ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,823 รายการ

กรมศิลปากรขอเชิญชมการถ่ายทอดสด Facebook Live พิธีเปิดนิทรรศการพิเศษ "เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก" ในวันอังคารที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๗.๐๐ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


เศษซากความพินาศ โบราณสถานถ้ำเขาถมอรัตน์ โบราณวัตถุในศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ โดย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี



เมื่อหน่วยงานของรัฐได้รับหนังสือแจ้งตอบผลการพิจารณาจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรให้หน่วยงานของรัฐจัดทำหนังสือส่งมอบพร้อมเอกสารตามรายการที่สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรขอสงวนไว้ และรอหนังสือแจ้งตอบผลการตรวจรับเอกสารว่าถูกต้องครบถ้วนตามรายการที่ขอสงวนจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร เสียก่อนจึงจะดำเนินการทำลายเอกสารได้*** สำหรับหน่วยงานรัฐในพื้นที่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และสตูลอยู่ในความรับผิดชอบของหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลาให้ติดต่อที่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลาการส่งมอบเอกสารขอสงวนให้สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร(หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา)ให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติตามขั้นตอนการเตรียมการส่งมอบเอกสารที่แนบไปกับหนังสือแจ้งตอบผลการพิจารณาขอสงวนเอกสารของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรมี ๖ ขั้นตอนดังแผ่นภาพ อินโฟกราฟิก นี้เรียบเรียง โดย นางสาวเพ็ญทิพย์ ชุมเทพนักจดหมายเหตุอินโฟกราฟิก โดย นายวีรวัฒน์ เหลาธนูนักจดหมายเหตุปฏิบัติการ


         มหามกุฏราชสันตติวงศ์ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๐๑ วันประสูติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ          สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เมื่อแรกประสูติพระองค์มีพระอิสริยยศที่ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๔๒ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่ประสูติแต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม) ประสูติเมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๐๑          ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๑๘ ทรงรับราชการเป็นพนักงานใหญ่ในออดิตออฟฟิศ ในออฟฟิศหลวง กรมราชเลขานุการ ต่อมาเมื่อพุทธศักราช ๒๔๒๒ ทรงดำรงตำแหน่งไปรเวตสเกตรีหลวง ราชเลขานุการออดิตออฟฟิศ เป็นที่ปรึกษาในราชการต่างประเทศ และเป็นผู้บัญชาการกรมบาญชีกลาง ในกรมพระคลังมหาสมบัติ ทรงเป็นผู้ริเริ่มตั้งราชทูตสยามประจำราชสำนักต่างประเทศ และตั้งศาลต่างประเทศในราชอาณาจักร ครั้นวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๒๔ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นเทวะวงศ์วโรประการ พุทธศักราช ๒๔๒๕ เป็นอธิบดีจัดทหารดับเพลิงเรือลาดตะเวนตามท้องน้ำฝ่ายใต้พระนคร ต่อมาพุทธศักราช ๒๔๒๘ เป็นเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ ครั้นวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๔๒๙ เลื่อนเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรประการ เป็นราชเลขนุการ ครั้นพุทธศักราช ๒๔๓๐ ได้เป็นราชทูตพิเศษ ผู้แทนพระองค์เสด็จไปในงานเฉลิมพระชนมพรรษา ๕๐ พรรษา สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียที่ประเทศอังกฤษ และเสด็จไปดูงานในทวีปยุโรป ต่อมาพุทธศักราช ๒๔๓๕ เป็นหัวหน้าในที่ประชุมเสนาบดีสภา เป็นรัฐมนตรี และองคมนตรี ทั้งในรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๖           ในรัชกาลที่ ๖ เลื่อนเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทวะวงศ์วโรปการ ขัตติยพิศาลสุรบดี ศรีพัชรินทรภราดร สโมสรอเนกศาสตร์วิบูลย์ เกียรติจำรุญไพรัชการ ศุภสมาจารสารสมบัติ มัทวเมตตาธยาศรัย ศรีรัตนตรัยคุณานุสรสุนทรธรรมบพิตร เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๔ เป็นสมุหมนตรี แล้วเลื่อนเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ขัตติยพิศาลสุรบดี บรมราชินีศรีพัชรินทรภราดร สโมสรอเนกนิติปรีชา มหาสุมันตยานุวัตรวิบุลย์ ไพรัชราชกิจจาดุลสุนทรปฏิภาณ นิรุกติญาณวิทยาคณนาทิศาสตร์ โหรกลานุวาทนานาปกรณ์ เกียรติกำจรจิรกาล บริบูรณคุณสารสมบัติ สุจริตสมาจารวัตร มัทวเมตตาชวาธยาศรัย ศรีรัตนตรัยสรณธาดา กัลป์ยาณธรรมิกนาถบพิตร พุทธศักราช ๒๔๕๙ เป็นมหาอำมาตย์นายกคนแรก เป็นผู้รักษาพระนครในเวลาที่เสด็จประพาสหัวเมือง และคงในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ เป็นสภานายกแห่งสภาการคลัง เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๕ เป็นนายกกรรมการตรวจร่างประมวลกฎหมาย และเป็นพนักงานสอบประดิทินประจำปีที่ใช้ในราชการ           สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๔๖๖ พระชันษา ๖๖ ปี เป็นต้นราชสกุล เทวกุล   ภาพ : มหาอำมาตย์นายก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ครั้งทรงพระเยาว์


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           37/7ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              28 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 132/6 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 168/6 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           22/1ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                44 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           56/6ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                76 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57.7 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


         ภาพดอกไม้สองสไตล์ของ ทวี นันทขว้าง          100 ปี ศิลปสู่สยาม สุนทรีศิลปแห่งนวสมัย          ทวี นันทขว้าง ได้รับการยกย่องให้เป็น “ศิลปินชั้นเยี่ยม” สาขาจิตรกรรม จากการส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ 3 ครั้ง (ครั้งที่ 3 4 และ 7) โดยได้รับประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทจิตรกรรม ทั้ง 3 ครั้งติดต่อกัน ภาพ ‘ดอกบัว’ (ภาพขวา) ซึ่งเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายที่ส่งเข้าร่วมการประกวด (พ.ศ. 2499) ได้กลายมาเป็น 1 ในผลงานที่น่าจดจำที่สุดของทวี ภาพนี้ได้รวมเอาเอกลักษณ์สำคัญในงานจิตรกรรมของทวีเข้าไว้ด้วยกัน ทวีมักเขียนภาพหุ่นนิ่ง (Still life) ของดอกไม้ที่ถูกแต่งแต้มด้วยสีสันสดใส แต่กลับทำให้ผู้ชมรู้สึกถึงความหม่นมัวของบรรยากาศภายในภาพแทน ทั้งการจัดวางช่อดอกไม้ในแนวนอนซ้อนกันทาบทับด้วยเงามืด มีแสงตกลงบนวัตถุเพียงเล็กน้อย ประกอบกับการใช้สีโทนเย็น (น้ำเงิน – เทา) จัดบรรยากาศให้ดูมืดสลัวครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ ได้โน้มน้าวให้อารมณ์ของภาพมีความเศร้าหมอง ลึกลับ และดูน่าพิศวงในเวลาเดียวกัน ในขณะที่ภาพ ‘แจกันดอกไม้’ (ภาพซ้าย) ซึ่งเขียนขึ้นก่อนในปี 2496 กลับมีความแตกต่างกันออกไป ทวีจัดช่อดอกไม้ให้อยู่ในแนวตั้งประจันหน้ากับผู้ชม ใช้สีโทนร้อนแต่งแต้มเพียงเล็กน้อย แต่กลับทำให้ดอกไม้ดูมีชีวิตชีวามากกว่า โดยเฉพาะสีขาวบนดอกหน้าวัวและส่วนปลายของพรรณไม้ต่างๆ ในแจกันที่จับแสงและจับสายตาผู้ชม รวมถึงฝีแปรงที่ปาดป้ายอย่างสนุกสานไปบนกิ่งก้านของดอกไม้และพื้นหลังโดยรอบ ทำให้ภาพดอกไม้ของทวีทั้งสองภาพให้อารมณ์และความรู้สึกแตกต่างกันออกอย่างสิ้นเชิง (ดูภาพประกอบได้ในคอมเมนต์)          ภาพ ‘แจกันดอกไม้’ และ ‘ดอกบัว’ โดย ทวี นันทขว้าง จัดแสดงอยู่คู่กันในนิทรรศการพิเศษ “100 ปี ศิลปสู่สยาม สุนทรียศิลปแห่งนวสมัย” ระหว่างวันที่ 18 มกราคม – 9 เมษายน 2566 ณ อาคารนิทรรศการ 4 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เปิดให้เข้าชมวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 9.00 – 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)   อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ทวี นันทขว้าง ได้ที่ https://www.facebook.com/.../a.242467477.../2469946963136645


ชื่อผู้แต่ง        พรพรรณ  ทองตัน,ผู้แปล ชื่อเรื่อง         บันทึกสัมพันธภาพระหว่างประเทศสยามกับนานาประเทศ เล่ม ๑๕ (๗ ก.ค. ๑๘๕๘ - ๒๘ ธ.ค. ๑๘๕๘) ครั้งที่พิมพ์      - สถานที่พิมพ์   กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์     เอดิสันเพรสโพรดักส์ ปีที่พิมพ์        ๒๕๔๒ จำนวนหน้า    ๑๓๑ หน้า รายละเอียด                  หนังสือและเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่ช่วยให้สืบทราบเรื่องราวความเป็นมาในอดีตของชาติไทยได้อย่างขว้างขวาง โดยเฉพาะหนังสือและเอกสารภาษาต่างประเทศที่ผู้เขียนได้จดบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ที่ประสบมาด้วยตนเอง นับเป็นข้อมูลชั้นต้นที่สามารถนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับข้อมูลของฝ่ายไทย เพื่อช่วยสนับสนุนหลักฐานที่มีอยู่ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น


โบราณสถานสระแก้ว ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี สระแก้วเป็นสระน้ำโบราณที่ขุดลงไปในชั้นศิลาแลงธรรมชาติ โดยขอบสระมีการสลักภาพนูนต่ำ เป็นภาพสัตว์ ประกอบด้วย ช้าง, สิงห์, มกร, งูพันเสา, หมูป่า และภาพบุคคล เป็นต้น เมื่อเปรียบสระแก้วกับสระน้ำอื่นๆ ที่พบบริเวณเมืองศรีมโหสถ สันนิษฐานได้ว่า สระแก้วอาจเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากภาพสัตว์ที่พบนั้นล้วนเป็นสัตว์ที่เป็นมงคล และเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ในสังคมเกษตรกรรมทั้งสิ้น โบราณสถานสระแก้ว ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๔๗๘ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๗๕ ต่อมาได้ประกาศกำหนดขอบเขตโบราณสถานมีขอบเขตกว้าง ๒ เส้น ยาว ๓ เส้น เนื้อที่ประมาณ ๖ ไร่ ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๙๖ วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๐๐ ผู้เรียบเรียง นางสาวศุภลักษณ์ หมีทอง นักวิชาการวัฒนธรรม สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.462/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 5 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 160  (174-182) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : สัพกรรมวาจา--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.604/6                    ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 193  (399-407) ผูก 6 (2566)หัวเรื่อง : อภิธัมมา--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


Messenger