ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ

มกร อ่านว่า มะ-กะ-ระ หรือ มะ-กอน เป็นคำภาษาสันสกฤต ในพจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้ให้ความหมายว่า เป็นสัตว์ตามจินตนาการของช่างอินเดียโบราณ มีลักษณะต่าง ๆ กันไป  เช่น ในสมัยแรกส่วนหัวคล้ายจระเข้ มีจะงอยปากงอไปทางด้านหลังคล้ายงวงช้างขนาดสั้น มีฟันแหลมคม มีขาคล้ายสิงโตหรือสุนัข ท่อนหางทำเป็นอย่างหางปลา ส่วนมกรในศิลปะขอมมีลักษณะคล้ายมกรในศิลปะอินเดียแบบหลังคุปตะ (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๓) คือมี ๒ ขา และมีหางม้วนเป็นลายก้านขด ในศิลปะขอมแบบกุเลน (ราว พ.ศ. ๑๓๗๐ – ๑๔๒๐) รูปมกรมีรูปใหม่คือมี ๔ ขา ในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ รูปมกรได้เข้ามาปะปนกับรูปนาค และหัวมกรเริ่มกลายเป็นหน้าสิงห์ไป มกรถือเป็นสัตว์ในจินตนาการ เชื่อกันว่าเป็นเทพแห่งท้องทะเล มีลักษณะของสัตว์หลายชนิดมาผสมกัน ทั้งระหว่างสัตว์บกและสัตว์น้ำ อาทิ  มีส่วนปากคล้ายจระเข้  มีงวงเหมือนกับช้าง มีลำตัวและหางเหมือนปลา และมีลักษณะของสัตว์อื่น ๆ เพิ่มเติมหลายชนิดมากยิ่งขึ้นตามจินตนาการของช่าง เช่น สิงโต แพะ กวาง นาค มังกร เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นสัตว์ที่มีความหมายในทางมงคลทั้งสิ้น  มกรสังคโลกพบหลักฐานการขุดค้นเป็นจำนวนมากในพื้นที่เมืองโบราณสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และเมืองกำแพงเพชร ผลิตขึ้นระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๒ จากกลุ่มเตาเมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัย โดยเป็นเครื่องประกอบในงานสถาปัตยกรรมประเภทวิหาร ใช้ประดับบริเวณราวบันไดหรือชายคาอาคาร  ในเมืองกำแพงเพชรได้พบมกรจากการดำเนินงานทางด้านโบราณคดีในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เช่น วัดอาวาสใหญ่ วัดฆ้องชัย โดยมีลักษณะคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ เป็นมกรเขียนลายสีดำบนน้ำดินสีขาวแล้วเคลือบใสทับอีกครั้งหนึ่ง กำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑  บรรณานุกรม - กรมศิลปากร. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗), ๒๕๕๗. - ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๐. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๐.


ชื่อผู้แต่ง       ขุนวิจิตรมาตรา ชื่อเรื่อง         คอคิดขอเขียน ครั้งที่พิมพ์     - สถานที่พิมพ์  พระนคร สำนักพิมพ์    โรงพิมพ์ศรีหงส์ ปีที่พิมพ์        ๒๕๐๗ จำนวนหน้า    ๙๘ หน้า หมายเหตุ      ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ ร้อยเอก หลวงจบกลศึก (ยี่ จบกลศึก) ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม ๘ เมษายน ๒๕๐๗                    หนังสือเรื่อง คอคิดขอเขียน เล่มนี้ ได้เขียนถึงเรื่องเบ็ดเตล็ดทั่วไป ซึ่งผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วเกิดความสนุกเพราะส่วนใหญ่เป็นเรื่องอ่านเล่น   


องค์ความรู้วิชาการ เรื่อง นางภูเทวี จัดทำข้อมูลโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง


เลขทะเบียน : นพ.บ.142/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  80 หน้า ; 4.6 x 55.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา  มีฉลากชื่อชุด : มัดที่ 85 (340-345) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : สงฺคีติกถา (ปถมพระสงฺคายนา-จตุตถพระสงฺคายนา)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ขอมภาษา : บาลี-ไทยบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.89/9ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  58 หน้า ; 4.6 x 50 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 52 (103-117) ผูก 9 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺปทฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (ธรรมบท)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.10/1-7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 25 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 41 (ต่อ)-42-43) ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2511 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว จำนวนหน้า : 340 หน้า สาระสังเขป : ประชุมพงศาวดารขององค์การค้าคุรุสภาจัดพิมพ์ขึ้น โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงรวบรวม มีรายละเอียด ดังนี้ ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 41 (ต่อ) เรื่องจดหมายเหตุของคณะพ่อค้าฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภาค 2 อีกทั้งมี ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 42 เรื่องจดหมายเหตุของคณะพ่อค้าฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภาค 3 (ต่อจากภาคที่ 2 ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 41) และประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 43 เรื่องจดหมายเหตุของคณะพ่อค้าฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภาคที่ 4 (ต่อจากภาคที่ 3 ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 42)


     ฝาบาตรที่ระลึกพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๕       รัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๔๑๖      ไม้ลงรักประดับมุก      สูง ๗ เซนติเมตร ปากกว้าง ๒๖.๕ เซนติเมตร      จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ประทานยืม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ทำขึ้นเพื่อพระราชทานแก่พระราชาคณะในคราวพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จุลศักราช ๑๒๘๕ (พุทธศักราช ๒๕๑๖)      ฝาบาตรประดับมุกเป็นลวดลายตราแผ่นดินรูปช้างสามเศียรหรือช้างไอยราพตอยู่ภายในโล่ ภายใต้พานพระมหากฐินประดิษฐานพระจุลมงกุฎ (พระเกี้ยว) ขนาบด้วยฉัตรเครื่องสูง  ด้านซ้ายโล่ประดับรูปราชสีห์ส่วนด้านขวาเป็นคชสีห์  ตอนบนและล่างตราแผ่นดินมีแถบแพรจารึกพระปรมาภิไธยและการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก      ปัจจุบันฝาบาตรใบนี้จัดแสดงในห้องเครื่องมุก พระที่นั่งพรหมเมศธาดา (ชั้นล่าง) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร



    ประติมากรรมดินเผารูปราชยลักษมีประกอบกับรูปคชลักษมี พบจากเมืองโบราณอู่ทอง : ประติมากรรมรูปแบบเฉพาะสมัยทวารวดี         ประติมากรรมดินเผารูปราชยลักษมีประกอบกับรูปคชลักษมี พบจากเมืองโบราณอู่ทอง จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง     ประติมากรรมดินเผา สูงประมาณ ๙.๘ เซนติเมตร มีภาพนูนสูง ๒ ด้าน รองรับด้วยฐานทรงกลมตกแต่งด้วยลายกลีบบัว      ด้านที่ ๑ เป็นประติมากรรมรูปราชยลักษมี ประกอบด้วยรูปพระลักษมี เศียรหักหายไป นั่งโอบลำตัวสิงห์ที่หมอบอยู่ด้านข้าง สิงห์มีแผงคอขีดเป็นร่อง ตาโปน จมูกใหญ่ แยกเขี้ยวยิงฟันคล้ายประติมากรรมดินเผารูปสิงห์ ที่พบในเมืองโบราณอู่ทอง ด้านข้างเป็นรูปบุคคลนั่งคุกเข่าพนมมือ โดยหันหน้าไปทางรูปราชยลักษมี  สันนิษฐานว่าเป็นบริวารที่แสดงความเคารพบูชาต่อพระลักษมี      ด้านที่ ๒ เป็นรูปคชลักษมี กึ่งกลางเป็นรูปพระลักษมี เศียรหักหายไป พระหัตถ์ขวาทรงถือก้านดอกบัวตูมยกขึ้นในระดับพระอุระ ส่วนพระหัตถ์ซ้ายหักหายสันนิษฐานว่าทรงถือก้านดอกบัวตูมยกขึ้นในระดับพระอุระเช่นเดียวกัน นั่งขัดสมาธิราบบนฐานบัว ด้านข้างทั้งสองชำรุดมาก สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นรูปช้างชูงวงถือหม้อน้ำเพื่อรดน้ำอภิเษกพระลักษมี      สันนิษฐานว่า อาจใช้เป็นฝาจุกภาชนะ หรือประดิษฐานเพื่อการเคารพบูชา หรือใช้เป็นเครื่องรางสำหรับติดตัวพ่อค้าหรือนักเดินทาง นอกจากประติมากรรมชิ้นนี้แล้ว ที่เมืองโบราณอู่ทองยังพบประติมากรรมดินเผารูป  ราชยลักษมี และประติมากรรมดินเผารูปคชลักษมีที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกับประติมากรรมชิ้นนี้อีก ๒ ชิ้นด้วย กำหนดอายุประติมากรรมดังกล่าวอยู่ในสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว)     ราชยลักษมีและคชลักษมีเป็นรูปแบบหนึ่งของพระศรี – ลักษมี ซึ่งผู้นับถือเพื่อความมีโชคลาภและความอุดมสมบูรณ์ ปรากฏในศิลปะอินเดีย และส่งอิทธิพลด้านรูปแบบศิลปกรรมและคติความเชื่อให้กับศิลปะทวารวดี สำหรับประติมากรรมชิ้นนี้ ช่างสมัยทวารวดีมีการปรับเปลี่ยนจนมีรูปแบบเฉพาะของตนเอง ได้แก่ การนำรูปราชยลักษมีและคชลักษมีมาประกอบกัน ซึ่งไม่พบในศิลปะอินเดีย และยังไม่เคยพบจากเมืองโบราณสมัยทวารวดีอื่น ๆ ในประเทศไทย ประติมากรรมชิ้นนี้จึงเป็นรูปแบบพิเศษซึ่งพบเฉพาะในเมืองโบราณอู่ทอง และยังเป็นหลักฐานที่แสดงถึงความนิยมในการนับถือพระลักษมีในฐานะเทวีแห่งโชคลาภและความอุดมสมบูรณ์ในดินแดนแถบนี้เป็นอย่างมากด้วย   เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕. เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว. รูปแบบและความเชื่อของงานศิลปกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระศรี-ลักษมีที่พบใน ประเทศไทยก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา ประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๐.


ชื่อผู้แต่ง        อ.อนันตคุณานุภาพ ชื่อเรื่อง         สัญญลักษณ์แห่งความรุ่งโรจน์ ครั้งที่พิมพ์               -  สถานที่พิมพ์    พระนคร  สำนักพิมพ์      เอี่ยมสุทธา ปีที่พิมพ์           ๒๔๙๙  จำนวนหน้า       ๖๓๒  หน้า  หนังสือเล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อต้องการหาทุนทรัพย์ มาช่วยเหลือการศึกษาของพระภิกษุสามเณรจังหวัดนครพนม ซึ่งได้มาศึกษาอยู่ในพระนครและธนบุรี ด้วยเหตุนี้หนังสือเล่มนี้จึงเป้นหนังสือการกุศลหนังสือ สัญลักษณ์แห่งความรุ่งโรจน์เล่มนี้ เป็นหนังสือเกี่ยวกับการสร้างนักพูดเหมาะสมแก่ผู้ยังใหม่เป็นอย่างยิ่ง หลักการและแนวทางที่เบาสมอง จงฝึกหัดและฝึกฝนตาม แล้วท่านจะต้องเป็นนักพูดที่เรืองนามแน่  


     มกร      ศิลปะสุโขทัย ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐ หรือประมาณ ๖๐๐ - ๗๐๐ ปีมาแล้ว      ดินเผาเคลือบเขียนลายสีน้ำตาล       สูง ๘๖.๕ เซนติเมตร      มกรรูปแบบนี้ เป็นส่วนประดับสถาปัตยกรรมเช่น ช่อฟ้า  หัวบันได  ผลิตจากเตาเผาสังคโลกบริเวณกลุ่มเตาป่ายาง  ริมแม่น้ำยมนอกเมืองโบราณศรีสัชนาลัย  อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย  เป็นเตาเผาก่ออิฐแบบระบายความร้อนแนวเฉียง มกร  เป็นสัตว์น้ำในเทวตำนานของศาสนาฮินดู  ส่วนบนมีหัวและลำตัวเหมือนสัตว์บก  ส่วนล่างมีหางเหมือนปลา  รูปมกรชิ้นนี้มีศีรษะและลำตัวคล้ายสิงห์  คือ  มีแผงรอบคอ  มีขา  และงวงคล้ายช้าง  มีเขาคล้ายกวาง  ตกแต่งส่วนหัวเป็นตัวกระหนก  ไม่มีส่วนลำตัว  แต่มีช่องกว้างที่ส่วนล่างเพื่อให้ประกอบเข้ากับราวพนักบันได      ปัจจุบันรูปมกรนี้ จัดแสดงในห้องประวัติศาสตร์และโบราณคดีสุโขทัย  อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร   



ชื่อเรื่อง                         ตำนานธาตุพนม (พื้นธาตุพนม)       สพ.บ.                           384/1ก หมวดหมู่                       พุทธศาสนา ภาษา                           บาลี/ไทยอีสาน หัวเรื่อง                        พุทธศาสนา                                  พระธาตุพนม ประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลาน ลักษณะวัสดุ                   14 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56.3 ซม.  บทคัดย่อ เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


          จันทบุรีเป็นเมืองท่องเที่ยว มีสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติมากมาย ทั้งน้ำตก ทะเล หาดทราย เมื่อ 2 ตอนที่แล้วได้แนะนำหาดทรายที่สวยงาม คือ หาดคุ้งวิมาน หาดแหลมเสด็จ และหาดจ้าวหลาว ใกล้กับแหลมเสด็จจะมีอ่าวที่สวยงาม คือ อ่าวคุ้งกระเบน           อ่าวคุ้งกระเบน จะอยู่ทางด้านขวามือของแหลมเสด็จ ชาวบ้านจะเรียกหาดทางด้านซ้ายมือของแหลมเสด็จว่า “ทะเลนอก” เพราะถัดหาดทรายออกไปเป็นทะเลเวิ้งว้างสุดขอบฟ้า ส่วนอ่าวคุ้งกระเบนเรียกว่า “ทะเลใน” หากมองจากภาพถ่ายทางอากาศ จะเห็นอ่าวนี้มีรูปร่างเหมือนปลากระเบน จึงเรียกอ่าวนี้ว่า “อ่าวคุ้งกระเบน”              พื้นที่ภายในอ่าวคุ้งกระเบนเป็นลักษณะป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งกำเนิดของสัตว์น้ำเล็กๆ ทั้งกุ้ง หอย ปูปลา เมื่อเติบโตแข็งแรงแล้วก็จะว่ายออกทะเลลึก จึงนับว่าภายในอ่าวคุ้งกระเบนเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่มีค่าอย่างมหาศาล           อ่าวคุ้งกระเบนมีสถานที่สำคัญคือ ศุนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ตั้งขึ้นตามพระราชดำริของรัชกาลที่ 9 มีพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำอ่าวคุ้งกระเบนที่เปิดให้เข้าชม มีป่าชายเลนที่มีพันธ์ไม้มากมายกว่า 30 ชนิด ขึ้นกระจายปกคลุมรอบอ่าว มีเส้นทางเดินเท้าศึกษาธรรมชาติเป็นระยะทาง 850 เมตร ด้วยภูมิประเทศที่สวยงาม จึงทำให้เอื้อประโยชน์ทางด้านการท่องเที่ยว------------------------------------------------------------------ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี------------------------------------------------------------------


Messenger