ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,823 รายการ
ชื่อเรื่อง : ตำนานพระพุทธบาทอธิบายเรื่องพระบาทนิราศพระบาทและลิลิตทศพร
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๑
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์อักษรประเสริฐ
หมายเหตุ : พล.ต.ท.จำเนียร วาสนะสมสิทธิ์และภรรยา พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ พระภิษุ วาส พวงร้อย วาสนะสมสิทธิ์ และ นางมา พวงร้อย วาสนะสมสิทธิ์ ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส
เรื่องตำนานพระพุทธบาท เป็นนิยายประวัติกล่าวถึงเรื่องราวของพระพุทธบาทอันเป็นปูชนียสถานสำคัญของประเทศไทยเป็นเรื่องราวที่แสดงให้เห็นศัรทธาและความเชื่อถือซึ่งพุทธศาสนิกชนมีต่อรอยพระพุทธบาท
อธิบายเรื่องพระบาท เป็นเรื่องที่ให้ความรู้เกี่ยวกับคติโบราณที่นับถือรอยพระพุทธบาทเป็นเจติยสถาน ประวัติพระพุทธบาทอันเป็นปูชนียสถานสำคัญแห่งหนึ่งของไทยรวมทั้งเรื่องราวในพระราชพงศาวดารที่พระมหากษัตริย์ทั้งในสมัยกรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์ทรงพระราชศรัทธาเสด็จขึ้นไปนมัสการและบูรณะปฎิสังขรณ์พระพุทธบาท
เล่าเรื่องประติมานวิทยา: วิชาธร/วิทยาธร (vijādhara/vidyādhara) วิชาธร หรือ วิทยาธร แปลตามศัพท์ว่า “ทรงไว้ซึ่งวิชา” คำว่า “วิทยา” แปลว่า ความรู้ ส่วนคำว่า “ธร” แปลว่า แบก ถือ หมายถึง ผู้มีวิชากายสิทธิ์, ผู้มีฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยวิทยาอาคมหรือของวิเศษ จัดเป็นเทวดาชั้นต่ำ ครึ่งเทพครึ่งมนุษย์ อาศัยระหว่างสวรรค์และโลกมนุษย์ มีหน้าที่บำเรอเทพเจ้า บางทีเรียกว่า พิทยาธ หรือ เพทยาธร เพศหญิงเรียกว่า วิทยารี หรือ พิทยารี (Vidyādharī) ปรากฏในคติศาสนาต่างๆ ของอินเดีย ในศาสนาพราหมณ์ กล่าวกันว่าวิทยาธรเป็นผู้รับใช้พระศิวะ อาศัยอยู่ยังเทือกเขาหิมาลัย บางแห่งกล่าวว่าเป็นผู้รับใช้พระอินทร์ พวกวิทยาธรสร้างวิมานอากาศอยู่บนยอดเขาวินธัย มีบ้านเมืองงดงามราวกับสวรรค์ มีพระราชาปกครองกันเอง ราชาของวิทยาธรมีนามว่า สรรวารถสิทธะ (Sarvārthasiddha) เหล่าวิทยาธรมีฤทธิ์และมนต์ สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ จึงมีนามเรียกว่า เขจร (Khecara) หรือ นภาจร (Nabhacara) แปลว่า ผู้เคลื่อนไปในอากาศ ผู้ชายมีฤทธิ์ด้วยมนต์และพระขรรค์ชุบด้วยเหล็กวิเศษ เพียงแต่ร่ายมนต์แกว่งพระขรรค์ก็เหาะไปได้ สำหรับผู้หญิงไม่มีพระขรรค์ แต่มีปีกหางช่วยให้ลอยไปในอากาศ หรือต้องใช้เวทย์มนต์เรียกพระพายให้พัดตัวลอยไปในอากาศ มีนามอื่น ๆ เช่น กามรูปิน (Kāmarūpin) หมายถึงผู้บิดเบือนรูปได้ตามความใคร่ ปริยาวาท (Priyavada) ผู้มีวาจาอ่อนหวาน วิทยาธร ทำรูปปราศจากปีก มีรูปร่างสวยสง่างาม ล่องลอยอยู่ระหว่างโลกมนุษย์และสวรรค์ ประกอบอยู่กับรูปของเทพเจ้า ตกแต่งตามวัดและเทวาลัย มือถือพระขรรค์ เป็นเครื่องตัดอวิชาและฟาดฟันปีศาจ หรือถือพวงมาลัย (วนมาลา-vanamālā) เป็นเครื่องหมายของชัยชนะ หรือแก้วรัตนะ (ratna) เป็นสัญลักษณ์ บางครั้งปรากฏในรูปครึ่งบนเป็นมนุษย์และครึ่งล่างเป็นนก ในทางประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าวิทยาธรเป็นคนพวกหนึ่งตั้งหลักแหล่งอยู่บริเวณเขาวินธัยทางทิศใต้ของอินเดียตั้งแต่ดึกดำบรรพ เรียกชาติตนว่าวิทยาธร เพราะเป็นชาติที่ทรงศิลปวิทยาเจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น ชาติวิทยาธรคงเสื่อมสูญนานแล้ว แต่ยังคงปรากฏชื่อเสียงอยู่ในเรื่องนิทานเก่า ๆ คนบางพวกที่อาศัยอยู่ตามไหล่เขาวินธัยทุกวันนี้ คงสืบสายมาจากพวกวิทยาธรไม่มากก็น้อย วิทยาธรมักเกี่ยวข้องกับมนุษย์ โดยมากมักมีใจดี มีนิสัยชอบสตรี มักผิดศีลข้อกาเม หรือเกี่ยวข้องอยู่กับสตรี ภาพประกอบ 1. วิทยาธร ถือช่อมาลา เหาะลอยในอากาศ ดินเผา ศิลปะอินเดีย ภาพจาก musée Guimet, Parisภาพประกอบ 2. วิทยาธร ศิลาสลัก ศิลปะอินเดีย ภาพจาก musée Guimet, Paris ภาพประกอบ 3. วิทยาธร ในท่าเหาะไปในท้องฟ้า งาแกะสลัก ปากีสถาน ภาพจาก British Museumภาพประกอบ 4. วิทยาธร ภาพประกอบสมุดไทย ศิลปะรัตนโกสินทร์ ภาพจาก Asian Art Museum ---------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล: นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อ้างอิงจาก 1. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. 2. กถาสริตสาคร (สาครเป็นที่รวมกระแสนิยาย) กถาบิฐ และกถามุข โดย “เสถียรโกเศศ”. องค์การค้าของคุรุสภา, 2507. 3. เจือ สตะเวทิน. ตำรับวรรณคดี. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ, 2522. 4. Liebert, Gosta. Iconographic Dictionary of the Indian Religions Hinduism-Buddhism-Jainism. Leiden: E.J. Brill, 1976. 5. Stutley , Margaret. The illustrated dictionary of Hindu iconography. London : Routledae & Kegan Paul, 1985.
ชื่อเรื่อง : ชุมนุมนิพนธ์เพื่อถวายพระเกียรติแด่พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
ชื่อผู้แต่ง : -
ปีที่พิมพ์ : 2506
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์
จำนวนหน้า : 844 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้รวบรวมบทความทางวิชาการแขนงที่เคยอยู่ในสายงานและวงการที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ได้ทรงผ่านมา โดยมีพระญาติ พระสหายและศิษยานุศิษย์เขียนขึ้นเพื่อถวายพระเกียรติแด่พระองค์ อาทิเช่น บทประพันธ์ของเสด็จในกรมฯ โดย สมบูรณ์ ปานเสถียร ความหลังครั้งเริ่มระบอบใหม่ โดย สนิท เจริญรัฐ ขอบข่ายของสังคมศาสตร์ โดยฉุน ประภาวัฒน ข้อคิดในการพัฒนาราชการ โดยมาลัย หุวะนันทน์ เป็นต้น
จดหมายเหตุ เรื่่อง ฑูตอเมริกันเข้ามาในรัชกาลที่ 3 เมื่อปีจอ พ.ศ. 2393
องค์ความรู้ เรื่อง "พระธันวันตริ เทพเจ้าแห่งการแพทย์และอายุรเวทในศาสนาฮินดู" ซึ่งเป็นหนึ่งในอวตารขององค์พระวิษณุ จัดทำโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
“ธัตตูระ” เป็นนามภาษาสันสกฤตของลำโพง พืชอันเป็นพิษ มีฤทธิ์ทางจิตประสาท ใช้เป็นยาพิษ หรือยากล่อมประสาทในพิธีกรรมแต่โบราณ ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำองค์พระศิวะ (Śiva) และรุทร (Rudra) เทพแห่งการลำลายล้าง ศิวะปุราณะ (Śiva Purāṇa) กล่าวว่าดอกธัตตูระใช้เพื่อการบูชาพระศิวะสำหรับผู้ปรารถนาบุตรชาย วามนะปุราณะ (Vāmana Purāṇa) แสดงกำเนิดของธัตตูระว่า ปรากฏจากพระอุระของพระศิวะเมื่อทรงกลืนพิษ (หลาหละ-Halāhala) อันเกิดจากการกวนน้ำอมฤตของเหล่าอสูรและเทวดา เพื่อความผาสุกของโลก ธัตตูระจึงเป็นที่โปรดปรานของพระศิวะ ระหว่างพิธีศิวะบูชาจะใช้ดอก ใบ และผล ธัตตูระเป็นเครื่องบูชา ทั้งนี้มีความหมายเชิงสัญลักษณ์ให้พระศิวะทรงขจัดพิษจากอัตตา ความอิจฉา ริษยา ศัตรู คู่แข่ง อารมณ์ในแง่ลบ ธรรมชาติที่ชั่วร้าย ฯลฯ เพื่อความบริสุทธิ์และการขจัดบาปทั้งปวงให้สิ้นไปจากผู้บูชา บางแห่งกล่าวกันว่าธัตตูระเกิดจากเสกสรรค์ของวสันต์ (Vasanta) เทพแห่งฤดูใบไม้ผลิ ผู้เป็นมิตรกับกามะ (Kāma) เทพแห่งความรัก เทพวสันต์ได้เนรมิตธัตตูระผลิดอกเบ่งบานกระจายไป เพื่อตกแต่งสถานที่ให้งดงาม ตามความปรารถนาของกามเทพ เพื่อให้พระศิวะเกิดความลุ่มหลง และรับพระนางปารวตี (Pārvatī) เป็นชายา ในปางกามานตกะมูรติ (Kāmāntakamūrti) หรือพระศิวะปางทำลายพระกามเทพ ทางประติมานวิทยา ดอกธัตตูระมักประดับบนศีรษะข้างหนึ่งของพระศิวะในบางปาง เช่น จันทรเศขรมูรติ (Candraśekharamūrti) ทักษิณามูรติ (Dakṣiṇāmūrti) คชาสุรมูรติ (Gajāsuramūrti) กังกาละมูรติ (Kaṅkālamūrti) และนาฏราช (Nāṭarāja) ----------------------------------------------ผู้เรียบเรียง นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ----------------------------------------------หนังสืออ้างอิง 1. Gosta Liebert, Iconographic Dictionary of the Indian Religions Hinduism-Buddhism-Jainism (Leiden: E.J. Brill, 1976), 76. 2. Margaret Stutley, The illustrated dictionary of Hindu iconography (London : Routledae & Kegan Paul, 1985), 39. 3. “Dhattura, Dhattūra: 13 definitions”. Wisdom Library. August 24, 2020. Web. Retrieved September 14, 2020. From https://www.wisdomlib.org/definition/dhattura 4. “Datura". Wikipedia, the free encyclopedia. Wikimedia Foundation. September 3, 2020. Web. Retrieved September 14, 2020. From https://en.wikipedia.org/wiki/Datura. 5. 8 Divine Flowers Which Are Favorites Of Hindu Gods (Online). Available : https://www.floweraura.com/blog/8-divine-flowers-which-are-favorites-hindu-gods [September 14, 2020]
https://bit.ly/3ndFP0S
ชื่อเรื่อง ปฐมสมโพธิ (ปฐมสมโพธิเผด็จ)สพ.บ. 140/30ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 44 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 58 ซ.ม. หัวเรื่อง พระพุทธเจ้า พุทธศาสนา วรรณกรรมพุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดศรีบัวบาน อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี