ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,823 รายการ

ชื่อเรื่อง : วรรณคดีไทย เรื่อง พระอภัยมณี ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2505 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : ศึกษาภัรฑ์พาณิชย์จำนวนหน้า : 1,328 หน้าสาระสังเขป : เรื่องราวของหนังสือเล่มนี้ เริ่มต้นด้วยประวัติสุนทรภู่ ตั้งแต่ก่อนรับราชการ ตอนรับราชการ ตอนออกบวช ตอนตกยาก ตอนสิ้นเคราะห์ ว่าด้วยหนังสือที่สุนทรภู่แต่ง ว่าด้วยเกียรติคุณของสุนทรภู่ บันทึกเรื่องผู้แต่ง นิราศพระแท่นดงรัง อธิบายว่าด้วยเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่ ทั้งหมด 64 ตอน มีนิทานเรื่องพระอภัยมณีต่อจากคำกลอน


ส่งเสริมการอ่านผ่าน Facebook กับหอสมุดแห่งชาติชลบุรี เรื่อง วันสตรีสากล


เลขทะเบียน : นพ.บ.463/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 62 หน้า ; 5 x 52 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 160  (174-182) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : เวสฺสนฺตรชาตก--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.604/7                   ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 193  (399-407) ผูก 7 (2566)หัวเรื่อง : อภิธัมมา--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และ วันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ หรือ วันจักรี เป็นวันที่ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและมหาจักรีบรมราชวงศ์ ตรงกับวันที่ 6 เมษายน เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกหาราช เสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีและทรงสถาปนากรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย วันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ หรือที่เรียกกันโดยย่อว่า วันจักรี นั้น สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชดำริว่าพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีทรงหล่อพระบรมรูปลักษณะเหมือนพระองค์จริงฉลองพระองค์แบบไทย ณ โรงหล่อหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (บริเวณศาลาสหทัยสมาคมในปัจจุบัน) เพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระปฐมบรมราชบุพการี แล้วโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เชิญพระบรมรูปทั้ง 4 รัชกาลนั้น ประดิษฐานเพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ สำหรับถวายบังคมสักการะในงานพระราชพิธีฉัตรมงคลและพระราชพิธีพระชนมพรรษา ครั้นถึงสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสืบราชสันติวงศ์ ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบรมชนกนาถ จากต่างประเทศ แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานร่วมกับพระบรมรูปทั้ง 4 รัชกาลนั้น ต่อมาทรงพระราชดำริว่าพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทยังไม่เหมาะสมที่จะมีงานถวายบังคมสักการะพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแปลงพระพุทธปรางค์ปราสาทในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชทั้ง 5 รัชกาล พระราชทานนามใหม่ว่า ปราสาทพระเทพบิดร โดยทรงคำนึงถึงอนุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งได้ประดิษฐานพระบรมราชวงศ์จักรี ทรงมีพระเดชพระคุณต่อประเทศ เมื่อมีโอกาสก็ควรแสดงความเชิดชูและระลึกถึง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีเชิญพระบรมรูปจากพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทมาประดิษฐานที่ปราสาทพระเทพบิดร เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2561 อันเป็นดิถีคล้ายวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จกรีธาทัพถึงพระนคร ได้รับอัญเชิญขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบรรจุพระกรัณฑ์ทองคำลงยาราชาวดีซึ่งบรรจุพระบรมทนต์(ฟัน) พระสุพรรณบัฏจารึกพระปรมาภิไธย พระดวงพระบรมราชสมภพ พระดวงบรมราชาภิเษก พระดวงสวรรคต ลง ณ เบื้องสูงของพระเศียรพระบรมรูปทั้ง 5 รัชกาล ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชปรารภว่า ในปี 2475 อายุพระนครจะบรรจบครบ 150 ปี สมควรมีการสมโภชและสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์ 2 สิ่งประกอบกัน คือ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก องค์ปฐมกษัตริย์ และสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมพระนครธนบุรี พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก นั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบ ให้ศาสตรจารย์ศิลปะ พีระศรี ปั้นหุ่นหล่อ ส่วนสะพานทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยากำแพงเพชรอัครโยธินอำนวยการสร้าง และพระราชทานนามว่า สะพานพระพุทธยอดฟ้า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดปฐมบรมราชานุสรณ์ โดยกระบวนพยุหยาตรา เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2475 ซึ่งเป็นวันครบ 150 ปี และมีการพระราชพิธีเฉลิมฉลองกรุงเทพมหานคร ในปีต่อมาทางราชการได้ประกาศให้ถือวันที่ 6 เมษายน เป็นวันที่ระลึกมหาจักรีฯ และเป้นวันสำคัญของชาติวันหนึ่งที่กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการและให้ชักธงชาติ กำหนดให้มีการถวายบังคมพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ที่ปฐมบรมราชานุสรณ์ สำนักพระราชวังได้ออกหมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไปถวายสักการะพระบรมรูปที่ปฐมบรมราชานุสรณ์ และถวายบังคมสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช ที่ปราสาทพระเทพบิดร



          “ดินเหนียว” สำหรับใช้ในการปั้นงานประติมากรรม  โดยเฉพาะการปั้นรูปเหมือนบุคคล และอนุสาวรีย์ของกลุ่มงานประติมากรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  มีคุณสมบัติเป็นดินเนื้อละเอียด มีความหนาแน่นของเนื้อดินสูง  มีความเหนียว  ได้มาจากแหล่งธรรมชาติซึ่งอยู่ในชั้นดินที่ลึกจากหน้าดินลงไป  ชั้นดินที่ลึกนั้นมีคุณสมบัติเหนียว และปราศจากกรวดทรายปะปน  ถ้ามีก็ถือว่าน้อยมาก  ทางกลุ่มประติมากรรมจึงได้นำมาใช้กับงานประติมากรรม  โดยดินเหนียวที่ทางกลุ่มงานนำมาใช้นั้นจะมีลักษณะเป็นดินที่มีความแห้ง  รูปทรงเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม  มีขนาดหนา 1 นิ้ว  ยาว 10 นิ้ว  กว้าง 5 นิ้ว  เป็นวัตถุดิบที่ยังไม่สามารถนำมาใช้ในการปั้นได้  ดังนั้น ก่อนการนำไปปฏิบัติงานต้องมีขั้นตอนการเตรียมดิน โดยขออธิบายด้วยวิธีเบื้องต้น  ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถนำไปปฏิบัติตามได้  ดังนี้ ที่มา: https://datasipmu.finearts.go.th/academic/57


          หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช ชวนเชิญน้องๆ นักเรียนระดับประถามศึกษาตอนปลาย ร่วมกิจกรรมสอนศิลปะสำหรับเด็ก ครั้งที่ 3 ฝึกทักษะการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์ ในหัวข้อเรื่อง "ศิลปะพับกระดาษ วาดภาพ 3 มิติ" ในวันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม 2566 เวลา 10.00 น. ณ ห้องศิลปะและวรรณคดี หอสมุดแห่งนครศรีธรรมราช          สามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ "ฟรี" ไม่เสียค่าใช้จ่าย (รับจำนวนจำกัด) สอบถามเพิ่มเติมได้ทาง Facebook หอสมุดแห่งชาติ นครศรีธรรมราช หรือ โทร. 0 7532 4137 




         พระพุทธรูปไสยาสน์          ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔          กรมศิลปากรซื้อจากพิพิธภัณฑ์ของหม่อมเจ้าปิยะภักดีนาถ เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙          ปัจจุบันจัดแสดง ณ พระที่นั่งวสันตพิมาน (ชั้นบน) หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร          พระพุทธรูปไสยาสน์แกะสลักด้วยงา ลงสีตามเส้นขอบจีวร ส่วนฐานเป็นไม้แกะสลักลงรักปิดทองลงสีในผังยกเก็จ ประกอบด้วยฐานหน้ากระดานล่างจำหลักลายประจำยามลูกฟัก ฐานสิงห์ และฐานบัวหงายตามลำดับ พระพุทธรูปมีพุทธลักษณะสำคัญได้แก่ พระรัศมีเป็นเปลว อุษณีษะนูน ขมวดพระเกศาจำหลักเป็นลายตารางสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระเนตรปิด ปลายพระเนตรตวัดโค้งลง พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เล็ก พระวรกายครองจีวรห่มเฉียง สังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ประทับไสยาสน์เบื้องขวา (สีหไสยาสน์) พระหัตถ์ขวารองรับพระเศียรบนพระเขนยกลม (หมอน) ซ้อนกันสองชั้น พระหัตถ์ซ้ายวางแนบพระวรกายเบื้องซ้าย          พระพุทธรูปไสยาสน์ในสังคมไทยนิยมสร้างขึ้นเพื่อสื่อถึงหนึ่งในอิริยาบถของพระพุทธเจ้า (ประกอบด้วย อิริยาบถ นั่ง นอน เดิน (ลีลา) และยืน) อีกทั้งสัมพันธ์กับพุทธประวัติ อาทิ ตอนโปรดอสุรินทราหู ตอนปรินิพพาน ขณะเดียวกันพุทธประวัติที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าในอิริยาบถไสยาสน์นั้นพบว่ามีอีกหลายเหตุการณ์ เช่น ตอนทรงสุบินในคืนก่อนวันตรัสรู้ ตอนทรงพยากรณ์ก่อนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ตอนโปรดสุภัททปริพาชกสาวกองค์สุดท้าย เป็นต้น ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้มักปรากฏในงานจิตรกรรมไทยมากกว่าการสร้างเป็นประติมากรรม          พระพุทธไสยาสน์องค์นี้เป็นตัวอย่างของงาที่มีรอยแตกเรียกว่า “แตกลายงา” ซึ่งงาช้าง เป็นวัสดุที่หายาก เป็นของศักดิ์สิทธิ์ ป้องกันภัยหรือสิ่งชั่วร้ายได้ จึงนิยมนำมาแกะเป็นพระพุทธรูปเพื่อเป็น พุทธบูชา ในสังคมล้านนา เชื่อว่างาช้างที่กะเทาะหรือหักจากการชนช้างตัวอื่น เรียกว่า “งาสะเด็น” นั้นมีอานุภาพขับไล่วิญญาณร้ายหรือโรคร้ายได้     อ้างอิง กรมศิลปากร. ประณีตศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๓๖. กรมศิลปากร. มงคลพุทธคุณ เทศกาลปีใหม่ ๒๕๖๖. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๖๕. สนั่น ธรรมธิ. โชค ลาง ของขลัง อารักษ์. เชียงใหม่ : สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๕๐.


            หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ขอเชิญร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านผ่านสื่อดิจิทัล ของหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 7 กุมภาพันธ์ 2567โดยค้นหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Ebook) ผ่านทางเว็บไซต์ https://www.finearts.go.th/chiangmai.../categorie/dept-ebook           ทั้งนี้ หอสมุดแห่งชาติฯ เชียงใหม่ มีหนังสือดีที่น่าสนใจให้เลือกอ่านได้ตามความต้องการ 2 ประเภท คือ หนังสือหายากและหนังสือท้องถิ่น จำนวน 290 เล่ม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอ่าน Ebook แล้ว สามารถสแกน QR code หรือ คลิกลิงก์ด้านล่างเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ https://forms.gle/UjVhAZsC6LdkyJw19


           สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ ขอเชิญฟังการเสวนาทางวิชาการ "สุดยอดการค้นพบใหม่" ในทศวรรษที่ผ่านมาของกรมศิลปากร หัวข้อ "เหล็ก - ทองเหลือง สุดยอดการค้นพบใหม่ด้านโลหะวิทยาในแหล่งโบราณคดีภาคเหนือของประเทศไทย" วิทยากรโดย นายยอดดนัย สุขเกษม นักโบราณคดีชำนาญการ และนายสายกลาง จินดาสุ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ วันเสาร์ที่ 6 เมษายน 2567 เวลา 10.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร            ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมฟังการเสวนาได้โดยแสกน qr-code หรือ https://www.finearts.go.th/main/view/48102 และยังสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร 



วันสงกรานต์ ตรงกับวันที่ 13 เมษายนของทุกปี คำว่า "สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า การเคลื่อนที่ หรือการ เคลื่อนย้าย หมายถึงการเคลื่อนย้ายของพระอาทิตย์จากราศีหนึ่งสู่อีกราศีหนึ่ง คือวันขึ้นปีใหม่นั่นเองตามความหมายในภาษาสันสกฤตสงกรานต์จึงเกิดขึ้นทุกเดือน ส่วนระยะเวลาที่คนไทยเรียก "สงกรานต์” นั้น เป็นช่วงที่พระอาทิตย์เคลื่อนย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ นับว่าเป็นมหาสงกรานต์ เพราะเป็นวันและเวลาตั้งต้นปีใหม่ตามสรุยคติ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ คือ วันที่ 13-14-15 เมษายน โดยเรียกวันที่ 13 เมษายน ว่าวันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 เมษายน เป็นวันเนา วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก เมื่อวันสงกรานต์ตรงกับวันใดในแต่ละปี ก็จะมีนางสงกรานต์ประจำวันนั้นๆ เมื่อวันสงกรานต์ตรงกับวันใดในแต่ละปี ก็จะมีนางสงกรานต์ประจำวันนั้นๆ ตรงกับวันอาทิตย์ จะชื่อ “ทุงษเทวี” ตรงกับจันทร์ ชื่อ “โคราดเทวี” ตรงกับวันอังคาร ชื่อ”รากษสเทวี” ” ตรงกับวันพุธ ชื่อ”มัณฑาเทวี” ตรงกับวันพฤหัสบดีชื่อ “กิริณีเทวี” ตรงกับวันศุกร์ ชื่อ “กิมิทาเทวี” ตรงกับวันเสาร์ ชื่อ”มโหทรเทวี” ธรรมบาลกุมาร เป็นเทพบุตรที่พระอินทร์ประทานให้ลงไปเกิดในครรภ์ภรรยาเศรษฐี เมื่อโตขึ้นก็ได้เรียนรู้ภาษานก และเรียนไตรเภทจบเมื่ออายุได้เพียง 7 ขวบ จึงได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่างๆ แก่คนทั้งหลาย จนวันหนึ่ง ท้าวกบิลพรหม ได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ โดยถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสียเอง โดยธรรมบาลกุมารได้ขอตอบคำถามใน 7 วัน เมื่อถึงเวลา ท้าวกบิลพรหม ก็มาตามสัญญาที่ให้ไว้ ธรรมบาลกุมารจึงนำคำตอบที่ได้ยินจากนกไปตอบกับท้าวกบิลพรหม ทำให้ท้าวกบิลพรหมแพ้ในการตอบคำถามครั้งนี้ และก่อนจะตัดเศียร ท้าวกบิลพรหม ได้เรียก ธิดาทั้ง 7 องค์ ซึ่งเป็นนางฟ้า ให้เอาพานมารองรับ เนื่องจากเศียรของท้าวกบิลพรหมเป็นที่รวมแห่งความไม่ดีทั้งปวง ถ้าวางไว้บนแผ่นดินไฟจะไหม้โลก ถ้าโยนขึ้นไปบนอากาศฝนจะแล้ง ถ้าทิ้งลงในมหาสมุทรน้ำจะแห้ง ธิดาทั้ง 7 จึงมีหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันดูแลเศียรของท้าวกบิลพรหม และในทุกๆ ปี ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหม แห่ไปรอบเขาพระสุเมรุ เป็นเวลา 60 นาที แล้วประดิษฐานไว้ในถ้ำคันธุลี ในเขาไกรลาศ จึงเป็นที่มาของ นางสงกรานต์ โดยแต่ละนางจะทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์นั่นเอง คติความเชื่อของไทยถือว่าในวันสงกรานต์ถ้าหากได้มีการปล่อยนกปล่อยปลาแล้ว จะเป็นการล้างบาปที่ทำไว้ และเป็นการสะเดาะเคราะห์ร้าย ให้คงไว้แต่ความสุขความเจริญในวันขึ้นปีใหม่ การปล่อยนกปล่อยปลาที่ทำเป็นพิธีและติดต่อกันทุกๆปี จะเห็นได้ที่ปากลัดที่มีขบวนแห่ที่สวยงาม และเอกเกริกในตอนเย็น ตอนกลางคืนจะมีการละเล่นต่างๆ เช่น การเล่นสะบ้า คนหนุ่มสาวจะมีโอกาสได้ใกล้ชิดกัน วันที่เกี่ยวข้องกับวันสงกรานต์คือวันตรุษไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ซึ่งถือว่าเป็นวันสิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่ของไทยในสมัยโบราณคู่กับวันสงกรานต์ ที่เรียกว่า “ตรุษสงกรานต์” ตรุษ แปลว่า ยินดี หมายถึงยินดีที่มีชีวิตยั่งยืนจนถึงวันนี้ จึงจัดพิธีแสดงความยินดี โดยการทำบุญ ไม่ให้ประมาทในชีวิต ปกติจะจัด 3 วัน วันแรก คือแรม 14 ค่ำ เป็นวันจ่าย วันกลาง คือแรม 15 ค่ำ เป็นวันทำบุญ มีการละเล่นจนถึงวันที่ 3 คือขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปัจจุบันนิยมรวบยอดมาทำบุญและเล่นสนุกสนานในวันสงกรานต์ช่วงเดียว ฝ่ายโหรพราหมณ์ กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง ประกาศสงกรานต์ ปีพุทธศักราช 2567 ปีมะโรง (เทวดาผู้ชาย ธาตุทอง) ฉอศก จุลศักราช 1386 ทางจันทรคติ เป็น ปกติ มาสวาร ทางสุริยคติ เป็น อธิกสุรทิน วันที่ 13 เมษายน เป็น วันมหาสงกรานต์ ทางจันทรคติตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 เวลา 22 นาฬิกา 24 นาที นางสงกรานต์ ทรงนามว่า “มโหธรเทวี” ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว (ผักตบชวา) อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จไสยาสน์ลืมเนตรมาเหนือหลัง มยุรา (นกยูง) เป็นพาหนะ วันที่ 16 เมษายน เวลา 02 นาฬิกา 15 นาที 00 วินาที เปลี่ยนจุลศักราชใหม่เป็น 1386 ปีนี้ วันอังคาร เป็น ธงชัย, วันพฤหัสบดี เป็น อธิบดี, วันจันทร์ เป็น อุบาทว์, วันเสาร์ เป็น โลกาวินาศ ปีนี้ วันอังคาร เกณฑ์พิรุณศาสตร์ เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 300 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 30 ห่า ตกในมหาสมุทร 60 ห่า ตกในป่า หิมพานต์ 90 ห่า ตกในเขาจักรวาล 120 ห่า นาคให้น้ำ 7 ตัว เกณฑ์ธัญญาหาร ได้เศษ 5 ชื่อ วิบัติ ข้าวกล้าในภูมินาจะเกิดกิมิชาติ จะได้ผลกึ่ง เสียกึ่ง เกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีวาโย (ลม) น้ำน้อย


Messenger