ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,823 รายการ
กรมศิลปากรจัดกิจกรรม "กรมศิลป์อาสา ปลูกต้นกล้าความดี" จิตอาสาพัฒนาวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
วันเสาร์ที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานร่วมทำกิจกรรมโครงการ "กรมศิลป์อาสา ปลูกต้นกล้าความดี" ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๕ จิตอาสาพัฒนาวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เพื่อถวายพระกุศลเนื่องในวันคล้ายวันประสูติเจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราช พุทธศักราช ๒๕๖๕ โดยมี นางรักชนก โคจรานนท์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง นางสาวศิริรัตน์ ทวีทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร และประชาชนจิตอาสา เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ณ บริเวณพระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร พระนคร กรุงเทพฯ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา จัดกิจกรรม Museum On Tour นำพิพิธภัณฑ์สัญจรไปยังสถานศึกษาที่อยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ภายในจังหวัดสงขลาและจังหวัดใกล้เคียง โดยกำหนดจัดกิจกรรมในวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ณ โรงเรียนบ้านแหลม อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง และวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๕ ณ โรงเรียนวัดถ้ำพระพุทธ อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง
กิจกรรม Museum On Tour จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกน้องๆ นักเรียนที่อยู่ห่างไกลจากแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ได้เรียนรู้เกี่ยวกับแหล่งวัฒนธรรมสำคัญในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง การสร้างความสำนึกตระหนักในคุณค่าของวัฒนธรรมท้องถิ่นตนเอง และการประสานความร่วมมือกับสถานศึกษา สร้างเครือข่ายทางศิลปวัฒนธรรมให้กว้างขวางยิ่งขึ้น กิจกรรมประกอบด้วย การบรรยายประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และกลุ่มชาติพันธุ์พี่น้องท้องถิ่นภาคใต้ตอนล่าง กิจกรรมแนะนำพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา การเล่นเกมสันทนาการ ต่อจิ๊กซอว์โบราณสถาน โบราณวัตถุ การวาดภาพระบายสี
ติดตามข่าวสารกิจกรรมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ได้ที่เฟสบุ๊ก Songkhla National Museum : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา หรือสอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๗๔๓๑ ๑๗๒๘
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ขอเชิญชมนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๕ เรื่อง "ปราสาทเขาโล้น มรดกศิลป์ แผ่นดินสระแก้ว" จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับปราสาทเขาโล้น ซึ่งเป็นปราสาทที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดสระแก้ว มีเนื้อหาประกอบด้วย การค้นพบและการดำเนินงานทางโบราณคดีปราสาทเขาโล้น สถาปัตยกรรมปราสาทเขาโล้น ทับหลังปราสาทเขาโล้น รวมทั้งได้มีการนำโบราณวัตถุสำคัญที่พบจากปราสาทเขาโล้น ได้แก่ แถวกลีบบัวประดับเหนือทับหลัง แผ่นหินบรรจุวัตถุมงคล ยอดปราสาท และชิ้นส่วนบรรพแถลงรูปนางอัปสร ออกมาจัดแสดงให้ชมด้วย ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการเรื่อง "ปราสาทเขาโล้น มรดกศิลป์ แผ่นดินสระแก้ว" ได้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น ตั้งแต่วันที่ ๑๙ สิงหาคม – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. เปิดทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐๓๗ ๒๑๑ ๕๘๖
กรมศิลปากรขอเชิญชมการถ่ายทอดสด Facebook Live การบรรยายทางวิชาการ เรื่อง "เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก" ในวันพุธที่ ๔ กันยายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๔.๐๐ น. วิทยากรโดย Mr. Suzuta Yukio ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเซรามิกแห่งเมืองคิวชู ประเทศญี่ปุ่น
ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
ตู้ลายทอง กท.๗
ฝีมือช่าง สมัยรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ ๓)
เดิมอยู่วัดบวรมงคลราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์
ขนาด ด้านหน้า บน ๑๑๕ ซม. ล่าง ๑๒๓ ซม.
ด้านข้าง บน ๘๘ ซม. ล่าง ๙๓ ซม.
............................
ตู้ลายรดน้ำ ตกแต่งด้วยลายกนกเปลวเครือเถาไขว้ ครุฑคาบ นาคคาบ ออกเถาหัวครุฑ หัวนาค เคล้าภาพสัตว์ กะรอก ลิง นก ในระหว่างเถากนกด้วยท่าทางแตกต่างกัน ตัวเดียวบ้าง เป็นคู่บ้าง ด้านหน้าคล้ายภาพจับ ภาพเล่าเรื่องรามเกียรติ์ ด้านข้างเคล้าภาพพุทธประวัติ ที่ขอบบน ๓ ด้าน ตกแต่งด้วยลายใบเทศ ประดิษฐ์อย่างใหม่คล้ายลายหมอนทองอยู่เหนือลายบัว ขอบล่าง ๓ ด้าน ตกแต่งด้วยลายดอกพุดตานเครือเถาอยู่เหนือลายบัว
ขอบลวดใต้กรอบลิ้นชักด้านหน้ามีจารึกอักษรไทย ๑ บรรทัด ถอดออกเป็นภาษาไทยปัจจุบันได้ความว่า
“จุลศักราช ๑๒๐๖ ปีมะโรงฉอศก เดือน ๒ ขึ้น ๑๐ ค่ำ วันศุกร์ จีนออ แม่เมือง จีนทัว แม่ทรัพย์ เจ้า..(ลบเลือน)..เจ้าเก้า เจ้าเล็ก นางแพ ได้สร้างตู้ไว้ในพระพุทธศาสนาในหนึ่ง สิ้นเงิน ๑๕ ตำลึง ๒ บาท ขอกุศลนี้จงสำเร็จแก่พระ”
ด้านหน้าฝั่งขวา ตอนบนเป็นภาพอินทรชิตแปลงเป็นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ หนุมานกำลังเข้าต่อสู้โดยเกาะอยู่ที่คอช้าง ๒ มือจับหัวช้างในท่าพยายามดึงให้หัวช้างหลุดจากคอ ถัดลงมามีภาพจับลิงรบยักษ์อยู่ทางริมซ้าย มีลิงเล็ก ๔ ตัว ถือดาบยืนมองอยู่ทางริมขวา ตอนกลางเป็นภาพจับหนุมานดึงหัวช้างหลุดออกจากคอ แล้วตัวเองเซหงายลงทับหัวช้าง ถัดลงมาเล็กน้อย ริมขวามีภาพจับลิงรบยักษ์ ตอนล่างเป็นภาพกองทัพฝ่ายยักษ์ ในภาพทศกัณฐ์ทรงรถเทียมราชสีห์ มีพลเสนายักษ์เดินทัพติดตามมาเป็นแถว
ด้านซ้ายตอนบนเป็นภาพจับพระรบยักษ์ ตอนกลางเป็นภาพจับพระรามรบทศกัณฐ์ ตอนล่างเป็นภาพกองทัพฝ่ายพระรามในภาพพระรามทรงเทียมรถม้า มีขุนกระบี่วานรเดินทัพติดตามมา
ด้านข้างตู้ฝั่งขวา เป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งปางสมาธิอยู่ในบุษบก มีเทวดารายล้อมในอิริยาบถต่าง ๆ ต่ำสุดเป็นภาพเล่าเรื่อง พหลาคาวีชาดก ในภาพเป็นภาพพื้นดินมีศาลาอยู่ริมซ้าย หน้าศาลามีฤๅษีนั่งถือลูกประคำ เสือกับวัวหมอบอยู่หน้าฤๅษีมีราชสีห์ยืนอยู่ริมขวา ๑ ตัว
ด้านข้างซ้าย เป็นภาพพุทธประวัติปางเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ในภาพตอนบนเป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งบนหลังม้ากัณฐกะ มีนายฉันนะเกาะหางม้าตามเสด็จ มีเทวดาแวดล้อมส่งเสด็จ มีภาพพระยามารยืนห้ามการเสด็จอยู่ทางริมขวา ตอนกลางเป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งบนอาสนะในท่าตัดพระเมาลี ตอนล่างตรงกลางมีภาพนายฉันนะนอนสลบซบอยู่กับคอม้ากัณฐกะ
..................................
อ้างอิง
สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. ตู้ลายทอง ภาค ๒ (สมัยรัตนโกสินทร์) เล่มที่ ๑. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๖๕.
วันศุกร์ที่ ๗ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๕๐ น. นายสถาพร เที่ยงธรรม รองอธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วยคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สมาชิกผู้แทนราษฎร ร่วมเป็นประธานในพิธีบวงสรวงโบราณสถานเมืองไผ่ ในการนี้มี ผู้แทนราษฎรจังหวัดสระแก้ว ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ตัวแทนส่วนราชการจังหวัดสระแก้วและประชาชนในพื้นที่ร่วมพิธีดังกล่าว ณ โบราณสถานเมืองไผ่ จังหวัดสระแก้ว
สำหรับโบราณสถานเมืองไผ่ เป็นเมืองโบราณสำคัญอีกแห่งในภาคตะวันออก ที่มีพัฒนาการทางด้านประวัติศาสตร์อย่างต่อเนื่อง โดยเป็นเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี และมีพัฒนาการต่อเนื่องมาจนถึงในสมัยที่วัฒนธรรมเขมรโบราณ เข้ามามีบทบาทอยู่ในดินแดนแถบนี้ ซึ่งมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๘ อีกทั้งจากผลการสำรวจในปัจจุบัน เมืองไผ่ ยังถือได้ว่า เป็นเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดีที่ตั้งอยู่ชายขอบสุดของภาคตะวันออกอีกด้วย
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 38/1ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 78 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 132/7 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 168/7เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 22/2ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 34 หน้า : กว้าง 4.7 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง นิสฺสคฺคิย-ปาจิตฺติวณฺณนา สมนฺตปาสาทิกา วินยฏฺฐกถา (นิสสัคคิยปาจิตตีย์)อย.บ. 16/13ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 70 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 54.5 ซมหัวเรื่อง พุทธศาสนา วินัยปิฎก -- อรรถกถา นิสสัคคิยปาจิตตีย์บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ล่องชาด ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ภาพเหมือน ‘สุวรรณี สุคนธา’ โดย ทวี นันทขว้าง
100 ปี ศิลปสู่สยาม สุนทรีศิลปแห่งนวสมัย
วันนี้เมื่อ 39 ปีที่แล้ว สุวรรณี สุคนธ์เที่ยง นักเขียนชื่อดัง เจ้าของนามปากกา สุวรรณี สุคนธา เสียชีวิตจากการฆาตกรรมเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2527 ก่อนที่สุวรรณีจะเป็นที่รู้จักในฐานะนักเขียน เธอมีความสนใจในด้านศิลปะ เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาจากจังหวัดพิษณุโลก ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเพาะช่างและคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นหนึ่งในลูกศิษย์ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี และได้กลายมาเป็นอาจารย์ประจำคณะจิตรกรรมฯ หลังจบการศึกษา นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้สุวรรณีได้รู้จักกับ ทวี นันทขว้าง ศิลปินชั้นเยี่ยม (สาขาจิตรกรรม) พ.ศ. 2499 และอาจารย์ประจำคณะจิตรกรรมฯ ซึ่งต่อมาทั้งสองได้สมรสและหย่าร้างกันในภายหลัง โดยมีบุตรธิดารวม 4 คน
ผลงานส่วนใหญ่ของทวีมักเป็นภาพหุ่นนิ่งและภาพทิวทัศน์ (ดูภาพประกอบได้ในคอมเมนต์) ภาพเหมือน ‘สุวรรณี สุคนธา’ นับเป็นภาพเหมือนบุคคลเพียงไม่กี่ภาพที่ทวีได้เขียนไว้ ถึงแม้ว่าจะเป็นภาพเหมือน แต่ก็มิได้เขียนในรูปแบบเหมือนจริงทั้งหมด กลับมีลักษณะที่คลี่คลายไปสู่งานศิลปะแบบสมัยใหม่ ทวีเลือกใช้สีและเน้นฝีแปรงเพื่อสร้างสรรค์รายละเอียดภายในภาพให้เกิดมิติ โดยเฉพาะการใช้สีโทนเย็น เน้นความกลมกลืนกันขององค์ประกอบต่างๆ ตัดกับสีสันสดใสเพียงเล็กน้อย ทำให้บรรยากาศโดยรวมของภาพเขียนมีความสงบ เยือกเย็น แต่ในขณะเดียวกันก็ดูลึกลับ กึ่งจริงกึ่งฝัน
ภาพเหมือน ‘สุวรรณี สุคนธา’ โดย ทวี นันทขว้าง จัดแสดงอยู่ในนิทรรศการพิเศษ “100 ปี ศิลปสู่สยาม สุนทรียศิลปแห่งนวสมัย” ระหว่างวันที่ 18 มกราคม – 9 เมษายน 2566 ณ อาคารนิทรรศการ 4 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เปิดให้เข้าชมวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 9.00 – 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ทวี นันทขว้าง ได้ที่
https://www.facebook.com/.../a.242467477.../2469946963136645