ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ

สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.10/1-6 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 24 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 40 (ต่อ)-41) ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2511สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว จำนวนหน้า : 348 หน้าสาระสังเขป : ประชุมพงศาวดารขององค์การค้าคุรุสภาจัดพิมพ์ขึ้น โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงรวบรวม มีรายละเอียด ดังนี้ ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 40 (ต่อ) เรื่องจดหมายเหตุของคณะพ่อค้าฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภาคที่ 1 และประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 41 เรื่องจดหมายเหตุของคณะพ่อค้าฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภาค 2 (ต่อจากภาคที่ 1 ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 40)




    จารึกปุษยคีรี : ชื่อภูเขาศักดิ์สิทธ์แห่งเมืองอู่ทอง     ศิลาจารึกปุษยคีรี (หนังสือจารึกในประเทศไทย เล่มที่ ๑ เรียกว่า จารึกเขาปุมยะคีรี เลขทะเบียน รบ.๓) พบบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จารึก ๑ ด้าน ๑ บรรทัด ด้วยอักษรหลังปัลลวะ ภาษาสันสกฤต เป็นชื่อเฉพาะ แปลว่า “ปุษยคิริ” (ปุษย หมายถึง ดอกไม้ และ คิริ หมายถึง ภูเขา) พิจารณาจากรูปแบบอักษรสามารถกำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ (ราว ๑,๒๐๐ – ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว) นักวิชาการได้ศึกษาและตีความจารึกดังกล่าว มีประเด็นสำคัญในการศึกษา แบ่งเป็น ๓ ประเด็น ดังนี้      ๑. คำอ่านและคำแปลจารึก นักวิชาการได้อ่านและแปลจารึกแผ่นนี้เป็น ๒ แนวทาง ได้แก่ อ่านว่า “ปุมฺยคิริ” แปลว่า ปุมยคิริ หรือ เขาปุมยะ  และ “ปุษยคิริ” แปลว่า ปุษยคิริ หรือ เขาปุษยะ ทั้งนี้ หากแปลว่า “ปุษยคิริ” น่าจะตรงกับการเทียบเคียงรูปแบบตัวอักษรสมัยหลังปัลลวะ และการแปลความหมายในภาษาสันสกฤตมากกว่า      ๒. การตีความชื่อเขาปุษยคีรีกับหลักฐานด้านภูมิศาสตร์และหลักฐานทางโบราณคดีในเมืองโบราณอู่ทอง โดยนักวิชาการส่วนใหญ่ตีความว่าชื่อ “ปุษยคีรี” ที่ปรากฏในจารึกดังกล่าว หมายถึงเขาทำเทียม ตั้งอยู่บริเวณด้านทิศตะวันตกของเมืองโบราณอู่ทอง ซึ่งพบโบราณสถานสำคัญในสมัยทวารวดีจนถึงสมัยอยุธยา รวมทั้งมีการขุดค้นพบโบราณวัตถุสำคัญจำนวนมากในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว ทั้งนี้คงเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ของเมืองอู่ทองมายาวนาน ตั้งแต่สมัยทวารวดี จนถึงสมัยอยุธยา โดยอาจเกี่ยวข้องกับความเชื่อท้องถิ่นผสมผสานกับความเชื่อที่แพร่หลายเข้ามาจากวัฒนธรรมอินเดีย และอาจเป็นภูเขาที่ใช้เป็นหลักหมาย (landmark) ในการเดินทางของนักเดินทาง      ๓. ความสัมพันธ์กับการรับวัฒนธรรมอินเดีย มีผู้เสนอว่า การพบจารึกปุษยคีรีในดินแดนไทย เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชของอินเดียมายังประเทศไทย เนื่องจากมีความพ้องกับชื่อภูเขาศักดิ์สิทธ์ ได้แก่ ปุษฺปคีรี ในรัฐโอริสสา ซึ่งเชื่อว่าพระเจ้าอโศกมหาราช (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๗๐ – ๓๑๑) ทรงสถาปนา และเป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางการติดต่อกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระยะเวลาต่อมา ทั้งนี้ในเมืองโบราณอู่ทองยังไม่พบหลักฐานที่มีอายุเก่าไปถึงช่วงเวลาดังกล่าวที่จะช่วยสนับสนุนแนวคิดนี้ อย่างไรก็ตาม ชื่อเขาปุษยคิริ ในอินเดียคงเป็นชื่อมงคลที่ส่งอิทธิพลมาถึงการเรียกชื่อสถานที่สำคัญในวัฒนธรรมทวารวดี ให้มีความเกี่ยวข้องกับดินแดนศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของพระพุทธศาสนา ก็เป็นได้ จารึกปุษยคีรี จึงเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงสถานที่สำคัญที่ตั้งอยู่บริเวณเมืองโบราณอู่ทอง ในวัฒนธรรมทวารวดี ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ ซึ่งสัมพันธ์กับการรับวัฒนธรรมและความเชื่อจากอินเดียในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ภูเขาปุษยคีรีอาจเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ของคนในท้องถิ่นตั้งแต่สมัยทวารวดีจนถึงสมัยอยุธยา    เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร, จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ (อักษรปัลลวะ อักษรหลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๔), กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ, ๒๕๕๙. นพชัย แดงดีเลิศ, จารึกทวารวดี : การศึกษาเชิงอักขรวิทยา, วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๒. รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล, “ปุษยคิริ : เขาศักดิ์สิทธิ์ของเมืองอู่ทองที่ถูกลืมเลือน”, วารสารดำรงวิชาการ, ๑๓,๑ (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๕๗), หน้า ๑๓๓ – ๑๕๘. ที่มาของสำเนาภาพจารึก  กรมศิลปากร, จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ (อักษรปัลลวะ อักษรหลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๔), กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ, ๒๕๕๙, หน้า ๓๑๐.  


ชื่อผู้แต่ง        อ.อนันตคุณานุภาพ ชื่อเรื่อง         สัญญลักษณ์แห่งความรุ่งโรจน์ ครั้งที่พิมพ์               -  สถานที่พิมพ์    พระนคร  สำนักพิมพ์      เอี่ยมสุทธา ปีที่พิมพ์           ๒๔๙๙  จำนวนหน้า       ๖๓๒  หน้า  หนังสือเล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อต้องการหาทุนทรัพย์ มาช่วยเหลือการศึกษาของพระภิกษุสามเณรจังหวัดนครพนม ซึ่งได้มาศึกษาอยู่ในพระนครและธนบุรี ด้วยเหตุนี้หนังสือเล่มนี้จึงเป้นหนังสือการกุศลหนังสือ สัญลักษณ์แห่งความรุ่งโรจน์เล่มนี้ เป็นหนังสือเกี่ยวกับการสร้างนักพูดเหมาะสมแก่ผู้ยังใหม่เป็นอย่างยิ่ง หลักการและแนวทางที่เบาสมอง จงฝึกหัดและฝึกฝนตาม แล้วท่านจะต้องเป็นนักพูดที่เรืองนามแน่  


     พระสทาศิวะ      ศิลปะอยุธยา ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๒ หรือประมาณ ๔๐๐ – ๕๐๐ ปีมาแล้ว      หินทราย       สูง ๑๑๓ เซนติเมตร      พบที่วัดหน้าพระเมรุ ย้ายมาจากอยุธยาพิพิธภัณฑสถาน (ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)       แผ่นหินสลักภาพเทวรูป ๕ เศียร  ประกอบด้วยเศียรล่าง ๔ เศียร  เศียรบน ๑ เศียร  มี ๑๐ กร  ปรากฏพระเนตรที่ ๓ กลางพระนลาฏ พระหัตถ์ถืออาวุธต่างๆ กัน ได้แก่ บาศ (เชือกบ่วง) ตรีศูล วัชระ อัคนิ (เปลวไฟ)  ด้านหลังของแผ่นหินสลักลายเส้นเป็นเทวรูปแบบเดียวกับประติมากรรมด้านหน้า  เป็นรูปพระสทาศิวะ  ซึ่งหมายถึงพระศิวะซึ่งปรากฏอยู่ตลอดกาล  เทวรูปนี้เป็นศิลปกรรมอยุธยาที่ยังคงอิทธิพลของศิลปะลพบุรีหรือศิลปะเขมรโบราณในประเทศไทย  อาทิ ผ้านุ่งที่ทิ้งชายผ้าด้านหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยม      ปัจจุบันรูปพระสทาศิวะ จัดแสดงในห้องประวัติศาสตร์และโบราณคดีอยุธยา  อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร 


กรมศิลปากร.  ศิลปะถ้ำพญานาค กระบี่.  กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2533.         มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับถ้ำพญานาคอันเป็นแหล่งศิลปะถ้ำที่มีภาพเขียนอยู่ในสมัยประวัติศาสตร์ซึ่งมีความน่าสนใจอยู่มากในแง่ของเทคนิควิธีการเขียนภาพ ภาพส่วนใหญ่จะเขียนได้สัดส่วนและเหมือนจริง ตลอดจนรูปแบบของภาพที่เขียน ส่วนมากเป็นเรือมีลักษณะต่างกันหลายแบบ อันเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเดินเรือ การค้าขายทางทะเลในสมัยก่อนได้เป็นอย่างดี และยังมีข้อมูลของรายชื่อแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในจังหวัดกระบี่ ข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัด ตลอดจนแผนที่การเดินทาง และเส้นทางในการไปเยี่ยมชมแหล่งศิลปะถ้ำ




          วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๓๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการ “เกร็ดความรู้จากเอกสารโบราณ” ณ ห้องวชิรญาณ ๒ - ๓ อาคาร ๒ ชั้น ๑ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการได้ระหว่างวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ – วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๕          อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า เอกสารโบราณมีคุณค่าอย่างยิ่ง ทั้งในฐานะที่เป็นโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ จัดเป็นองค์ความรู้ที่บรรพชนได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในรูปศิลาจารึก คัมภีร์ใบลาน และหนังสือสมุดไทย ซึ่งมีเนื้อหาที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาอันยิ่งใหญ่และทรงคุณค่าของบรรพชนไทย ที่เยาวชนรุ่นหลังสามารถมองเห็นโดยการศึกษาผ่านเอกสารโบราณเหล่านั้น จึงมอบหมายให้สำนักหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลรักษาและให้บริการเอกสารโบราณดังกล่าวโดยตรง เผยแพร่องค์ความรู้และถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ ที่บันทึกไว้ในเอกสารโบราณเหล่านั้น ให้ปรากฏแก่ประชาชนผู้สนใจ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความรัก ตระหนัก หวงแหน เกิดการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาเอกสารโบราณและเป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานและเผยแพร่เรื่องราวของเอกสารโบราณให้กว้างขวางและคงอยู่อย่างยั่งยืนสืบต่อไป          สำนักหอสมุดแห่งชาติ โดยกลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก จัดนิทรรศการ เรื่อง เกร็ดความรู้จาก เอกสารโบราณ เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจในคุณค่าและความสำคัญของเอกสารโบราณ รวมถึงเรื่องราวเกี่ยวกับเอกสารโบราณผ่านรูปแบบของนิทรรศการ แบ่งการจัดแสดงออกเป็น ๗ ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ ๑ ประวัติความเป็นมา และการดำเนินงานด้านเอกสารโบราณ ส่วนที่ ๒ ภาพเก่าเล่าเรื่องการดำเนินงานด้านเอกสารโบราณ ส่วนที่ ๓ ต้นฉบับเอกสารโบราณ ได้แก่ หนังสือสมุดไทย และคัมภีร์ใบลาน ส่วนที่ ๔ อุปกรณ์และวิธีการทำสำเนาจารึก ส่วนที่ ๕ นิทรรศการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเอกสารโบราณตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ส่วนที่ ๖ นิทรรศการออนไลน์ และข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับเอกสารโบราณและอักษร-ภาษาโบราณที่ดำเนินการจัดทำเป็น E-BOOK เรียบร้อยแล้ว และส่วนที่ ๗ นิทรรศการเกี่ยวกับวิธีการซ่อมเอกสารโบราณ โดย กลุ่มงานซ่อมสงวนรักษาหนังสือ กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ          ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ “เกร็ดความรู้จากเอกสารโบราณ” ระหว่างวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ – วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๕ ณ ห้องวชิรญาณ ๒ - ๓ อาคาร ๒ ชั้น ๑ สำนักหอสมุดแห่งชาติ


องค์ความรู้หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรีเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง ห้ามไม่ให้เจ้าไปเมืองสุพรรณ ผู้เรียบเรียงโดย นางสาววารุณี วิริยะชูศรี บรรณารักษ์


ชื่อเรื่อง                                ธมฺมปทวณฺณา ธมฺมปทฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ธมฺมปทฺธ) สพ.บ.                                  376/11ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           44 หน้า กว้าง 4 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                 ธรรมเทศนา บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด-ลองรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.159/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า ; 4.5 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 95 (22-26) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์(8หมื่น) --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.40/1-2  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


Messenger