ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
สำนักช่างสิบหมู่ นำเสนอ E – book ความรู้เรื่อง : การเขียนภาพจิตรกรรมประกอบนิทรรศการพิเศษ เรื่อง "เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก" ณ พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ภาพจิตรกรรมเรือสำเภาแล่นในท้องทะเล เป็นภาพแสดงท้องทะเลและเรือสำเภาขนส่งสินค้าเดินทางติดต่อค้าขาย มีทั้งเรือสำเภาญี่ปุ่น จีน อยุธยา และยุโรปโดยจัดวาง องค์ประกอบเพื่อสื่อให้เห็นถึงบรรยากาศการเดินทางติดต่อค้าขาย ด้วยเรือสำเภาระหว่างเมืองท่าญี่ปุ่น อยุธยาและยุโรปนำไปติดตั้งสร้างบรรยากาศ ประกอบกับการจัดแสดงภายในนิทรรศการ
ผู้เรียบเรียงและออกแบบ นายธรรมรัตน์ กังวาลก้อง จิตรกรปฏิบัติการ
สังกัด กลุ่มจิตรกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลด E – book ขั้นตอนการเขียนภาพจิตรกรรมได้จากลิ้งค์ที่แนบด้านล่างนะคะ
------------------------------------------------
https://datasipmu.finearts.go.th/academic/84
------------------------------------------------
#佐賀県有田焼展覧会バンコク国立博物館
#SagaAritaThaiceramicexhibitionBangkokNationalmuseum
#นิทรรศการไทยญี่ปุ่นเซรามิกอาริตะพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ขอเชิญชวนประชาชนร่วมงานลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย 2565 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม ถึง 8 พฤศจิกายน 2565 ภายในงานพบกับการเเสดงเเสงเสียง Light & Sound 2022 สุโขทัย การเเสดงพลุ ตะไล ไฟพะเนียง การแสดงศิลปวัฒนธรรม การเเสดงกระบี่กระบอง การเเสดงโขน ละคร หุ่น การประกวดนางนพมาศ รวมทั้งเลือกซื้อสินค้าในตลาดถุงเงิน ณ วัดตระพังเงิน ตลาดแลกเบี้ย ณ บริเวณสระยายเพิ้ง ตลาดปสาน ณ บริเวณด้านหลังวัดชนะสงคราม และตลาดบ้าน บ้าน ณ บริเวณด้านหลังวัดชนะสงคราม
การจองบัตรฟรีเข้าชมการแสดง แสง เสียง ผ่านระบบออนไลน์ สามารถจองได้ที่ : https://forms.gle/FUYjUN8aMH4cVJBg6
เช็คสถานะการจองได้ที่ : https://shorturl.asia/eYJEH เมื่อจองหรือลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์เรียบร้อยแล้ว สามารถนำบัตรประชาชน มารับบัตรเข้าชมการแสดง ได้ที่ กองอำนวยการ บริเวณศาลหลักเมือง ได้ตั้งวันที่ 28 ต.ค. เป็นต้นไป ระหว่างเวลา 13.30-17.30 น.
ทั้งนี้ หากลงทะเบียนแบบออนไลน์ไม่ทัน สามารถลงทะเบียนรับบัตรเข้าชมแสง เสียง ได้ที่หน้างานลอยกระทง โดยสามารถลงได้ที่ กองอำนวยการ บริเวณศาลหลักเมือง ระหว่างเวลา 17.30-18.15 น.
>>>กำหนดการจัดกิจกรรม อ่านได้ที่ view
>>>แผนผังการจัดงานกิจกรรม : view
นอกจากนี้ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ยังได้จัดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง "สังคโลกสุโขทัย" เพื่อเป็นการให้ความรู้และเผยแพร่การดำเนินงานของกรมศิลปากร ซึ่งอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้ดำเนินการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งเตาทุเรียงเมืองเก่าสุโขทัยมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ขุดแต่งและบูรณะครั้งใหญ่ ระหว่างปีงบประมาณ 2560-2563ที่ผ่านมา
ผู้สนใจสามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร/กิจกรรมเพิ่มเติม ได้ทางเพจเฟสบุ๊ก อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 26/5ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 42 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ความรู้เรื่อง เพลงกล่อมเด็กล้านนา เพลงกล่อมเด็กเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะชนิดหนึ่ง โดยเป็นเพลงที่พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงเด็กใช้ร้องขับกล่อมให้เด็กฟังเพื่อให้เด็กนอนหลับสบาย ไม่งอแง พัฒนามาจากการเล่านิทานให้เด็กฟังก่อนนอนในสมัยก่อน ต่อมาจึงมีการใส่ทำนองเพลงช้าๆ เพื่อความไพเราะ และสร้างบรรยากาศให้เด็กหลับง่ายขึ้น สานสัมพันธ์ความรัก ความห่วงใยจากพ่อแม่สู่ลูก ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคม วิถีชีวิตของคนในสมัยก่อนผ่านบทเพลง ในภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอน มีปรากฏเพลงกล่อมเด็กอยู่ในวัฒนธรรมพื้นบ้านมานานแล้ว เพียงแต่ไม่ปรากฏหลักฐานยืนยันช่วงเวลาแน่ชัด โดยลักษณะของเพลงกล่อมเด็กล้านนา ส่วนมากมักขึ้นต้นด้วยการร้อง "อื่อ จา จา" หรือ "อื่อ อื่อ จา จา" จึงมักเรียกว่า เพลงอื่อ คำว่า “อื่อ” หมายถึง เพลงที่ขับร้องโดยมีการส่งเสียงหึ่งจากลำคอให้ดังออกมาทางจมูก และมักจะทอดเสียงท้ายว่า ชา หรือ ชาชา เป็นทำนองต่างๆ เพื่อให้เกิดเสียงนุ่มนวล ชวนให้เด็กหลับได้ง่าย ปัจจุบัน เพลงอื่อ ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก เนื่องจากเป็นเพลงที่ใช้การจดจำสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ไม่ได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ที่มีปรากฏส่วนมากมาจากคนรุ่นเก่าๆ ที่ได้สืบทอดไว้นั่นเองเรียบเรียงโดยนางสาวพิมพา สุธัญญาวัชชัย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 34/4ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 30 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 53.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 129/4 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 165/3เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๑๖ มกราคม ๒๔๓๓ วันประสูติหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร
อำมาตย์เอก เสวกเอก หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ ที่ประสูติแต่หม่อมสุภาพ ประสูติเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๓ ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนราชวิทยาลัยและโรงเรียนนายร้อยทหารบก หลังจากนั้นเสด็จไปศึกษาต่อที่โรงเรียน Harrow ที่ประเทศอังกฤษ แล้วจึงเสด็จเรียนวิชาสถาปัตยกรรมที่เอกอลเดโบซาร์ ประเทศฝรั่งเศส หลังจากจบการศึกษาจึงเข้ารับราชการที่กรมศิลปากร ในปีพุทธศักราช ๒๔๕๙ จนได้รับพระราชทานยศเป็นเสวกเอก เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๖๖
ปีพุทธศักราช ๒๔๖๙ เมื่อกรมศิลปากรย้ายสังกัดขึ้นอยู่กับราชบัณฑิตยสภา หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ได้เป็นผู้อำนวยการศิลปากรสถานแห่งราชบัณฑิตสภา และได้รับพระราชทานยศเป็นอำมาตย์เอก เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๐ ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๗๗ หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากรและกลุ่มสถาปนิกยุคบุกเบิกของสังคมไทยในสมัยนั้น ผู้ได้รับการศึกษาสถาปัตยกรรมตามแนวสากลจากอังกฤษและฝรั่งเศส ร่วมก่อตั้งสมาคมสถาปนิกสยาม (The Association of Siamese Architects) ผลงานด้านสถาปัตยกรรมของพระองค์เช่น การซ่อมแปลงพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท งานออกแบบพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ ในพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม และวังไกลกังวล เป็นต้น
หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ สิ้นชีพิตักษัยในรัชสมัยรัชกาลที่ ๗ เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๘ สิริชันษา ๔๕ ปี
ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๘ กระทรวงวัฒนธรรม ได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร เป็น บูรพศิลปิน สาขาทัศนศิลป์ ในฐานะเป็นศิลปินที่มีผลงานอันทรงคุณค่ายิ่งต่อประเทศไทย
ภาพ : หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 19/5ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 36 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง : นิทานคำกลอนเรื่องโคบุตร ของ สุนทรภู่ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายชุน พรรณเชษฐ์ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2514 ชื่อผู้แต่ง : สุนทรภู่ ปีที่พิมพ์ : 2514 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์ จำนวนหน้า : 176 หน้า สาระสังเขป : นิทานคำกลอน เรื่อง โคบุตร เป็นกวีนิพนธ์เรื่องแรกของสุนทรภู่ ระยะเวลาที่แต่งประมาณว่าอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สันนิษฐานตามสำนวนกลอนเห็นว่า สุนทรภู่ได้แต่งก่อนที่ท่านจะเดินทางไปเยี่ยมบิดาที่เมืองแกลง ปี พ.ศ. 2350 ซึ่งได้แต่งนิราศเมืองแกลงขึ้นไว้ โคบุตรเป็นนิทานคำกลอนที่สุนทรภู่วางโครงเรื่องไว้อย่างสนุกสนานแม้ว่าสำนวนโวหารในการประพันธ์และการผูกเรื่องจะอยู่ในขั้นเริ่มต้นก็ตาม ก็ยังไพเราะน่าอ่าน หนังสือเล่มนี้จะหยิบยกนิทานคำกลอน เรื่อง โคบุตร มีทั้งหมด 12 ตอนด้วยกัน
ชื่อผู้แต่ง เทคโนโลยีพระจอมเกล้า,สถาบัน
ชื่อเรื่อง ที่ระลึกกฐินพระราชทาน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนครเหนือ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๑
จำนวนหน้า ๓๖ หน้า
วัดชุมพลนิกายาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชะนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่หัวเกาะบางปะอิน ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุยา ติดต่อกับเขตต์อุปจาร พระราชวังบางปะอิน มีอาณาเขตต์โดยยาวประมาณ ๔ เส้นเศษ กว้างด้านเหนือ ๑ เส้นเศษ ด้านใต้ ๔ เส้นเศษ สมเด็จพระสรรเพชรที่ ๕ พระเจ้าปราสาททอง ทรงสร้างเมื่อปีวอกจัตวาศกศักราช ๙๙๔ (พ.ศ.๒๑๗๕) ซึ่งใกล้กับพระราชนิเวศน์สร้างในปีเดียวกับเพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาศน์ ตามหลักฐานพระกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
วารสารเครือข่ายกรมศิลปากรเป็นวารสารรายไตรมาสออกทุก ๓ เดือน
เลขทะเบียน : นพ.บ.592/3 ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ลานดิบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 191 (385-391) ผูก 3 (2566)หัวเรื่อง : ธรรมรัตนสุด--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ส่งเสริมการอ่านผ่าน Facebook กับหอสมุดแห่งชาติชลบุรี
เรื่อง 22 เมษายน วันคุ้มครองโลก
“วันคุ้มครองโลก” (Earth Day) ก่อตั้งขึ้นโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งองค์การสหประชาชาติ United Nations Environment Program ("UNEP") โดยผู้ที่ริเริ่มแนวคิดนี้เป็นคนแรกคือ เกย์ลอร์ด เนลสัน สมาชิกวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกา จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2505 เกย์ลอร์ด เนลสัน ได้ขอให้ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ หยิบยกเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้เห็นด้วย ต่อมา เนลสันได้ผลักดันให้มีการชุมนุม แสดงความคิดเห็นเรื่องสิ่งแวดล้อมในระดับประชาชนทั่วประเทศ ทำให้เกิดเป็นกระแสตื่นตัวเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปทั่วสหรัฐอเมริกา ก่อให้เกิดการออกพระราชบัญญัติแก้ไขมลพิษในอากาศของสหรัฐอเมริกา และมีการจัดตั้งสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งชาติขึ้น จนในที่สุดกำหนดให้วันที่ 22 เมษายนของทุกปีเป็น “วันคุ้มครองโลก” (Earth Day)
ขณะที่ในประเทศไทย ได้มีการจัดให้มีการรณรงค์วันคุ้มครองโลกขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2533 โดยโรงเรียนสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา และยังถือเป็นยุคเริ่มต้นของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หลังการจากไปของนายสืบ นาคะเสถียร หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และตลอดระยะเวลาหลายปีหลังจากนั้นได้มีการรณรงค์อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติ ป่าไม้ และผลกระทบอันร้ายแรงจากการตัดไม้ทำลายป่า นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมรักษ์ธรรมชาติเพื่อหารายได้เข้ามูลนิธิสืบนาคะเสถียร ผู้บุกเบิกด้านการอนุรักษ์ป่าไม้คนสำคัญของประเทศไทย
ที่มา: กรมประชาสัมพันธ์. วันคุ้มครองโลก. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2566, จาก: https://www.prd.go.th/.../category/detail/id/9/iid/90355
ตราดินเผารูปสิงห์นั่งชันเข่า จากเมืองโบราณอู่ทอง
ตราดินเผารูปสิงห์นั่งชันเข่า พบบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดงห้องบรรพชนคนอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
ตราดินเผา กว้าง ๓.๕ เซนติเมตร สูง ๓ เซนติเมตร รูปทรงค่อนข้างกลม ผิวหน้ามีรอยกดประทับเป็นรูปสัตว์ ๔ เท้า อยู่ในท่านั่งชันเข่า ส่วนหัวชำรุดรายละเอียดลบเลือนไป เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับตราดินเผารูปสิงห์นั่งชันเข่าประกอบสัญลักษณ์มงคล พบที่บ้านซับน้อย อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี พบว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมาก
สิงห์เป็นสัตว์มงคลที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับศาสนา ตามคติความเชื่อเนื่องในศาสนาพุทธ สิงห์เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงพระพุทธเจ้า เนื่องจากพระองค์ได้รับการขนานนามว่าเป็นสิงห์แห่งศากยวงศ์ ทั้งยังเป็นสัตว์ที่มีอำนาจและพละกำลัง เป็นตัวแทนของผู้พิทักษ์และความดี ในงานศิลปกรรมสมัยทวารวดีพบรูปสิงห์เป็นจำนวนมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับรูปสัตว์ชนิดอื่น รูปสิงห์ที่พบมีหลายอิริยาบถ ที่พบมากคือรูปสิงห์นั่งชันเข่า สันนิษฐานว่าเป็นรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดีย
นอกจากตราดินเผาที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ยังพบรูปสิงห์นั่งชันเข่าจากแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดีอื่นๆ เช่น ประติมากรรมรูปสิงห์นั่งชันเข่าประดับศาสนสถาน พบที่เจดีย์จุลประโทน จังหวัดนครปฐม เจดีย์หมายเลข ๑ เมืองโบราณโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ และโบราณสถานที่เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี นอกจากนี้ยังพบบนเศษภาชนะดินเผาที่บ้านคูเมือง จังหวัดสิงห์บุรี และเมืองโบราณจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ อีกด้วย
สันนิษฐานว่าตราดินเผารูปสิงห์นี้เป็นของที่ผลิตขึ้นในท้องถิ่นโดยคนพื้นเมืองทวารวดี โดยรับอิทธิพลทางด้านรูปแบบและคติความเชื่อมาจากอินเดีย อาจใช้สำหรับเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวบุคคลหรือกลุ่มคนที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนาหรือเป็นชนชั้นสูง รวมถึงอาจใช้เป็นเครื่องรางเพื่อความเป็นสิริมงคล กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว
เอกสารอ้างอิง
ดวงกมล อนันต์วัชรกุล. “คติความเชื่อเรื่องสัตว์ที่ปรากฏในวัฒนธรรมทวารวดี”. เอกสารการศึกษาเฉพาะบุคคล ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๔.
ผาสุข อินทราวุธ. ดรรชนีภาชนะดินเผาสมัยทวารวดี. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ, ๒๕๒๘.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย.พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.
อนันต์ กลิ่นโพธิ์กลับ. “การศึกษาความหมายและรูปแบบตราประทับสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๗.