ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,822 รายการ

องค์ความรู้ด้านนาฏศิลป์ ของสำนักการสังคีต เรื่อง รำฉุยฉายพญาครุฑแปลง เรียบเรียงโดยนายรัฐศาสตร์ จั่นเจริญ นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการ สำนักการสังคีต


ความรู้งานจดหมายเหตุ ที่พบกันทุกวันอังคารวันนี้ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา ขอเสนอแผ่นภาพ อินโฟกราฟิก ว่าด้วยกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับงานจดหมายเหตุระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖หมวด ๓ การเก็บรักษา ยืม และทำลายหนังสือเเละในเนื้อหากล่าวถึงในส่วนที่ ๑การเก็บรักษาการเก็บรักษาในที่นี้หมายถึงการเก็บรักษาหนังสือราชการ หรือเอกสารราชการซึ่งประกอบด้วยหนังสือ หรือเอกสารราชการ ที่มีการจัดเก็บ ๓ สถานะการเก็บหนังสือแบ่งออกเป็นการเก็บระหว่างปฏิบัติการเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้วและการเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบเมื่อเทียบกับทฤษฎีจดหมายเหตุในเรื่องของ เอกสาร (Record) สถานะการจัดเก็บตามระเบียบนี้ จะเรียกเอกสารแต่ละการเก็บ ดังนี้๑ เอกสารหรือหนังสือ ในการเก็บระหว่างปฏิบัติ จะเรียกว่าเอกสารอยู่ในกระเเสปฏิบัติงาน๒ เอกสารหรือหนังสือ ในการเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว จะเรียกว่า เอกสารสิ้นกระแสปฏิบัติงานและ๓ การเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบเอกสารเเละหนังสือนั้นจะถูกเรียกว่า เอกสารกึ่งกระเเสปฏิบัติงานการจัดเก็บ เเละขั้นตอนการจัดเก็บนั้น ได้อธิบายไว้ใน แผ่นภาพอินโฟกราฟิกที่กล่าวถึงขั้นตอนที่สอดคล้องกับตัวระเบียบฯสำหรับสัปดาห์ต่อไป เตรียมพบกับ การเก็บรักษา ตอนที่ ๒นางสาวเสาวภา ประพรหม พนักงานธุรการ ผู้เรียบเรียงนายวีรวัฒน์ เหลาธนู นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ ผู้จัดทำอินโฟกราฟิกสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมฝ่ายบริหารเอกสาร เเละฝ่ายธุรการหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลาโทร ๐ ๗๔๒๑ ๒๔๗๙ ต่อ ๑๐๑ เเละ ๑๐๒ โทรสาร ๐ ๗๔๒๑ ๒๑๘๒ในวันจันทร์ ถึง ศุกร์


          มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๕๓ วันประสูติพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล           พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล หรือ พระองค์ชายใหญ่ เป็นพระโอรสองค์โตในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ที่ประสูติแต่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๕๓ เมื่อแรกประสูติทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ทรงมีพระอนุชา ๒ พระองค์ คือ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร และพลโท พลเรือโท พลอากาศโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ           ในรัชกาลที่ ๖ วันที่ ๖ มกราคม ๒๔๕๓ โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ทรงศึกษาที่โรงเรียนแฮร์โรว์ ประเทศอังกฤษ แล้วเสด็จกลับมาทรงศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก ทรงรับราชการที่กองพันทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์ ทรงเป็นผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เสด็จไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆ ในหลายประเทศ             พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๙ เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘ สิริพระชันษา ๘๕ ปี             พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ทรงเป็นพระราชปนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากพระบิดา   ภาพ : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ทรงฉายพระรูปคู่กับหม่อมปริม บุนนาค


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           37/6ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              44 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 132/5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 168/5เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           21/7ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                34 หน้า : กว้าง 5.2 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           56/5ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                84 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57.7 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


         ภาพ ‘หญิงสาวกับกรงนก’ ของ สมโภชน์ อุปอินทร์          100 ปี ศิลปสู่สยาม สุนทรีศิลปแห่งนวสมัย          ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี หรือ คอร์ราโด เฟโรชี (Corrado Feroci) เป็นประติมากรที่ได้รับการฝึกฝนจากสถาบันวิจิตรศิลป์แห่งนครฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี (Accademia di Belle Arti di Firenze) จนกระทั่งมีความรู้และความเชี่ยวชาญในการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมและประติมากรรมอย่างศิลปะตามหลักวิชาการแบบตะวันตก (Western Academic Art) ที่มุ่งเน้นความเหมือนจริงตามธรรมชาติ การเรียนการสอนศิลปะในประเทศไทยภายใต้การอำนวยการของท่าน ทั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรม และคณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร จึงเป็นไปอย่างศิลปะตามหลักวิชาการแบบตะวันตก แต่ในขณะเดียวกัน ท่านก็มิได้ขัดขวางความสนใจใครรู้ของลูกศิษย์ในงานศิลปะสมัยใหม่แบบสากลที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในโลกตะวันตก ณ ขณะนั้น ลาวัณย์ อุปอินทร์ ศิลปินแห่งชาติ ภรรยาของ สมโภชน์ อุปอินทร์ เล่าให้ผู้เขียนฟังเกี่ยวกับภาพ ‘หญิงสาวกับกรงนก’ ไว้ว่า สมโภชน์เขียนภาพนี้เมื่อครั้งยังเป็นนักศึกษา เมื่อศาสตราจารย์ศิลป์เห็นภาพนี้ก็ได้ยกเอาไปตั้งไว้ในห้องทำงานของท่านโดยมิได้กล่าวอะไร ผลงานศิลปะที่ได้รับรางวัลในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติในยุคเริ่มต้น และผลงานของลูกศิษย์ที่ปรากฏในห้องทำงานของศาสตราจารย์ศิลป์ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ ต่างเป็นเครื่องยืนยันถึงการสนับสนุน ส่งเสริม และให้กำลังใจเหล่าลูกศิษย์หัวก้าวหน้าที่เริ่มสร้างสรรค์งานศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย            ภาพ ‘หญิงสาวกับกรงนก’ ของสมโภชน์เป็นงานจิตรกรรมสีน้ำมันแนวคิวบิสม์ (Cubism) ที่ถ่ายทอดภาพหญิงสาวนั่งอยู่บนเก้าอี้ โดยมีกรงนกแขวนอยู่ใกล้ๆ ทางด้านซ้ายบนของภาพ ทั้งรูปคน สิ่งของ และสิ่งปลูกสร้างที่เป็นพื้นหลังของภาพสร้างสรรค์ขึ้นจากเส้นและรูปทรงเรขาคณิตที่ตัดกันไปมาตามแนวทางของงานศิลปะแบบคิวบิสม์ ซึ่งเป็นรูปแบบผลงานที่สมโภชน์สร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวและสร้างชื่อให้กับสมโภชน์ในฐานะศิลปินไทยที่มีความสามารถโดดเด่นในการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมแนวคิวบิสม์ จนได้รับสมญานามว่า “Master of Cubism in Thailand”           ภาพ ‘หญิงสาวกับกรงนก’ ของ สมโภชน์ อุปอินทร์ จัดแสดงอยู่ในนิทรรศการพิเศษ “100 ปี ศิลปสู่สยาม สุนทรียศิลปแห่งนวสมัย” ระหว่างวันที่ 18 มกราคม – 9 เมษายน 2566 ณ อาคารนิทรรศการ 4 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เปิดให้เข้าชมวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 9.00 – 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)   อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สมโภชน์ อุปอินทร์ ได้ที่ https://www.facebook.com/.../a.242467477.../2475606092570732


ชื่อผู้แต่ง                  - ชื่อเรื่อง                   พระอภิธรรมแปล - คำถวายต่าง ๆ ครั้งที่พิมพ์               - สถานที่พิมพ์            - สำนักพิมพ์               - ปีที่พิมพ์                  - จำนวนหน้า              ๑๓๔   หน้า หมายเหตุ                 สข.๐๘๒ หนังสือสมุดไทยขาว อักษรขอม ภาษาบาลีและภาษาไทย เส้นหมึก (เนื้อหา)                  อธิบายเนื้อความและใจความสำคัญของพระอภิธรรม


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชน ร่วมสดับพระธรรมเทศนา เพื่อสืบสานพระพุทธศาสนา ตามรอยธรรมพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันธรรมสวนะ ตลอดเดือนมีนาคม ๒๕๖๖


ตะวันตกมีอาราย ตะวันตกมีอาราย นี้ไม่ใช่เสียงของจุ๊มเหม่ง แต่เป็นแอดฯเอง วันนี้แอดจะพามิตรรักแฟนเพจทุกท่านมาไขปริศนาของการกำหนดทิศทางการขยายเมืองของเมืองโบราณศรีเทพกัน ว่าเหตุใดทิศตะวันตกซึ่งเป็นที่ตั้งของเขาถมอรัตน์ ภูเขาศักดิ์สิทธ์ของเมือง จึงไม่พบการขยายเมือง หรือสร้างศาสนสถานกระจายออกไปทางด้านนั้นเลย


เลขทะเบียน : นพ.บ.461/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4.5 x 50 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 160  (174-182) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : อานิสงส์ฟังธรรม--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.604/5                    ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 193  (399-407) ผูก 5 (2566)หัวเรื่อง : อภิธัมมา--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



Messenger