ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
พิพิธิภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง บ้านเก่า: www.virtualmuseum.finearts.go.th/bankoa
ภายในแขวงมณฑลนครชัยศรี กล่าวคือ ในราวปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) พระองค์ทรงโปรดให้มีการย้ายเมืองนครชัยศรีจากตำบลบ้านท่านา มายังบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ โดยขณะนั้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการรวบรวมโบราณวัตถุที่กระจัดกระจายอยู่ภายในแขวงมณฑลนครชัยศรี เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น ได้มีการรื้อทำลายโบราณสถานและโบราณวัตถุโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ตัดผ่านจังหวัดนครปฐม จึงเกิดการรื้อทำลายโบราณสถานเพื่อปรับหน้าดิน รวมถึงการนำเอาเศษอิฐจากโบราณสถานไปถมสร้างรางรถไฟด้วย ฯลฯ
ดังนั้น ในปี พ.ศ.2438 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงทรงมีพระดำริให้ทำการรวบรวมโบราณวัตถุ ในแขวงมณฑลนครชัยศรี โดยขณะนั้นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2508 เพื่อเก็บรวบรวมรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีบ้านเก่าและแหล่งโบราณคดีอื่นๆในจังหวัดกาญจนบุรี
สืบเนื่องจากจากการที่ ดร.เอช อาร์ แวน เฮเกอเร็น (H.R.Van Heekeren) นักโบราณคดีชาวฮอลันดา ถูกจับเป็นเฉลยศึกและถูกเกณฑ์มาสร้างทางรถไฟสายมรณะในสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้พบเครื่องมือหินกะเทาะและขวานหินขัด ขณะทำงานอยู่บริเวณตำบลบ้านเก่าจังหวัดกาญจนบุรีเมื่อสงครามสงบลงได้นำเครื่องมือหินที่พบกลับไปศึกษาวิเคราะห์ที่พิพิธภัณฑ์พีบอดี สหรัฐอเมริกาจนนำไปสู่การสำรวจขุดค้นทางโบราณคดี โดยนักโบราณคดีไทยและต่างประเทศ ในพื้นที่บ้านเก่า เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2499
หลังจากนั้นระหว่าง พ.ศ.2503-2505 คณะสำรวจก่อนประวัติศาสตร์โครงการความร่วมมือทางโบราณคดีระหว่างไทย-เดนมาร์ก ได้ทำการศึกษาขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า บริเวณที่ดินของนายลือ-นายบาง เหลืองแดง ริมแม่น้ำแควน้อย พบโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์จำนวนมาก ต่อมากรมศิลปากร จึงได้จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า ขึ้นในบริเวณใกล้กับแหล่งขุดค้น แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า อยู่ห่างประมาณ 500 เมตร
วัสดุ หินทราย
แบบศิลปะ ศิลปะเขมรในประเทศไทย แบบไพรกเมง
อายุสมัย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13
สถานที่พบ พบในเขต อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด พระครูกิตติธรรมสาร เจ้าคณะอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ มอบให้เมื่อ พ.ศ.2538
แท่งหินรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหนึ่งแกะสลักเป็นลายท่อนพวงมาลัย ท่อนพวงมาลัยลักษณะเป็นเส้นตรง ปลายโค้งลงแล้วม้วนเข้า บนท่อนพวงมาลัยมีวงกลมรูปหยดน้ำ มีบุคคลพนมมืออยู่ภายใน หากทับหลังนี้สมบูรณ์อาจมีวงกลมหยดน้ำ 3 วง ด้านล่างของท่อนพวงมาลัยเป็นภาพเล่าเรื่อง มีรูปบุคคล 4 คน ปัจจุบันยังไม่มีนักวิชาการตีความว่าเป็นเรื่องอะไร ด้านข้างของท่อนพวงมาลัยแกะสลักเป็นลายกรอบใบไม้สามเหลี่ยม
โครงการพัฒนาหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ปีงบประมาณ ๒๕๖๓กิจกรรม "รำลึกถึงพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ คนดีของแผ่นดิน"ระหว่างวันที่ ๒๕-๒๖ ธันวาคม ๒๕๖๒
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ รัฐบุรุษและอดีตประธานองคมนตรี มีคุณูปการต่อกรมศิลปากรเกี่ยวกับงานด้านหอสมุดแห่งชาติ โดยท่านมีดำริให้สร้างหอสมุดแห่งชาติ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่ประชาชน และให้ใช้เพื่อกิจกรรมสาธารณประโยชน์ของชุมชนในจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่
หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก สุพรรณบุรี
และหอสมุดแห่งชาติกาญจนาภิเษก สงขลา
สำหรับอาคารหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา อยู่ในพื้นที่ของวัดสุทธจินดา พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มีดำริให้สร้างเนื่องในวโรกาส ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมายุ ๖๐ พรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ อาคารแห่งนี้ ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๓๐ และมีพิธีเปิดอาคารเพื่อให้บริการแก่ประชาชน เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๓๐ โดยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มาเป็นประธานในพิธีเปิด ท่านได้ก่อตั้ง และกรุณารับเป็นประธานมูลนิธิหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา ตั้งแต่ปี ๒๕๓๐ เป็นต้นมา
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๒ เพื่อเป็นการแสดงความอาลัยและรำลึกถึงคุณงามความดีของท่าน มุ่งหวังให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้เรียนรู้ชีวประวัติและแบบอย่างการประกอบคุณงามความดี ตอบแทนบุญคุณแผ่นดินของ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา จึงได้จัดกิจกรรมนี้ขึ้น
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๑ นายวีระชาติ พงค์ชนะ นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา บรรยายให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับโบราณสถานปราสาทพนมวัน ในงานเทศกาลสีน้ำอีสาน ๒๐๑๘ (E-SAAN WATERCOLOR FESTIVAL 2018) ณ โบราณสถานปราสาทพนมวัน ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา