ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ


องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ชุดความรู้ทางวิชาการ :หลักฐานศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในภาคใต้ของประเทศไทย ตอนที่ ๑๘ พระศิวะ อิทธิพลศิลปะชวาที่พบในภาคใต้ (พระอคัสตยะและพระศิวะมหาเทพ) ค้นคว้าและเรียบเรียงโดย น.ส.สุขกมล วงศ์สวรรค์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ


ชื่อเรื่อง                                ธมฺมปทวณฺณา ธมฺมปทฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ธมฺมปทฺธ) สพ.บ.                                  376/11กประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           54 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                                 ธรรมเทศนา บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด-ลองรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.159/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  54 หน้า ; 4.5 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 95 (22-26) ผูก 4 (2565)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์(8หมื่น) --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.40/1-3  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ธมฺมสฺสวนานิสํสกถา (อานิสงส์ฟังธรรม)  ชบ.บ.82/1-1  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มหานิปาตวณฺณนา(ทสชาติ) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (สุวณฺณสาม,มโหสถ,วิธูร,เนมิราชชาตก)  ชบ.บ.105.7ก/1-1  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.330/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 4 x 50.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ทองทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 130  (329-337) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : มหานิปาต (คาถาพัน) ชาตกปาลิ ขุทฺทกนิกาย --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


        แผ่นอิฐมีรอยประทับรูปฝ่าเท้าของคน สมัยทวารวดี จัดแสดง ณ อาคารจัดแสดง ๒ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง         แผ่นอิฐทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชำรุดหักหายไปส่วนหนึ่ง ขนาดกว้าง ๑๘.๕ เซนติเมตร ยาว ๑๙.๕ เซนติเมตร หนา ๗.๕ เซนติเมตร เนื้ออิฐมีรูพรุน เห็นร่องรอยแกลบข้าวในเนื้ออิฐอย่างชัดเจน บนผิวหน้าอิฐมีรอยประทับรูปฝ่าเท้าด้านขวา ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจเกิดขึ้นจากความบังเอิญในระหว่างขั้นตอนการผลิตอิฐที่ใช้ในการก่อสร้างงานสถาปัตยกรรม กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖ หรือประมาณ ๑,๐๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว         อิฐสมัยทวารวดีที่ใช้ในการก่อสร้าง ส่วนมากเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า อิฐที่พบจากโบราณสถานแต่ละแหล่งอาจมีขนาดไม่เท่ากัน แต่ก็ไม่แตกต่างกันมากนัก โดยมีลักษณะร่วมกันคือมีขนาดใหญ่กว่าอิฐในสมัยอื่นๆ เนื้ออิฐมีรูพรุนเนื่องจากมีการการผสมแกลบข้าวลงไปในส่วนผสม สันนิษฐานว่าเพื่อช่วยในการถ่ายเทอากาศขณะเผา และช่วยไม่ให้อิฐแตกง่าย เมื่อเผาอิฐแล้วแกลบข้าวเหล่านี้ก็จะถูกเผาสลายไปกลายเป็นรูพรุนในเนื้ออิฐ อิฐบางก้อนเผาไม่สุกทั่วทั้งก้อน โดยเนื้ออิฐภายนอกที่สุกจะมีสีส้ม แต่เนื้ออิฐภายในที่ไม่สุกจะมีสีดำ อิฐเหล่านี้ผลิตขึ้นอย่างไม่ประณีตนัก เนื่องจากต้องผลิตครั้งละจำนวนมากเพื่อใช้ในการก่อสร้าง และมักมีการฉาบปูนหรือตกแต่งด้วยปูนปั้นทับอิฐเหล่านั้น อิฐที่ใช้ในงานก่อสร้างสถาปัตยกรรมโดยทั่วไปจะไม่ได้รับการขัดฝนผิวให้เรียบ ต่างจากอิฐพิเศษที่ใช้ในพิธีกรรมอย่างอิฐฤกษ์ที่จะมีการขัดฝนผิวให้เรียบและตกแต่งลวดลายบนผิวหน้าอิฐ          อิฐที่ใช้ในการก่อสร้างงานสถาปัตยกรรม นอกจากอิฐรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ใช้ในการก่อเป็นโครงสร้างทรงสี่เหลี่ยมทั่วไปแล้ว ยังพบอิฐที่มีลักษณะเป็นวงโค้งคล้ายอิฐหน้าวัวที่อาจเป็นโครงสร้างของส่วนที่มีความโค้ง เช่น ฐานเจดีย์ทรงกลม หรืออิฐที่มีรอยบากหรือรอยถากเพื่อประกอบเป็นส่วนต่างๆ ของสถาปัตยกรรม เช่น ฐานบัว อิฐจำหลักลายสำหรับประดับส่วนฐานหรือส่วนต่างๆ ของสถาปัตยกรรม อิฐมีลายลูบรอยนิ้วมือ เป็นต้น รอยประทับรูปฝ่าเท้ามนุษย์ แม้จะเกิดด้วยความบังเอิญในระหว่างขั้นตอนการผลิตก็ตาม แต่เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นถึงตัวตนและผู้คนสมัยทวารวดี ซึ่งผู้ประทับรอยเท้าบนที่ปรากฏบนอิฐก้อนนี้ อาจจะเป็นช่าง ผู้เป็นส่วนหนึ่งในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมในสมัยทวารวดีที่เมืองโบราณอู่ทอง ก็เป็นได้   เอกสารอ้างอิง เด่นดาว  ศิลปานนท์. โบราณสถานบ้านศรีสรรเพชญ์ ๓ ปริศนาวิหารถ้ำเมืองอู่ทอง. กรุงเทพ : อรุณการ พิมพ์, ๒๕๕๙. วิภาดา  อ่อนวิมล. “อิฐมีลวดลายในสมัยทวารวดี”. เอกสารการศึกษาเฉพาะบุคคล ภาควิชาโบราณคดี  คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๖.


"พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ : ช้างสำคัญคู่พระบารมีช้างแรกในรัชกาลที่ 9" ช้างเผือกมีความสำคัญต่อบ้านเมืองและเป็นพระราชพาหนะคู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์ มีฐานะเทียบเท่าเจ้านายชั้นเจ้าฟ้า เชื่อกันว่า ช้างเผือกเกิดขึ้นเพราะพระบารมีของพระมหากษัตริย์ เป็นมิ่งขวัญของราษฎร การได้ช้างเผือกจึงเป็นมงคลสำหรับบ้านเมือง หากผู้ใดจับช้างเผือกได้หรือช้างที่เลี้ยงไว้ตกลูกออกมาเป็นช้างเผือกจะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ เป็นไปตามพระราชบัญญัติรักษาช้างป่า พ.ศ. 2464 มาตรา 12 คำว่า “ช้างเผือก” โดยส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าต้องมีสีขาวหรือขาวกว่าปกติ แต่ตามลักษณะของกรมพระคชบาลถือตามตำราพระคชศาสตร์กล่าวว่าช้างเผือกมีหลายสี ได้แก่ ขาว เหลือง เขียว แดง ดำ ม่วง เมฆ และต้องประกอบด้วยคชลักษณ์อื่น ๆ อีก เช่น ตา เพดาน อัณฑโกศ เล็บ ขน คางใน (ร่องผิวหนัง) ไรเล็บ สนับงา ช่องแมลงภู่ จึงเข้าลักษณะเป็นช้างเผือกได้ ซึ่งกรมคชบาลไม่เรียกว่า “ช้างเผือก” เรียกว่า “ช้างสำคัญ” เมื่อตรวจสอบตามตำรารวมทั้งกริยามารยาทอื่น ๆ ว่าถูกต้องตามคชลักษณ์แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางพระราชทานนามเป็นพระยาช้างต้นหรือนางพระยาช้างต้น ณ เมืองที่ได้ช้างนั้น หรือนำมากรุงเทพฯ แล้วแต่พระราชประสงค์ ถ้าจัดพระราชพิธีในกรุงเทพฯ ก่อนนำช้างมาจะมีการสมโภช ณ เมืองที่จับช้างได้ และเมื่อเดินทางหากพักแรมที่เมืองใดก็จะมีการสมโภชทุกเมือง คือ มีพระสงฆ์สวดมนต์ เวียนเทียน และมหรสพสมโภช ตลอดทุก ๆ เมือง ย้อนไปตั้งแต่สมัยพระเศวตคชเดชน์ดิลก ช้างคู่พระบารมีในรัชกาลที่ 7 ล้มลง ประเทศไทยก็ไม่พบช้างเผือกอีกเลย กระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยทราบว่าที่จังหวัดกระบี่มีช้างสีประหลาดเข้าคอกนายแปลก ฟุ้งเฟื่อง จึงให้พระราชวังเมืองสุริยชาติ สมุห (ปุ้ย คชาชีวะ) ผู้เชี่ยวชาญการดูลักษณะช้างมาตรวจสอบโดยละเอียด พบว่า ลูกช้างพลายเชือกนี้เป็นลูกช้างที่ต้องด้วยคชลักษณ์เป็นช้างสำคัญคู่บ้านคู่เมือง และเป็นเครื่องส่งเสริมพระบารมีแห่งองค์พระมหากษัตริย์ กล่าวคือ เป็นช้างพลายรูปงาม อายุประมาณ 3 ขวบ สูง 154 ซม. งาขวาซ้าย งามเรียวเป็นต้นปลาย ยาว 29.5 ซม. หู หาง งามพร้อม หางปัดปลอก ตาขาวเจือเหลือง เพดานขาวเจือชมพู อัณฑโกศขาวเจือชมพู เล็บขาวเจือเหลืองอ่อน ขนโขมดสีน้ำผึ้งโปร่ง ขนหูยาว ขนบรรทัดหลังสีน้ำผึ้งโปร่งเจือแดง ขนตัวขึ้นขุมละ 2 เส้น ขนหางสีน้ำผึ้งแก่ เจือแดงแก่ สีกายสีบัวแดง สรุปคือ เป็นช้างที่มีลักษณะสมบูรณ์ตรงตามคชลักษณ์ อยู่ในตระกูลพรหมพงศ์ จำนวนอัฐิทิศ “กมุท” สีกายดังดอกโกมุท เสียงเป็นสรรพแห่งแตรงอน ประจำทิศหรดี องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยได้น้อมเกล้าฯ ถวายลูกช้างพลายสำคัญแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ สวนสัตว์ดุสิต (ขณะนั้นใช้ชื่อสวนสัตว์เขาดินวนา) เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 เวลา 15 นาฬิกา 20 นาที และต่อมาจึงมีพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ ณ โรงช้างต้น พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 10 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 และได้พระราชทานพระนามว่า “พระเศวตอดุลยเดชพาหน ภูมิพลนวมนาถบารมี ทุติยเศวตกรีกมุทพรรโณภาส บรมกมลาสนวิศุทธวงศ์ สรรพมงคลลักษณคเชนทรชาต สยามราษฎรสวัสดิประสิทธิ์ รัตนกุญชรนิมิตบุญญาธิการ ปรมินทรบพิตรสารศักดิเลิศฟ้า” ซึ่งถือเป็นช้างสำคัญคู่พระบารมีช้างแรกในรัชกาลที่ 9 พระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ ในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 เวลา 15 นาฬิกา ได้มีขบวนแห่ช้างสำคัญออกจากสวนสัตว์ดุสิตเข้าสู่โรงพระราชพิธี พระราชวังดุสิต พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถาและเจริญพระพุทธมนต์ พราหมณ์ทำพิธีบูชาพระเทวกรรม พระราชพิธีฯ ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 ประกอบด้วย ช้างสำคัญอาบน้ำ การตักบาตร เลี้ยงพระขึ้นระวาง ครั้นได้เวลาพระฤกษ์ โหรหลวงลั่นฆ้องชัย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินขึ้นประทับเกยข้างเบญจพาษ ทรงหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ด้วยพระเต้าเทวบิฐและน้ำพระมหาสังข์พระราชทานแก่ช้างสำคัญ ทรงเจิมอ้อยแดงจารึกนามพระราชทานช้างสำคัญ พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณรดน้ำสังข์ตามโบราณราชประเพณี พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานเครื่องคชาภรณ์ให้แต่งช้างสำคัญ พราหมณ์อ่านฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง แล้วเบิกแว่นเวียนเทียนสมโภชพระยาช้างต้น และพราหมณ์เจิมพระยาช้างต้น เป็นอันเสร็จพิธี พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ยืนโรงที่โรงช้างต้น สวนสัตว์ดุสิต กระทั่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีพระราชเสาวณีย์โปรดเกล้าฯ ให้นำพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เข้าไปยืนโรงในโรงช้างต้น พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เมื่อ พ.ศ. 2519 และต่อมาได้เคลื่อนย้ายพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น พระราชวังไกลกังวล เมื่อวันที่ 17 - 18 มีนาคม พ.ศ. 2547 โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพระราชพิธีสมโภชโรงช้างต้น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2547 ทั้งนี้ พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ล้มลงเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2553 ณ โรงช้างต้น พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้เรียบเรียง : นางสาวดุษฎี ชัยเพชร นักจดหมายเหตุชำนาญการ คณะทำงานองค์ความรู้ของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ หมายเหตุ : คงการสะกดชื่อพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ตามที่ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุ ------------------------------ อ้างอิง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. กองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย มท 0201.2.1.31/42 เรื่อง พระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ (31 ตุลาคม 2502) หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารบันทึกเหตุการณ์และจดหมายเหตุ จ/2502/40 เรื่อง พระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ระหว่างวันที่ 10 – 11 พฤศจิกายน 2502 (10 – 11 พฤศจิกายน 2502) เพลินพิศ กำราญ. โรงช้างต้น. กรุงเทพฯ : กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2521. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพถ่ายเหตุการณ์สำคัญ ฉ/จ/1587 ภาพช้างสำคัญ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. ภาพส่วนบุคคล ชุด นางเติมทรัพย์ จามรกุล ภ หจภ สบ2.3/11(1) ภาพพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. ภาพชุดพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ ภ หจภ อ2/78 (1) ภาพพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. ภาพชุด สำนักพระราชวัง ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่) ภ หจภ พว2.1.2/130 (1) ภาพพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ


ชื่อเรื่อง                     โบราณสถานบ้านศรีสรรเพชญ์ 3 ปริศนาวิหารถ้ำเมืองอู่ทองผู้แต่ง                       กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                   ประวัติศาสตร์เลขหมู่                      959.373 ด865บสถานที่พิมพ์               กรุงเทพฯสำนักพิมพ์                 กรมศิลปากรปีที่พิมพ์                    2559ลักษณะวัสดุ               66 หน้า : ภาพประกอบ ; 30 ซม.หัวเรื่อง                     โบราณสถานศรีสรรเพชญ์ 3                              โบราณคดี(การขุดค้น) – สุพรรณบุรี                              โบราณวัตถุ – สุพรรณบุรี                              ศิลปวัตถุ – สุพรรณบุรี                              สุพรรณบุรี – โบราณสถานภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก           สำหรับโบราณสถานบ้านศรีสรรเพชญ์ 3 เป็นพุทธสถานแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี บริเวณนอกเมืองอู่ทองด้านทิศตะวันตก เมื่อวัฒนธรรมทวารวดีเสื่อมคลายลง เมืองอู่ทองถูกทิ้งร้างไป โบราณสถานแห่งนี้จึงกลายเป็นซากปรักหักพังที่ถูกกร่อนเซาะด้วยกาลเวลามานานนับพันปี




กรมศิลปากร.  พระราชหัตถเลขาคราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ ในรัชกาลที่ 5.  พิมพ์ครั้งที่ 5.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2561.          เอกสารประวัติศาสตร์ เรื่อง พระราชหัตถเลขาคราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ ในรัชกาลที่ 5 มีลักษณะเป็นบันทึกประจำวันการเสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ผู้สำเร็จราชการอยู่รักษาพระนครกรุงเทพฯ รวม 26 ฉบับ ซึ่งเป็นเรื่องราวเหตุการณ์เสด็จประพาสสถานที่สำคัญตามบ้านและหัวเมืองใหญ่น้อย ภายหลังจากที่เสด็จฯ ออกจากพระนครศรีอยุธยา ไปถึงเมืองอ่างทอง สิงห์บุรี สรรพยา ชัยนาท มโนรมย์ อุทัยธานี นครสวรรค์ บางมูลนาค บ้านขมัง พิจิตร พิษณุโลก พิชัย ตรอนตรีสินธุ์ อุตรดิตถ์ ทุ่งแย้ ลับแล และฝาง ตามลำดับ




Messenger