ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,823 รายการ

ชื่อเรื่อง                     ตำนานเรื่องสามก๊กผู้แต่ง                       พระเจ้าบรมวงศเธอ กรมพระดำรงราชานุภาพประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   วรรณคดีเลขหมู่                      895.1309 ส645ตนสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์บรรหารปีที่พิมพ์                    2507ลักษณะวัสดุ               128 หน้า หัวเรื่อง                     สามก๊กภาษา                       ไทย บทคัดย่อ/บันทึก หนังสือเรื่องสามก๊ก เริ่มตีพิมพ์และว่าด้วยการแปลหนังสือสามก๊กเป็นภาษาต่าง ๆ



ชื่อเรื่อง                         สร้อยสายคำและปาราชิก (ส้อยสายคำ)      สพ.บ.                           451/1หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง                          วรรณกรรมพุทธศาสนา                                    ธรรมะกับชีวิตประจำวัน                                      จริยธรรมประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    78 หน้า : กว้าง 6 ซม. ยาว 42 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


         พัดรองที่ระลึกพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร          ลักษณะ : พัดรองที่ระลึกพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร พื้นพัดทำจากผ้ากำมะหยี่สีม่วงเข้ม ตรงกลางปักดิ้นเงินทองและไหมสีเป็นรูปจุลมงกุฎ (พระเกี้ยว) ฉากหลังปักลายขนนกการเวก วางบนหมอน เบื้องล่างเป็นแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรีบรมราชวงศ์ มีอักษรย่อ “ร.จ.บ.ต.ว.ห.จ.” หมายถึง “เราจะบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญ” อันเป็นเครื่องหมายของผู้สืบตระกูลวงศ์ ด้านหลังบุผ้าไหมสีแดง ปักตัวอักษรด้วยไหมสีเหลืองข้อความว่า “การพระราชพิธีโสกันต์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร รัตนโกสินทร์ศก 109” นมพัด ด้านหน้าปักดิ้นทองกรอบรูปพุ่มข้าวบิณฑ์หรือกลีบบัว ภายในเป็นรูปช่อดอกไม้ นมพัดด้านหลังปักไหมเป็นลายพันธุ์พฤกษา ด้ามทำจากไม้กลึง ปลายเป็นงาช้าง          ความสำคัญ : สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเจริญพระชนมพรรษาครบ 13 พรรษา จึงจัดให้มีพระราชพิธีโสกันต์อย่างใหญ่ มีเขาไกรลาส ตามพระราชประเพณี เป็นเวลาทั้งสิ้น 8 วัน ตั้งแต่วันที่ 18 - 25 มกราคม พุทธศักราช 2433          พระราชพิธีโสกันต์ เป็นพิธีการโกนจุกให้กับพระราชโอรส และพระราชธิดา ที่ประสูติแต่พระมเหสีและดำรงพระยศชั้นเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า พิธีการจะเริ่มต้นตั้งโหรหลวงดูฤกษ์ยามกำหนดวันเวลาประกอบพระราชพิธีถวาย เมื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นชอบจึงมีหมายกำหนดการพระราชพิธี ซึ่งพิธีการจะประกอบด้วยพิธีสงฆ์และพิธีพราหมณ์กระทำโดยพร้อมกัน ระยะเวลาในการประกอบพิธีเบ็ดเสร็จ 5 วัน โดย 3 วันแรก เป็นการสดับพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ส่วนเช้าวันที่ 4 เมื่อได้ฤกษ์ยามตามกำหนด พระราชโอรส หรือพระราชธิดาประทับบนพระแท่น หันพระพักตร์ตามทิศอันเป็นมงคลตามที่โหรกำหนดตามกำลังวัน ถอดพระเกี้ยวแบ่งเกศาพระเมาฬีออกเป็น 3 ปอย ด้วยพายเงิน ทอง และนาค จากนั้นนำลวดเงิน ทอง นาค และสายสิญจน์ผูกปลายพระเกศาแต่ละปอยไว้กับแหวนนพเก้าและใบมะตูม การตัดปอยพระเกศาทั้ง 3 ปอยเรียงลำดับการตัดดังนี้ ประธานในพิธี พระบรมวงศ์ชั้นใหญ่ในราชตระกูล และพระบิดา สำหรับเช้าวันที่ 5 อันเป็นวันสุดท้ายของพระราชพิธีโสกันต์ เจ้าพนักงานอัญเชิญพระเกศาไปลอยในแม่น้ำ เป็นอันจบพิธี          การออกแบบพัดรองที่ระลึกพระราชพิธีโสกันต์ใช้พระลัญจกรจุลมงกุฎขนนกซึ่งพระราชทานเป็นตราตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ภายหลังจาการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร และโปรดเกล้าฯการสถาปนาเฉลิมพระอิสริยยศสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร จึงมีการเปลี่ยนจากตราประจำพระองค์ที่เป็นตราพระลัญจกรจุลมงกุฎขนนกแทน          ขนาด : ยาว 102 กว้าง 37          ชนิด : ผ้า ไม้ งาช้าง          อายุ/สมัย : รัตนโกสินทร์ พุทธศักราช 2433   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=64873   ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th


โรงเรียนวัดเตาปูน จ.ชลบุรี (เวลา 09.00 น.) จำนวน 11 คน วันเสาร์ที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. ผู้บริหารและคณะครู จากโรงเรียนวัดเตาปูน อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี จำนวน ๑๑ คน เข้าศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม ตำแหน่ง พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้


ชื่อเรื่อง :  หนังสือค่าวสมัยร่ำ บ้านเมือง เมืองพร้าว เมืองฝาง เชียงแสน เชียงรายผู้แต่ง : นายหนานเพ็งปีที่พิมพ์ : ๒๔๗๖สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์อุปะติพงษ์จำนวนหน้า : ๒๔ หน้าเนื้อหา : หนังสือเล่มนี้ชื่อว่า คร่าวสมัย ร่ำบ้านเมือง เมืองพร้าว เมืองฝาง เชียงแสน เชียงราย พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์อักษร ที่โรงพิมพ์โรงพิมพ์อุปติพงษ์ ถนนช้างคลาน จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2476 นายหนานเพง ผู้เขียน อักษรล้านนา ภาษาล้านนา นายหนานเพ็งแต่งคร่าวเล่มนี้ขึ้นด้วยประโยคว่า “ปถม มุลลจาไข ค่อยฟังเทิอะน้อง แม่มอนตาไหล ข้าจักเล่ายฺาย ตามลายเรื่องถ้าน เชียงใหม่รัฐฐา พูรีเอกอ้าง รุ่งเรืองงามชื่นช้อย กินทานทำบุญ ทุกวันบ่น้อย บ่สูญเปล่าจ้อยตามธัมม์” ในต้นเรื่องบทที่ 1 บรรยายถึงการทำมาหากินของผู้คนในเมืองเชียงใหม่ ทรัพย์สินที่มีค่าคือทองคำ มีการแลกเปลี่ยนซื้อขายโดยใช้เงิน ผู้มีสติปัญญาดีสามารถทำมาหากินได้มากย่อมมีชีวิตที่สะดวกสบาย พร้อมกันนั้นเขาได้บรรยายว่า มนุษย์จะต้องมีศีลธรรม บางคนมีทรัพย์แต่ลุ่มหลงสุรานารีหรือโลภมากจะทำให้ชีวิตอับจนได้ บทที่ 2 ร่ำวิชาต่างๆ กล่าวถึงความโชคดีที่ได้เกิดมาพบและนับถือพระพุทธศาสนา ได้อยู่ในยุคสมัยที่บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองขึ้น มีวิทยุ มีไฟฟ้าไปมาหาสู่ติดต่อกันง่ายกว่าอดีตมาก มีฝรั่ง ชาวต่างประเทศเข้ามาอยู่ในเมืองเชียงใหม่ ความเจริญเข้ามารวดเร็ว ผู้คนต่างทำมาหากิน ให้ซื่อสัตย์และระวังความโลภเพราะเงินทองกลายเป็นของจำเป็นในการแลกเปลี่ยนซื้อขาย ให้พอดีพอประมาณ หากเป็นคนดีใครก็อยู่ใกล้ แต่ถ้าเป็นคนชั่วร้ายก็ไม่มีใครอยากคบหา บทที่ 3 ร่ำคนหนีไปอยู่ต่างเมือง กล่าวถึงผู้คนย้ายถิ่น คนเชียงใหม่ย้ายถิ่นฐานเพื่อไปทำมาหากินต่างเมือง ร่ำกล่าวว่าคนจีนนั้นค้าขายเก่งกว่าชาวบ้านทั่วไปในเชียงใหม่และร่ำรวยจากการค้าขาย ป่าไม้นั้นเป็นทรัพย์สินของราชการ แต่เมื่อย้ายถิ่นไปเมืองอื่น เช่น พร้าว ฝาง เชียงราย แม้สิบวันก็ยังไม่ได้เงิน ความจำเป็นต้องเลี้ยงดูครอบครัวทำให้ต้องอดทนและขยันหมั่นเพียร ฝรั่งชาวอังกฤษ ชาวพม่า ชาวเงี้ยว แขกใต้ ก็ยังเข้ามาทำมาหากินในมืองเชียงใหม่ ไม่ควรย้ายถิ่นไปไหน หากมีความรู้มีความสามารถขยันก็ไม่ต้องกลัวอดตาย เขียนที่บ้านประตูสวนดอก เชียงใหม่ ตำบลพระสิงห์ หมู่ที่ 1 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ริมถนน ไปดอยสุเทพ จากประตูสวนดอกไปตีนดอย มีสามหลักกิโลเท่านั้นเลขทะเบียนหนังสือหายาก : ๖๑๗เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ : E-book_๒๕๖๗_๐๐๑๖หมายเหตุ : โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗


             กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “เปิดลายแทงบูชาพระพิฆเนศ เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ” วิทยากร นางสาวศุภวรรณ นงนุช ภัณฑารักษ์ชำนาญการ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๕ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร             รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (facebook live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๖ - กันยายน ๒๕๖๗


ปริวารปาลิ (ปริวารปาลิ)อย.บ.                    298/14หมวดหมู่                พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย    คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ            42 หน้า : กว้าง 4.7 ซม. ยาว 53.4 ซม. บทคัดย่อ       เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคจากวัดประดู่ทรงธรรม อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา




สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก(เจริญ สุวฑฺฒโน) มีพระนามเดิมว่า เจริญ คชวัตร พระชนกชื่อ น้อยคชวัตร พระชนนีชื่อ กิมน้อย คชวัตร ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๑ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีฉลู เบญจศก จุลศักราช ๑๒๓๕ ตรงกับวันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๖ ณ ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี  เมื่อทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงจบการศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียนประชาบาลวัดเทวสังฆาราม ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ต่อมาพุทธศักราช ๒๔๖๙ พระชันษา ๑๔ ปี ทรงบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) จังหวัดกาญจนบุรี โดยพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธโชติ)...........(บทความจากนิตยสารศิลปากร ปีที่ ๒๕๕๖ ฉบับที่ ๖ เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ๒๕๕๖ โดย อรวรรณ ทรัพย์พลอย นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์) 


กรมศิลปากรชี้แจงประเด็นข่าวกุฏิพระโบราณ ที่วัดสิงห์ จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหาย สาเหตุจากช่างที่กรมศิลปากรจ้างมาซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ กรมศิลปากรแถลงข่าวชี้แจงประเด็นกุฏิพระโบราณที่วัดสิงห์ จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหาย โดยนายเอนก สีหามาตย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร นายประทีป เพ็งตะโก ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี นายช่างโยธาและวิศกรควบคุมงาน เป็นผู้แถลงข่าว ณ ห้องประชุมกรมศิลปากร ตามที่รายการเรื่องเล่าเสาร์ – อาทิตย์ ประจำวันอาทิตย์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ รายการ เรื่องเล่าเช้านี้ ประจำวันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง ๓ และหนังสือพิมพ์ข่าวสด หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ได้เสนอข่าวเกี่ยวกับกุฏิพระโบราณ ที่วัดสิงห์ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหายทั้งหมด สาเหตุจากช่างที่กรมศิลปากรจ้างมาซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ นั้น   กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ขอชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวดังนี้ ๑. วัดสิงห์ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งยังปรากฏเจดีย์ โบสถ์ วิหารเก่าแก่ ควรค่าแก่การศึกษาด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี พระพุทธรูปสำคัญของวัดคือ หลวงพ่อโต พระพุทธรูปลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย สมัยกรุงศรีอยุธยา พระพุทธไสยาสน์ (หลวงพ่อเพชร) นอกจากนี้ยังมีโกศบรรจุอัฐิหลวงพ่อพญากราย ซึ่งเป็นพระมอญธุดงค์มาจำพรรษา ที่วัดสิงห์ บนกุฏิของวัดมีพิพิธภัณฑ์ เก็บรักษาของเก่า ได้แก่ ตุ่มสามโคก แท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองสามโคก ใบลานอักษรมอญ ตู้พระธรรม และพระพุทธรูป ด้านหน้าวัดสิงห์มีการขุดค้นพบโบราณสถานเตาโอ่งอ่าง ซึ่งถือ เป็นหลักฐานของการตั้งชุมชนมอญในสมัยแรกในบริเวณนี้นับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เล่มที่ ๑๐๙ ตอนที่ ๑๐๙   ๒. กรมศิลปากร สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้รับการจัดสรรงบประมาณโครงการฟื้นฟูบูรณะโบราณสถานที่ประสบอุทกภัย โครงการบูรณะโบราณสถานวัดสิงห์ จำนวน ๑๒,๐๒๐,๐๐๐ บาท โดยแบ่งเป็น ๒ โครงการ - โครงการงานบูรณะโบราณสถาน จำนวนเงิน ๔,๔๕๐,๐๐๐ บาท - โครงการงานปรับยกระดับ (ปรับดีด) วงเงินสัญญาจ้าง ๗,๕๓๙,๐๐๐ บาท ดำเนินการว่าจ้างบริษัทกันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้ดำเนินงาน ตามสัญญาจ้างเลขที่ ๑๒/๒๕๕๕ เริ่มสัญญาวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ สิ้นสุดวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๕ โดยมีนายเฉลิมศักดิ์ ทองมา นายช่างโยธาชำนาญงาน สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี เป็นผู้ควบคุมงาน   ๓. เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๒๑.๓๐ น. นายเฉลิมศักดิ์ ทองมา ได้รับแจ้งจากตัวแทนบริษัทกันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด ในเวลาประมาณ ๑๖.๓๐ น. ขณะที่คนงานอยู่ในช่วงพัก ไม่มีใครอยู่ภายในบริเวณอาคารกุฏิโบราณ ได้ยินเสียงพร้อมทั้งปูนฉาบของตัวอาคารกะเทาะหลุดร่วงลงมา แล้วมุมอาคารด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เกิดการทรุดตัวลง ทำให้กระเบื้องหลังคาและโครงสร้างหลังคาทั้งหมด ทรุดลงมากองอยู่บริเวณพื้นไม้ชั้นสองของอาคาร ทำให้น้ำหนักบรรทุกของพื้นมากขึ้นกว่าเดิม หลังจากนั้นผนังด้านทิศใต้ ก็ได้พังทลายตามลงมาเนื่องจากรับหนักของหลังคาที่ทรุดลงมาไม่ไหว   ๔. เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๙.๐๐ น.ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี (นายประทีป เพ็งตะโก) นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ วิศวกรชำนาญการพิเศษ นายจมร ปรปักษ์ประลัย สถาปนิกชำนาญการ นายเฉลิมศักดิ์ ทองมา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสามโคก และคณะกรรมการวัดสิงห์ ได้ร่วมกันลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายและหาสาเหตุของการพังทลาย ได้ข้อสรุปดังนี้ ๔.๑ การที่อาคารเกิดการทรุดตัว เนื่องจากพื้นดินรับฐานรากอาคารอยู่ในที่ต่ำชุ่มน้ำตลอดทั้งปี ทำให้อ่อนตัวรับน้ำหนักอาคารไม่ไหวทำให้ผนังอาคารทรุดตัวลงมาประมาณ ๑ ใน ๔ ส่วน ๔.๒ ผนังอาคารมีร่องรอยแตกร้าวจำนวนมาก พบร่องรอยนี้จากการสำรวจเพื่อจัดทำรูปแบบรายการการอนุรักษ์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๔ ๔.๓ ปูนสอเสื่อมสภาพจากการถูกน้ำแช่ขังและใช้งานอาคารมาเป็นเวลานาน ทำให้การยึดตัวของอิฐและปูนสอไม่ดี เป็นสาเหตุให้ตัวอาคารทรุดลงมา ๔.๔ สภาพอาคารที่ปูนฉาบผนังนอกหลุดร่อน ทำให้น้ำซึมผ่านเข้าไปในผนังทำให้ ปูนสอชุ่มน้ำ ทำให้แรงยึดเกาะระหว่างอิฐต่ำ ๔.๕ ขณะที่อาคารทรุดตัวอยู่ระหว่างการขุดเพื่อตรวจสอบฐานของอาคารส่วนที่ จมดินเพื่อเตรียมการกำหนดระยะที่ทำการตัดผนังเพื่อเสริมคานถ่ายแรง ยังไม่ได้ทำการตัดผนัง จึงยังมิได้มีการรบกวนโครงสร้างของอาคารโบราณ แต่ตัวอาคารก็เกิดการทรุดตัวลงมาเสียก่อน   หลังจากทำการตรวจสอบพื้นที่แล้ว สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้สั่งการให้บริษัทผู้รับจ้างทำการค้ำยันผนังส่วนที่เหลือโดยให้ดำเนินการตามคำแนะนำของวิศวกร และทำการจัดเก็บวัสดุส่วนที่สามารถนำมาก่อสร้างเพื่อคืนสภาพอาคารไปจัดเก็บในที่ให้เรียบร้อย รวมทั้งได้เร่งรัดให้ผู้รับจ้างดำเนินการบูรณะกุฏิให้คืนสภาพโดยเร็ว โดยให้บริษัทผู้รับจ้างร่วมกับสถาปนิก วิศวกร และผู้เกี่ยวข้อง ปรับปรุงรูปแบบรายการ และวิธีปรับดีดให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันของกุฏิ และให้ดำเนินการบูรณะกุฏิให้กลับคืนสภาพเดิม โดยให้เป็นไปตามรูปแบบรายการบูรณะที่ได้รับอนุญาต




หมวดที่ ๒ การขออนุญาตพิมพ์หนังสือแจกในงานกุศล ๓. หนังสือและเอกสารที่กรมศิลปากรเป็นผู้มีลิขสิทธิ์สืบทอด หรือได้รับมอบอำนาจให้ดำเนินการเกี่ยวกับ ลิขสิทธิ์หรือหนังสือที่หน่วยงานในกรมศิลปากรค้นคว้าเรียบเรียงขึ้น ตามสาขางานที่หน่วยนั้น ๆ เกี่ยวข้อง รับผิดชอบดำเนินอยู่ กรมศิลปากรยินดีอนุญาตให้พิมพ์เผยแพร่ในงานกุศลได้ เว้นแต่หนังสือและเอกสาร ที่ควรสงวนไว้เป็นความลับ ไม่สมควรนำออกตีพิมพ์เผยแพร่ในปัจจุบัน หรือหนังสือที่กรมศิลปากร มีโครงการดำเนินงานอย่างอื่นไว้แล้ว ๔. ผู้ใดต้องการพิมพ์หนังสือดังกล่าวในข้อ ๓ เพื่อแจกเป็นวิทยาทาน หรือแจกเพื่อ การกุศลสาธารณประโยชน์ หรือแจกเป็นมิตรพลีในงานมงคลหรืออวมงคล หรืองานอื่น ซึ่งมิได้เป็นไป เพื่อประโยชน์แห่งการค้า ให้แจ้งความจำนงแก่ผู้อำนวยการกองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร หรือผู้แทน โดยกรอกข้อความ ตามแบบพิมพ์ของกรมศิลปากร การขออนุญาตนั้นจะต้องขอล่วงหน้า ก่อนวันงานไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการกองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ หรือผู้แทนแล้ว ให้ผู้ขออนุญาตนำต้นฉบับ ไปจัดพิมพ์ได้โดยปฏิบัติตามระเบียบ ๕. ในกรณีที่จะต้องจัดพิมพ์โดยรีบด่วน ซึ่งผู้ขออนุญาตไม่สามารถจะขออนุญาตล่วงหน้าได้ก่อน ๓๐ วัน เมื่อผู้อำนวยการกองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ พิจารณาแล้วเห็นว่าหนังสือที่จะพิมพ์นั้น เป็นเรื่องใหญ่ ถ้าจะมอบต้นฉบับให้ผู้ขออนุญาตไปจัดพิมพ์เอง จะไม่เสร็จเรียบร้อยทันแจกในวันงานใด กรมศิลปากร อาจจะจัดหาโรงพิมพ์ที่พิมพ์ได้รวดเร็วและเรียบร้อยพิมพ์ให้เอง โดยให้โรงพิมพ์นั้นติดต่อ ค่าใช้จ่ายทั้งหมด จากผู้ขออนุญาตพิมพ์ ๖. ผู้ขออนุญาตพิมพ์หนังสือแจกจ่ายเป็นกุศลวิทยาทานในงานต่าง ๆ โดยมิได้มุ่งประโยชน์เพื่อการค้า ต้องขออนุญาตพิมพ์จำนวนไม่น้อยกว่า ๕๐๐ เล่ม ๗. ผู้ขออนุญาตพิมพ์หนังสือแจกในงานกุศล ต้องจ่ายหนังสือเป็นผลประโยชน์ให้แก่กรมศิลปากรร้อยละ ๒๐ ของจำนวนที่พิมพ์ แต่ทั้งนี้จำนวนหนังสือที่ต้องจ่ายไม่เกิน ๔๐๐ เล่ม ไม่ว่าจะขออนุญาตพิมพ์ จำนวนเท่าใด ก็ตาม ๘. อธิบดีกรมศิลปากรอาจพิจารณาอนุญาตให้จ่ายหนังสือผลประโยชน์น้อยกว่าจำนวนที่ระบุไว้ในข้อ ๗ ก็ได้ ๙. การนำส่งหนังสือผลประโยชน์ให้ผู้ขออนุญาตนำส่งทันที่ที่พิมพ์เสร็จ หรือภายใน ๑๕ วัน หลังจากวันที่ ได้กำหนดแจกจ่ายหนังสือนั้น ๑๐. ถ้าผู้ขออนุญาตพิมพ์หนังสือ ไม่นำหนังสือผลประโยชน์ มาส่งกรมศิลปากร ตามจำนวนที่กำหนดไว้ ในข้อ ๗ หรือนำมาส่งขาดจำนวน จะต้องชดใช้เงินแทนหนังสือ ตามราคาที่ ผู้อำนวยการ กองวรรณคดีและ ประวัติศาสตร์ หรือผู้แทนจะกำหนดให้ ๑๑. ถ้าไม่ตกลงกันในเรื่องราคาตามข้อ ๑๐ ผู้ขออนุญาตพิมพ์หนังสือจะยื่นคำร้องไปยัง อธิบดีกรมศิลปากร เพื่อขอให้พิจารณากำหนดราคาใหม่ก็ได้ แต่ถ้าอธิบดีกรมศิลปากรหรือผู้แทน กำหนดราคาใหม่ หรือยื่น ตามราคาที่ผู้อำนวยการกองวรรณคดีและประวัติศาสตร์หรือผู้แทน กำหนดไว้แล้ว ถือว่าเป็นการเด็ดขาด จะอุทธรณ์ต่อไปอีกไม่ได้ ๑๒. หนังสือที่กรมศิลปากรอนุญาตให้นำออกตีพิมพ์เผยแพร่ได้ จะต้องส่ง ใบพิสูจน์ให้เจ้าหน้าที่ กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ตรวจแก้และเป็นผู้สั่งให้ตีพิมพ์ทั้งหมด ๑๓. กรมศิลปากรจะเขียนคำนำให้เป็นหลักฐานการอนุญาต ซึ่งผู้ขออนุญาตจะต้องตีพิมพ์ไว้ เป็นเบื้องต้นของหนังสือ ๑๔. ห้ามผู้ขออนุญาตพิมพ์หนังสือตีพิมพ์ข้อความอื่น ๆ หรือบทความอื่น ๆ อันมิใช่ลิขสิทธิ์ของ กรมศิลปากร เพิ่มเติมลงในหนังสือโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการกองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ ยกเว้นคำไว้อาลัย หรือข้อความที่ได้นำส่งให้ผู้อำนวยการกองวรรณคดีและประวัติศาสตร์พิจารณา ตรวจอนุญาตแล้วเท่านั้น ๑๕. หน้าปกหนังสือที่พิมพ์แจกงานกุศล จะต้องพิมพ์ตราพระพิฆเณศร์ ซึ่งเป็นตราประจำกรมศิลปากร ลงไปด้วย ผู้ขออนุญาตพิมพ์หนังสือจะขอรับแบบไป เพื่อทำแม่พิมพ์สำหรับตีพิมพ์ได้ จากผู้อำนวยการ กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ หรือผู้แทน ๑๖. หน้าปกหนังสือที่จะพิมพ์แจกในงานกุศล ให้พิมพ์ตามที่กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์กำหนดให้ ทั้งนี้โดยให้มีชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง กำหนดวันงาน และสถานที่ จะทำงานมงคลหรืออวมงคล ห้ามพิมพ์รูปภาพหรือลวดลายที่มีสีฉุดฉาด เว้นไว้แต่จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากผู้อำนวยการกองวรรณคดีและประวัติศาสตร์หรือผู้แทน ๑๗. ห้ามผู้ขออนุญาตพิมพ์หนังสือแจกในงานกุศล นำหนังสือที่ตีพิมพ์ไปจำหน่าย เพื่อประโยชน์ในการค้า ๑๘. ให้ผู้อำนวยการกองวรรณคดีและประวัติศาสตร์รักษาการเกี่ยวกับ ขออนุญาตจัดพิมพ์หนังสือ ของกรมศิลปากร เพื่อแจกจ่ายในงานกุศลให้เป็นไปตามระเบียบนี้  


Messenger