวนเงิน 9,000 บาท โดยเป็นเครื่องบินขับไล่ ชนิด สแปด (Spad) ปีกสองชั้น แบบ ๗ C. เครื่องยนต์ อิสปาโนซูซ่า ๑๘๐ แรงม้า ดังความในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๔๖๒ เล่ม ๓๖ หน้า ๒๔๔๙ - ๒๕๕๕๒ ที่ว่า.“นายพลตรี เจ้ามหาพรหมสุธาดา (น้อยมหาพรหม ณ น่าน) ได้บริจาคเงินส่วนตัวสำหรับซื้อเครื่องบินเป็นจำนวน ๙,๐๐๐ บาท กระทรวงกระลาโหม ได้จัดการซื้อเครื่องบินชนิด สแปด แบบ ๗ เครื่องยนตร์ อิสปาโนซูซ่า ๑๘๐ แรงม้า ๑๘๐ แรงม้า ๑ เครื่อง มีคุณลักษณดังนี้ น้ำหนัก เฉพาะเครื่อง ๕๐๐ กิโลกรัมม์ พร้อมที่จะบินได้หนัก ๗๐๕ กิโลกรัมม์ ระวางบรรทุก ๑๒๕ กิโลกรัมม์ น้ำหนักน้ำมัน ๘๐ กิโลกรัมม์ บินเต็มความเร็วเปนชั่วโมงระยะสูง ๓๐๐๐ เม็ตร์ ๑ ชั่วโมง ๔๕ นาทีระยะสูงที่ขึ้นได้ ๕๐๐๐ เม็ตร์ ความเร็ว ๑๘๐ กิโลเม็ตร์ ต่อ ๑ ชั่วโมง ระยะสูงที่ขึ้นได้ตามเกณฑ์ ๖๒๐๐ เม็ตร์ เวลาและระยะขึ้น ๒๐๐๐ เม็ตร์ ๔.๔๐ นาที เวลาและระยะขึ้น ๓๐๐๐ เม็ตร์ ๘.๑๐ นาที เวลาและระยะขึ้น ๔๐๐๐ เม็ตร์ ๑๒.๔๐ นาที ได้จารึกอักษรไว้ที่เครื่องบินนี้ว่า “เจ้าผู้ครองนครน่านที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๖๒”.ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ การสร้างสนามบินน่านแล้วเสร็จ ควรจะมีเครื่องบินชนิดทิ้งระเบิด ๑ เครื่อง เพื่อเพิ่มกำลังให้กรมอากาศยานได้กระทำกิจอันเป็นประโยชน์ตามหน้าที่ จึงได้ชักชวนบรรดาเจ้านาย ข้าราชการ และราษฎร บริจาคกำลังทรัพย์ โดยมี เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน เป็นผู้รวบรวมส่งมาเป็นครั้งแรก จำนวน ๘,๖๑๙ บาท ๙๓ สตางค์ ดังความในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๔๖๖ เล่ม ๔๐ หน้า ๑๓๙๔ - ๑๓๙๖ ทีว่า.“ด้วยเค้าสนามหลวงจังหวัดน่านบอกเข้ามายังกระทรวงกระลาโหม ว่าเมื่อการสร้างสนามบินในจังหวัดนี้สำเร็จแล้ว ควรจะชักชวนเรี่ยรายตามบรรดาเจ้านาย ข้าราชการ และทวยราษฎร ให้ได้เงินพอแก่ราคาเครื่องบินชนิดทิ้งระเบิดสัก ๑ เครื่อง เพื่อเพิ่มกําลังให้กรมอากาศยานได้กระทำกิจเป็นประโยชน์เต็มตามน่าที่ บัดนี้ เจ้านาย ข้าราชการตลอดจนพสกนิกรในนครน่าน ที่มีความประสงค์และเต็มใจได้บริจาคธนทรัพย์เพื่อแก่การนี้บ้างแล้ว ซึ่งมหาอำมาตย์โท เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองจังหวัด ได้รวบรวมส่งมาเป็นครั้งแรกโดย จำนวน ๘,๖๑๕ บาท ๙๓ สตางค์ แต่ยังมิได้ปิดบาญชีการเรี่ยราย เพราะหวังอยู่ว่าคงจะได้รับอยู่อีกเท่าจำนวนที่คาดหมายจนพอแก่ราคาเครื่องบิน ดังกล่าวแล้วข้างต้น เงินทั้งนี้เจ้าน่าที่ในกระทรวงกระลาโหม ได้รับไว้แล้ว จักได้จัดการให้เป็นไปตามความประสงค์สืบไป ข้าพเจ้ามีความโสมนัสปลาบปลื้มใจยิ่งนัก ในการที่ เจ้านาย ข้าราชการ ตลอดจนพ่อค้าประชาราษฎร์ ในจังหวัดน่านมาช่วยกันรีบเร่งผดุงให้กรมอากาศยานสามารถกระทำกิจเป็นประโยชน์แก่ชาติและปิตุภูมิยิ่งขึ้น นับว่าจังหวัดน่านได้ก้าวล่วงน่าในการบํารุงยิ่งกว่าจังหวัดอื่น ๆ ในมณฑลเดียวกัน หากว่าได้จัดการสร้างสนามบินประจำจังหวัดให้สำเร็จ ใช้ได้โดยเร็ว ด้วยแล้วหวังไม่ช้านักอาณาประชาราษฎร์คงจะได้เห็นผลว่า ฉะเพาะจังหวัด น่านอันกันดารไร้ทางคมนาคมนั้น เครื่องบินจักสามารถกระทำประโยชน์ให้ได้เพียงใด”.พ.ศ. ๒๔๖๙ สนามบินจังหวัดน่านดำเนินการสร้างแล้วเสร็จ จึงได้ทำพิธีเปิดฉลองสนามบิน และแสดงการบิน โดยในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๖๙ กรมอากาศยานได้จัดส่งเครื่องบินจากดอนเมืองจำนวน ๓ ลำ ดังความในราชกกิจจานุเบกษา วันที่ ๖ มีนาคม ๒๔๖๕ เล่ม ๔๓ หน้า ๔๓๔๗ -๔๓๕๓ ที่ว่า.“ด้วยเจ้าหน้าที่ปกครองท้องถิ่น ได้จัดการโก่นสร้างพื้นที่ทำเปนสนามกีฬาประจำจังหวัดน่าน และมุ่งให้ใช้เปนสนามบินสำเร็จแล้ว และเครื่องบินอาศัยขึ้นลงได้สะดวก กระทรวงกระลาโหม จึงได้รับสนามบินจังหวัดนี้ขึ้นทะเบียนไว้ใช้ราชการต่อไปแล้ว สนามบินแห่งนี้เดิมเป็นที่ตั้งเมืองเก่าและร้างว่างเปล่ามานานเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ จอมปลวกและหนองน้ำ เจ้าหน้าที่ผู้ปกครองท้องถิ่นได้ประชุมพร้อมด้วยกรมการอำเภอ พ่อค้าคฤหบดีชี้แจงถึงคุณประโยชน์แห่งการบิน จนเป็นที่เชื่อถือตกลงปลงใจพร้อมกัน และคิดว่าจะเอาพื้นที่พื้นนี้เปนสนามบิน จึงกำหนดลงมือทำในปลาย พ.ศ. ๒๔๖๔ เป็นต้นมา การโก่นสร้างปราบพื้นที่อาศัยแรงราษฎรในเมื่อเสร็จจากการทำนาหาเลี้ยงชีพเป็นคราว ๆ ไป มีนายอำเภอเจ้าของท้องที่และผู้ช่วยเปนแม่กองดูแลควบคุมการงาน การนี้ได้สำเร็จพอ เปนที่ขึ้นลงของเครื่องบินได้เมื่อปลาย พ.ศ. ๒๔๖๘การสร้างสนามนี้สำเร็จไปได้โดยยากเพราะเหตุดังกล่าวแล้ว การซึ่งจะทำพื้นที่เช่นนี้ให้เป็นที่ราบเรียบจนเครื่องบินขึ้นลงได้ปลอดภัย จึงต้องอาศัยความอุสาหะบากบั่นพร้อมด้วยความปลงใจของเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตลอดทั้งผู้ช่วยทุกชั้น อีกประการหนึ่งการขอแรงราษฎรช่วยทำก็ต้องหาเวลาว่างจากการอาชีพ ในปีหนึ่งได้เพียง ๓-๔ เดือนเท่านั้น กระทรวงกระลาโหม เล็งเห็น โดยตระหนักว่าการที่สำเร็จไปได้ดังนี้ ก็เพราะเจ้าหน้าที่ผู้ปกครองท้องถิ่นปลงใจอย่างแน่นอนว่า จะ ช่วยบํารุงกําลังทางอากาศ แล้วยังพยายามจัดการให้ได้กระทำพิธีเปิดฉลองสนามบิน และแสดงการบินเหมือนกับจังหวัดอื่น ๆ ที่แล้วมา คือขอให้กรมอากาศยานส่งเครื่องบินขึ้นไปแสดง เพื่อให้ประชาชนได้เห็นความจริงของการเดินอากาศวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ กรมอากาศยานได้จัด ส่งเครื่องบินออกไปแสดงจากดอนเมืองรวม ๓ เครื่อง มีนายร้อยเอกผล หงสกุล เป็นหัวหน้า เวลา ๑๐ นาฬิกา ๑๐ นาที เครื่องบินทั้ง ๓ ได้ร่อนลงยังสนามบินจังหวัดน่านโดยเรียบร้อย รุ่งขึ้นวันที่ ๑๖ เครื่องบินรับผู้โดยสาร ซึ่งเป็นเจ้านายชายหญิง กับข้าราชการและภรรยาตลอดพ่อค้าคฤหบดี เพื่อให้ชมภาพพื้นเมืองทางอากาศวิถีวันที่ ๑๗ เครื่องบินทั้ง ๓ เครื่องแยกกันบินร่อนตามอำเภอ รอบนอกทุกอำเภอในท้องที่จังหวัดน่าน รับนายอำเภอและทั้งผู้ซึ่งเหนื่อยยากในการสร้างสนามบิน ให้โดยสารไปชมภูมิประเทศแห่งอำเภอนั้น ๆ ด้วย ได้อยู่ที่สนามแห่งนี้ จนถึงวันที่ ๒๐ เครื่องบินทั้ง ๓ เครื่อง จึงได้กลับจากจังหวัดน่าน มาสู่ดอนเมืองโดยเรียบร้อยการเรี่ยรายเงินบํารุง การบิน และทำสนามบินของจังหวัดน่านนี้ ได้เริ่มมาแต่ต้น พ.ศ. ๒๔๖๔ จนถึงเวลาเปิดสนามบินและแสดงการบิน ได้จำนวนเงินรวมทั้งสิ้น ๑๓,๘๑๒ บาท ๑๓ สตางค์ ส่งมากระทรวงกระลาโหมรวม ๔ ครั้ง กระทรวงกระลาโหมได้รับไว้ถูกต้องแล้วเงิน ๑๐,๘๖๗ บาท ๔๒ สตางค์ หักค่าใช้จ่ายเสีย ๒,๖๒๙ บาท ๔๒ สตางค์ ยังมีตัวเงินเหลืออยู่ที่จังหวัดอีก ๓๑๕ บาทถ้วน ซึ่งจะรอส่งกระทรวงกระลาโหมภายหลัง โดยการเรี่ยรายนี้ยังไม่ปิดบาญชี เงินซึ่งส่งกระทรวง กระลาโหมแล้วนั้น เมื่อได้ครบของราคาเครื่องบิน ๑ เครื่อง กระทรวงกระลาโหมก็จะได้จารึกนาม ให้เป็นเครื่องบินของจังหวัดน่านต่อไป”.ภายหลังกระทรวงโหมได้จัดซื้อเครื่องบินเบร์เกต์ () ปีกสองชั้น แบบ ๑๔ A. หรือ B. ๒ เครื่องยนต์ เรอโนต์ ๓๐๐ แรงม้า ๑ เครื่อง ระบุชื่อ “เจ้าผู้ครองนครน่าน ๑”#เครื่องบินน่าน #สนามบินน่าน อ้างอิง/ข้อมูลเพิ่มเติม๑. ราชกิจจานุเบกษา: แจ้งความกระทรวงกลาโหม เจ้าอุปราชให้เงิน ๙,๐๐๐ บาทสำหรับซื้อเครื่องบิน, ๑๑ ธ.ค. ๒๔๕๘ เล่ม ๓๒ ง หน้า ๒๑๒๓. เข้าถึงได้โดย https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1049287.pdf๒. ราชกิจจานุเบกษา: แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง เครื่องบินซึ่งมีผู้บริจาคเงินซื้อให้แก่กองทัพบก, ๒๒ พ.ย. ๒๔๖๒ เล่ม ๓๖ หน้า ๒๔๔๙. เข้าถึงได้โดย https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1058636.pdf๓. ราชกิจจานุเบกษา: แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง รับเงินของจังหวัดน่านเพื่อบำรุงกำลังทางอากาศ, ๒๙ ก.ค. ๒๔๖๖ เล่ม ๔๐ ง หน้า ๑๓๙๔. เข้าถึงได้โดย https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1068621.pdf๔. ราชกิจจานุเบกษา: คำแถลงการณ์ของเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เรื่อง สนามบินและการแสดงการบินจังหวัดน่าน, ๖ มี.ค. ๒๔๖๙ เล่ม ๔๓ ง หน้า ๔๓๔๗. เข้าถึงได้โดย https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1078051.pdf๕. กองบัญชาการกองทัพไทย. 4 แผ่นดินราชวงศ์จักรี 100 ปี การบินของบุพการีทหารอากาศ. กรุงเทพฯ : เอส.พี.เอ็น.การพิมพ์, 2554.
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี เชิญชมนิทรรศการหมุนเวียน "Object of the Month" วัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ประจำเดือนมีนาคม ๒๕๖๗ เชิญพบกับ "วัชรฆัณฏา" กระดิ่งยอดวัชระ
โบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ ได้แก่ กับ "วัชรฆัณฏา" กระดิ่งยอดวัชระ ขนาดสูง ๑๑.๕ ซม. กว้าง ๕.๗ ซม. ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ รูปทรงระฆัง มีด้ามจับเป็นปล้องคล้ายลูกมะหวด ยอดเป็นรูปวัชระ ๕ แฉก ตกแต่งเส้นขีดรอบปาก ลูกตุ้มด้านในหายไป พบในจังหวัดสุพรรณบุรี นิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับ “วัชระ Vajra” หมายถึง สายฟ้า มีคุณสมบัติพิเศษ คือสามารถทำลายได้ทุกสิ่ง แต่ไม่มีสิ่งใดทำลายวัชระได้ และยังหมายถึง เพชร ได้เช่นกัน ตามคติความเชื่อของพุทธศาสนา สกุลวัชรยานวัชระอาจเป็นตัวแทนของความกรุณา คือ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเพศชาย และความรู้เกี่ยวกับ “ฆัณฎา Ghanda หมายถึง กระดิ่ง เป็นวัตถุที่ให้เสียงสะท้อนก้องไปทั่วทุกทิศ ตามคติความเชื่อของพุทธศาสนา สกุลวัชรยาน ฆัณฏาอาจเป็นตัวแทนของปัญญา คือ นางปรัชญาปารมิตา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเพศหญิง
ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ "วัชรฆัณฏา" กระดิ่งยอดวัชระ ได้ในเดือนมีนาคม ๒๕๖๗ เปิดวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร ณ ห้องโถงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๕๕๓ ๕๓๓๐ หรือเฟสบุ๊ก: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี
หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ชวนร่วมสัมผัสเสน่ห์เมืองเก่าที่ยังคงเร้าใจ กับ 6 แหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวกับบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์เมืองสุพรรณบุรี และแหล่งค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับท้องถิ่น แนะนำเส้นทางท่องเที่ยว : One Day Trip แหล่งข้อมูลสารสนเทศ บุคคลสำคัญในท้องถิ่น
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “ตามรอยฝรั่ง เล่าความหลังเมืองพริบพรี (เพชรบุรี)” วิทยากร นางสาวนันทพร บรรลือสินธุ์ ผู้อำนวยการกลุ่มแปลและเรียบเรียง สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์, นางสาวปภัชกร ศรีบุญเรือง นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ และนายเชิดพงศ์ สุทธิวงษ์ นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ - ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (facebook live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๖ - กันยายน ๒๕๖๗
ชื่อเรื่อง ตายเกิด ตายสูญผู้แต่ง สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ศาสนาเลขหมู่ 294.3123 ต344สถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัยปีที่พิมพ์ 2492ลักษณะวัสดุ 48 หน้า หัวเรื่อง ความตายภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกเรื่องตายแล้วเกิด หรือตายแล้วสูญ เป็นเรื่องที่มีมานานแล้ว ดูก่อนจะพุทธกาลอีก ในบัดนี้ก็มีอยู่ และคงจะมีต่อไปอีกในอนาคต เรียกว่าเป็นปัญหาประจำโลกก็ได้ หมายความว่าตายแล้วสูญ บางคนเห็นว่าส่วนรูปกาย คือ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม หรือเติมอากาศเข้าด้วยเท่านั้น เป็นสำคัญเป็นใหญ่ ถ้าธาตุเหล่านั้นประชุมกันถูกต้องได้ส่วนก็เกิดวิญญาณ เวทนา สัญญา สังขาร รวมเป็นนามแลรูป เป็นกายอันนี้ เมื่อธาตุเหล่านั้นสลายแยกจากกันไป วิญญาณ เวทนา สัญญา สังขารก็ดับไป
ภาพปูนปั้นเล่าเรื่องบุคคล
- ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔)
- ปูนปั้น และดินเผา
- ขนาด กว้าง ๙๓ ซม. ยาว ๘๕ ซม. หนา ๕ ซม.
เดิมประดับที่ฐานลานประทักษิณด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเจดีย์จุลประโทน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑
ด้านขวาของภาพเป็นรูปบุคคลทำด้วยปูนปั้น นั่งในท่ามหาราชลีลา ส่วนของศีรษะหักหายไป ด้านซ้ายของภาพเป็นรูปบุคคล ๒ คน ทำด้วยดินเผา ยืนชิดกัน คนที่อยู่ด้านขวาของภาพไว้ผมยาวถึงต้นคอ มือขวาถือสิ่งของคล้ายภาชนะทรงกลม ตอนบนเป็นรูปกรวยคว่ำ คนที่ยืนถัดมากอดอาวุธคล้ายดาบแนบกับอกด้
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40123
ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th
พระปรางค์จำลอง
ลักษณะ : พระปรางค์จำลอง ลักษณะเนื้อแกร่ง ผิวสีส้มอมเหลือง ไม่เคลือบ สันนิษฐานว่าผลิตจากแหล่งเตาริมฝั่งแม่น้ำน้อย อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี (กรมศิลปากร, 2552, 126) รูปแบบของโบราณวัตถุชิ้นนี้สามารถนำไปเปรียบเทียบได้กับรูปแบบของเจดีย์ทรงปรางค์สมัยอยุธยาตอนปลาย โดยนิยมย้อนกลับไปใช้ลักษณะบางประการของศิลปะอยุธยาตอนต้น ทั้งนี้ พระปรางค์จำลองชิ้นนี้มีรูปแบบส่วนเรือนธาตุเช่นเดียวกับกลุ่มเจดีย์ทรงปรางค์ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ที่มักทำเป็นย่อมุม โดยที่มีรูปแบบที่มุมทุกมุมมีขนาดเท่ากันหมด และมีจำนวนมุมมากขึ้นกว่าสมัยอยุธยาตอนกลาง ซึ่งพระปรางค์ชิ้นนี้ก็มีเรือนธาตุอยู่ในผังย่อมุมไม้ยี่สิบ ตัวเรือนธาตุเตี้ย ผนังเรือนธาตุสอบเข้าหากันเป็นเอกลักษณ์ของสมัยอยุธยาตอนปลาย เรือนธาตุประดับจระนำซุ้มทั้งสี่ด้าน มีลักษณะเป็นซุ้มเรือนแก้วอย่างอยุธยา ประดับลวดลายบริเวณตำแหน่งลายกรุยเชิงด้วยลายกระจังรูปใบโพธิ์กลับหัวลงอย่างอยุธยาปลาย
ส่วนยอดเป็นชั้นซ้อนกันในระบบคอดล่างผายบนซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น และเป็นระเบียบที่นิยมในเจดีย์ทรงปรางค์สมัยอยุธยาตอนปลาย เรือนชั้นซ้อนลดหลั่นกัน 4 ชั้น โดยไม่มีช่องวิมานและซุ้มวิมาน ขณะที่บรรพแถลงเริ่มเล็กลงเป็นแผ่น (ศักดิ์ชัย สายสิงห์, 2560, 561 – 564)
ข้อสังเกตประการหนึ่งคือพระปรางค์จำลองนี้เริ่มจากส่วนเรือนธาตุขึ้นไปจนถึงส่วนยอด อาจสันนิษฐานว่าแต่เดิมอาจมีส่วนฐานรองรับตัวเรือนธาตุที่สามารถถอดประกอบกันก็เป็นได้ เชื่อว่าคติในการสร้างพระปรางค์จำลองนี้เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
ขนาด : สูง 41 เซนติเมตร
ชนิด : ดินเผา
อายุ/สมัย : อยุธยาตอนปลาย พุทธศตวรรษที่ 22 – 23
ประวัติ/ตำนาน : พบจากบริเวณวัดเชิงท่า (ร้าง) อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีเมื่อวันที่ 3 กันยายน พุทธศักราช 2506
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=53013ท
ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th