ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ

           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี ขอเชิญรับชมรับฟังรายการ "เสาร์นี้...มี LIVE" โดยในวันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2567 ร่วมพูดคุยในหัวข้อ "ว่าด้วยโบราณวัตถุ & ศิลปวัตถุ" สามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ : King Narai National Museum ตั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป




            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว ทุกวันเสาร์ – วันอาทิตย์ ตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นไป เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่มาเป็นครอบครัว เด็กและเยาวชน ได้ร่วมทำกิจกรรมศิลปะ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และสานความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว โดยกิจกรรมจะหมุนเวียนเปลี่ยนรูปแบบทุกเดือน             พบกับกิจกรรม D.I.Y. กุหลาบแสนสวยจากแผงไข่ ได้ทุกวันเสาร์ และอาทิตย์ ตลอดเดือนมิถุนายน ๒๕๖๗ ณ อาคารจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร เลขที่ ๑๒๐ ถนนปิ่นดำริห์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดกำแพงเพชร            ขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว ได้ทุกวันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร ติดตามรายละเอียดกิจกรรมแต่ละเดือนได้ทางเฟซบุ๊ก เพจ “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร : Kamphaeng Phet National Museum” https://www.facebook.com/kamphaengphetnationalmuseum สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๕๕๗๑ ๑๕๗๐


           ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปากร ปี ๒๕๖๗ เพื่อรับนิตยสารศิลปากรจำนวน ๖ ฉบับ (ออกทุก ๒ เดือน) เพียงปีละ ๖๐๐ บาท สมัครตอนนี้ รับฟรี!!! หนังสือกากีคำกลอนและลิลิตกากี และหนังสือไตรภูมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วง พระราชนิพน์พระมหาธรรมราชาที่ ๑ ลิไทย รายการละ ๑ เล่ม ผู้ที่สนใจสมัครสมาชิกได้ที่ร้านหนังสือกรมศิลปากร (อาคารเทเวศร์) ชั้น ๑ โทรศัพท์ ๐-๒๑๒๖-๖๖๖๐ และ ๐-๒๑๖๔-๒๕๐๑ ต่อ ๓๐๔๒ , ๑๐๐๔ ระหว่างวันจันทร์ - วันศุกร์ (ในวันและเวลาราชการ) หรือสอบถามเพิ่มเติม Facebook : นิตยสารศิลปากร, Facebook : ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร 



               นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากรได้อนุมัติงบประจำปีงบประมาณ 2568 (งบฉุกเฉิน) จำนวน 2 ล้านบาท บูรณะโบราณสถานพลับพลา ร.7 ในโครงการบูรณะโบราณสถานตามรอยเสด็จประพาสน้ำตกกะช่องเพื่อเสริมการท่องเที่ยวเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด ตำบลช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง                 อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ 11สงขลา ได้ดำเนินโครงการฯ มาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2565 แต่ไม่สามารถดำเนินการตามแผนได้ เนื่องจากการขออนุญาตใช้พื้นที่จากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด และสวนพฤกษศาสตร์เขาช่อง ยังไม่ได้รับการอนุมัติเห็นชอบใช้พื้นที่ ทั้งนี้ กรมศิลปากรไม่ได้นิ่งนอนใจ ยังคงหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอด จนกระทั่งเมื่อเดือนมกราคม 2567 ได้รับแจ้งว่า อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พิจารณาเห็นชอบให้ใช้พื้นที่ และมอบหมายให้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด และสวนพฤกษศาสตร์เขาช่อง ร่วมกับสำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา กรมศิลปากร ดำเนินโครงการบูรณะดังกล่าว ขณะนี้ได้ร่วมกันลงพื้นที่ตรวจสอบหลักเขตโบราณสถานและประชุมหารือแนวทางในการบูรณะโบราณสถานพลับพลา ร.7 ซึ่งตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด และศาลาแปดเหลี่ยม ซึ่งตั้งอยู่ในเขตสวนพฤกษศาสตร์เขาช่อง ตำบลช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง เพื่อดำเนินการบูรณะต่อไป               พลับพลา ร.7 เป็นอาคารประทับพักร้อนริมน้ำตกโตนใหญ่ และได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ.2455 ว่า “ธารหทัยสำราญ” โดยเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มอาคารที่มีชื่อว่า “ตำหนักโปร่งฤทัย” ซึ่งพระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต สร้างขึ้นเพื่อรับเสด็จสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เมื่อ พ.ศ. 2452 ต่อมาเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ในคราวเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลภูเก็ตได้เสด็จมาเสวยพระกระยาหาร ณ พลับพลาแห่งนี้ จึงได้รับการเรียกชื่อว่า “พลับพลา ร.7” ตราบจนมาถึงปัจจุบัน                กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานตำหนักโปร่งฤทัย (พลับพลา ร.5) ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 113 ตอนพิเศษ 50 ง วันที่ 18 ธันวาคม 2539 ซึ่งในช่วงที่กรมศิลปากรสำรวจขึ้นทะเบียนตำหนักโปร่งฤทัยเป็นโบราณสถานนั้น ตัวตำหนักได้ปรักหักพังไปหมดแล้ว  จึงได้กำหนดขึ้นทะเบียนศาลาริมทาง 2 แห่ง เพื่อเป็นอนุสรณ์การเสด็จคือ ศาลาแปดเหลี่ยมที่น้ำตกโตนน้อย และพลับพลา ร.7 ที่น้ำตกโตนใหญ่ ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด ตำบลช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง


ผู้แต่ง : อุดม รุ่งเรืองศรีปีที่พิมพ์ : 2545 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง      มหาชาติ หรือ เวสสันตรชาดก ถือเป็นชาดกที่ศรัทธาสาธุชนชาวล้านนานิยมฟังกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้เพราะเป็นเรื่องหนึ่งในชุดทศชาติชาดก ซึ่งถือกันว่าเป็นพระชาติสุดท้าย ก่อนที่พระโพธิสัตว์จะได้มาตรัสเป็นพระพุทธเจ้า เป็นชาติที่ทรงบำเพ็ญบารมีมากยิ่งกว่าในชาติอื่นๆ และเป็นชาดกที่มีบันทึกไว้ใน มาเลย.ยเทวต.เถรวต.ถุ ด้วยความสำคัญข้างต้นทำให้เกิดการรื้อฟื้น วิพากษ์มหาชาติชาดก ตอนเวสสันตรชาดก เพื่อให้เป็นที่รับรู้ และเข้าใจอย่างถูกต้องโดยทั่วกัน









พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น ได้จัดทำโครงการศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาบุคลากร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น เพื่อปรับปรุงการบริการ และมาตรการการรักษาความปลอดภัย ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น ให้เป็นมาตรฐานมากขึ้น บุคคลากรสามารถให้บริการแก่ผู้เข้าชมด้วยความเป็นมืออาชีพ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับความสะดวก เกิดความประทับใจในการเข้าเยี่ยมชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และสร้างความน่าเชื่อถือในการเป็นสถานที่เก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุอันเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติเอกสารดาวน์โหลด


Messenger