เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
แผนที่ปโตเลมี
ในการที่มนุษย์จะเดินเรือไปยังดินแดนส่วนต่างๆ ของโลก เครื่องมือที่นักเดินเรือจำเป็นต้องมีติดตัวไว้ตลอดก็คือแผนที่ ซึ่งทำให้นักเดินเรือสามารถรู้ตำแหน่งของสถานที่ ที่จะเดินทางไป และในครั้งนี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี จันทบุรี ขอนำเสนอแผนที่โบราณที่เก่าแก่ที่สุดฉบับหนึ่งของโลก คือ แผนที่โลกของปโตเลมี (Ptolemy World Map)
แผนที่ปโตเลมี คาดว่าเขียนขึ้นราว ค.ศ. 100 โดย คลอดิอุส ปโตเลมี นักภูมิศาสตร์ชาวกรีกแห่งเมืองอเล็กซานเดรีย (เมืองท่าสำคัญในอียิปต์สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ราว 300 ปีก่อนคริสตศักราช) โดยแผนที่ปโตเลมีได้อธิบายดินแดนที่เป็นที่รับรู้ในโลกโบราณ เช่น ยุโรป คาบสมุทรอาหรับ อินเดีย จีน รวมไปถึงดินแดนที่เรียกว่าแผ่นดินทองหรือสุวรรณภูมิ โดยการเขียนแผนที่ของปโตเลมีนั้นได้รวบรวมข้อมูลจากคำบอกเล่าของพ่อค้า นักเดินทาง ที่เคยเดินทางไปยังส่วนต่างๆ ของโลกมาแล้ว
จุดเด่นของแผนที่ปโตเลมีนอกจากจะอธิบายดินแดนต่างๆ แล้ว ยังมีการระบุเส้นละติจูด และลองจิจูด เพื่อบอกตำแหน่ง และใช้องค์ความรู้ด้านภูมิศาสตร์ คณิตศาสตร์และดาราศาสตร์มาใช้ในการเขียนแผนที่ สมัยต่อมาแผนที่ของปโตเลมีได้ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายโดยนักเดินเรือชาวอาหรับ ส่วนในยุโรปนำมารื้อฟื้นในราวศตวรรษที่ 15 โดยเป็นแผนที่ ที่นักเดินเรือชาวโปรตุเกสและโคลัมบัส ใช้เป็นแนวทางในการเดินทางสำรวจโลก
ที่สำคัญอีกอย่างนึงคือ แผนที่ปโตเลมี มีการกล่าวถึงดินแดนสุวรรณภูมิ โดยลักษณะของแผนที่ได้วาดเป็นรูปดินแดนที่ยื่นออกไปในมหาสมุทร และเขียนกำกับด้วยคำว่า "avrea cersonese แปลว่า แผ่นดินทอง" โดยระบุตำแหน่งให้ดินแดนนี้อยู่ระหว่างอินเดีย และจีน
แผนที่ของปโตเลมี แม้จะมีการใช้มาตราส่วน แต่ก็มีความคลาดเคลื่อนอยู่มาก เนื่องจากการเขียนแผนที่ของปโตเลมีนั้น ใช้ข้อมูลจากการบอกเล่า และการคำนวนทางคณิตศาสตร์เป็นหลัก โดยผู้เขียนแผนที่ไม่ได้เดินทางไปยังดินแดนต่างๆ ด้วยตัวเอง
อ้างอิง
1. แผนที่แผนทางในประวัติศาสตร์โลกและสยาม.ไมเคิล ไรท์,2548
2. ประวัติความเป็นมาของแผนที่ , รศ.ทวี ทองสว่าง
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี จันทบุรี https://www.facebook.com/207171695986671/posts/3867519976618473/
(จำนวนผู้เข้าชม 15108 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน