ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,823 รายการ
องค์ความรู้เรื่อง : โบราณคดีเวียงลอ Ep.4โดย : นายจตุรพร เทียมทินกฤต นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่- ใต้กำแพงเมืองมีกระดูกมนุษย์??. ดังที่ทราบว่า ใน ปี พ.ศ. 2547-48 สำนักศิลปากรที่ 7 น่าน(ขณะนั้น) ได้ดำเนินทางโบราณคดี ขุดแต่งโบราณสถาน ขุดแต่งโบราณสถาน 14 แห่ง ขุดค้นทางโบราณคดีทั้งในและนอกกำแพงเมือง 19 จุด และขุดค้นขุดแต่งเพื่อทราบโครงสร้างการซ่อมแซม เสริมสร้างแนวกำแพง และขนาดของกำแพงเมือง จำนวน 8 จุดครอบคลุมทุกด้านของแนวกำแพงเมืองเวียงลอ ในการทำงานจะมีการขุดค้นลึกลงไปจนเลยพื้นใช้งานแรกสุดของกำแพงเมืองเพื่อให้ทราบถึงว่าไม่มีร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์อีกในพื้นที่นี้ หลุมขุดค้นอื่น ๆ ไม่มีปรากฏร่องรอยกิจกรรมมนุษย์ก่อนการสร้างกำแพงเมือง แต่การดำเนินงานไปจนกระทั่ง หลุมที่ 5 (T.P.5) ตั้งอยู่ในบริเวณ ทางแนวกำแพงเมืองพื้นที่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ แตกต่างออกไป. เมื่อการขุดตรวจลึกกว่าพื้นระดับใช้งานสุดท้ายของกำแพงเมือง ได้พบหลักฐานแหล่งฝังศพของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในวัฒนธรรมยุคโลหะตอนปลายจากการขุดค้นบริเวณใต้แนวกำแพงเมือง จากขุดค้น ในT.P.5 พบโครงกระดูก 3 โครง มีการฝังศพแบบนอนหงาย เหยียดยาว ต่อมาเมื่อการดำเนินงานจนแล้วเสร็จ ได้พบโครงที่ 4 พบส่วนกะโหลกศีรษะ แต่ไม่ได้ขยายออกไปเพิ่มเติมเนื่องจากปัญหางบประมาณสรุปได้พบว่า เป็นชุมชนขนาดใหญ่ วัฒนธรรมของผู้ตาย น่าจะมีความเชื่อการฝังศพหัวหน้าไปทางทิศตะวันออก นอกจากนั้นในการขุดค้นและขุดแต่งยังพบ สิ่งของเครื่องใช้ฝังร่วมกับร่างผู้ตาย และมีความแตกต่างปริมาณและความหลากหลายในโครงที่ 1และ 2 กับโครงที่ 3 อาจแสดงให้เห็นความแตกต่างทางสถานะสังคมหรือเศรษฐกิจก็เป็นได้. โบราณวัตถุที่พบเช่น ภาชนะดินเผา เครื่องมือหิน เครื่องมือเหล็ก เช่น มีด หอก ขวาน/สิ่ว(?) เป็นต้น แวดินเผา เครื่องประดับ เช่น กำไลสำริด ลูกปัดหินคาร์เนเลี่ยน, ลูกปัดแก้วที่รู้จักกันในชื่อ “ลูกปัดลมสินค้า (Trade-Wind Breads)”หรือลูกปัดทวาราวดี ด้วย นิยมมากในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 9 – 10 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 16 – 17 ในการศึกษาในปีพ.ศ. 2547 – 2548 เราจึงได้ลูกปัดเป็นตัวเปรียบเทียบว่าเจ้าของโครงกระดูกเหล่านี้น่าจะมีอายุในช่วง 2000 – 1500 ปีมาแล้ว หรือประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 – 12 และต่อมาเราได้รับเงินงบประมาณ ในปีงบประมาณ 2560 ได้ดำเนินการ “โครงการขุดค้นทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์เมืองโบราณเวียงลอ” ได้วางแผนผังในการทำงานพื้นที่ประมาณ 200 ตารางเมตรครอบคลุม บริเวณพื้นที่บริเวณใกล้เคียงพื้นที่ T.P.5 และสุ่มพื้นที่เพื่อขุดค้น ครอบคลุมพื้นที่ ได้พบหลุมฝังศพจำนวน 6 โครง โบราณวัตถุโดยรวมเหมือนปี 2547 – 2548 (หากมีโอกาสจะนำเสนอในตอนต่อ ๆ ไป) และทางคณะทำงานได้ส่งตัวอย่างไปหาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ ทั้งหมด 10 ตัวอย่าง ด้วยวิธีกำหนดอายุด้วยวิธีเรืองแสงความร้อน (Thermoluminescence : TL) ที่ ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้อายุระหว่าง 600-1050 ปีมาแล้ว ประมาณ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 – 20 ดังนั้น ทางคณะทำงานจึงได้กำหนดอายุของแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์เวียงลอ โดยใช้ค่าอายุทางวิทยาศาสตร์แทนแบบเปรียบเทียบรูปแบบที่ใช้แต่ปี 2548 ตัวอย่างเหล่านี้ได้จากจุดต่างๆในการขุดค้นจากชั้นบนสุดถึงล่างสุด แสดงถึงชุมชนเวียงลอมีการอยู่อาศัยก่อนการสร้างเมืองที่มีการสร้างกำแพงเมือง – คูน้ำที่สร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 – 20 น่าจะมีชุมชนในช่วงที่พุทธศตวรรษที่ 16 – 17 และได้ในเอกสาร ตำนานเมืองพะเยาพงศาวดารโยก มีการกล่าวถึง “ขุนเจือง” ที่ประสูติปี 1642 (ประมาณ 900 ปีมาแล้ว) แสดงว่า “พันนาลอ” ก็เป็นชุมชนบริวารของเมืองพะเยามาแต่ต้นสมัยขุนจอมธรรม จากค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ของกลุ่มชนที่ได้ฝังร่างไว้ในที่นี้ร่วมสมัยกับขุนเจือง ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่มีความสามารถมากเป็นที่ยอมรับของชนชาติใน 2 ฝั่งแม่น้ำของตอนกลาง ลาวตอนเหนือ จรดแม่น้ำแดง ในเวียดนาม ชุมชนพันนาลอได้อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องจนถึงสมัยล้านนา วัฒนธรรมจากยุคโลหะปลาย มารับพุทธศาสนาในพุทธศตวรรษที่ 19 – 20 การปลงศพเปลี่ยนจากฝังศพ เป็นการเผา ------------------------------------------------------ อ้างอิงเฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมี. ตำนานเมืองพะเยา. เชียงใหม่:นครพิงค์การพิมพ์,2554ประชากิจกรจักร,พระยา. พงศาวดารโยนก. กรุงเทพฯ:คลังวิทยา,2516.ศิลปากร,กรม. รายงานการขุดค้น เมือง กำแพงเมือง เวียงลอ (หลุมขุดค้นที่ 1-8). สำนักศิลปากรที่ 7 น่าน:2547 (เอกสารอัดสำเนา)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.43/1-6
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
จาตุรงฺคสนฺนิปาต (พรจาตุคงฺคสนฺนิปาต)
ชบ.บ.87/1-1
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
มหานิปาตวณฺณนา(เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (ทสพร-กุมาร)
ชบ.บ.106ก/1-8
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.334/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4 x 51 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 133 (359-369) ผูก 4 (2565)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์(8หมื่น)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
๒๘ กันยายน วันพระราชทานธงชาติไทย
กำเนิดธงสยาม
ประวัติศาสตร์การใช้ธงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย สามารถสืบได้แต่เพียงความว่า มีการใช้ธงสำหรับเป็นเครื่องหมายของกองทัพกองละสีและใช้ธงสีแดงเป็นเครื่องสำหรับเรือกำปั่นเดินทะเลทั่วไปมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และยังไม่มีธงชาติไว้ใช้ดังที่เข้าใจในปัจจุบัน
ในพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้กล่าวตามความในจดหมายเหตุต่างประเทศแห่งหนึ่งว่า ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา เรือค้าขายของฝรั่งเศสลำหนึ่งได้เดินทางมากรุงศรีอยุธยา เมื่อมาถึงที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์ของไทยไว้ว่า
“ปกติคนต่างชาติที่ล่องมาทางเรือจะไปอยุธยา ต้องผ่านเจ้าพระยา ซึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นเกิดที่ป้อมวิไชยเยนทร์ หรือป้อมฝรั่ง เพราะพระยาวิชเยนทร์ เกณฑ์แรงงานฝรั่งมาสร้างไว้ ปัจจุบันคือ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ ตั้งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ ปกติเรือสินค้าสำคัญ เรือที่มากับราชทูตที่จะผ่านต้องมีธรรมเนียมประเพณีคือ ชักธงประเทศของเขาบนเรือ เพื่อแสดงสัญลักษณ์ว่า มาถึงแล้ว เมื่อเรือฝรั่งเศสชักธงชาติของตัวเองขึ้น ฝ่ายสยามยิงสลุตคำนับตามธรรมเนียม ซึ่งขณะเดียวกันสยามเองต้องชักธงขึ้นด้วย เพื่อตอบกลับว่า ยินดีต้อนรับ แต่ตอนนั้นทหารประจำป้อมวิไชยเยนทร์ไม่เคยพบประเพณีแบบนี้ และสยามไม่มีธงสัญลักษณ์ที่ใช้เป็นธงชาติมาก่อน จึงคว้าผ้าที่วางอยู่แถวนั้น ซึ่งดันหยิบธงชาติฮอลันดาชักขึ้นเสาแบบส่งเดช เมื่อทหารฝรั่งเศสเห็นก็ตกใจไม่ยอมชักธงและไม่ยอมยิงสลุต จนกว่าจะเปลี่ยน เพราะการที่ได้ชักเอาธงชาติฮอลันดา (ปัจจุบันคือประเทศเนเธอร์แลนด์) ซึ่งในขณะนั้นฝรั่งเศสกับฮอลันดาเป็นศัตรูกัน) ฝ่ายไทยได้แก้ปัญหาโดยชักผ้าสีแดงขึ้นแทนธงชาติฮอลันดา ฝรั่งเศสจึงยอมยิงสลุตคำนับตอบ เหตุการณ์ดังกล่าวจึงถือกันว่าเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ธงชาติไทย โดยทหารสยามประจำป้อมก็เปลี่ยนเป็นผ้าสีแดงที่หาได้ในตอนนั้น และต้นกำเนิดธงก็เริ่มขึ้น นับจากนั้น ธงที่ใช้ไม่ว่าจะใช้บนเรือหลวง เรือราษฎร ใช้บนป้อมประจำการก็ล้วนเป็นสีแดง”
รัชกาลที่ ๑ – ๓
ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งเรือหลวงและเรือค้าขายของเอกชนยังคงใช้ธงสีแดงล้วนเป็นเครื่องหมายเรือสยาม จึงได้มีการนำสัญลักษณ์ต่าง ๆ มาประดับบนธงพื้นสีแดงเพิ่มเติมเพื่อใช้เป็นธงสำหรับเรือหลวง ในกฎหมายธงสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้กล่าวว่า “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มรูปจักรสีขาวลงในธงแดง สำหรับใช้เป็นธงของเรือหลวง” สาเหตุที่พระองค์กำหนดให้ใช้ “จักร” ลงไว้กลางธงผ้าพื้นแดงสำหรับชักในเรือกำปั่นหลวง เพื่อแสดงความแตกต่างระหว่างเรือของพระมหากษัตริย์ กับเรือของราษฎรสยาม ที่ใช้ธงผ้าพื้นแดงเกลี้ยง
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ทรงได้ช้างเผือกเอก ๓ ช้าง คือพระยาเศวตกุญชร พระยาเศวตไอยรา และพระยาเศวตคชลักษณ์ นับเป็นเกียรติยศยิ่งต่อแผ่นดิน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มรูปช้างเข้าภายในวงจักรของเรือหลวงไว้ด้วย อันมีความหมายว่า พระเจ้าแผ่นดินอันมีช้างเผือก แต่ธงช้างอยู่ในวงจักรใช้แต่เรือหลวงเท่านั้น เรือพ่อค้ายังคงใช้ธงแดงตามเดิม
รัชกาลที่ ๔ – พุทธศักราช๒๔๕๙
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยมีการทำสนธิสัญญากับชาติตะวันตกมากขึ้น อันเป็นผลต่อเนื่องจากการทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับสหราชอาณาจักรในพุทธศักราช ๒๓๙๘ พระองค์จึงมีพระราชดำริว่า สยามจำเป็นต้องมีธงชาติใช้ตามธรรมเนียมชาติตะวันตก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงพื้นสีแดงมีรูปช้างเผือกเปล่าอยู่ตรงกลางเป็นธงชาติสยามแต่เอารูปจักรออก เนื่องจากมีเหตุผลว่า จักรเป็นเครื่องหมายเฉพาะพระองค์พระมหากษัตริย์และธงพื้นสีแดงที่เอกชนสยามใช้ทั่วไปซ้ำกับประเทศอื่นในการติดต่อระหว่างประเทศ ธงนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ได้ทั่วไปทั้งเรือหลวงและเรือเอกชน แต่เรือหลวงนั้นทรงกำหนดให้ใช้พื้นเป็นสีน้ำเงินขาบชักขึ้นที่หัวเรือ เพื่อเป็นเครื่องหมายสำหรับแยกแยะว่าเป็นเรือหลวงด้วย ธงนี้มีชื่อว่า ธงเกตุ (ต่อมาได้วิวัฒนาการมาเป็นธงฉานของกองทัพเรือไทยในปัจจุบัน)
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ธงที่ใช้กับเรือหลวง ถูกปรับรูปแบบอีกครั้ง จากช้างสีขาวธรรมดา ปรับให้เป็น “ช้างทรงเครื่องยืนแท่น” หันหน้าเข้าข้างเสา เนื่องจากช้างเผือกเปรียบเป็นเครื่องแทนตัวของพระมหากษัตริย์แล้ว ดังนั้นการปรับให้ช้างทรงเครื่องยืนแท่น จึงเพื่อความสง่างามและเหมาะสมกับชั้นของพระมหากษัตริย์
ธงแดงขาว ๕ ริ้ว (พุทธศักราช ๒๔๕๙)
ธงช้างเผือกเปล่าได้ใช้เป็นธงชาติสยามสืบมาจนกระทั่งในปีพุทธศักราช ๒๔๕๙ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองอุทัยธานี ซึ่งขณะนั้นประสบเหตุอุทกภัยและทอดพระเนตรเห็นธงช้างของราษฎรซึ่งตั้งใจรอรับเสด็จไว้ถูกติดกลับหัว เนื่องจากในยุคนั้นถือว่าธงชาติหายาก ราคาแพง เพราะต้องสั่งทำจากต่างประเทศ ชาวบ้านต้องเก็บรักษา ขณะเดียวกันพระเจ้าแผ่นดินนานๆ ถึงเสด็จที ทำให้ชาวบ้านที่ชักธงสู่เสาไม่ทันระวัง ชักธงกลับหลัง ปรากฏภาพช้างหงายท้อง พระองค์จึงมีพระราชดำริว่า ธงชาติต้องมีรูปแบบที่สมมาตรเพื่อไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก นอกจากนี้ มีพระราชดำริว่า ธงช้างทำยากและไม่ใคร่ได้ทำแพร่หลายในประเทศ โดยธงช้างที่ขายตามท้องตลาดนั้นมักจะเป็นธงที่ผลิตจากต่างประเทศและประเทศที่ทำไม่รู้จักช้าง ดังนั้น รูปร่างของช้างที่ปรากฏจึงไม่น่าดู จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนรูปแบบธงชาติอีกครั้ง โดยเปลี่ยนเป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีแถบยาวสีแดง ๓ แถบ สลับกับแถบสีขาว ๒ แถบ ซึ่งเหมือนกับธงชาติไทยในปัจจุบัน แต่มีเพียงสีแดงสีเดียว ซึ่งธงนี้เรียกว่า ธงแดงขาว ๕ ริ้ว (ชื่อในเอกสารราชการเรียกว่า ธงค้าขาย) ทั้งนี้ สำหรับหน่วยงานราชการของรัฐบาลสยามยังคงใช้ธงช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ แต่ใช้รูปช้างเผือกแบบทรงเครื่องยืนแท่น ซึ่งแต่เดิมธงนี้เป็นธงสำหรับเรือหลวงมาตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๔๐ และมีฐานะเป็นธงราชการอยู่ก่อนแล้วตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๕๓
ธงไตรรงค์ (พุทธศักราช ๒๔๖๐ – ปัจจุบัน)
ล่วงมาถึงพุทธศักราช ๒๔๖๐ แถบสีแดงที่ตรงกลางธงค้าขายได้เปลี่ยนเป็น สีน้ำเงินขาบ หรือสีน้ำเงินเข้มเจือม่วงดังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน เหตุที่รัชกาลที่ ๖ ทรงเลือกสีนี้ สาเหตุหนึ่งมากจากการที่ทรงได้รับแรงบันดาลใจจากการที่พระองค์ทรงอ่านหนังสือพิมพ์กรุงเทพเดลิเมล์ ฉบับภาษาอังกฤษ ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๔๖๐ มีผู้เขียนเรื่องธงใช้นามปากกาว่า “อะแควเรียส” มีสาระว่า “ธงห้าริ้วสวยงามดี แต่หากจะให้ดีน่าจะมีสีน้ำเงินใส่เข้าไปด้วย เพราะสีน้ำเงิน เป็นสีแสดงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ในนานาประเทศ” อีกทั้งการที่พระองค์ได้เลือกสีนี้เพราะสีขาบเป็นสีประจำพระองค์ที่โปรดมาก เนื่องจากเป็นสีประจำวันพระราชสมภพคือวันเสาร์ ตามคติโหราศาสตร์ไทย และอีกประการหนึ่ง สีน้ำเงินยังแสดงถึงชัยชนะและความเป็นหนึ่งเดียวของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เช่น ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งใช้สีแดง ขาว น้ำเงินเป็นสีในธงชาติเป็นส่วนใหญ่ด้วย
พระองค์จึงทรงประดิษฐ์ธงชาติใหม่โดยนำสีน้ำเงินเป็นสีที่ถูกโฉลกกับพระองค์ เพราะทรงพระราชสมภพวันเสาร์ แต่ครั้นจะเติมให้เป็นสีม่วงตามสีวันพระราชสมภพ พระองค์จึงลองผสมสีม่วงเข้ากับสีน้ำเงิน และได้ออกมาเป็นมีใหม่ คือ สีขาบ ที่มีลักษณะน้ำเงินเข้มอมม่วง พระองค์จึงออกแบบธงชาติใหม่ให้เป็นแบบ ๕ ริ้วโดยมีสีขาบอยู่ตรงกลาง ขนาบด้วยสีขาว และต่อด้วยสีแดง และพระองค์ทรงพระราชทานชื่อเรียกว่า “ธงไตรรงค์” พร้อมความหมาย สีแดงหมายถึงเลือดอันยอมพลีเพื่อธำรงรักษาชาติและศาสนา สีน้ำเงินหมายถึงพระมหากษัตริย์ และ สีขาวหมายถึงความบริสุทธิ์แห่งศาสนา
ธงชาติแบบใหม่นี้ได้ปรากฏต่อสายตาชาวโลกครั้งแรกในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งกองทหารอาสาของไทยได้ใช้เชิญไปเป็นธงไชยเฉลิมพลประจำหน่วย
อย่างไรก็ตาม ภายหลังใช้ธงไตรรงค์ไปแล้ว ๑๐ ปี มีแนวคิดจะปรับรูปแบบของธงชาติไทยอีกครั้ง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ มีเจ้านายหลายพระองค์อยากให้กลับไปใช้ธงช้างเผือก ธงจักรี เหมือนเดิม จนถึงขั้นมีการเขียนข้อความดูหมิ่นดูแคลนว่าธงไทยเหมือนฝรั่งเกินไป จะเป็นเมืองขึ้นของประเทศอื่น
จนกระทั่งในปีพุทธศักราช ๒๔๗๐ รัชกาลที่ ๗ มีพระราชดำริว่า ธงชาติไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาหลายครั้งแล้ว ควรหาข้อกำหนดเรื่องธงชาติให้เป็นการถาวร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชบันทึก พระราชทานไปยังองคมนตรี เพื่อให้เสนอความเห็นของคนหมู่มากว่า จะคงใช้ธงไตรรงค์ดังที่ใช้อยู่เป็นธงชาติต่อไป หรือจะกลับไปใช้ธงช้างแทน หรือจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงลักษณะธงชาติ กับวิธีใช้ธงไตรรงค์อย่างไร ผลปรากฏว่าความเห็นขององคมนตรีแตกต่างกระจายกันมาก จึงมิได้กราบบังคมทูลข้อชี้ขาด ดังนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระบรมราชวินิจฉัยลงวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๔๗๐ ให้คงใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติต่อไป
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ รัฐบาลต่าง ๆ ยังคงรับรองให้ใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติอยู่เช่นเดิม โดยมีการออกพระราชบัญญัติธงฉบับ พุทธศักราช ๒๔๗๙ เป็นกฎหมายรับรองฐานะของธงไตรรงค์ และหลังจากเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทยในปีพุทธศักราช ๒๔๘๒ รัฐบาลต่าง ๆ ก็ยังคงรับรองให้ใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติอยู่เช่นเดิม และรับรองมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีการออกพระราชบัญญัติธงฉบับ พุทธศักราช ๒๕๒๒ เป็นกฎหมายรับรองฐานะของธงไตรรงค์
ต่อมาวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๙ ในการประชุมคณะรัฐมนตรีที่ประชุมซึ่งนำโดย พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้วันที่ ๒๘ กันยายน ของทุกปีเป็น วันพระราชทานธงชาติไทย โดยให้เริ่มในวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐ เป็นปีแรก แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ
ชื่อเรื่อง รู้เขา รู้เรา : ฉลองอายุวัฒนมงคล 80 ปี พระธรรมมหาวีรานุวัตร 27 สิงหาคม 2549ผู้แต่ง พระราชปริยัติสุธีประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN 974-364-521-7หมวดหมู่ พระพุทธศาสนาเลขหมู่ 294.30922 พ373รสถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกณ์ราชวิทยาลัยปีที่พิมพ์ 2549ลักษณะวัสดุ 180 หน้า : ภาพประกอบ, ตาราง ; 26 ซม.หัวเรื่อง สงฆ์ – ประวัติ พระราชปริยัติสุธี ธรรมเทศนาภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ในงานฉลองอายุวัฒนมงคล 80 ปี ของพระธรรมมหาวีรานุวัตร เจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี และเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์ วรวิหาร วันที่ 27 สิงหาคม 2549 "รู้เขารู้เรา" เป็นธรรมบรรณาการอีกชิ้นหนึ่ง แสดงออกซึ่งความรู้สึกของคณะสงฆ์และคณะศิษย์ที่มีต่อพระเดชพระคุณท่าน ในฐานะที่ท่านสนองงานคณะสงฆ์ เป็นประโยชน์อก่ประเทศชาติและพระพุทธศาสนามาเป็นเวลายาวนานมีผู้รู้จักคุ้นเคยมาก เป็นโอกาสที่จะทราบความรู้สึกของกันและกัน
พิพิธภัณฑ์ร้อยเอ็ดสัญจร ในโครงการเครือข่ายจังหวัดร้อยเอ็ดเคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมการศึกษาศิลปวัฒนธรรม
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร้อยเอ็ด จัดโครงการเครือข่ายจังหวัดร้อยเอ็ดเคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมการศึกษาศิลปวัฒนธรรม ร่วมกับหน่วยบริการจังหวัดร้อยเอ็ดเคลื่อนที่ บำบัดทุกข์ บำรุงสุข และสร้างรอยยิ้มให้ประชาชน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ โดยจัดกิจกรรมพิพิธภัณฑ์สัญจร นำข้อมูลประชาสัมพันธ์หน่วยงาน และแนะนำโบราณวัตถุชิ้นเด่นที่เก็บรักษาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร้อยเอ็ด ออกไปจัดแสดงให้บริการแก่นักเรียน เด็ก เยาวชน และประชาชนที่อยู่ในพื้นที่อำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ สร้างโอกาสการเรียนรู้ แนะนำพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร้อยเอ็ด ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ กำหนดจัดกิจกรรมในวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ณ โรงเรียนดอนกลอยวิทยาคาร ตำบลหนองฮี อำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๕ ณ โรงเรียนบ้านดงเมืองจอก ตำบลบ้านดู่ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ดและวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๕ ณ โรงเรียนบ้านป้องสร้างบุ ตำบลโพธิ์ศรีสว่าง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
ขอเชิญชวนผู้สนใจที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกับโรงเรียนดังกล่าว สามารถไปร่วมกิจกรรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๔๓๕๑ ๙๓๐๖
วันจันทร์ที่ ๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๑๔.๓๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วย นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร และคณะผู้บริหาร ข้าราชการ กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมบันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ ณ สตูดิโอ ๒ อาคาร ๑ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง ๗ HD
ประติมากรรมรูปพุทธประวัติ ตอน มารวิชัย
สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔
กรมพระราชพิธีส่งมาจากพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๔
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ ห้องธนบุรี-รัตนโกสินทร์ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ประติมากรรมทองเหลืองประดับแก้วสี แสดงตอนมารวิชัย กึ่งกลางเป็นฐานชุกชี และเบื้องหลังคือต้นโพธิ์ที่ใบประดับแก้วสี เบื้องล่างมีรูปพระแม่ธรณียืนบิดมวยผม ด้านซ้ายของฐานชุกชีเป็นรูปหมู่พญามาร ซึ่งมีพระยาวัสวดีมาราธิราชทรงอาวุธประทับบนคอช้างคีรีเมขลามหาคชสาร และบริวารถือวารถืออาวุธมุ่งไปยังโพธิบัลลังก์ ด้านขวาเป็นรูปพระยาวัสวดีมาราธิราชยกมือไหว้ มืออื่นแสดงการถือดอกบัว (ยอมแพ้ต่อพระบารมีของพระพุทธเจ้า) ส่วนบริวารจมไปกับสายน้ำ บางตนแสดงการยกมือไหว้เหนือศีรษะ บางตนถูกจระเข้สังหาร
ประติมากรรมพุทธประวัติชิ้นนี้เป็น ๑ ใน ๒๗ รายการ ที่เล่าเรื่องปฐมสมโพธิตอนต่าง ๆ แม้ไม่ปรากฏประวัติของผู้สร้างและปีที่สร้าง แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เนื่องด้วยในรัชกาลของพระองค์มีการเรียบเรียงพุทธประวัติขึ้นใหม่ชื่อว่า “ปฐมสมโพธิกถา” โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส ประกอบกับเมื่อครั้งยังทรงดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรส ทรงได้คิดค้นรูปแบบของพระอิริยาบถของพระพุทธเจ้าที่สัมพันธ์กับเรื่องราวพุทธประวัติเป็นปางต่าง ๆ เพิ่มขึ้นจากเดิมรวม ๔๐ ปาง
เหตุการณ์ตอนมารวิชัย เป็นเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติ ในเรื่องปฐมสมโพธิกถา ปริเฉทที่ ๙ มารวิชัยปริวรรต กล่าวว่าเป็นตอนที่พระโพธิสัตว์ (เจ้าชายสิทธัตถะ) เผชิญหน้ากับเหล่าพญามารที่ประสงค์จะทำร้ายพระองค์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ถึง ๙ ประการ แต่ก็มิอาจทำอันตรายใดๆ แก่พระโพธิสัตว์ได้ ดังข้อความตอนหนึ่งว่า
“...ลำดับนั้น [ฝ่ายพญามาร-ผู้เขียน] ก็แสดงฤทธิให้เป็นห่าฝนนานาวิธาวุธวิเศษ มีประเภทคือคมข้างเดียวแลคมทั้งสองข้าง บ้างก็เป็นพระขรรค์แลดาบหอกจักรธนูศรเสน่าเกาทัณฑ์เป็นต้น ให้ตกลงมาเป็นควันเป็นเปลวเพลิงมาบนอัมพราประเทศ พอถึงพระกายก็กลายเป็นทิพยมาลาเลื่อนลอยลงบูชาทั้งสิ้น...”
ในท้ายที่สุดพระโพธิ์สัตว์ทรงใช้พระดัชนี (นิ้วชี้) แตะที่พื้นแผ่นดินพร้อมเปล่งวาจาเรียกพระแม่ธรณีขึ้นมาเป็นพยานในการแสดงพระบารมีของพระองค์ที่ได้สั่งสมไว้เพื่อขจัดเหล่ามารทั้งปวง เมื่อพระแม่ธรณีปรากฏขึ้นเบื้องหน้าพระโพธิสัตว์ได้บิดน้ำจากเมาลี ซึ่งแทนด้วยคุณธรรมที่พระโพธิ์สัตว์สั่งสมมาตั้งแต่อดีตชาติ กลายเป็นกระแสน้ำเชี่ยวกรากพัดพาเหล่าพญามารทั้งปวง ดังข้อความว่า
“...ครั้งนั้นหมู่มารเสนาทั้งหลายมิอาจดำรงกายอยู่ได้ ก็ลอยไปตามกระแสน้ำปลาตนาการ*ไปสิ้น ส่วนคีรีเมขลคชินทรที่นั่งทรงองค์พระยาวัสวดีก็มีบาทาอันพลาด มิอาจตั้งกายตรงอยู่ได้ก็ลอยไปตามธารไปตราบเท่าถึงมหาสาคร...”
หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ พระโพธิ์สัตว์จึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ดับสิ้นซึ่งกิเลสทั้งปวง ดังข้อความว่า “...พอเป็นเวลาตัมพารุณสมัย** ไขแสงทองส่องอร่ามฟ้า สมเด็จพระมหาสัตว์ก็ตรัสรู้พระสัพพัญญุตัญญาณ ดับสูญสิ้นอาสวกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน***...” ซึ่งการตรัสรู้ของพระองค์ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ อีกทั้งวันดังกล่าวยังตรงกับเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธเจ้าอีกสองเหตุการณ์ คือ การประสูติ และปรินิพพานของพระองค์ด้วยเช่นกัน ดังนั้นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ของทุกปี จึงถูกกำหนดเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา ที่รู้จักกันในนามของวันวิสาขบูชา (Vesak Day) และถือเป็น “วันสำคัญของโลก” อีกด้วย
*ปลาตนาการ หมายถึง การหนีหายไปสิ้น
**ตัมพารุณสมัย หมายถึง เวลารุ่งอรุณ
***สมุจเฉทปหาน หมายถึงการละกิเลสได้ขาดอย่างพระอรหันต์
-------------------------------------------------------
อ้างอิง
ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระ. ปฐมสมโพธิกถา. กรุงเทพฯ: กองวรรณคดีและ ประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๓๐. (รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จัดพิมพ์ทูลเกล้าฯ ถวายสนองพระมหากรุณาธิคุณในมหามงคลเฉลิมพระเกียรติวันพระบรมราชสมภพ ครบ ๒๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วันอังคารที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๐).
เสริมกิจ ชัยมงคล. “ประติมากรรมขนาดเล็ก เล่าเรื่องปฐมสมโพธิหรือพระพุทธประวัติที่จัดแสดงภายใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร.” ใน พิพิธวิทยาการ รวมบทความวิชาการด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ และพิพิธภัณฑ์วิทยา ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: กลุ่มวิจัย สำนักพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔.
--------------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูล : นายพนมกร นวเสลา ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ