ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,823 รายการ
ชื่อผู้แต่ง อนุมานราชธน,พระยา
ชื่อเรื่อง ประวัติบุคคลครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์การศาสนา
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๑
จำนวนหน้า ๑๑๒ หน้า
หมายเหตุ -
หนังสือประวัติบุคคล เล่มนี้ ได้รวบรวมประวัติบุคคลต่างๆที่ศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน เขียนในอนุสรณ์งานศพของบุคคลเหล่านั้น ส่วนใหญ่เป็นคนคุ้นเคยและเคยร่วมงานกับท่านในระหว่างรับราชการอยู่ที่กรมศุลกากร กรมศิลปากรและในฐานะนายกราชบัณฑิตยสถาน
เลขทะเบียน : นพ.บ.144/15ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 58 หน้า ; 4.5 x 54.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 87 (362-367) ผูก 15 (2564)หัวเรื่อง : ติโลกวินิจฺฉย (พระไตรโลกวินิจฉัย)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.97/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 5.3 x 57 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 57 (140-153) ผูก 3 (2564)หัวเรื่อง : อภิธมฺมตฺถภาวนี (อภิธมฺมตถสงฺคหฎีกา (ฎีกาสังคหะ)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.14/1-3
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อผู้แต่ง : ชมรมนักเรียนทุนมูลนิธิอานันทมหิดล
ชื่อเรื่อง : เรื่องน่ารู้สำหรับประชาชน
ปีที่พิมพ์ : 2518
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
โรงพิมพ์ : ไทยวัฒนาพานิช จำกัด
จำนวนหน้า 244 หน้า
หนังสือเล่มนี้ผู้ที่ได้รับพระราชทานทุนการศึกษาต่อในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อเป็นการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และพระคุณท่ได้รับเสมอมา จึ่งได้จัดทำหนังสือเรื่องน่ารู้สำหรับประชาชนเพื่อเป็นวิทยาทาน เพื่อทูนเกล้าฯถวายโดยเสด็จพระราชกุศลเนืองจากในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา บรรจบครบปีที่ 48 ในวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2518
การสร้างองค์การที่มีศักดิ์ศรีและจริยธรรม จัดทำโดย สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้บริหารของแต่ละองค์กรสามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือหรือเทคนิควิธีต่างๆ ได้
เว็ปไซต์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก: www.finearts.go.th/museumkanjanaphisek
ประวัติความเป็นมา
ประวัติการจัดตั้ง สืบเนื่องมาจากนโยบายของกรมศิลปากรในการจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ทางด้านชาติพันธุ์วิทยา เพื่อขยายสาขาของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินอกเหนือไปจากด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ ที่สามารถรองรับการขยายตัวของกรุงเทพมหานครออกไปยังพื้นที่แถบชานเมือง จึงเป็นที่มาของการขอใช้ที่ดินจากราชพัสดุในพื้นที่ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๗ พุทธศักราช ๒๕๓๓ กรมศิลปากรรับสนองพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการจัดหาพื้นที่สำหรับเป็นสถานที่จัดเก็บโบราณวัตถุศิลปวัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยก่อสร้างอาคารจำนวน ๒ หลังในพื้นที่โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งใหม่ที่ตำบลคลองห้า สำหรับเป็นที่รองรับโบราณวัตถุศิลปวัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตลอดจนจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอื่นๆ ที่มีพื้นที่ในการจัดเก็บไม่เพียงพอ คือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พุทธศักราช ๒๕๓๙ ตรงกับปีที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงครองราชย์เป็นปีที่ ๕๐ ปี กรมศิลปากรจึงขออัญเชิญนามพระราชพิธีเฉลิมฉลองวโรกาสมหามงคลดังกล่าว มาเป็นชื่อของพื้นที่โครงการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาติพันธุ์วิทยา โดยรวมอาคารคลังทั้งสองหลังด้วย เรียกชื่อว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๕ ตอนที่ ๑๐๔ง. ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๔๑ การเคลื่อนย้ายโบราณวัตถุศิลปวัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอีกสองแห่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาจัดเก็บไว้ภายในอาคารทั้งสองหลังนั้น เริ่มดำเนินการตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๔๒แล้วเสร็จในพุทธศักราช ๒๕๔๘ ในลักษณะของคลังเปิด หรือ คลังเพื่อการศึกษา (visible storage) ซึ่งในขณะเดียวกันนั้นได้มีการจัดทำแผนแม่บทพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาติพันธุ์วิทยาควบคู่กันไป พุทธศักราช ๒๕๕๘ เป็นต้นมา กรมศิลปากรมีนโยบายในการจัดสร้างอาคารคลังแห่งใหม่ในบริเวณเดียวกัน เพื่อการจัดเก็บโบราณวัตถุศิลปวัตถุที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปี ให้เป็นคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประจำภูมิภาคภาคกลาง รองรับวัตถุพิพิธภัณฑ์จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางและภาคกลาง ส่วนอาคาร ๒ หลังที่เป็นอาคารคลังมาแต่เดิมนั้น จะปรับปรุงให้เป็นอาคารจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษกเป็นลำดับต่อไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการนำเสนอเรื่องราวของกลุ่มชนทุกเผ่าพันธุ์ เจ้าของวัฒนธรรมที่หลากหลายที่ปรากฏอยู่ในแผ่นดินไทยเป็นทั้งแหล่งเรียนรู้และศูนย์ข้อมูลเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
องค์ความรู้สุพรรณบุรี เรื่อง จิตรกรรมฝาผนัง วัดประตูสาร จังหวัดสุพรรณบุรีผู้เรียบเรียง :
นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
องค์ความรู้ : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
เรื่อง : ปราสาทบ้านบุ ที่พักคนเดินทางแห่งเมืองพนมรุ้ง
จากข้อความในจารึกปราสาทพระขรรค์ ประเทศกัมพูชา เมื่อกว่า ๘๐๐ ปีมาแล้ว กล่าวว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง “วหนิคฤหะ” จำนวน ๑๒๑ แห่ง ตามเส้นทางจากราชธานี ศรียโศธรปุระ หรือเมืองพระนครหลวง (Angkor Thom) ไปยังเมืองสำคัญต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นที่พักสำหรับผู้เดินทางไปแสวงบุญหรือค้าขายระหว่างเมืองในสมัยนั้น โดยมีเส้นทางหนึ่งมุ่งตรงไปยังเมืองพิมาย (วิมายปุระ) เมืองสำคัญของแคว้นมหิธรปุระซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา โดยจารึกระบุว่า ตามเส้นทางนี้มี วหนิคฤหะ จำนวน ๑๗ แห่ง
“วหนิคฤหะ” แปลว่า “บ้านมีไฟ” เป็นศาสนสถานประจำที่พักคนเดินทาง หรือที่บางท่านเรียกว่า “ธรรมศาลา” นิยมสร้างด้วยศิลาแลงและหินทราย มีแผนผังเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางตะวันออก ผนังด้านใต้ทำเป็นช่องหน้าต่างจำนวน ๕ ช่อง ส่วนผนังด้านเหนือปิดทึบ มีช่องประตูทั้งด้านตะวันออกและตะวันตก จากการศึกษาเส้นทางโบราณระหว่างเมืองพระนครหลวงและเมืองพิมายในปัจจุบัน ได้มีการค้นพบ “วหนิคฤหะ” ครบทั้ง ๑๗ แห่งแล้ว โดยมี ๘ แห่ง ตั้งอยู่ในประเทศกัมพูชา และอีก ๙ แห่ง ตั้งอยู่ในดินแดนประเทศไทย เริ่มที่ ปราสาทตาเมือน จังหวัดสุรินทร์ , ปราสาทถมอ , ปราสาทบ้านบุ , ปราสาทหนองกง , ปราสาทหนองปล่อง , ปราสาทหนองตาเปล่ง , ปราสาทบ้านสำโรง จังหวัดบุรีรัมย์ , ปราสาทห้วยแคน และกู่ศิลาขันธ์ จังหวัดนครราชสีมา ก่อนที่จะถึงจุดหมายปลายทาง ณ ปราสาทพิมาย
ในพื้นที่บริเวณเขาพนมรุ้งซึ่งตั้งอยู่บนเส้นทางโบราณสายนี้ มีวหนิคฤหะ ๑ แห่ง ปัจจุบันเรียกว่า “ปราสาทบ้านบุ” ตั้งอยู่ห่างจากเชิงเขาพนมรุ้งไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๒ กิโลเมตร ในพื้นที่โรงเรียนบ้านบุวิทยาสรรค์ ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ก่อสร้างด้วยศิลาแลงเป็นวัสดุหลัก นอกจากนี้ยังพบว่ามีการนำชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมของปราสาทรุ่นเก่า กลับมาใช้ซ้ำเป็นส่วนประกอบในการก่อสร้างด้วย ปราสาทบ้านบุได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖ มีการขุดค้นขุดแต่งครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑ ขุดค้นโบราณคดีเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๒ และในช่วง พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๐ ได้มีการบูรณะจนแล้วเสร็จสมบูรณ์
จากรูปแบบสถาปัตยกรรม ปราสาทบ้านบุเป็นศิลปะขอมแบบบายน อายุพุทธศตวรรษที่ ๑๘ แต่ทว่าบริเวณใกล้เคียงกัน ยังปรากฏร่องรอยชุมชนโบราณที่มีการอยู่อาศัยมาก่อนแล้ว ได้แก่ แหล่งโบราณคดีบ้านบุ อยู่ห่างไปทางตะวันออกประมาณ ๑ กิโลเมตร ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของชุมชนบ้านบุ จากการขุดค้นโบราณคดีเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๒ พบว่าในชั้นวัฒนธรรมสมัยแรก พบเศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน เช่น หม้อมีสัน ชิ้นส่วนพวกกา โดยไม่พบเศษภาชนะในสมัยวัฒนธรรมเขมรโบราณปะปนแต่อย่างใด จึงสันนิษฐานได้ว่าบริเวณพื้นที่นี้น่าจะมีการอยู่อาศัยมาก่อนที่วัฒนธรรมเขมรจะแพร่หลาย จากนั้นจึงพบหลักฐานความสืบเนื่องต่อมาของวัฒนธรรมเขมรในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๘ ซึ่งร่วมสมัยกับพัฒนาการสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ปราสาทพนมรุ้ง
ปราสาทบ้านบุ จึงเป็น วหนิคฤหะ หรือที่พักคนเดินทางในสมัยโบราณที่มีความโดดเด่นแห่งหนึ่ง กล่าวคือปรากฏทั้งชุมชนโบราณ (บ้านบุ) และศาสนสถานสำคัญ (ปราสาทพนมรุ้ง) ตั้งอยู่ในละแวกใกล้เคียงกัน บริเวณนี้จึงน่าจะเป็นจุดแวะพักที่สำคัญของบรรดาคาราวาน พ่อค้า นักเดินทาง ตลอดจนบุคคลที่ต้องการมาแสวงบุญสักการะ ณ ปราสาทพนมรุ้ง ด้วยนั่นเอง
เรียบเรียงโดย : นายพงศธร ดาวกระจาย ผู้ช่วยนักโบราณคดี อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
เอกสารอ้างอิง:
กรรณิการ์ เปรมใจ. รายงานเบื้องต้นการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านบุ ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. เอกสารรายงานของ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา กรมศิลปากร, ๒๕๕๒.
ปรียานุช จุมพรม. “การศึกษาพัฒนาการของชุมชนโบราณในวัฒนธรรมเขมรบริเวณรอบเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๘).” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ภาควิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๘.
ศานติ ภักดีคำ. ยุทธมรรคาเส้นทางเดินทัพ ไทย-เขมร. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๗.
พิสิฐ เจริญวงศ์ และคณะ. ปราสาทพนมรุ้ง. พิมพ์ครั้งที่ ๖. บุรีรัมย์: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, ๒๕๕๑.
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (มโหสถ)สพ.บ. 408-1กหมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง พุทธศาสนา ธรรมเทศนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 52 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ภาษาบาลี-ไทยอีสาน ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง นิสัยโพธิสัตว์ (นิไสโพธิสัด)
สพ.บ. 410/1ก
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ภาษา บาลี/ไทยอีสาน
หัวเรื่อง พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลาน
ลักษณะวัสดุ 92 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58.8 ซม.
บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานหลัก ในการศึกษา ค้นคว้า อนุรักษ์ เผยแพร่และสนับสนุนงานด้านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมของชาติ ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของเอกสาร เรื่อง “ตำราทางยกทัพ สำรวจคราวเตรียมรบพม่า ในรัชกาลที่ ๒” เพราะนอกจากจะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่บันทึกถึงเส้นทางเดินทัพอันเป็นเส้นทางที่ใช้ในการติดต่อของผู้คนในภูมิภาคต่าง ๆ ของไทยแล้ว ยังเป็นหลักฐานสำคัญที่ทำให้ทราบถึงร่องรอยของชุมชน บ้านเมือง และสถานที่สำคัญบางแห่งสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่ไม่เป็นที่รู้จักในปัจจุบัน กรมศิลปากรจึงได้ดำเนินการจัดพิมพ์เพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่เอกสารทางประวัติศาสตร์ดังกล่าวให้ปรากฏสืบไป ซึ่งการจัดพิมพ์เผยแพร่ในครั้งนี้ ได้จัดทำสารบัญและดัชนีค้นคำ เพื่อความสะดวกในการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับคำแนะนำและตรวจแก้ไขจากนางสาวรัชนี ทรัพย์วิจิตร อดีตหัวหน้าศูนย์นราธิปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สำนักหอสมุดแห่งชาติ จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้