ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,823 รายการ
เล่ม 15
ชื่อเรื่อง : ตำราขี่ช้าง ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. ๒๑๙๙ - ๒๒๓๒ผู้แต่ง : ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ : ๒๔๖๕สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากรจำนวนหน้า : ๕๔ หน้าเนื้อหา : หนังสือตำราขี่ช้าง ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. ๒๑๙๙ – ๒๒๓๒ แจกในการพระกฐินพระราชทานพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ณ วัดเสนาสนาราม วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ.๒๔๖๕ ประกอบไปด้วยเนื้อหา บานเพนกฉบับหลวงครั้งรัชกาลที่ ๒ ว่าด้วยลักษณะนุ่งผ้า / ว่าด้วยลักษณะเกี้ยวผ้า / ว่าด้วยลักษณะผูกชะนัก / ว่าด้วยลักษณะสอดชะนัก / ว่าด้วยลักษณะที่นั่ง / ว่าด้วยลักษณะถือขอ / ว่าด้วยลักษณะฟันขอ / ว่าด้วยลักษณะแลภาย / ว่าด้วยลักษณะเฉาะ / ว่าด้วยลักษณะขี่ช้างไม่หัด / ว่าด้วยลักษณะขี่ช้างไม่หัด / ว่าด้วยลักษณะขี่ช้างค้ำกลางแปลง / ว่าด้วยลักษณะขี่ช้างน้ำมันค้ำในวงภาด / ว่าด้วยลักษณะช้างน้ำมันไล่ม้าฬ่อแพน / ว่าด้วยลักษณะขี่ช้างน้ำมันไล่คน / ว่าด้วยลักษณะขี่ช้างน้ำมันชนบำรูงา / ว่าด้วยลักษณะขี่ช้างชนฬ่อปลาเชือก / ว่าด้วยลักษณะขี่ช้างที่ไม่ข้ามน้ำ / ว่าด้วยลักษณะขี่ช้างเกียดน้ำ / ว่าด้วยลักษณะขี่ช้างเกียดไม้เกียดโรงเกียดจะลุงเบญภาด / ว่าด้วยลักษณะขี่ช้างกำหรากเหลือลาม / เลขทะเบียนหนังสือหายาก : ๒๒๕๔เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ : E-book_๒๕๖๗_๐๐๑๕หมายเหตุ : โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗
สุนทรียะความงามจากผลงานศิลปินแห่งชาติและนานาชาติ สู่การออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ผ่านนิทรรศการ "ภาพบันดาล Art Decoded"
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ สมาคมเพื่อการพัฒนาศิลปะและหัตถศิลป์ไทย (TACDA) จัดนิทรรศการ "ภาพบันดาล Art Decoded" แสดงการถ่ายทอดสุนทรียะจากผลงานของศิลปินแห่งชาติและนานาชาติสู่การต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบของที่ระลึก นับเป็นการเปิดมิติสัมผัสใหม่จากเพียงแค่สายตาที่รับรู้ผลงาน ขยายเพิ่มสู่การสัมผัสเป็นผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ โดยการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้รับแรงบันดาลใจมาจากผลงานศิลปะของศิลปิน รวม 11 ท่าน ได้แก่ ศ. (เกียรติคุณ) ปรีชา เถาทอง, Prof. Emeritus Peter Pilgrim, ศ. (เกียรติคุณ) ปริญญา ตันติสุข, รศ. ศรีวรรณ เจนหัตถการกิจ, สมศักดิ์ เชาวน์ธาดาพงศ์, ศ. สุธี คุณาวิชยานนท์, ชลิต นาคพะวัน, รศ. กันจณา ดำโสภี, ผศ. ชัยพร ระวีศิริ, Konstantin Ikonomidis และ ยุรี เกนสาคู
นิทรรศการนี้เป็นส่วนหนึ่งของ "โครงการวิจัยการจัดนิทรรศการระดับนานาชาติและศึกษาต้นแบบสินค้า ที่ระลึกภายในพิพิธภัณฑ์ เพื่อต่อยอดสู่การจัดนิทรรศการและการจัดทำสินค้าเชิงพาณิชย์ จากฐานทุนวัฒนธรรมของไทย" มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับและส่งเสริมองค์ความรู้ด้านศิลปะในสังคมไทย เกิดการต่อยอดในเชิงพาณิชย์สู่สากล จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 4 - 27 กันยายน 2567 เปิดวันพุธ - อาทิตย์ เวลา 09.00 - 16.00 น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (หอศิลป์เจ้าฟ้า) ปิดทำการทุกวันจันทร์ - อังคาร
พิธีเปิดนิทรรศการจัดขึ้นในวันที่ 4 กันยายน 2567 ตั้งแต่ 14.00 น. เป็นต้นไป โดยมีกิจกรรมบรรยายพิเศษโดย Véronique Delignette-Schilling ผู้อำนวยการหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสำหรับผู้บริหาร (Executive MBA) ด้านการจัดการแฟชั่นระดับโลก French Institute of Fashion (IFM) สาธารณรัฐฝรั่งเศส ในหัวข้อเรื่อง “การยกระดับผลิตภัณฑ์ของไทยสู่ระดับนานาชาติ”
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 08 1427 4998 หรือ Facebook page: สมาคมเพื่อการพัฒนาศิลปะและหัตถศิลป์ไทย (TACDA)
ปริวารปาลิ (ปริวารปาลิ)อย.บ. 298/13หมวดหมู่ พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 52 หน้า : กว้าง 4.7 ซม. ยาว 53.4 ซม. บทคัดย่อ เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคจากวัดประดู่ทรงธรรม อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
หมวดที่ ๓ การขออนุญาตพิมพ์หนังสือจำหน่าย
๑๙. หนังสือและเอกสารซึ่งกรมศิลปากรมีลิขสิทธิ์อยู่ หรือได้รับมอบอำนาจให้ดำเนิการเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ หรือหนังสือวิชาการที่หน่วยงานต่าง ๆ ในกรมศิลปากรค้นคว้าเรียบเรียงขึ้น ตามสาขางานที่หน่วยงาน นั้นๆ เกี่ยวข้องรับผิดชอบดำเนินการอยู่ ผู้ใดจะขออนุญาตพิมพ์จำหน่ายเพื่อประโยชน์ในการค้า กรมศิลปากรยินดีอนุญาตให้พิมพ์ได้ เว้นไว้แต่หนังสือและเอกสารที่ควรสงวนไว้เป็นความลับ ไม่ควรนำออกตีพิมพ์เผยแพร่ในปัจจุบัน หรือหนังสือที่กรมศิลปากรมีโครงการดำเนินงานอย่างอื่นไว้แล้ว ให้ผู้ขออนุญาตพิมพ์จำหน่ายทำหนังสือพร้อมแจ้งจำนวนพิมพ์ถึงผู้อำนวยการหรือหัวหน้ากองที่รับผิดชอบ ซึ่งจะนำเสนออธิบดีกรมศิลปากรเพื่ออนุญาต เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ผู้ขออนุญาตต้องทำสัญญา ไว้กับกรมศิลปากร แล้วจึงรับต้นฉบับไปจัดพิมพ์จำหน่ายได้
ถ้าผู้ขออนุญาตไม่มาทำสัญญากับกรมศิลปากร และมิได้แจ้งข้อขัดข้องให้ทราบภายใน ๓๐ วัน หลังจากวันที่ได้รับอนุญาต ถือว่าสละสิทธิ์ กรมศิลปากรอาจจะอนุญาตให้ผู้อื่นจัดพิมพ์จำหน่ายต่อไปได้
การอนุญาตให้พิมพ์จำหน่าย หมายความว่า อนุญาตเพียงครั้งเดียว ตามจำนวนที่ระบุไว้ในหนังสืออนุญาต และสัญญาถ้าจะพิมพ์ขึ้นใหม่ ต้องได้รับอนุญาตจากกรมศิลปากรทุกคราวไป
๒๐. หนังสือที่กรมศิลปากรอนุญาต ให้พิมพ์จำหน่าย ต้องมีคำนำเป็นหลักฐานในการอนุญาต ซึ่งผู้ขออนุญาตต้องตีพิมพ์ไว้เป็นเบื้องต้นของหนังสือ
๒๑. ผู้ขออนุญาตพิมพ์จำหน่าย ต้องขออนุญาตพิมพ์ครั้งหนึ่งไม่ต่ำกว่า ๓,๐๐๐ เล่ม และต้องจ่าย ผลประโยชน์ให้กรมศิลปากร ดังนี้
ก. ถ้าขออนุญาตพิมพ์หนังสือ ๓,๐๐๐ เล่ม ให้จ่ายหนังสือ ๑๐๐ เล่ม และจ่ายเงินร้อยละ ๑๐ ของราคาบนปก คูณด้วยจำนวนเล่มหนังสือที่พิมพ์
ข. ถ้าขออนุญาตพิมพ์ ๔,๐๐๐ เล่ม ให้จ่ายหนังสือ ๑๐๐ เล่ม และจ่ายเงินร้อยละ ๘ ของราคาบนปก คูณด้วยจำนวนเล่มหนังสือที่พิมพ์
ค. ถ้าขออนุญาตพิมพ์หนังสือ ๕,๐๐๐ เล่ม ให้จ่ายหนังสือ ๑๐๐ เล่ม และจ่ายเงินร้อยละ ๗ ของราคาบนปก คูณด้วยจำนวนเล่มหนังสือที่พิมพ์
ง. ถ้าขออนุญาตพิมพ์หนังสือ ๖,๐๐๐ เล่ม ให้จ่ายหนังสือ ๑๐๐ เล่ม และจ่ายเงินร้อยละ ๖ ของราคาบนปก คูณด้วยจำนวนเล่มหนังสือที่พิมพ์
จ. ถ้าขออนุญาตพิมพ์หนังสือ ๑๐,๐๐๐ เล่ม ให้จ่ายหนังสือ ๑๐๐ เล่ม และจ่ายเงินร้อยละ ๗ ของราคาบนปก คูณด้วยจำนวนเล่มที่พิมพ์
๒๒. และกรมศิลปากรจะสงวนระยะเวลาไม่อนุญาตให้ผู้อื่นพิมพ์หนังสือ เรื่องเดียวกันนั้นออกจำหน่ายอีก ภายในระยะเวลาดังนี้
ก. ถ้าขออนุญาตพิมพ์ครั้งละ ๖,๐๐๐ เล่มขึ้นไป จะสงวนระยะเวลาไว้ ๑ ปี
ข. ถ้าขออนุญาตพิมพ์ครั้งละ ๑๐,๐๐๐ เล่มขึ้นไป จะสงวนระยะเวลาไว้ ๒ ปี ทั้งนี้นับแต่ วันที่ลงนามในข้อตกลงหรือสัญญากับกรมศิลปากร
๒๓. ให้ผู้ขออนุญาตพิมพ์หนังสือจำหน่าย จ่ายเงินผลประโยชน์ให้แก่กรม ศิลปากรในวันที่ทำสัญญา
๒๔. ห้ามผู้ขออนุญาตพิมพ์หนังสือจำหน่ายตีพิมพ์ข้อความอื่นต่อเติม จากต้นฉบับของกรมศิลปากร และจะต้องส่งใบพิสูจน์อักษรให้เจ้าหน้าที่ของกรม ศิลปากรผู้รับผิดชอบตรวจแก้และสิ่งตีพิมพ์ทั้งหมด ถ้าปรากฏว่าตอนใดเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบไม่ได้ตรวจหรือตรวจแก้แล้ว แต่ยังไม่ได้สั่งตีพิมพ์ ผู้ขออนุญาตพิมพ์นำไปพิมพ์เองโดยพลการ ถ้ามีข้อความผิดตกบกพร่องมาก กรมศิลปากรจะ ไม่ยอมให้วางจำหน่ายจนกว่า จะได้มีการแก้ไขใหม่ให้ถูกต้อง
๒๕. ผู้ขออนุญาตพิมพ์จำหน่าย ต้องนำแบบปกไปให้ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากองหรือผู้แทนที่รับผิดชอบ ในการจัดพิมพ์หนังสือนั้น ตรวจพิจารณาเห็นชอบ และอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรเสียก่อน จึงจะตีพิมพ์ได้
ถ้าผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง หรือผู้แทนรับผิดชอบในการจัดพิมพ์ ไม่เห็นชอบกับลวดลายหรือสี หรือข้อความบนปกที่ผู้ขออนุญาตออกแบบมา จะให้ แก้ไขใหม่ตามที่เห็นสมควรก็ได้
๒๖. ข้อขัดแย้งต่าง ๆ อันอาจเกิดขึ้นระหว่าง ผู้ขออนุญาตจัดพิมพ์จำหน่ายกับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ในการจัดพิมพ์ ให้นำเสนออธิบดีกรมศิลปากรเป็น ผู้พิจาณาชี้ขาด
๒๗. ให้ผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้ากองที่เป็นผู้จัดให้ทำต้นฉบับหนังสือ หรือเอกสาร หรือได้รับ มอบอำนาจให้อนุญาตลิขสิทธิ์พิมพ์จำหน่าย เป็นเจ้าหน้าที่รับผิดชอบรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
ระเบียบนี้ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒ เดือน กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๑
การอ่านออกเสียงลายเส้นลายมือนี้หรือสาระ
วันอังคารที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา จัดโครงการบริหารจัดการทรัพย์สินทางศิลปวัฒนธรรม ตาม พรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ เรื่อง การทรัพย์สินทางศิลปวัฒนธรรมของชาติกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ณ ห้องประชุม สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา และศึกษาดูงานโบราณสถานเมืองพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
สุรินทร์เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเป็นมายาวนาน จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ ข้อมูลในพงศาวดาร เรื่องเล่าตำนานที่เล่าสืบต่อกันมา เป็นที่อยู่ของชนหลายเผ่าพันธุ์ทั้ง ไทย เขมร ลาว กวยหรือกูย ทำให้มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย
ตัวเมืองเมืองสุรินทร์ พื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์มีมนุษย์เข้ามาตั้งชุมชนแล้วตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ลักษณะชุมชนเป็นเนินดินมีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ขนาดกว้างประมาณ 1,000 เมตร ยาวประมาณ 1,300 เมตร เป็นลักษณะเฉพาะของแผนผังเมืองโบราณตั้งแต่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายถึงสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้นซึ่งพบทั่วไปในเขตภาคอีสานตอนล่าง กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมืองสุรินทร์ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 95 ตอนที่ 98 ลงวันที่ 19 กันยายน 2521
จากการสำรวจของหน่วยศิลปากรที่ 6 ในปี พ.ศ. 2534 พบว่าตัวเมืองยังมีสภาพที่สมบูรณ์เห็นแนวคูน้ำ-คันดินแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ เมืองชั้นในและเมืองชั้นนอก
เมืองชั้นใน มีลักษณะเป็นรูปวงรีแบบสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายถึงสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น มีขนาดกว้างประมาณ 1,000 เมตร ยาวประมาณ 1,300 เมตร สภาพคูเมืองค่อนข้างสมบูรณ์ มีบางส่วนเท่านั้นที่ขาดหายไป
เมืองชั้นนอก มีลักษณะแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบชุมชนขอมโบราณ มีคูน้ำ 2 ชั้น คันดิน 1 ชั้นล้อมรอบ ขนาดกว้าง 1,500 เมตร ยาว 2,500 เมตร สภาพคูเมืองค่อนข้างสมบูรณ์ ยกเว้นด้านทิศใต้
จากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น จะเห็นได้ว่า ตัวเมืองสุรินทร์ในปัจจุบันนี้ เคยเป็นบ้านเมืองมาแล้วตั้งแต่สมัยโบราณกาล ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของเมืองสุรินทร์ในอดีต ตลอดจนถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษของชาวสุรินทร์ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่อย่างสำคัญที่คนสุรินทร์ในปัจจุบันจะช่วยกันรักษามรดกอันทรงคุณค่าชิ้นนี้ไว้ตราบชั่วลูกหลาน ด้วยการไม่บุกรุกทำลายคูน้ำคันดินของเมืองโบราณสุรินทร์
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดสุรินทร์
จากการศึกษาวิจัยการและสำรวจพบแหล่งโบราณคดีในจังหวัดสุรินทร์ กว่า 59 แห่ง ส่วนมากเป็นชุมชนโบราณที่มีคูน้ำ-คันดินล้อมรอบ ได้แก่
แหล่งโบราณคดีบ้านโนนสวรรค์ ตำบลนาหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี หมู่บ้านเป็นเนินสูงเกือบ 3 เมตร พบโบราณวัตถุได้แก่ เศษภาชนะดินเผาแบบต่างๆ รวมทั้งภาชนะเคลือบสีน้ำตาลแบบขอม และพบภาชนะที่ใช้บรรจุมีลักษณะเป็นภาชนะก้นมนขนาดใหญ่ ที่ใช้ในการฝังศพครั้งที่สองของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่มีอายุอยู่ในราว 2,000-1,500 ปี มาแล้ว พบมากไปตลอดลุ่มแม่น้ำมูลตอนกลางแถบจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด เป็นลักษณะของกลุ่มวัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้ ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท แหล่งโบราณคดีแห่งนี้เป็นที่ตั้งของปราสาททนง เป็นโบราณสถานขอมชึ่งกรมศิลปากรมีโครงการขุดแต่ง ในปี พ.ศ.2536 และได้ขุดตรวจชั้นดินทางด้านหลังของโบราณสถาน พบหลักฐานสำคัญแสดงให้เห็นถึงการอยุ่อาศัยของมนุษย์มาก่อนจะสร้างปราสาท คือ โครงกระดูกมนุษย์เพศชาย อายุประมาณ 35- 40 ปี ปัจจุบันได้นำมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
นอกจากแหล่งโบราณคดีทั้งสองแหล่งนี้แล้ว ยังไม่มีการขุดค้นตามหลักวิชาการในอีกกว่า 50 แห่ง อาศัยเพียงเทียบเคียงค่าอายุกับแหล่งอื่น ๆ พอสรุปได้ว่ามีอายุอยู่ในราว 2,000-1,500 ปีมาแล้ว
สมัยประวัติศาสตร์ในจังหวัดสุรินทร์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบหลักฐานชุมชนสมัยทวารวดีทั้งภูมิภาค เมืองโบราณที่สำคัญ เช่น เมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เมืองนครจำปาศรี อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เมืองกันทรวิชัย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เมืองโบราณบ้านคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ เมืองเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนและเป็นรูปธรรมอย่างหนึ่งของวัฒนธรรมทวารวดี นั่นคือ การนับถือศาสนาพุทธ ซึ่งก่อให้เกิดงานศิลปกรรมที่เนื่องในศาสนา ตามเมืองหรือชุมชนโบราณสมัยทวารวดีจะพบว่ามีการสร้างสิ่งก่อสร้าง หรือ รูปเคารพในศาสนาพุทธขึ้น ได้แก่ พระพุทธรูป พระพิมพ์ ใบเสมา เป็นต้น
แหล่งวัฒนธรรมทวารวดีในสุรินทร์
วัฒนธรรมทวารวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-16 หรือราว 1,000-1,400 ปีมาแล้ว
ในภาคอีสานตอนล่าง ชุมชนในวัฒนธรรมทวารวดี มีอายุเดียวกับชุมชน ในจังหวัดต่างๆ บริเวณลุ่มแม่น้ำมูล เช่น เมืองเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา เมืองโบราณบ้านฝ้าย อำเภอหนองหงส์ เมืองโบราณบ้านประเคียบ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เมืองคงโคก อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ชุมชนโบราณบ้านไผ่ใหญ่ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ( กรมศิลปากร, 2532 : 114 - 116 ) เป็นต้น
ลักษณะชุมชนวัฒนธรรมทวารวดีที่พบในจังหวัดสุรินทร์มักจะมีคูน้ำคันดินล้อมรอบ มีโบราณวัตถุเนื่องในพุทธศาสนา เช่น ใบเสมา พระพุทธรูป พระพิมพ์ เป็นต้น
ชุมชนโบราณบ้านตรึม ตำบลตรึม อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ บริเวณบ้านตรึม มีลักษณะเป็นชุมชนที่มีคูน้ำล้อมรอบ ทางด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้าน มีหนองน้ำขนาดใหญ่ เรียกว่า หนองสิม ภายในวัดตรึม เป็นเนินดินมีใบเสมาปักอยู่ 16 ใบ ลักษณะเป็นแบบแผ่นรูปกลีบบัว ทำด้วยศิลาแลงและหินบะชอลต์ ใบเสมาทุกใบจะมีลักษณะของการตกแต่งที่เหมือนกัน นั่นคือ แกะสลักเป็นรูปหม้อน้ำ อยู่ตรงกลางใบทั้งสองด้าน ยอดเป็นกรวยแหลมบรรจบกับส่วนบนของใบเสมาพอดี ขอบใบเสมาแกะเป็นเส้นตรงโค้งไปตามขอบ ทำให้ดูเหมือนว่าผิวหน้าทั้งสองด้านของใบเสมายื่นออกมา ปัจจุบันทางวัดได้สร้างอาคารคลุมใบเสมาและเนินดินไว้
ชุมชนโบราณบ้านไพรขลา ตำบลไพรขลา อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ เป็นชุมชนที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ พบใบเสมา ที่โนนสิมมาใหญ่ และโนนสิมมาน้อย
โนนสิมมาใหญ่
อยู่ภายในหมู่บ้านทางทิศใต้ มีกลุ่มใบเสมาจำนวนมาก ปักอยู่ในตำแหน่งทิศทั้งแปดบางส่วนถูกเคลื่อนย้าย มาเก็บรวมกันไว้ในอาคารขนาดเล็ก ใบเสมาทั้งหมดทำจากศิลาแลง เป็นแผ่นรูปกลีบบัว ตรงกลางใบเป็นรูปหม้อน้ำมียอดเป็นรูปกรวยแหลม หรือเป็นสันขึ้นมาทั้งสองด้าน ลักษณะการตกแต่งเหมือนกับใบเสมาที่บ้านตรึม
โนนสิมมาน้อย
อยู่ทางทิศตะวันตกภายในหมู่บ้าน บริเวณนี้พบใบเสมาจำนวนเล็กน้อยอยู่รวมกันเพียงจุดเดียว ใบเสมาบางใบน่าจะปักอยู่ในตำแหน่งเดิม โดยมีการย้ายใบเสมาใบอื่น ๆ มาวางรวมกันไว้ ลักษณะของใบเสมาเหมือนกับใบเสมาที่โนนสิมมาใหญ่ เป็นใบเสมาแบบแผ่นรูปกลีบบัว ตรงกลางใบทำเป็นสันทั้งสองด้าน ทั้งหมดทำจากศิลาแลง
ใบเสมาที่พบสันนิษฐานว่าปักไว้เพื่อกำหนดเขตศักดิ์สิทธิ์ เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในสมัยนั้น
วัฒนธรรมขอมโบราณในสุรินทร์
จังหวัดสุรินทร์ด้านทิศใต้ติดต่อกับประเทศกัมพูชา มีเทือกเขาพนมดงรักกั้นเขตแดน มีการเดินทางติดต่อกันมาแต่โบราณผ่านทางช่องเขา เช่น ช่องจอม อ.กาบเชิง ช่องตาเมือน อ.พนมดงรัก เป็นต้น ทำให้มีการติดต่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกันมาตลอด โดยเฉพาะในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-18 โดยศึกษาจากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบดังนี้
ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 12 – 13 ตรงกับรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 แห่งอาณาจักรขอมโบราณ จังหวัดสุรินทร์มีการสร้างปราสาทภูมิโพน ที่ ต.ดม อ.สังขะ เป็นศาสนสถานขนาดใหญ่ในศาสนาฮินดูศิลปะขอมโบราณสมัยไพรกเมง (สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ ,2532)ประกอบด้วยปราสาทอิฐ 3 หลัง และฐานอาคารก่อด้วยศิลาแลง 1 หลัง พบชิ้นส่วนจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต 1 ชิ้น ซึ่งมีใช้ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 ทับหลังรูปสัตว์ครึ่งสิงห์ครึ่งนก ประกอบวงโค้งที่มีวงกลมรูปไข่ ศิลปะขอมโบราณแบบไพรกเมง จำนวน 1 แผ่น
บริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากปราสาท 500 เมตร มีหนองปรือซึ่งเป็นบารายขนาดใหญ่ แบบวัฒนธรรมขอมโบราณ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 300X500 เมตร อยู่ 1 แห่ง
ราวกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 15 (ประมาณ 1,100 ปีมาแล้ว) ในเขตจังหวัดสุรินทร์ มีชุมชนวัฒนธรรมเขมรโบราณที่สำคัญอีก 2 แห่ง คือ ชุมชนปราสาทหมื่นชัย บ้านถนน และชุมชนปราสาทบ้านจารย์ ต.บ้านจารย์ อ.สังขะ
ปราสาทบ้านจารย์ เป็นปราสาทศิลปะขอมโบราณสมัยเกาะแกร์ ราวกลาง-ปลายพุทธศตวรรษที่ 15 เป็นปราสาทองค์เดียว ก่อด้วยอิฐ มีคูน้ำรูปตัวยูล้อมรอบ ปัจจุบันตัวปราสาทมีสภาพหักพังเหลือเพียงส่วนเรือนธาตุ บนตัวปราสาทมีทับหลังขนาดใหญ่สลักรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
ปราสาทหมื่นชัย เป็นปราสาทองค์เดียว ก่อด้วยอิฐ มีคูน้ำรูปตัวยูล้อมรอบ ปัจจุบันตัวปราสาทมีสภาพหักพังเหลือเพียงส่วนเรือนธาตุ
ปราสาทตาเมือนธม บ้านหนองคันนา ต.ตาเมียง อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ เป็นปราสาทขนาดใหญ่ ก่อด้วยหินทราย และศิลาแลง
ปราสาททนง บ้านปราสาท ต.ปราสาททนง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ เป็นปราสาทขนาดเล็ก ก่อด้วยอิฐ หินทราย และศิลาแลง ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลับพลาและปราสาทประธาน
ปราสาทบ้านไพล บ้านปราสาท ต.เชื้อเพลิง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ เป็นปราสาทอิฐ 3 องค์ มีขนาดเท่ากันตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีคูน้ำรูปตัวยูล้อมรอบ
ต่อมาในช่วงอารยธรรมขอมในประเทศกัมพูชาได้เจริญถึงขีดสุดราวพุทธศตวรรษที่ 16 – 18 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย พบปราสาทหินและเมืองโบราณรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบขอม เป็นจำนวนมาก ได้แก่ เมืองพิมาย อันมีปราสาทพิมายเป็นศูนย์กลางของเมือง ตัวเมืองมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ เป็นต้น ช่วงระยะเวลานี้มีหลักฐานว่าเมืองสุรินทร์ได้รับอิทธิพลอารยธรรมของขอมโบราณอย่างมากเช่นกัน มีการปรับแผนผังเมืองให้ใหญ่ขึ้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบขอมโบราณมีคูน้ำ 2 ชั้น คันดิน 1 ชั้น ล้อมรอบ ขนาดกว้าง 1,500 เมตร ยาว 2,500 เมตร ล้อมรอบตัวเมืองเดิมรูปวงรีในสมัยก่อนหน้านั้นไว้ภายในอีกชั้นหนึ่ง ส่วนพื้นที่อำเภอต่างๆ พบปราสาทขอมโบราณอีกหลายแห่ง
ในช่วงหลังของพุทธศตวรรษที่ 18 อารยธรรมขอมโบราณเสื่อมลง เมืองสุรินทร์น่าจะเป็นบ้านเมืองสืบมาจนถึงในราวสมัยอยุธยาตอนปลายราวต้นพุทธศตวรรษที่ 24 สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ พระมหากษัตริย์ แห่งอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา โปรดเกล้าฯ ให้ยกชุมชนหลายแห่งในจังหวัดสุรินทร์เป็นเมือง ตัวเมืองสุรินทร์ในขณะนั้นเรียกว่า “ บ้านคูประทายสมัน “ จึงโปรดให้ยกขึ้นเป็นเมืองคูประทายสมัน มีพระสุรินทร์ภักดีเป็นเจ้าเมือง ทำราชการขึ้นตรงต่อเมืองพิมาย
สมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ยกฐานะเจ้าเมืองคูประทายสมันขึ้นเป็นพระยา นามว่า พระยาสุรินทร์ภักดี ปกครองเมืองคูประทายสมัน ขึ้นตรงต่อเมืองพิมาย
สมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้เมืองในบริเวณนี้หลายเมือง ได้แก่ เมืองคูประทายสมัน เมืองขุขันธ์ และเมืองสังฆะ อันเป็นเมืองที่มีความชอบในราชการสงคราม ทำราชการขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ พร้อมกับโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองคูประทายสมัน เป็นเมืองสุรินทร์ ตามชื่อเจ้าเมืองในคราวเดียวกัน ต่อมาเปลี่ยนเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองสืบต่อมาถึงปัจจุบัน
ขอเชิญชมการแสดงโขนชุด ขับพิเภก-สวามิภักดิ์-ยกรบ ในงานถวายผ้าพระกฐินพระราชทานกรมศิลปากร ณ วัดมหาธาตุ ยโสธร
สังเค็ด หรือ เครื่องสังเค็ด หมายถึง สิ่งของ มีตู้โต๊ะ สำหรับทำบุญเป็นทานวัตถุถวายเทศน์ หรือพระบังสุกุลที่หน้าศพ เพื่ออุทิศแก่ผู้ตาย
แนวทางการพัฒนาระบบราชการ 4.0 ตามเกณฑ์การรับรองสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 โดยนางอารีย์พันธ์ เจริญสุข
รองเลขาธิการ ก.พ.ร. สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งอธิบายถึงเรื่องระบบราชการ 4.0 และความเชื่อมโยง PMQA กับระบบราชการ 4.0