ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
หลวงระงับประจันตคาม (โป๊ะ วัชรปาณ) ดำรงตำแหน่งนายอำเภอเมืองพิมายช่วงพ.ศ.2471-2474
หลวงประจันตคาม เป็นนายอำเภอเมืองพิมาย
ผู้รับเสด็จสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพซึ่งเสด็จมาตรวจโบราณสถานเมื่อพ.ศ.2472 และเป็นผู้ถวายรายงานการเป็นไปในท้องที่ โดยกล่าวถึงผู้คนในเมืองพิมายว่า
- พลเมืองทั้งสิ้น 52,318 คน เป็นคนวิกลจริต 2 คน มีคนชาติไทย ชาติจีน ชาติเขมร เป็นพื้น และมีคนอพยพมาจากต่างอำเภอ ต่างจังหวัดเข้ามาในท้องที่อำเภอนี้มาก มีอาชีพทำนามากกว่าอาชีพอื่น จึงมีความคิดที่จะเกณฑ์ราษฎรให้ปิดทำนบขุดเหมืองในแม่น้ำลำคลองต่างๆทั่วไป เพื่อให้ราษฎรได้ใช้น้ำทำนาตามฤดูกาลมิต้องรอน้ำฝนอย่างเดียว
- การทำสวน ราษฎรในท้องที่อำเภอนี้ไม่มีความนิยมเลย จึงได้ร้องขอหรือบังคับกลายๆให้ราษฎรปลูกหมาก ปลูกมะพร้าว ปลูกนุ่น ปลูกไม้ไผ่ ไม่ต่ำกว่าบ้านละ 10 ต้น
- เก็บ "เงินคงเรียกค่านา" ได้ 10847 บาท 16 สตางค์ "ค่ารัชชูปการ" 33628 บาท
สำหรับคนที่มิได้เสียเงินรัชชูปการ ก็เอามาใช้ในการโยธาต่างๆที่ปราสาทหิน คือซ่อมถนนบ้าง ซ่อมสะพานบ้าง ขุดตอไม้ในบริเวณปราสาทหินบ้างขุดหินที่จำหลักรูปภาพและลวดลายขึ้นบ้าง
ราชบัณฑิตยสภาได้ชื่นชมนายอำเภอในรายงานราชบัณฑิตยสภาว่า "มีความคิดดี...สมควรเป็นตัวอย่างให้อำเภออื่นๆต่อไป"
ในส่วนปราสาทพิมาย หลวงระงับฯ ได้ระบุว่า
" โบราณสถานในอำเภอนี้มีแต่จะชำรุดทรุดโทรมลง เพราะไม่มีเจ้าพนักงานดูแลรักษาโดยเฉพาะ ทั้งปราสาทหินก็ตั้งอยู่ในหมู่ชุมนุมชนมีคนสัญจรผ่านไปมาเข้าออกอยู่เสมอ มักเคาะต่อยศิลาเป็นอันตรายอยู่เนืองๆ...
...ข้าพระพุทธเจ้าคิดจะหารายได้ไว้บำรุงทางหนึ่งจะปลูกต้นฉำฉาตามถนนในเมืองและรอบบริเวณกำแพงปราสาทเพื่อปล่อยครั่งจำหน่าย รายได้อันนี้จะได้จ้างนายงานและกุลีซึ่งจะจัดให้เป็นผู้พิทักษ์รักษาโบราณสถาน...
...คงกินเวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี แม้จะกินเวลานานเช่นนั้นก็ดี ข้าพระพุทธเจ้าก็พยายามอยู่เสมอจนกว่าจะมีงบประมาณรักษา "
จากรายงานของหลวงระงับประจันตคาม ทำให้เราทราบเรื่องราวในอดีตหลายๆเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการอพยพของกลุ่มคนและความหลากหลายของเชื้อชาติ กุศโลบายในการรักษาโบราณสถานต่างๆ รวมถึงเรื่องราวของ "ต้นฉำฉา"
ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒
เทคนิค : สลักดุนโลหะ ปิดทอง ลงยาสี และประดับคริสตัล
กลุ่มงานช่างบุและช่างศิราภรณ์ กลุ่มประณีตศิลป์ สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
ผลงานศิลปกรรมจัดสร้างโดย สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)
อักษรพระปรมาภิไธย วปร. (อยู่ตรงกลาง) พื้นอักษรสีขาวขอบเดินทอง อันเป็นสีของวันจันทร์ซึ่งเป็นวันพระบรมราชสมภพ ภายในอักษรประดับเพชร ตามความหมายแห่งพระนามมหาวชิราลงกรณ อักษร วปร. อยู่บนพื้นสีขาบ (น้ำเงินเข้ม) อันเป็นสีของขัตติยกษัตริย์ ภายในกรอบพุ่มข้าวบิณฑ์สีทองสอดสีเขียว อันเป็นสีซึ่งเป็นเดชแห่งวันพระบรมราชสมภพ กรอบทรงพุ่มข้าวบิณฑ์อัญเชิญมาจากกรอบที่ประดิษฐานพระมหาอุณาโลม อันเป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ แวดล้อมด้วยเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ อันเป็นเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์และเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราช ได้แก่ พระมหาพิชัยมงกุฎพร้อมอุณาโลมประกอบเลขมหามงคลประจำรัชกาล อยู่เบื้องบนพระแสงขรรค์ชัยศรีกับพระแส้จามรีทอดไขว้อยู่เบื้องขวา ธารพระกรกับพัดวาลวิชนี ทอดไขว้อยู่เบื้องซ้าย และฉลองพระบาทเชิงงอนอยู่เบื้องล่าง
พระมหาพิชัยมงกุฎ หมายถึง ทรงรับพระราชภาระอันหนักยิ่งของแผ่นดิน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
พระแสงขรรค์ชัยศรี หมายถึง ทรงรับพระราชภาระปกป้องแผ่นดินให้พ้นจากภยันตราย
ธารพระกร หมายถึง ทรงดำรงราชธรรมเพื่อค้ำจุนบ้านเมืองให้ผาสุกมั่นคง
พระแส้จามรีกับพัดวาลวิชนี หมายถึง ทรงขจัดปัดเป่าความทุกข์ยากเดือดร้อนของอาณาประชาราษฎร์
ฉลองพระบาทเชิงงอน หมายถึง ทรงทำนุบำรุงปวงประชาทั่วรัฐสีมาอาณาจักร
เบื้องหลังพระมหาพิชัยมงกุฎ : ประดิษฐานพระมหาเศวตฉัตรอันมีระบายขลิบทอง จงกลยอดฉัตรประกอบรูปพรหมพักตร์อันวิเศษสุด ระบายชั้นล่างสุดห้อยอุบะจำปาทอง แสดงถึงพระบารมีและพระบรมเดชานุภาพที่ปกแผ่ไปทั่วทิศานุทิศ
เบื้องล่างกรอบอักษรพระปรมาภิไธย : มีแถบแพรพื้นสีเขียวถนิมทองขอบขลิบทอง มีอักษรสีทองความว่า "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒" ปลายแถบแพรเบื้องขวามีรูปคชสีห์กายม่วงอ่อน ประคองฉัตร ๗ ชั้น หมายถึงข้าราชการฝ่ายทหาร
เบื้องซ้าย : มีรูปราชสีห์กายขาวประคองฉัตร ๗ ชั้น หมายถึง ข้าราชการฝ่ายพลเรือน ผู้ปฏิบัติราชการสนองงานแผ่นดินอยู่ด้วยกัน ข้างคันฉัตรด้านในทั้งสองข้างมีดอกลอยกนกนาค แสดงถึงปีมะโรงนักษัตรอันเป็นปีพระบรมราชสมภพ สีทองหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองยิ่งของประเทศชาติและประชาชน
สามารถรับชมขั้นตอนการจัดสร้าง
ได้ทาง YouTube ตามลิ้งค์ด้านล่าง
https://youtu.be/gvMjzRrxWi8
ที่มา: https://datasipmu.finearts.go.th/portfolio/1323
ชื่อเรื่อง ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏธกถา ขุทฺทกนิกายฏธกถ (ธมฺมปทขั้นปลาย)อย.บ. 240/6หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 56 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ; ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง พุทธ ศาสนา บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ
องค์ความรู้ : สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่เรื่อง : รอยอดีตบนเพิงผากับภาพเขียนสีออบหลวงที่พบใหม่เรียบเรียงโดย : นายสายกลาง จินดาสุ นักโบราณคดีชำนาญการ นายยอดดนัย สุขเกษม นักโบราณคดีชำนาญการ นายสิทธิศักดิ์ ทะสุใจ นักวิชาการวัฒนธรรม กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ การศึกษาอดีต หาใช่ความจริง ๑๐๐% หากแต่เป็นความเสมือนจริงที่สุดที่เราพยายามเข้าใกล้อดีตจากหลักฐานทางโบราณคดีที่ปรากฏ วันนี้เราจะมาพยายามเข้าใกล้ความจริงในอดีตของมนุษย์ด้วยกันอีกครั้ง ผ่านแหล่งโบราณคดีแห่งใหม่ที่เพิ่งค้นพบ นั่นคือแหล่งภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติออบหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เตรียมจินตนาการของคุณไว้ให้ดี เพราะภาพเขียนสีนี้ พร้อมจะท้าทายความคิดของทุกท่าน แหล่งภาพเขียนสีออบหลวง ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติออบหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแหล่งภาพเขียนสีแห่งแรกที่มีการสำรวจทางโบราณคดี ในพื้นที่ภาคเหนือ โดยเริ่มดำเนินการใน พ.ศ.๒๕๒๗ – ๒๕๓๓ โดยโครงการโบราณคดีภาคเหนือ ฝ่ายวิชาการ กองโบราณคดี กรมศิลปากร โดยในช่วงเวลาดังกล่าวสำรวจพบภาพเขียนสี ๓ แหล่ง ประกอบด้วยแหล่งภาพเขียนสีผาช้าง และแหล่งภาพเขียนสีผาหมาย ในเขตอำเภอฮอด และแหล่งภาพเขียนสีผาคันนา เขตอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้มีการตีพิมพ์ข้อมูลดังกล่าวในหนังสือโบราณคดีลุ่มแม่น้ำปิง ในพ.ศ.๒๕๓๔ ต่อมาใน พ.ศ.๒๕๓๘ ได้มีการดำเนินงานโครงการวิจัยสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ไทย – ฝรั่งเศส ทั้งนี้ในการดำเนินงานทั้งสองครั้ง ได้ทำการคัดลอกภาพเขียนสีที่แหล่งภาพเขียนสีผาหมาย ทำให้สามารถเปรียบเทียบความเสื่อมสภาพภาพเขียนสีของผาหมายจากอดีตถึงปัจจุบัน(พ.ศ.๒๕๖๖) และทำให้สามารถศึกษารายละเอียดภาพและสัญลักษณ์ต่างๆที่เคยปรากฏได้มากขึ้น ใน พ.ศ.๒๕๖๖ อุทยานแห่งชาติออบหลวง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช ได้ติดต่อยังสำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ สำรวจภาพเขียนสีในพื้นที่อุทยานฯ ซึ่งจากข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ผาแต้ม เป็นจุดที่พบภาพเขียนสีจุดใหม่ที่ยังไม่เคยปรากฏข้อมูลการสำรวจหรือดำเนินการทางโบราณคดีมาก่อน สำนักศิลปากรที่๗ เชียงใหม่ จึงได้ทำการสำรวจในพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติออบหลวง เมื่อพิจารณาที่ตั้งแหล่งภาพเขียนสีผาหมายและผาแต้ม พบว่ามีลักษณะร่วมบางประการที่เป็นข้อสังเกตเกี่ยวกับรูปแบบของแหล่งภาพเขียนสีบริเวณอุทยานแห่งชาติออบหลวง คือ ตั้งอยู่บนเพิงผาที่ใกล้กับลำห้วยในพื้นที่ โดยเพิงผาภาพเขียนสีอยู่สูงกว่าลำห้วยราว ๒๐ - ๓๐ เมตร และหันเข้าหาลำห้วย โดยภาพเขียนสีผาหมายหันหน้าเข้าหาลำห้วยผาหมาย และภาพเขียนสีผาแต้มหันเข้าหาลำห้วยแม่ทัง ทั้งนี้จากการสำรวจพบว่าใกล้กับลำห้วยทั้งสองมีผาหินปูนปรากฏหลายแห่ง แต่เพิงผาที่เป็นแหล่งภาพเขียนสีจะมีเพิงผาที่มีความยาวที่เหมาะสมแก่การเขียนภาพคือยาว ๘ – ๑๑ เมตร อย่างที่เรียนในตอนต้นว่า หลักฐานทางโบราณคดีประเภทภาพเขียนสีท้าทายความคิดและจินตนาการ หากท่านผู้อ่านมองเห็นเป็นอื่นใดจากที่ผู้เขียนวิเคราะห์ สามารถให้ความเห็นและจินตนาการได้ตามแต่ใจของท่าน เทคนิคที่ใช้ในการเขียน ปรากฏทั้งเทคนิคแบบเงาทึบ (silhouette) และแบบโครงร่างภายนอก (outline) ใช้สีแดงในการเขียน รูปบุคคลและสัตว์เกือบทั้งหมดเขียนในลักษณะรูปด้านหน้าตรง(ในสัตว์อาจมีการเขียนจากมุมสูง อาทิ รูปเต่า ตะพาบน้ำ) ไม่นิยมการเขียนด้านข้างอย่างที่ปรากฏที่ถ้ำเขาจันทร์งาม อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา (แต่ทั้งปรากฏภาพเขียนหันด้านข้างเล็กน้อยที่ภาพเขียนผาหมาย ที่เป็นภาพบุคคลกำลังขี่หรือบังคับจูงสัตว์อยู่) ภาพเขียนบุคคลที่ปรากฏเขียนใน ๒ ลักษณะ คือ เป็นรูปร่างบุคคลเสมือนจริง และเป็นเส้นแบบกิ่งไม้ บุคคลกางแขนขา (แขนกางในลักษณะคว่ำแขนลง) บุคคลมีลักษณะศีรษะต่างกันหลายแบบ ทั้งศีรษะกลม ค่อนข้างเหลี่ยม และเป็นวงรีที่วางในแนวนอน บางบุคคลมีคอยาว แต่มีข้อสังเกตที่สำคัญคือ เกือบทุกบุคคลมีหาง ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ที่ปรากฏในหนังสือโบราณคดีลุ่มแม่น้ำปิง วิเคราะห์ว่าหางนี้อาจเป็นอวัยวะเพศชาย ดังนั้นภาพเขียนบุคคลที่ปรากฏจึงมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นคน หรือเป็นสัตว์(ประเภทสัตว์เลื้อยคลานที่มีหาง) ทั้งนี้ภาพที่น่าสนใจต่อการวิเคราะห์ตีความแหล่งภาพเขียนสีนี้ที่สุด คือ ภาพเขียนสีที่ผาหมายที่สามารถสื่อความหมายได้ใน ๓ แนวทาง คือ เป็นภาพพานหรือฆ้องที่ห้อยอยู่กับเสา (อาจเป็นฆ้องหรือกลองมโหรทึกสำริด) หรืออาจมองเป็นเป็นภาพกิ่งไม้ที่มีรังผึ้งติดอยู่และมีการตัดลงมาแขวนไว้กับเสาไม้ หรืออาจเป็นภาพสัตว์สี่เท้า มีกีบเท้า ท้องโต คล้ายกับถูกลากจูงโดยบุคคลที่อยู่ด้านหน้า บุคคลเขียนด้วยเงาทึบสีแดง (ข้อมูลในหนังสือโบราณคดีลุ่มแม่น้ำปิง และรายงานการขุดค้นทางโบราณคดีผาหมาย ในโครงการวิจัยสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ไทย-ฝรั่งเศส สันนิษฐานว่าเป็นแนวทางอย่างหลังสุด) ทั้งนี้ในการวิเคราะห์เพิ่มเติม แนวทางที่น่าสนใจอย่างมากคือการตีความว่าภาพนี้อาจจะเป็นกลองมโหระทึกสำริดหรือฆ้อง ซึ่งอาจทำให้บริบทรอบๆที่เป็นภาพบุคคลมีหางคือ คนที่เข้าร่วมในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ที่อาจมีการสวมใส่ชุดพิเศษในพิธีกรรม (ทำให้ปรากฏส่วนศีรษะที่ไม่เหมือนกัน และปรากฏหาง หรืออวัยวะเพศชาย) นอกจากนั้นภาพรังผึ้งที่อยู่ส่วนกลางของภาพและด้านบนซ้ายก็เป็นภาพที่มีความน่าสนใจอย่างมาก ใกล้กันกับรังผึ้งปรากฏกากบาทขนาดเล็ก ชวนให้ตีความได้ว่าคือผึ้งที่บินอยู่รอบๆรัง ใกล้กับรังผึ้งกลางภาพมีภาพบุคคลกางแขนขนาดใหญ่ และมีบุคคลขนาดเล็กอีก ๔ คนอยู่ใกล้ ขนาดภาพของบุคคลขนาดใหญ่มีขนาดที่แตกต่างจากบุคคลขนาดเล็กอย่างชัดเจนที่ขนาดใกล้เคียงกัน จึงสันนิษฐานว่าบุคคลขนาดใหญ่นี้อาจเป็นหมี จากการสำรวจพบว่าแหล่งภาพเขียนสีผาหมายและผ้าแต้ม พบสัตว์ต่างๆคือ สัตว์เลื้อยคลาน(ตะกวด?) เต่าหรือตะพาบน้ำ ผึ้ง หมี วัว ซึ่งวัวที่พบปรากฏทั้งวัวมีหนอก(กระทิง?)และไม่มีหนอก ภาพสัตว์เหล่านี้มีความสำคัญต่อการตีความและทำความเข้าใจด้านมนุษยวิทยาเกี่ยวกับพัฒนาการทางสังคมของคนในพื้นที่ภาคเหนือตั้งแต่สมัยก่อนประวัติสาสตร์เข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ เอกสารทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่ล้านนาหลายฉบับ อาทิ ตำนานจามเทวีวงศ์ ตำนานมูลศาสนา กล่าวถึงคนที่เกิดในรอยเท้าสัตว์ (ในมูลศาสนากล่าวถึงทารกที่เกิดมาในรอยเท้าสัตว์ ๓ ชนิด คือ ช้าง แรด วัว) ซึ่งสัตว์เหล่านี้อาจหมายถึงสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ประจำเผ่า (totem) ดังนั้น ถ้ารูปสัตว์ที่ปรากฏบนเพิงผาเหล่านี้มิใช่เพียงภาพแสดงความอุดมสมบูรณ์หรือวิถีชีวิตของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ภาพสัตว์เหล่านี้อาจหมายถึงการแสดงตัวตนของแต่ละเผ่าที่มีสัตว์เป็นสัญลักษณ์ในพื้นที่ก็เป็นได้ ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าที่แหล่งโบราณคดีผาหมายและผาแต้มไม่พบภาพมือ ซึ่งเป็นภาพที่นิยมเขียนอย่างมากในพื้นที่ภาคเหนือ (หรือในอีกทาง ภาพนี้อาจแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับการหาน้ำผึ้งก็เป็นได้) ในด้านแนวทางการกำหนดอายุเบื้องต้น ใช้การกำหนดอายุจากโบราณวัตถุที่พบในพื้นที่แหล่งเปรียบเทียบกับค่าอายุของแหล่งภาพเขียนสีที่อยู่ใกล้ คือภาพเขียนสีผาช้าง จากการพบเครื่องมือหินกะเทาะแบบสุมาตราลิธ กะเทาะหน้าเดียวจากหินกรวดแม่น้ำ (unifacial pebble tools,sumatralithe type axe) ซึ่งเป็นรูปแบบเครื่องมือที่กำหนดอายุในยุคหินกลาง (ตามการกำหนดโดยใช้เทคโนโลยี) และเป็นพัฒนาการทางสังคมสมัยหาของป่าล่าสัตว์ ที่กำหนดอายุได้ ๑๐,๐๐๐ – ๖,๐๐๐ ปีมาแล้ว ซึ่งจากการสำรวจตามความลาดชันโดยรอบภาพเขียนสีผาแต้มเป็นค่าอายุที่สอดคล้องกับการกำหนดอายุแหล่งภาพเขียนสีเพิงผาช้าง ที่กำหนดอายุที่ ๘,๕๐๐ – ๗,๕๐๐ ปีมาแล้ว ซึ่งจากการสำรวจตามความลาดชันโดยรอบภาพเขียนสีผาแต้ม พบเศษภาชนะดินเผาแบบเนื้อดิน ส่วนขอบปาก เผาไม่สุก เนื้อไส้กลางภาชนะเป็นสีน้ำตาลเทา ไม่ตกแต่งผิวภาชนะ และยังพบเครื่องมือหินกะเทาะแบบสุมาตราลิธ กะเทาะหน้าเดียวจากหินกรวดแม่น้ำ (unifacial pebble tools,sumatralithe type axe) เช่นเดียวกันนี้
ชื่อเรื่อง พระราชกรัณยานุสร พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ เรื่องนางนพมาศผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ประเพณี ขนบธรรมเนียม คติชนวิทยาเลขหมู่ 390.22 จ657พสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ คลังวิทยาปีที่พิมพ์ 2507ลักษณะวัสดุ 364 หน้าหัวเรื่อง ไทย – ความเป็นอยู่และประเพณีภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก“พระราชกรัณยานุสร” เป็นเรื่องเกี่ยวกับ พระราชพิธีศรีสัจปานกาล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นไว้“นางนพมาศ หรือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์” เป็นวรรณคดีที่น่าอ่าน น่าศึกษา
กรมศิลปากร โดยสำนักการสังคีต ขอเชิญชม โครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๗ "เหมันต์สุขศรี สุนทรีย์สังคีต" ในวันอาทิตย์ที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๗.๓๐ น. ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พบกับรายการแสดง ดังนี้
๑. การบรรเลงดนตรีสากล (เริ่ม ๑๖.๓๐ น.)
๒. พิธีเปิด ฯ
๓. รำอวยพรเปิดสังคีตศาลา ปีที่ ๖๗
๔. การแสดงตำนานเทวะนิยาย เรื่องนารายณ์สิบปาง “วราหะวตาร”
๕. โขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดปฐมวงวานจักรี สร้างกรุงศรีอยุธยา
นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีต กำกับการแสดงโดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ อำนวยการแสดงโดย ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต
บัตรราคา ๒๐ บาท (จำหน่ายบัตรก่อนการแสดง ๑ ชั่วโมง) ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ โทร. ๐ ๒๒๒๑ ๐๑๗๑
การจัดทำหนังสือที่ระลึกงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
คณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพิจารณาการจัดทำหนังสือที่ระลึกงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ขอความร่วมมือให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มีความประสงค์จะจัดทำหนังสือที่ระลึกเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติฯ ดำเนินการตามขั้นตอนการขอจัดทำหนังสือตามหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณาที่ได้กำหนดไว้ เพื่อให้การจัดทำหนังสือมีวัตถุประสงค์และลักษณะเนื้อหา รูปแบบ ที่ถูกต้องและเหมาะสม
คณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพิจารณาการจัดทำหนังสือที่ระลึกงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ได้กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณากลั่นกรองการจัดทำหนังสือที่ระลึกเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์ เป้าหมายของการจัดทำหนังสือที่ระลึก คุณลักษณะของหนังสือ ลักษณะรูปเล่ม ขนาด จำนวนพิมพ์ การเผยแพร่ และขอบเขตของการดำเนินงาน ทั้งนี้ หน่วยงานที่มีความประสงค์จะจัดทำหนังสือที่ระลึกฯ ขอให้กรอกแบบการขอจัดทำหนังสือที่ระลึกฯ ตามที่กำหนด โดยหน่วยงานภาครัฐจะต้องผ่านการพิจารณาและกลั่นกรองจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไป ส่วนหน่วยงานภาคเอกชนจะต้องผ่านการพิจารณาและกลั่นกรองจากหัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร จากนั้นส่งมายังฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพิจารณาการจัดทำหนังสือที่ระลึกฯ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 เมื่อหนังสือได้รับความเห็นชอบแล้ว หากประสงค์นำตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ไปใช้พิมพ์ในหนังสือให้แจ้งขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์ฯ ไปยังคณะอนุกรรมการฝ่ายกลั่นกรองการขอใช้ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล
กำหนดส่งแบบการขอจัดทำหนังสือที่ระลึกฯ ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 สามารถดูรายละเอียดหลักเกณฑ์ แนวทางการพิจารณากลั่นกรอง และดาวน์โหลดแบบการขอจัดทำหนังสือที่ระลึกฯ ได้ที่ https://shorturl.at/betJ8 หรือเว็บไซต์ของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ www.nat.go.th สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2281 1599 ต่อ 141, 143, 145 โทรสาร 0 2282 3826 E-mail: Korbokor57@gmail.com
ภาพปูนปั้นชาดกเล่าเรื่อง มหากปิ
- ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔)
- ปูนปั้น
- ขนาด กว้าง ๙๕ ซม. ยาว ๘๔.๒ ซม. หนา ๕ ซม.
เดิมประดับที่ฐานลานประทักษิณด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของเจดีย์จุลประโทน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑ ภาพเล่าเรื่องมหากาปิ จากคัมภีร์ชาดกมาลาของอารยสูรในภาษาสันสกฤต เล่าเรื่อง เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระยาวานร ได้ช่วยเหลือชายหลงป่าให้กลับบ้านได้ปลอดภัย แม้จะรู้ว่าตนกำลังจะถูกชายผู้นั้นทำร้ายถึงชีวิตก็ตาม
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40069
ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th
กรมธนารักษ์ กรมศิลปากร ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายในจังหวัดนครศรีธรรมราช ขอเชิญเข้าร่วมงาน “แลหลัง มองหน้า กำแพงเมืองคอน” ระหว่างวันที่ 15-16 มิถุนายน 2567 ตั้งแต่เวลา 16.30 น. ณ กำแพงเมืองเก่า สวนสาธารณะศรีธรรมาโศกราช จังหวัดนครศรีธรรมราช และขอเชิญรับฟังการเสวนา หัวข้อ “มาแล มาเล่า มาแหลง เรื่องกำแพงเมืองคอน” วิทยากรโดย ผศ.ฉ้ตรชัย ศุกระกาญจน์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช อาจารย์วาที ทรัพย์สิน ผู้อำนวยการศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช และนางสาวสิริยุพน ทับเป็นไทย นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน 2567 เวลา 18.30-20.30 น. ณ กำแพงเมืองเก่า สวนสาธารณะศรีธรรมาโศกราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
ภายในงานพบกับกิจกรรมต่าง ๆ เช่น หลาดกำแพงเมืองคอน รถรางชมเมือง นิทรรศการ “กำแพงเมือง-คูเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช” นิทรรศการ “มาแล มาถ่าย กำแพงเมืองคอน” และการแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของน้อง ๆ เยาวชน งานนี้มีทั้งสาระและความบันเทิง ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๓๙พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งกาญจนาภิเษก มณฑลพิธีท้องสนามหลวง พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระบรมวงศานุวงศ์ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้พระบรมวงศานุวงศ์ นายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ข้าราชการ ทหาร และพลเรือน เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในการพระราชพิธีกาญจนาภิเษกรหัสเอกสาร ภ หจภ นร ๑๔.๒/๕๙
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญชมนิทรรศการศิลปกรรมเฉลิมพระเกียรติ “สิปปกรวรราชสามิภักดิ์” จัดแสดงผลงานศิลปกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ณ สำนักช่างสิบหมู่ ศาลายา จังหวัดนครปฐม
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กำหนดจัดนิทรรศการศิลปกรรมเฉลิมพระเกียรติ “สิปปกรวรราชสามิภักดิ์” ระหว่างวันที่ ๙ - ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๗ โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วย การจัดแสดงผลงานศิลปกรรมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ซึ่งเป็นผลงานที่จัดสร้างโดยสำนักช่างสิบหมู่ และผลงานศิลปกรรมทรงคุณค่าอันเกี่ยวเนื่องของกลุ่มงานต่าง ๆ เช่น งานจิตรกรรมไทยร่วมสมัย งานประติมากรรม งานประดับมุก งานประดับกระจก งานปิดทอง งานแกะสลัก งานลายรดน้ำ งานช่างบุและศิราภรณ์ ผลงานที่นำมาจัดแสดง อาทิ พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมกรอบปั้นปูนน้ำมัน พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหลั่งทักษิโณทก (ตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน) มีปฐมบรมราชโองการตอบพระราชทานแด่ประชาชนชาวไทย สมุดข่อย : ภาพเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ประทับบุษบกเทียบท่าราชวรดิษฐ์ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒
นอกจากนี้ ยังมีการบรรยายพิเศษ โดยอาจารย์สมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร พร้อมด้วยแขกรับเชิญอีกมากมาย ที่จะร่วมกันเสวนางานวิชาการด้านศิลปะ กระบวนการออกแบบ รูปแบบงานศิลปกรรม กระบวนการสร้างสรรค์งานลายรดน้ำ งานหล่อโลหะ และกระบวนการสร้างผลงานแบบฉบับของสำนักช่างสิบหมู่ การสาธิตการสร้างงานศิลปกรรม พบกับเทคนิควิธีการเชิงช่างงานศิลปกรรมไทย โดยบุคลากรของสำนักช่างสิบหมู่ ร่วมพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้กับผู้สร้างงานศิลปกรรมแต่ละแขนง สับเปลี่ยนหมุนเวียนมาถ่ายทอดความรู้กระบวนการสร้างงานในขั้นตอนต่าง ๆ ให้ชมกันอย่างใกล้ชิด
ภายในงานมีการจัด Art Market ตลาดนัดผลิตภัณฑ์ด้านศิลปกรรมของกรมศิลปากร และร้านค้าชื่อดัง ทั้งจากสถาบันการศึกษา และหน่วยงานใกล้เคียง และกิจกรรม Workshop สร้างสรรค์งานศิลปกรรม โดยวิทยากรจากสำนักช่างสิบหมู่ อาทิ การเขียนสีบนกระเบื้องเคลือบ การเขียนถุงผ้า การเขียนเสื้อ การปั้นปูนน้ำมัน การเขียนลายรดน้ำ การเขียนหัวเขนยักษ์และลิง ผู้สนใจสามารถร่วมกิจกรรมโดยไม่ต้องลงทะเบียนล่วงหน้า สอบถามรายละเอียดการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ได้ที่ฝ่ายบริหารงานทั่วไป โทร. ๐ ๒๔๘๒ ๑๓๖๒ ต่อ ๑๐๘ ในวันและเวลาราชการ
ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าชมงานนิทรรศการศิลปกรรมเฉลิมพระเกียรติ “สิปปกรวรราชสามิภักดิ์” และร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างวันที่ ๙ – ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ สำนักช่างสิบหมู่ ศาลายา จังหวัดนครปฐม
หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ตรัง ขอเชิญน้องๆ ที่มีอายุระหว่าง 6 - 12 ปี เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ "ฝึกสมาธิ สร้างจินตนาการไปกับศิลปะผ้ามัดย้อมและการพับกระดาษ" พบกับกิจกรรม การทำผ้ามัดย้อม เล่านิทานจากเล่มโปรด และพับกระดาษจากนิทานที่ชอบ ในวันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม 2567 เวลา 13.30 - 15.00 น. ณ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ตรัง สามารถร่วมกิจกรรมได้ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 23 สิงหาคม 2567 ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. 06 4229 2540 (พี่เชฟ) หรือ 08 5474 5150 (พี่ปุ๋ย)
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ควบคู่กับความสนุกในรูปแบบต่าง ๆ ในหัวข้อ "นววินายักยาตรา" ซึ่งเป็นกิจกรรมเนื่องในเทศกาลคเณศจตุรถี พุทธศักราช ๒๕๖๗ วันที่ ๗ - ๘ กันยายน และ ๑๑ - ๑๕ กันยายน ๒๕๖๗ พบกับกิจกรรมพิเศษ ดังนี้
- กิจกรรม "ล่าลาย - Pattern Hunt" มีรายละเอียดสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมดังนี้
- ซื้อบัตรเข้าชม และรับโปสการ์ดพระคเณศได้ที่ห้องจำหน่ายบัตร
- ๑ คน รับได้ ๑ ใบ เท่านั้น
- เข้าชมพิพิธภัณฑ์ และตามหาลายที่ชอบ
- จัดองค์ประกอบให้ลายอยู่ในรอยฉลุให้สวยงาม
- ถ่ายภาพแล้วอัพโหลดบน Facebook เปิดเป็นสาธารณะ
- ติดแฮชแท็ก nmbganeshchaturathi2024
- ภาพที่ได้รับการกดถูกใจมากที่สุด ภายในวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๗ จะได้รับกาชาปอง "นววินายัก" ทั้งชุดเป็นของรางวัล
- กิจกรรม "ตามรอยนววินายัก" เกมล่าหาตราประทับและสะสมสติ๊กเกอร์พระคเณศทั้ง ๙ มีรายละเอียดสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้
- ซื้อบัตรเข้าชมที่ห้องจำหน่ายบัตร
- รับพาสปอร์ตได้ที่อาคารมหาสุรสิงหนาท
- ไม่จำกัดจำนวนต่อคน
- เก็บตราประทับและสติ๊กเกอร์ที่ระลึกตามลายแทง
- เก็บสะสมให้ครบภายในวันที่ ๑๕ กันยายน เท่านั้น
- เมื่อเก็บครบทั้ง ๙ องค์แล้วนำพาสปอร์ตไปรับของรางวัล
- ค่าใช้จ่ายในการร่วมกิจกรรม ชุดละ ๑๐๐ บาท
- กิจกรรมนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นกรณีพิเศษในหัวข้อ "ตามรอยนววินายัก" มีรายละเอียดสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้
- ซื้อบัตรเข้าชมที่ห้องจำหน่ายบัตร
- เฉพาะวันเสาร์ - อาทิตย์ที่ ๗ - ๘ กันยายน และ ๑๔ - ๑๕ กันยายน
- ไม่ต้องสำรองที่นั่งล่วงหน้า
- ลงทะเบียนหน้างาน เวลา ๑๓.๐๐ น.
- รอบนำชมฯ เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๕.๐๐ น.
- มีเพียง ๔ รอบเท่านั้น
- ตลาดมุมหัด-ทำ-มือ (Arts & Crafts Corner) ณ ระเบียงหมู่พระวิมาน อาคารมหาสุรสิงหนาท พบกับงานศิลปะ งานหัตถกรรม กาชาปอง อาร์ตทอย และเวิร์กชอป
- กาชาปองชุดพิเศษ เนื่องในเทศกาลคเณศจตุรถี พุทธศักราช ๒๕๖๗ "นววินายัก" โดย มู-เซียม สตูดิโอ (Mu-Seum Studio) กาชาปองชุดนี้มีขนาดความสูง ๖ เซนติเมตร หนึ่งชุดมี ๙ องค์ ๙ สี แต่ละสีมีการ์ดลายพิเศษให้ด้วย จำนวนวันละ ๑๐๘ องค์ สีพิเศษ ๓ องค์/วัน พร้อมการ์ดลายสุดพิเศษ เริ่มเวลา ๑๐.๐๐ น. วันเสาร์ที่ ๗ กันยายน - วันอาทิตย์ที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๗ ณ อาคารมหาสุรสิงหนาท (ไม่จำกัดรอบ จนกว่าของจะหมดในแต่ละวัน) ราคาจุ่มละ ๒๐๐ บาท
ขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมกิจกรรม "นววินายักยาตรา"ณ พิพิธภัณฑสถานแหงชาติ พระนคร สามารถซื้อบัตรเข้าชมได้ตามปกติ ชาวไทย ๓๐ บาท ชาวต่างชาติ ๒๐๐ บาท เริ่มวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๗ ติดตามรายละเอียดกิจกรรมอื่น ๆ ได้ทาง Facebook Page : Education.National Museum Bangkok เที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒