ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ

ไฮไลท์ของแหล่งเรือจม “กลางอ่าว” ที่จะละเลยไม่ได้ นั่นก็คือ โบราณวัตถุที่ที่ถูกลักลอบนำขึ้นมาจากซากเรือ ซึ่งส่วนมากเป็นภาชนะดินเผาทั้งหมด 10,764 ชิ้น โดยในจำนวนนี้เป็นโบราณวัตถุที่ตรวจยึดมาได้ในครั้งแรกเมื่อปลายปี พ.ศ. 2534 ทั้งหมด 477 ชิ้น และโบราณวัตถุที่ยึดได้จากเรือออสเตรเลียไทด์เมื่อต้นปี พ.ศ. 2535 ทั้งหมด 10,287 ชิ้น เครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้ เกือบทั้งหมดผลิตขึ้นจากแหล่งเตาในประเทศไทย โดยสามารถแบ่งเบื้องต้น ได้ดังต่อไปนี้ ภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาแม่น้ำน้อย อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี พบ 3,425 ใบ เป็นเครื่องปั้นดินเผาเนื้อแกร่ง (Stoneware) แบบไหสี่หูซึ่งทำหน้าที่เป็นบรรจุภัณฑ์ มีตั้งแต่ขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ รวมไปถึงมีรูปทรงอื่นๆอีก ทั้ง ถ้วย โถ อ่าง โดยมีทั้งที่เคลือบสีน้ำตาลและแบบไม่เคลือบ นอกจากนี้ยังพบเครื่องใช้ภายในเรือจำพวก เตาเชิงกราน ตะเกียงแขวน และหม้อประกอบอาหาร ภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาบ้านป่ายาง อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย พบ 6,525 ชิ้น ส่วนใหญ่เป็นเครื่องสังคโลกขนาดเล็กเคลือบเขียว มีลวดลายขูดขีดใต้เคลือบ อาทิ ขวดสองหู กระปุก ตลับ จาน ชาม และโถมีผาปิด ไม่เพียงเท่านี้ยังมีตีกตาที่ทำขึ้นอย่างประณีต จำพวก ตุ๊กตารูปบุคคลในชีวิตประจำวัน บุคคลขี่ม้า มีจตุรงคบาท บุคคลขี่ช้าง ภาชนะดินเผาจากต่างประเทศพบเครื่องถ้วยจีนลายคราม 5 ใบ เครื่องถ้วยอันนัมประเภทตลับ 244 ใบ ตุ๊กตารูปกระต่ายและกบ 85 ตัว อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าเสียดายยิ่งนักที่นักโบราณคดีแทบจะไม่ทราบลักษณะการจัดเรียงสินค้าภายในระวางของเรือลำนี้เลย เนื่องจากของทุกอย่างถูกลักลอบนำขึ้นมาจนหมด ทราบเพียงว่ามีการนำแคร่ไม้ไผ่มากั้นระหว่างภาชนะดินเผาบางประเภท ข้อมูลจากโบราณวัตถุที่พบทำให้สามารถสรุปได้ว่าเรือลำนี้เป็นเรือสำเภาของอยุธยา ซึ่งมีการแล่นค้าขายช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 21 จนถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 22 โดยการเดินทางครั้งสุดท้ายมีการเลือกซื้อสินค้าจากอยุธยาซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าขาย เพื่อนำสินค้าไปขายในต่างแดน และแล่นออกจากปากแม่น้ำเจ้าพระยาออกอ่าวไทย โดยขนาดของเรือกลางอ่าวนั้นยาวประมาณ 40-50 เมตร กว้างประมาณ 12 เมตร เป็นเรือสำเภาขนาดใหญ่ที่สุดที่ถูกค้นพบในน่านน้ำประเทศไทย ในการเดินทางจึงไม่จำเป็นต้องแล่นเรือเลียบชายฝั่งอย่างเรือสำเภาลำอื่นๆ แต่สามารถแล่นตัดอ่าวไทยมุ่งลงใต้ได้ ปลายทางนั้นมีการสันนิษฐานว่าอาจเป็นได้ทั้งการเดินทางแล่นผ่านช่องแคบมะละกาออกมหาสมุทรอินเดีย หรือไปสู่หมู่เกาะอินโดนีเซียหรือฟิลิปปินส์ แต่ก็ถึงคราวเคราะห์ร้ายประสบเหตุจมลงระหว่างการเดินทางเสียก่อน อ้างอิง จารึก วิไลแก้ว. 2535. “มรดกใต้ท้องทะเลไทย เรืออ่าวไทย 1.” นิตยสารศิลปากร 35 (2): 8-33. สายันต์ ไพรชาญจิตร์. 2535. “ความเคลื่นไหวของโบราณคดีใต้น้ำในประเทศไทยและหลักฐานการพาณิชย์นาวีสมัยกรุงศรีอยุธยา.” นิตยสารศิลปากร 35 (2): 34-70.


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 129/3 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 165/2เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


        มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๑๕ มกราคม ๒๔๕๔ วันประสูติหม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ สวัสดิวัตน์         พลโท หม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ สวัสดิวัตน์ เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี เป็นพระโสทรานุชาในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี         ในรัชกาลที่ ๖ ได้เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็ก ต่อมาได้ไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา ในชั้นแรกเข้าเรียนโรงเรียน Chestnut Hill Academy และต่อมาเข้าศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัย Yale จนได้รับปริญญาตรี         หม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ สวัสดิวัตน์ สิ้นชีพตักษัยในรัชกาลที่ ๙ เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๑๒ สิริชันษา ๕๘ ปี         หม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ สวัสดิวัตน์ นับเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔   ภาพ : หม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ สวัสดิวัตน์  


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           19/4ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                34 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง : อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยา ชื่อผู้แต่ง : โบราณราชธานินทร์, พระยา ปีที่พิมพ์ : 2514 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สามิตรจำนวนหน้า : 242 หน้าสาระสังเขป : เรื่องอธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยา ที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้ หนังสือมรดกของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ ซึ่งพระองค์เจ้าและหม่อมเจ้าในกรม พร้อมพระหฤทัยกันถวายแด่หอพระสมุดสำหรับพระนคร พิจารณาดูเห็นเป็นต้นฉบับเดิมแท้ มิได้มีผู้ใดแก้ไขเพิ่มเติมให้วิปลาส มีเรื่องในหนังสือเป็น ๒ ตอน ตอนต้นเป็นเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา อีกเรื่องหนึ่งต่อเพลงยาวไปเป็นเรื่องพรรณนาถึงภูมิสถานพระนครศรีอยุธยา พิเคราะห์ดูสำนวนเห็นว่าผู้แต่งเกิดทันสมัยเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่มาแต่งหนังสือในกรุงรัตนโกสินทร์


ตำนานพระบรมธาตุจังหวัดนครศรีธรรมราช.  พระนคร : โรงพิมพ์ส.พยุงพงศ์ จำกัด, ม.ป.ป.       เนื้อหาเกี่ยวกับตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช และโบราณสถานที่สำคัญในนครศรีธรรมราช


ส่งเสริมการอ่านผ่าน Facebook กับหอสมุดแห่งชาติชลบุรี เรื่อง วันหนังสือโลก (World Book Day) วันหนังสือโลก หรือ วันหนังสือและลิขสิทธิ์โลก (World Book and Copyright Day) ตรงกับวันที่ ๒๓ เม.ย. ของทุกปี ริเริ่มและดำเนินการโดยยูเนสโก เพื่อประชาสัมพันธ์การอ่าน การตีพิมพ์ และลิขสิทธิ์ โดยเริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๓๘


       รถไฟจำลอง        สมัยรัตนโกสินทร์ ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔        สมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร        ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ ห้องรัตนโกสินทร์ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร        รถไฟจำลอง เป็นรถไฟขนาดเล็กซึ่งย่อส่วนมาจากรถไฟไอน้ำของจริง ประกอบด้วยส่วนหัวรถจักรไอน้ำประเภทมีปล่องควัน ประดับอักษรโรมันคำว่า VICTORIA ถัดมาคือรถพ่วงบรรทุกถ่านหิน มีตู้โดยสารชั้นหนึ่งที่ประตูห้องโดยสารเขียนว่า First Class 102  ตู้โดยสารชั้นสามที่ประตูห้องโดยสารเขียนคำว่า THIRD CLASS 1000 และรถพ่วงคันสุดท้ายสันนิษฐานว่าเป็นตู้บรรทุกของ        รถไฟจำลองชิ้นนี้เป็นหนึ่งในเครื่องบรรณาการที่ เซอร์ แฮรี่ สมิท ปาร์ค (Sir Harry Smith Parkes) หรือในพงศาวดารไทยออกนามว่า “ฮาริปาก” ราชทูตอังกฤษ เป็นผู้นำมาน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ดังความในพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี กล่าวว่า        “...ครั้น ณ วันจันทร์ เดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำ* มิศเตอฮาริปากกับขุนนางอังกฤษ 17 นาย เข้าเฝ้าออกใหญ่ถวายพระราชสาสน์ ณ พระที่นั่งดุสิดามหาปราสาท ถวายเครื่องมงคลราชบรรณาการอย่างรถไฟ 1 อย่างกำปั่นไฟ 1 กระจกฉากรูปกวินวิกตอเรียเมื่อได้รับราชาภิเษก 1 เมื่อมีพระราชบุตรทั้งแปด 1 (รวม) 2 ฉาก กับเครื่องเขียนสำรับ 1 เครื่องคิดเลขสำรับ 1 เครื่องโต๊ะกาไหล่เงินสำรับ 1 แลของต่าง ๆ เป็นอันมาก เจ้าพนักงานในตำแหน่งทั้งปวงมารับไปต่อมือฮาริปาก...”       ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ทรงโปรดให้นำรถไฟจำลองชิ้นนี้จัดแสดงอยู่ในหอมิวเซียม (ศาลาสหทัยสมาคม ในปัจจุบัน) ในพระบรมมหาราชวัง กระทั่ง พ.ศ. ๒๔๓๐ จึงโปรดให้ย้ายมาเก็บรักษาไว้ที่หอมิวเซียม พระราชวังบวรสถานมงคล เรื่อยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๗ เมื่อโปรดให้ตั้งพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร ระยะแรกรถไฟจำลองชิ้นนี้จัดแสดงอยู่ ณ พระที่นั่งปัจฉิมาภิมุข หมู่พระวิมาน         ครั้นในวาระครบรอบการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี กรมศิลปากรได้ย้ายรถไฟจำลองชิ้นนี้มาจัดแสดง ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ภายใต้ชื่อ “นิทรรศการประวัติศาสตร์ชาติไทย” นิทรรศการชุดนี้จัดแสดงอยู่ถึง พ.ศ. ๒๕๕๘ การจัดแสดงภายในพระที่นั่งศิวโมกขพิมานได้เปลี่ยนเป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียน ส่วนรถไฟจำลองได้ย้ายมาจัดแสดงอยู่ที่ห้องรัตนโกสินทร์ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์         ความสำคัญของรถไฟจำลองชิ้นนี้ นอกจากเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับอังกฤษ นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ ยังเป็นตัวอย่างรถไฟชิ้นแรกที่เข้ามาในไทย ซึ่งเป็นสิ่งแปลกใหม่ที่น่าตื่นตาตื่นใจสำหรับคนไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๔ ดังเช่นการพรรณนาเกี่ยวกับรถไฟ ของ หม่อมราโชทัย (ม.ร.ว. กระต่าย อิศรางกูร) ในเรื่อง นิราศลอนดอน เป็นต้น . *ตรงกับวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๙๘    อ้างอิง กรมศิลปากร. นำชมห้องจัดแสดงประวัติศาสตร์ชาติไทย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๕. ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๔. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๔๘. ราชบัณฑิตยสภา. อธิบายว่าด้วยหอพระสมุดวชิรญาณ แลพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร. พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๖๙. ราโชทัย, หม่อม [ม.ร.ว.กระต่าย อิศรางกูร]์. นิราศลอนดอน. กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา, ๒๕๐๔.



          กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักบริหารกลาง กรมศิลปากร เปิดรับสมัครนักวิชาการโสตทัศนศึกษา จำนวน ๑ ตำแหน่ง (ลูกจ้างชั่วคราว) วุฒิปริญญาตรี (สาขาที่เกี่ยวข้อง) อัตราค่าจ้างเดือนละ ๑๕,๐๐๐ บาท  สมัครได้ตั้งแต่วันที่ ๑๓ กรกฎาคม – ๘ สิงหาคม ๒๕๖๖ ในวันเวลาราชการ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการสมัคร สามารถอ่านรายละเอียดและดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่เว็บไซต์กรมศิลปากร https://www.finearts.go.th/promotion/view/43254 หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๒๑๖๔ ๒๕๐๑ - ๒ ต่อ ๓๐๓๔, ๓๐๔๔


ชื่อเรื่อง                      ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏธกถา ขุทฺทกนิกายฏธกถ (ธมฺมปทขั้นปลาย)อย.บ.                           240/7หมวดหมู่                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ               56 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ; ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                        พุทธ                                      ศาสนา                                                           บทคัดย่อ/บันทึก     เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ


องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านตั๋วเมืองน่ารู้...ร่วมอนุรักษ์และสืบสานอักษรธรรมล้านนาตอน "งาช้างดำ"--- งาช้างดำ เดิมเป็นสมบัติของเจ้าผู้ครองนครน่าน ที่รักษาสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน ซึ่งยังคงอยู่คู่กับหอคำ หรืออาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน มาจนถึงปัจจุบัน--- ลักษณะเป็นงาปลี (งาที่มีความยาวไม่มากนัก แต่มีวงรอบขนาดใหญ่) สีน้ำตาลเข้ม มีจารึกอักษรธรรมล้านนา ถอดความเป็นภาษาไทยว่า "กิ่งนี้หนักหนึ่งหมื่นห้าพัน" ขนาดของงาช้างดำยาว ๙๗ เซนติเมตร วัดโดยรอบตรงส่วนที่กว้างที่สุดได้ ๔๗ เซนติเมตร มีโพรงตอนโคนลึก ๑๔ เซนติเมตร มีน้ำหนัก ๑๘ กิโลกรัม --- จากการศึกษาทางวิชาการพบว่า เป็นงาช้างตันที่ถูกถอดมาจากตัวช้าง โดยช้างเจ้าของงาน่าจะมีอายุ ๖๐ ปี สันนิษฐานว่าเป็นงาช้างข้างซ้าย เพราะมีรอยเสียดสีกับงวงชัดเจน--- อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่างาช้างดำกิ่งนี้มีประวัติความเป็นมาอย่างไร แต่มีตำนานและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับงาช้างดำ ดังนี้--- ตำนานที่ ๑ กล่าวว่าพญาการเมือง เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๖ แห่งราชวงศ์ภูคา (ครองเมืองพุทธศักราช ๑๘๙๖ - ๑๙๐๖) ได้ทำพิธีสาปแช่งให้งาช้างดำกิ่งนี้เป็นของคู่บ้านคู่เมืองน่านตลอดไป ห้ามผู้หนึ่งผู้ใดนำไปเป็นสมบัติส่วนตัว ต้องไว้ที่หอคำหรือวังเจ้าผู้ครองนครน่านเท่านั้น เมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้ายถึงแก่พิราลัย ในพุทธศักราช ๒๔๗๔ เจ้านายบุตรหลานจึงได้มอบงาช้างดำให้เป็นสมบัติของแผ่นดิน--- ตำนานที่ ๒ กล่าวว่าในสมัยเจ้าสุมนเทวราช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๕๗ (ครองเมือง พ.ศ.๒๓๕๓ - ๒๓๖๘) มีพรานคนเมืองน่านเข้าป่าล่าสัตว์ไปถึงเขตแดนระหว่างไทยกับเชียงตุง ได้พบซากช้างตัวดำสนิทตายอยู่ในห้วย พอดีกับพรานชาวเชียงตุงมาพบด้วย พรานทั้งสองจึงแบ่งงาช้างดำกันคนละกิ่ง ต่างคนต่างก็นำมาถวายเจ้าเมือง ต่อมาเจ้าเมืองเชียงตุงได้ส่งสารมาทูลเจ้าสุมนเทวราชว่า ตราบใดที้งาช้างดำคู่นี้ไม่สูญหาย เมืองน่านกับเมืองเชียงตุงจะเป็นมิตรไมตรีกันตลอดไป--- ตำนานที่ ๓ กล่าวว่ากองทัพเมืองน่านยกทัพไปล้อมเมืองเชียงตุงหลายเดือน  ทำให้ชาวเมืองเชียงตุงเดือดร้อน โหรเมืองเชียงตุงทูลเจ้าเมืองว่าเป็นเพราะมีงาช้างดำอยู่ด้วยกัน ทางที่ดีควรแยกกันอยู่ จึงได้นำงาช้างดำกิ่งหนึ่งมอบให้กองทัพเมืองน่าน แล้วกระทำสัตย์สาบานเป็นมิตรไมตรีกันตลอดไป--- ส่วนฐานที่เป็นครุฑแบกรับงาช้างอยู่นั้น ทำจากไม้สักทั้งท่อน สร้างขึ้นในพุทธศักราช ๒๔๖๙ เนื่องจากในช่วงเวลานั้นมีข่าวว่าเจ้าเมืองทางเหนือบางเมืองแข็งข้อก่อกบฏ เจ้าเมืองน่านจึงให้ทำครุฑขึ้นมาแบกงาช้างดำ วัตถุคู่บ้านคู่เมือง เพื่อเป็นการแสดงสัญลักษณ์ให้เห็นว่า นครน่านยังจงรักภักดีต่อราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ไม่เสื่อมคลาย#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน #อักษรธรรมล้านนา


            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี เชิญชมนิทรรศการหมุนเวียน "Object of the Month" วัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ประจำเดือนมกราคม ๒๕๖๗ เชิญพบกับ "คันฉ่องสำริด"              โบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ ได้แก่ "คันฉ่องสำริด" มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๐.๗ เซนติเมตร วัสดุเป็นสำริด อายุสมัยอยุธยา พบในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี มอบในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี มีลักษณะเป็นแผ่นรูปกลมแบน ด้านที่ใช้สำหรับส่องหน้ามีขอบมน ผิวแบนเรียบ ด้านหลังยกขอบเป็นสันขึ้นมา ใกล้ขอบตกแต่งลายขีดวงกลมซ้อนกัน ๒ เส้น             ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ "คันฉ่องสำริด" ได้ในเดือนมกราคม ๒๕๖๗ เปิดวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร  ณ ห้องโถงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๕๕๓ ๕๓๓๐ หรือเฟสบุ๊ก: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี


องค์ความรู้เรื่อง ขมิ้น เรียบเรียง นางสาวกาญจนา ศรีเหรา บรรณารักษ์


Messenger