ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,820 รายการ


ชื่อวัตถุ ภาชนะทรงพาน ทะเบียน ๒๗/๑๘๒/๒๕๓๒ อายุสมัย ก่อนประวัติศาสตร์ วัสดุ(ชนิด) ดินเผา ประวัติที่มา จากหลุมขุดค้นที่เพิงผาถ้ำหลังโรงเรียน บ้านทับปริก อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เมื่อพ.ศ. ๒๕๒๖ โดยดักลาศ แอนเดอร์สัน มหาวิทยาลัยบราวน์ สหรัฐอเมริกา ส่งมอบให้กองโบราณคดี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๙ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลางรับมาเมื่อ วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒ สถานที่เก็บรักษา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง          “ภาชนะทรงพาน” ภาชนะทรงพาน ปากภาชนะผายออกลำตัวสั้นและโค้งเข้าเป็นฐาน จากส่วนฐานมีเชิงสูงต่อลงมาส่วนฐานของเชิงโค้งออก ไม่มีการตกแต่งลวดลายบนภาชนะ ภาชนะใบนี้เป็นภาชนะสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ภาชนะดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์พบหลากหลายรูปทรง เช่น หม้อ ภาชนะทรงปากแตรภาชนะแบบสามขา และภาชนะทรงพาน เป็นต้น ภาชนะดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นภาชนะแบบเนื้อดิน (Earthenware)การผลิตภาชนะดินเผามีขั้นตอนหลักๆ คือ การเตรียมดินและนำดินที่ได้มาผสมเพื่อนำไปขึ้นรูปภาชนะเป็นทรงต่างๆ ซึ่งอาจขึ้นรูปด้วยมือ การตกแต่งผิว เช่น การใช้เชือกทาบ เปลือกหอย และการขูดขีด เป็นต้น จากนั้นจึงตกแต่งบนผิวภาชนะ อาทิ การขัดผิว การทาสี การทาผิวด้วยน้ำดินข้น และการรมควัน เป็นต้น แล้วจึงนำมาตากให้แห้งและเผา ซึ่งการเผาภาชนะในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของภาคใต้คงใช้เตาเผาแบบเปิดซึ่งเป็นการเผากลางแจ้ง ภาชนะทรงพานใบนี้ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่เพิงผาถ้ำหลังโรงเรียน บ้านทับปริกอำเภอเมืองจังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ภาชนะดินเผาทรงพานเป็นภาชนะรูปแบบพิเศษซึ่งไม่ได้ใช้ในครัวเรื่อง ภาชนะรูปแบบนี้จึงอาจถูกนำมาใช้ในพิธีกรรมต่างๆ อาทิ พิธีฝังศพซึ่งใช้เป็นของอุทิศให้กับผู้ตาย ภาชนะทรงพานจึงถือเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถของการผลิตภาชนะดินเผาของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์และเป็นหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมในอดีตอีกด้วย -----------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง-----------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง - พัชรี สาริกบุตร. เทคโนโลยีสมัยโบราณ (Primitive Technology)เครื่องมือโลหะ งานโลหะ เครื่องปั้นดินเผา และ แก้วและลูกปัด. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๓.


เลขทะเบียน : นพ.บ.142/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  76 หน้า ; 4.6 x 55.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา  มีฉลากชื่อชุด : มัดที่ 85 (340-345) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : สงฺคีติกถา (ปถมพระสงฺคายนา-จตุตถพระสงฺคายนา)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ขอมภาษา : บาลี-ไทยบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.89/10ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  54 หน้า ; 4.6 x 50 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 52 (103-117) ผูก 10 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺปทฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (ธรรมบท)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.11/1-1 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 29 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 48 (ต่อ)-50)ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2511สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าวจำนวนหน้า : 320 หน้า สาระสังเขป : ประชุมพงศาวดารขององค์การค้าคุรุสภาจัดพิมพ์ขึ้น โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงรวบรวม มีรายละเอียด ดังนี้ ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 48 (ต่อ) เรื่องจดหมายเหตุของมองซิเออร์เซเบเรต์ ราชทูตฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีในกรุงสยามครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภาค 7 (ตอน 2 (ต่อ) ต่อจากประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 47) อีกทั้งมีประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 49 เรื่องจดหมายเหตุของมองซิเออร์เซเบเรต์ ราชทูตฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีในกรุงสยามครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภาค 7 (ตอน 3 (ต่อ) ต่อจากประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 48) และประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 50 เรื่อง ตำนานเมืองระนอง ตอนที่ 1-5 ซึ่งเป็นฉบับที่มีความสมบูรณ์กว่าครั้งที่ผ่านมา


     พานกลีบบัว       รัตนโกสินทร์ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๕ หรือประมาณ ๑๐๐ ปีมาแล้ว      ไม้ลงรักประดับมุก      ปากกว้าง ๓๖.๗ เซนติเมตร สูง ๒๒.๕ เซนติเมตร      พาน คือ ภาชนะมีเชิงประเภทหนึ่ง มีหลายชนิด บางชนิดมีรูปทรงคล้ายจาน บางชนิดมีรูปทรงคล้ายขัน เชิงมีรูปร่างต่าง ๆ กัน ใช้สำหรับใส่สิ่งของมีดอกไม้ธูปเทียนเป็นต้น พานกลีบบัว พานที่ริมปากทำเป็นรูปกลีบบัวโดยรอบ      ปัจจุบันพานกลีบบัวใบนี้จัดแสดงในห้องเครื่องมุก พระที่นั่งพรหมเมศธาดา (ชั้นล่าง) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร



    ยอดเจดีย์จำลอง ทำด้วยสำริด จำนวน ๒ ชิ้น พบจากเจดีย์หมายเลข ๑๓ เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง     ยอดเจดีย์จำลอง ชิ้นที่ ๑ ประกอบด้วยปลียอดทรงกรวย ตกแต่งด้วยลวดบัวเป็นสันนูน ๒ เส้น ด้านล่างตกแต่งด้วยลวดบัวเป็นสันนูนซ้อนกัน ๒ ชั้น มีเดือยสำหรับเสียบต่อกับส่วนองค์ระฆัง ส่วนยอดสุดหักหายไป สันนิษฐานว่าหากเจดีย์จำลองชิ้นนี้มีสภาพสมบูรณ์ น่าจะมีส่วนฐานเป็นทรงกลม ฐานล่างผายออก มีเส้นคาดตรงส่วนกลาง รองรับองค์ระฆังและส่วนยอดทรงกรวยตามหลักฐานที่เหลืออยู่ ยอดบนสุดเป็นดอกบัวตูมหรือลูกแก้ว ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใกล้เคียงกับเจดีย์สำริดที่พบจากเมืองโบราณสมัยทวารวดีอื่น ๆ ได้แก่ เจดีย์สำริดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และแผ่นดินเผารูปเจดีย์ จากเมืองจำปาศรี อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เจดีย์สำริดจากเมืองศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เจดีย์สำริดจากเมืองโบราณพงตึก อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี และเจดีย์สำริดไม่ทราบแหล่งที่พบ เก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นอกจากนี้แล้ว ยังพบหลักฐานสถาปัตยกรรมที่เมืองโบราณอู่ทองเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นรูปแบบเจดีย์ที่มีองค์ระฆังทรงหม้อน้ำ เช่น ส่วนยอดเจดีย์ศิลาแลงและปูนปั้นที่จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดีและลานจัดแสดงกลางแจ้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง     ยอดเจดีย์จำลอง ชิ้นที่ ๒ ประกอบด้วยส่วนยอดทรงกรวย ตกแต่งด้วยลวดบัวเป็นปล้องซ้อนชั้น ส่วนกลางคอด รองรับใบฉัตรหนึ่งชั้น ส่วนบนสุดเป็นทรงโอคว่ำยอดบนสุดประดับด้วยเม็ดน้ำค้าง มีเดือยอยู่ด้านล่างสำหรับเสียบต่อกับส่วนองค์ระฆัง หากเจดีย์จำลององค์นี้มีสภาพสมบูรณ์ อาจมีรูปแบบเทียบเคียงได้กับเจดีย์ทรงหม้อน้ำมีส่วนยอดตกแต่งด้วยใบฉัตร ซึ่งพบได้ทั่วไปตามเมืองโบราณสมัยทวารวดี ตัวอย่างเช่น ภาพเขียนสีรูปเจดีย์ทรงหม้อน้ำบนแผ่นอิฐ จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง      ยอดเจดีย์จำลองสำริดทั้งสองชิ้นนี้ อาจใช้เป็นเจดีย์สำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เช่นเดียวกับเจดีย์สำริดจากเมืองจำปาศรี และเจดีย์สำริดจากเมืองโบราณสมัยทวารวดีอื่น ๆ นอกจากนั้นยังสะท้อนถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยทวารวดี ภายในเมืองโบราณอู่ทอง สามารถกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว)   เอกสารอ้างอิง จีราวรรณ แสงเพ็ชร์. “ระบบการจัดและการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุในประเทศไทย”. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๒. พงษ์ศักดิ์ นิลวร. “รูปแบบสันนิษฐานเจดีย์ศิลปะทวารวดีในภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศไทย : วิเคราะห์จากหลักฐานศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม”. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๙. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. มรดก ๑,๐๐๐ ปี เก่าที่สุดในสยาม. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, ๒๕๕๖.


     มหามกุฏราชสันตติวงศ์ : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา      พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๖๑ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่ประสูติแต่ท้าววรจันทร์ (เจ้าจอมมารดาวาด พระสนมเอก) ธิดานายสมบุญ งามสมบัติ กับท้าวปฏิบัติบิณฑทาน (ถ้วย)  ประสูติเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๐๖ ครั้นเจริญพระชนมายุสมควรได้ทรงศึกษาหนังสือไทยกับคุณปานธิดาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ ในพระบรมมหาราชวัง แล้วทรงศึกษาภาษาขอมกับพระยาปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม)  ทั้งยังได้ศึกษาภาษาอังกฤษกับนายฟรานซิส ยอห์ชแปตเตอร์สัน กระทั่งโสกันต์และผนวชเป็นสามเณรจำพรรษา ณ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม และเริ่มรับราชการ กระทั่งพระชันษาได้ ๒๔ ปีจึงทรงผนวชเป็นพระภิกษุจำพรรษาอยู่ ณ วัดราชประดิษฐ เมื่อลาสิกขาบทแล้ว จึงทรงทำราชการต่อมา      ในรัชกาลที่ ๕ ทรงดำรงพระยศ “พระเจ้าน้องยาเธอ” ทรงรับราชการในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ตั้งแต่ก่อนผนวชพระได้เป็นนายร้อยเอก ราชองครักษ์  และรับราชการเป็นผู้ช่วยในกรมราชเลขานุการ (ไปรเวตสิเกรตารีออฟฟิศหลวง) เมื่อพุทธศักราช ๒๔๒๓ ในพุทธศักราช ๒๔๒๖ ได้เป็นผู้ช่วยการสถานทูตออกไปประจำ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และเป็นหนึ่งในคณะราชทูตพิเศษไปเจริญทางพระราชไมตรี ณ สหรัฐอเมริกา  กระทั่งในพุทธศักราช ๒๔๒๘ จึงเสด็จกลับสยามรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นราชเลขานุการฝ่ายต่างประเทศ แล้วเป็นข้าหลวงใหญ่ประจำมณฑลพายัพ   ครั้นพุทธศักราช ๒๔๓๔ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา ในปีต่อมา โปรดเกล้าฯ ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงมุราธร และเป็นผู้แทนเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการอีกตำแหน่งหนึ่ง ในพุทธศักราช ๒๔๓๗ โปรดให้เป็นสภานายกรัฐมนตรีในรัฐมนตรีสภา อันมีหน้าที่ด้านกฏหมายในขณะนั้น พุทธศักราช ๒๔๓๙ โปรดเลก้าฯ ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ ได้เปิดใช้ทางรถไฟสายโคราช และเริ่มการสร้างทางรถไฟสายเพชรบุรี ก่อนจะโปรดเกล้าฯ ให้มารับตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง โดยทรงดำรงตำแหน่งอยู่นานที่สุดในรัชกาลนั้น และทรงใช้สอยสนิทสนม เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ด้วยทรงกล้าแสดงความคิดเห็นในกิจการต่างๆ อยู่เสมอ  และในพุทธศักราช ๒๔๔๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา       นอกจากราชการประจำที่ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีแล้ว ยังทรงมีราชการพิเศษอื่นๆ อาทิ สภานายกหอพระสมุดวชิรญาณ ลัญจกราภิบาลแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า และมงกุฎสยาม มรรคนายกวัดมหาพฤฒาราม เป็นต้น นอกจากนี้ ทรงเชี่ยวชาญในเครื่องลายคราม ซึ่งในสมัยนั้นเรียกเครื่องกิมตึ๋ง อันเป็นงานอดิเรกที่สนพระทัยได้รับยกย่องให้เป็น “สังฆราชกิมตึ๋ง”       พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดาได้ทรงรับราชการมาหลายตำแหน่งด้วยทรงมีพระวิริยะและชำนาญในวิทยาการที่ทรงศึกษา โดยเฉพาะในราชประเพณี ทรงจัดราชการให้เป็นไปตามพระราชนิยมสมควรแก่การ มีพระอัธยาศัยซื่อตรง ดำรงอยู่ในความสุจริตและจงรักภักดีอย่างยิ่ง ในปลายรัชกาลที่ ๕ นั้น ทรงมีพระอนามัยทรุดโทรมไม่สามารถรับราชการได้จึงกราบถวายบังคมลาออกจากราชการ รับพระราชทานเบี้ยหวัดตลอดมา ในรัชกาลที่ ๖ มีพระอาการประชวรต้องเสด็จไปรักษาพระองค์ตามหัวเมืองอยู่เสมอ กระทั่งครั้งสุดท้ายเสด็จประพาสหัวหิน และประชวรมาก ต้องพักรักษาพระองค์ที่เพชรบุรี ครั้นกลับกรุงเทพฯไม่นานจึงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๔๕๖ สิริพระชันษา ๕๐ ปี พระราชทานเพลิงศพ พร้อมด้วยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีนาคสวาสดิ์ ตลอดจนเจ้านายและข้าราชการอื่นๆ ทั้งสิ้น ๘ งาน  ณ พระเมรุวัดราชาธิวาส ทรงเป็นต้นราชสกุล โสณกุล   อ้างอิง ศิลปากร, กรม. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ ๑๔ .กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค.ลาดพร้าว, ๒๕๕๔. สมเด็จพระสังฆราช (สา). หนังสือพระธรรมเทศนา อภิณ์หปัจจ์เวก์ขณปาฐ. ม.ป.ท. : ม.ป.พ., ๒๔๕๗. (พิมพ์แจก ในงานพระเมรุ พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา ณ วัดราชาธิวาส พ.ศ.๒๔๕๗)  พิทยลาภพฤฒิยากร, พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่น. อัตตชีวประวัติ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร.   ม.ป.ท. : ม.ป.พ., ๒๕๑๗.(พิมพืในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ณ พระเมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ๑๕ ธันวาคม ๒๕๑๗) เรียบเรียง : ณัฐพล  ชัยมั่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี




องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร เรื่อง พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร




Messenger