ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,822 รายการ
ระบบราชการ 4.0 ยึดหลักธรรมาภิบาลเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน จัดทำโดยสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
ขอเรียนเชิญทุกท่านเข้าร่วม กิจกรรม "อ่านสนุก ปลุกการเรียนรู้" ท่านใดที่สนใจสามารถนำลูก หลาน ของท่านเข้ามาฟังการบรรยาย พูดคุยกับนักเขียนชื่อดัง "ชญาน์พิมพ์" และเดินชมนิทรรศการภายในงาน เข้าชมฟรี
ในการที่มนุษย์จะเดินเรือไปยังดินแดนส่วนต่างๆ ของโลก เครื่องมือที่นักเดินเรือจำเป็นต้องมีติดตัวไว้ตลอดก็คือแผนที่ ซึ่งทำให้นักเดินเรือสามารถรู้ตำแหน่งของสถานที่ ที่จะเดินทางไป และในครั้งนี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี จันทบุรี ขอนำเสนอแผนที่โบราณที่เก่าแก่ที่สุดฉบับหนึ่งของโลก คือ แผนที่โลกของปโตเลมี (Ptolemy World Map) แผนที่ปโตเลมี คาดว่าเขียนขึ้นราว ค.ศ. 100 โดย คลอดิอุส ปโตเลมี นักภูมิศาสตร์ชาวกรีกแห่งเมืองอเล็กซานเดรีย (เมืองท่าสำคัญในอียิปต์สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ราว 300 ปีก่อนคริสตศักราช) โดยแผนที่ปโตเลมีได้อธิบายดินแดนที่เป็นที่รับรู้ในโลกโบราณ เช่น ยุโรป คาบสมุทรอาหรับ อินเดีย จีน รวมไปถึงดินแดนที่เรียกว่าแผ่นดินทองหรือสุวรรณภูมิ โดยการเขียนแผนที่ของปโตเลมีนั้นได้รวบรวมข้อมูลจากคำบอกเล่าของพ่อค้า นักเดินทาง ที่เคยเดินทางไปยังส่วนต่างๆ ของโลกมาแล้ว จุดเด่นของแผนที่ปโตเลมีนอกจากจะอธิบายดินแดนต่างๆ แล้ว ยังมีการระบุเส้นละติจูด และลองจิจูด เพื่อบอกตำแหน่ง และใช้องค์ความรู้ด้านภูมิศาสตร์ คณิตศาสตร์และดาราศาสตร์มาใช้ในการเขียนแผนที่ สมัยต่อมาแผนที่ของปโตเลมีได้ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายโดยนักเดินเรือชาวอาหรับ ส่วนในยุโรปนำมารื้อฟื้นในราวศตวรรษที่ 15 โดยเป็นแผนที่ ที่นักเดินเรือชาวโปรตุเกสและโคลัมบัส ใช้เป็นแนวทางในการเดินทางสำรวจโลก ที่สำคัญอีกอย่างนึงคือ แผนที่ปโตเลมี มีการกล่าวถึงดินแดนสุวรรณภูมิ โดยลักษณะของแผนที่ได้วาดเป็นรูปดินแดนที่ยื่นออกไปในมหาสมุทร และเขียนกำกับด้วยคำว่า "avrea cersonese แปลว่า แผ่นดินทอง" โดยระบุตำแหน่งให้ดินแดนนี้อยู่ระหว่างอินเดีย และจีน แผนที่ของปโตเลมี แม้จะมีการใช้มาตราส่วน แต่ก็มีความคลาดเคลื่อนอยู่มาก เนื่องจากการเขียนแผนที่ของปโตเลมีนั้น ใช้ข้อมูลจากการบอกเล่า และการคำนวนทางคณิตศาสตร์เป็นหลัก โดยผู้เขียนแผนที่ไม่ได้เดินทางไปยังดินแดนต่างๆ ด้วยตัวเอง อ้างอิง 1. แผนที่แผนทางในประวัติศาสตร์โลกและสยาม.ไมเคิล ไรท์,2548 2. ประวัติความเป็นมาของแผนที่ , รศ.ทวี ทองสว่าง ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี จันทบุรี https://www.facebook.com/207171695986671/posts/3867519976618473/
1.ชื่อโครงการ/กิจกรรม
ประสานงานเพื่อจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยดำเนินการแลกเปลี่ยนวิทยาการทางโบราณคดี โบราณสถาน วัฒนธรรมและพิพิธภัณฑสถาน
3.กำหนดเวลา
วันที่ 28 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน พ.ศ.2558
4.สถานที่
นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประธิปไตยประชาชนลาว
5.หน่วยงานผู้จัด
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไทย และกรมมรดก กระทรวงแถลงข่าว การท่องเที่ยวและวัฒนธรรม สาธารณรัฐประธิปไตยประชาชนลาว
6.หน่วยงานสนับสนุน
สถานเอกอัครราชฑูตแห่งราชอาณาจักรไทย ประจำนครหลวงเวียงจันทน์
7.กิจกรรม
ร่วมประชุมเจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไทย และกรมมรดก กระทรวงแถลงข่าว การท่องเที่ยวและวัฒนธรรม สาธารณรัฐประธิปไตยประชาชนลาว เพื่อปรับปรุงเนื้อหาของบันทึกความเข้าใจว่าด้วยดำเนินการแลกเปลี่ยนวิทยาการทางโบราณคดี โบราณสถาน วัฒนธรรมและพิพิธภัณฑสถาน
8.คณะผู้แทนไทย
1.1 นางจิตรปรีดี พร้อมศรีทอง ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานี
1.2 นางสาวนิธิวดี หอมแย้ม หัวหน้ากลุ่มงานวิเทศสัมพันธ์
1.3 ดร.ประสิทธิ์ เอื้อตระกูลวิทย์ อาจารย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
คณะทำงาน
1.4 นายกิตติพงษ์ สนเล็ก นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๙ ขอนแก่น
1.5 นายชินณวุฒิ วิลยาลัย นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ สำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี
9.สรุปสาระของกิจกรรม
9.1 เข้าพบและขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชฑูตแห่งราชอาณาจักรไทย ณ เวียงจันทน์ สปป.ลาว
คณะทำงานของกรมศิลปากรเข้าพบและขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชฑูตแห่งราชอาณาจักรไทย ณ เวียงจันทน์ สปป.ลาว คือ คุณรุจิธร แสงจันทร์ ที่ปรึกษาอัครราชทูตและคุณพศิกา พรประเสริฐ เลขานุการเอก
สรุปประเด็น คือ การทำบันทึกความเข้าใจระหว่างประเทศไทยและ สปป.ลาว ที่ผ่านมาควรประสานความต้องการของทั้งสองฝ่ายให้ชัดเจน ควรมีการประชุมร่วมเพื่อปรับปรุงเนื้อหาให้เป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่ายและที่สำคัญ ควรมีแผนปฏิบัติการที่ชัดเจนว่าหลังจากลงนามในบันทึกความเข้าใจแล้วจะปฏิบัติงานอะไรร่วมกันในอนาคตเนื่องจากทาง สปป.ลาว ถือว่าเมื่อลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกันแล้วต้องปฏิบัติงานร่วมกันในอนาคต หากมีแผนปฏิบัติงานแนบไปกับบันทึกความเข้าใจจะทำให้ผู้บริหารระดับสูงของ สปป.ลาว เห็นว่าจะมีการปฏิบัติงานร่วมกันจริงในอนาคตและตัดสินใจลงนามในบันทึกความเข้าใจง่ายขึ้น
9.2 ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยดำเนินการแลกเปลี่ยนวิทยาการทางโบราณคดี โบราณสถาน วัฒนธรรมและพิพิธภัณฑสถาน
คณะทำงานของกรมศิลปากรเข้าพบกับเจ้าหน้าที่ของกรมมรดก สปป.ลาว คือ ท่านเวียงแก้ว สุกสะหวัดดี รองอธิบดีกรมมรดก, ท่านสำลาน หลวงอำไพ รองอธิบดีกรมมดก, ท่านทองลิด หลวงโคด ผู้อำนวยการกองโบราณวิทยาและนางพิมมะแสง คำดาลาวง รองผู้อำนวยการกองโบราณวิทยา ณ ห้องประชุมกรมมดก ทั้งสองฝ่ายร่วมกันพิจารณาเนื้อหาและปรับปรุงเนื้อหาบันทึกความเข้าใจว่าด้วยดำเนินการแลกเปลี่ยนวิทยาการทางโบราณคดี โบราณสถาน วัฒนธรรมและพิพิธภัณฑสถาน จนเป็นที่ยอมรับทั้งสองฝ่าย(ดังแนบมาพร้อมนี้)
9.3 แผนปฏิบัติงาน
ตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตแห่งราชอาณาจักรไทย คณะทำงานของกรมศิลปากรจึงทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ของกรมมรดกในการจัดทำแผนปฏิบัติงานซึ่งเน้นศึกษาในประเด็นต่างๆ ที่ปรากฏในบันทึกความเข้าใจฯ โดยแต่ละฝ่ายจะจัดทำประเด็นที่ต้องการศึกษาและประชุมร่วมกันอีกครั้งเพื่อสรุปประเด็นที่จะศึกษาร่วมกัน ในวันที่ 25-27 มิถุนายน พ.ศ.2558 ณ กรมมรดก นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว
10.ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม
จากคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตแห่งราชอาณาจักรไทยและการทำความเข้าใจประเด็นศึกษาร่วมกันระหว่างกรมศิลปากรและกรมมรดกจึงควรมีการประชุมร่วมตามข้อ 9.3 เพื่อให้มีแผนปฏิบัติงานควบคู่กับบันทึกความเข้าใจฯ ซึ่งจะนำไปสู่การลงนามของทั้งสองฝ่ายโดยเร็ว
ในการประชุมร่วมตามข้อ 9.3 เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการ มีคณะกรรมการโครงการความร่วมมือระหว่างประทศไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : กิจกรรมประสานงานเพื่อจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยดำเนินการแลกเปลี่ยนวิทยาการทางโบราณคดี โบราณสถาน วัฒนธรรมและพิพิธภัณฑสถาน จำนวน 6 ท่าน คือ
1.นางอมรา ศรีสุชาติ รองประธาน
ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ(ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ)
2.รศ.สุรพล นาถะพินธุ กรรมการ
ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยศิลปากร
3.ดร.ประสิทธิ์ เอื้อตระกูลวิทย์ กรรมการ
อาจารย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
4.นายกิตติพงษ์ สนเล็ก กรรมการ
นักโบราณคดีชำนาญการ
5.นางสาวเชาวนี เหล็กกล้า กรรมการ
ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ
6.นายชินณวุฒิ วิลยาลัย กรรมการและเลขานุการ
นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ
................................................ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ
(นายชินณวุฒิ วิลยาลัย)
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลีหัวเรื่อง ธรรมเทศนา อานิสงส์ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 10 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534
สาระสังเขป : ประวัติความเป็นมา และตำนานเมืองสวรรคโลก รวมทั้งของโบราณที่เมืองสวรรคโลกผู้แต่ง : พระมุนินทรานุวัตต์โรงพิมพ์ : บำรุงนุกูลกิจปีที่พิมพ์ : 2507ภาษา : ไทยรูปแบบ : PDFเลขทะเบียน : น.32 บ. 4560 จบเลขหมู่ : 959.301 พ 628 ต
เลขทะเบียน : นพ.บ.25/15ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 48 หน้า ; 4.5 x 50.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 12 (123-137) ผูก 15หัวเรื่อง : ธรรมบท --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.45/10ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 44 หน้า ; 4.4 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 27 (267-281) ผูก 9หัวเรื่อง : ธรรมบท --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
นายจารึก วิไลแก้ว ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา เข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือการแก้ไขปัญหาการบุกรุกแหล่งโบราณคดี"ปราสาทสระตะโก" บ้านโคกแร่ หมู่ที่ ๒ ตำบลลำไทรโยง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอนางรอง ชั้น ๒ จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อผู้แต่ง : ประชุมพงศาวดารชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑๓,๕๑,๕๒ครั้งที่พิมพ์ : -สถานที่พิมพ์ : -สำนักพิมพ์ : -ปีที่พิมพ์ : ๒๕๓๔จำนวนหน้า : ๒๕๒ หน้าหมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนางสุดา พันธุ์คงชื่น ณ ฌาปน-สถาน กรมตำรวจ วัดตรีทศเทพ วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๓๔
หนังสือชุดประชุมพงศาวดารเป็นหนังสือที่มีคุณค่าด้านประวัติศาสตร์ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งสภานายกหอพระ-สมุดวชิรญาณและคณะกรรมการหอพระสมุดวชิรญาณ ได้ทรงริเริ่มให้รวบรวม คัดเลือกจากต้นฉบับสมุดไทยบ้าง และทรงให้แปลเรียบเรียงจากเอกสารหลักฐานที่ชาวต่างประเทศจดบันทึก และเรียบเรียงไว้บ้าง และโปรดให้จัดการเผยแพร่ เริ่มตีพิมพ์ ภาคที่ ๑ เมื่อพ.ศ. ๒๔๕๗ สืบต่อมาจนปัจจุบันถึงภาคที่ ๘๑
นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม
ในสาระสำคัญต่าง ๆ และเพื่ออนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ
สูจิบัตรงานฉลองอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา 23 มีนาคม-3 เมษายน 2515. นครราชสีมา: ศิริสุขการพิมพ์, 2515.
920.72ส886