ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ

พุทฺธปฏิมากรกตานิสงฺสกถา (อานิสงส์สร้างพระพุทธรูป)  ชบ.บ.81/1-1  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มงฺคลตฺถเทสนา (เทศนาการคบมิตร)  ชบ.บ.104/1-1  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.329/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 62 หน้า ; 4 x 50.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ทองทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 130  (329-337) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : สุตฺตโสมชาตก (สุตฺตโสม)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


        ชื่อผลงาน: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (พ.ศ. 2406 - 2490)         ศิลปิน: ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (พศ. 2435 - 2505)         เทคนิค: ประติมากรรมสำริด (ถอดพิมพ์จากประติมากรรมสำริดที่ตำหนักปลายเนิน)         ขนาด: สูง 42 ซม.         ปีที่ปั้น: พุทธศักราช 2466         รายละเอียดเพิ่มเติม: ผลงานประติมากรรมรูปเหมือนบุคคลชิ้นแรกๆ โดย ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ขณะเริ่มเข้ารับราชการในตำแหน่งช่างปั้น ประจำกรมศิลปากร ในช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ซึ่ง ณ ขณะนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ผู้มีความเชี่ยวชาญในงานศิลปะไทยหลายแขนงจนได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้เป็นผู้กำกับดูแลกิจการด้านศิลปกรรมของแผ่นดิน และในระยะเวลาต่อมาทรงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอุปนายกราชบัณฑิตยสภา แผนกศิลปากรสถาน พระองค์ทรงประทับเป็นแบบให้ศาสตราจารย์ศิลป์ ปั้นรูปเหมือนพระองค์ เพื่อพิสูจน์ทักษะฝีมือในทางประติมากรรมของศาสตราจารย์ศิลป์ ความเจนจัดทางประติมากรรมของศาสตราจารย์ศิลป์ ปรากฏให้เห็นผ่านความเที่ยงตรงในการถ่ายทอดลักษณะทางกายวิภาคผ่านผลงานประติมากรรม           Title: HRH Prince Narisara Nuvadtivongs (1863 - 1947)         Artist: C. Feroci or Silpa Bhirasri (1892 - 1962)         Technique: bronze sculpture         Size: 42 cm. (H.)         Year: 1923         Detail: A sculptural portrait of HRH Prince Narisara Nuvadtivongs is considered as an artist’s earliest work in Siam, sculpted by Corrado Feroci or Silpa Bhirasri, an Italian sculptor whom was chosen by Siamese court in the reign of His Majesty King Vijiravudh (Rama VI), to worked as an official sculptor for the Fine Arts Department. During that time HRH Prince Narisara Nuvadtivongs is regarded as a senior member of the royal family who had expertise on many fields of traditional Thai arts and craftsmanship such as architecture, painting and drawing etc.., who later adopted a rank as the vice president of The Council of the Royal Academy, Department of Fine Arts (“Silpakorn Sathan” in Thai name). Prince Naris decided to help Feroci on proving his artistic skill to the eyes of His Majesty and other courtesans, by being a model for this sculptural portrait. This piece of sculpture is considered as an important piece which guaranteed artist’s skill on sculpture which reflected through an accuracy of anatomical expression. เครดิตภาพถ่าย: [กลุ่มเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร] ประติมากรรมสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี 2563 เรื่อง “ศิลปวิทยาการจากสาส์นสมเด็จ” โดย สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จัดแสดงระหว่างวันที่ 19 สิงหาคม ถึง 19 พฤศจิกายน 2563 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร Photo credit: [PR section, The Fine Arts Department] sculptural portrait of HRH Prince Narisara Nuvadtivongs, displayed in an exhibition on a special occasion of Thai Heritage Conservation Day 2020, entitled “San Somdet: correspondence between Prince Narisara Nuvadtivongs & Prince Damrong Rajanubhab” by Office of National Museums, exhibited at National Museum Bangkok from August 19 – November 19, 2020.



"พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ : ช้างสำคัญคู่พระบารมีช้างแรกในรัชกาลที่ 9" ช้างเผือกมีความสำคัญต่อบ้านเมืองและเป็นพระราชพาหนะคู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์ มีฐานะเทียบเท่าเจ้านายชั้นเจ้าฟ้า เชื่อกันว่า ช้างเผือกเกิดขึ้นเพราะพระบารมีของพระมหากษัตริย์ เป็นมิ่งขวัญของราษฎร การได้ช้างเผือกจึงเป็นมงคลสำหรับบ้านเมือง หากผู้ใดจับช้างเผือกได้หรือช้างที่เลี้ยงไว้ตกลูกออกมาเป็นช้างเผือกจะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ เป็นไปตามพระราชบัญญัติรักษาช้างป่า พ.ศ. 2464 มาตรา 12 คำว่า “ช้างเผือก” โดยส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าต้องมีสีขาวหรือขาวกว่าปกติ แต่ตามลักษณะของกรมพระคชบาลถือตามตำราพระคชศาสตร์กล่าวว่าช้างเผือกมีหลายสี ได้แก่ ขาว เหลือง เขียว แดง ดำ ม่วง เมฆ และต้องประกอบด้วยคชลักษณ์อื่น ๆ อีก เช่น ตา เพดาน อัณฑโกศ เล็บ ขน คางใน (ร่องผิวหนัง) ไรเล็บ สนับงา ช่องแมลงภู่ จึงเข้าลักษณะเป็นช้างเผือกได้ ซึ่งกรมคชบาลไม่เรียกว่า “ช้างเผือก” เรียกว่า “ช้างสำคัญ” เมื่อตรวจสอบตามตำรารวมทั้งกริยามารยาทอื่น ๆ ว่าถูกต้องตามคชลักษณ์แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางพระราชทานนามเป็นพระยาช้างต้นหรือนางพระยาช้างต้น ณ เมืองที่ได้ช้างนั้น หรือนำมากรุงเทพฯ แล้วแต่พระราชประสงค์ ถ้าจัดพระราชพิธีในกรุงเทพฯ ก่อนนำช้างมาจะมีการสมโภช ณ เมืองที่จับช้างได้ และเมื่อเดินทางหากพักแรมที่เมืองใดก็จะมีการสมโภชทุกเมือง คือ มีพระสงฆ์สวดมนต์ เวียนเทียน และมหรสพสมโภช ตลอดทุก ๆ เมือง ย้อนไปตั้งแต่สมัยพระเศวตคชเดชน์ดิลก ช้างคู่พระบารมีในรัชกาลที่ 7 ล้มลง ประเทศไทยก็ไม่พบช้างเผือกอีกเลย กระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยทราบว่าที่จังหวัดกระบี่มีช้างสีประหลาดเข้าคอกนายแปลก ฟุ้งเฟื่อง จึงให้พระราชวังเมืองสุริยชาติ สมุห (ปุ้ย คชาชีวะ) ผู้เชี่ยวชาญการดูลักษณะช้างมาตรวจสอบโดยละเอียด พบว่า ลูกช้างพลายเชือกนี้เป็นลูกช้างที่ต้องด้วยคชลักษณ์เป็นช้างสำคัญคู่บ้านคู่เมือง และเป็นเครื่องส่งเสริมพระบารมีแห่งองค์พระมหากษัตริย์ กล่าวคือ เป็นช้างพลายรูปงาม อายุประมาณ 3 ขวบ สูง 154 ซม. งาขวาซ้าย งามเรียวเป็นต้นปลาย ยาว 29.5 ซม. หู หาง งามพร้อม หางปัดปลอก ตาขาวเจือเหลือง เพดานขาวเจือชมพู อัณฑโกศขาวเจือชมพู เล็บขาวเจือเหลืองอ่อน ขนโขมดสีน้ำผึ้งโปร่ง ขนหูยาว ขนบรรทัดหลังสีน้ำผึ้งโปร่งเจือแดง ขนตัวขึ้นขุมละ 2 เส้น ขนหางสีน้ำผึ้งแก่ เจือแดงแก่ สีกายสีบัวแดง สรุปคือ เป็นช้างที่มีลักษณะสมบูรณ์ตรงตามคชลักษณ์ อยู่ในตระกูลพรหมพงศ์ จำนวนอัฐิทิศ “กมุท” สีกายดังดอกโกมุท เสียงเป็นสรรพแห่งแตรงอน ประจำทิศหรดี องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยได้น้อมเกล้าฯ ถวายลูกช้างพลายสำคัญแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ สวนสัตว์ดุสิต (ขณะนั้นใช้ชื่อสวนสัตว์เขาดินวนา) เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 เวลา 15 นาฬิกา 20 นาที และต่อมาจึงมีพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ ณ โรงช้างต้น พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 10 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 และได้พระราชทานพระนามว่า “พระเศวตอดุลยเดชพาหน ภูมิพลนวมนาถบารมี ทุติยเศวตกรีกมุทพรรโณภาส บรมกมลาสนวิศุทธวงศ์ สรรพมงคลลักษณคเชนทรชาต สยามราษฎรสวัสดิประสิทธิ์ รัตนกุญชรนิมิตบุญญาธิการ ปรมินทรบพิตรสารศักดิเลิศฟ้า” ซึ่งถือเป็นช้างสำคัญคู่พระบารมีช้างแรกในรัชกาลที่ 9 พระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ ในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 เวลา 15 นาฬิกา ได้มีขบวนแห่ช้างสำคัญออกจากสวนสัตว์ดุสิตเข้าสู่โรงพระราชพิธี พระราชวังดุสิต พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถาและเจริญพระพุทธมนต์ พราหมณ์ทำพิธีบูชาพระเทวกรรม พระราชพิธีฯ ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 ประกอบด้วย ช้างสำคัญอาบน้ำ การตักบาตร เลี้ยงพระขึ้นระวาง ครั้นได้เวลาพระฤกษ์ โหรหลวงลั่นฆ้องชัย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินขึ้นประทับเกยข้างเบญจพาษ ทรงหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ด้วยพระเต้าเทวบิฐและน้ำพระมหาสังข์พระราชทานแก่ช้างสำคัญ ทรงเจิมอ้อยแดงจารึกนามพระราชทานช้างสำคัญ พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณรดน้ำสังข์ตามโบราณราชประเพณี พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานเครื่องคชาภรณ์ให้แต่งช้างสำคัญ พราหมณ์อ่านฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง แล้วเบิกแว่นเวียนเทียนสมโภชพระยาช้างต้น และพราหมณ์เจิมพระยาช้างต้น เป็นอันเสร็จพิธี พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ยืนโรงที่โรงช้างต้น สวนสัตว์ดุสิต กระทั่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีพระราชเสาวณีย์โปรดเกล้าฯ ให้นำพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เข้าไปยืนโรงในโรงช้างต้น พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เมื่อ พ.ศ. 2519 และต่อมาได้เคลื่อนย้ายพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น พระราชวังไกลกังวล เมื่อวันที่ 17 - 18 มีนาคม พ.ศ. 2547 โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพระราชพิธีสมโภชโรงช้างต้น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2547 ทั้งนี้ พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ล้มลงเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2553 ณ โรงช้างต้น พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้เรียบเรียง : นางสาวดุษฎี ชัยเพชร นักจดหมายเหตุชำนาญการ คณะทำงานองค์ความรู้ของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ หมายเหตุ : คงการสะกดชื่อพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ตามที่ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุ ------------------------------ อ้างอิง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. กองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย มท 0201.2.1.31/42 เรื่อง พระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ (31 ตุลาคม 2502) หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารบันทึกเหตุการณ์และจดหมายเหตุ จ/2502/40 เรื่อง พระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ระหว่างวันที่ 10 – 11 พฤศจิกายน 2502 (10 – 11 พฤศจิกายน 2502) เพลินพิศ กำราญ. โรงช้างต้น. กรุงเทพฯ : กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2521. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพถ่ายเหตุการณ์สำคัญ ฉ/จ/1587 ภาพช้างสำคัญ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. ภาพส่วนบุคคล ชุด นางเติมทรัพย์ จามรกุล ภ หจภ สบ2.3/11(1) ภาพพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. ภาพชุดพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ ภ หจภ อ2/78 (1) ภาพพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. ภาพชุด สำนักพระราชวัง ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่) ภ หจภ พว2.1.2/130 (1) ภาพพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ


ซากเรือบ้านคลองยวน สำรวจพบที่บ้านเลขที่ ๑๑๙/๒ หมู่ที่ ๘ บ้านคลองยวน ตำบลทุ่ง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดย นางพรพิมล มีนุสรณ์ เจ้าของบ้านเล่าว่าได้พบซากเรือไม้ในที่ดินของตนเองระหว่างการขุดสระเพื่อกักเก็บน้ำใช้ทำสวนปาล์มและได้เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีโดยการก่อพื้นเทปูนมุงหลังคาคลุมซากเรือลำนี้ไว้ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๕นอกจากหลักฐานตัวเรือแล้ว บริเวณที่พบซากเรือก็นับว่ามีความสำคัญทางโบราณคดีด้วยเช่นกัน เนื่องจากตั้งอยู่ไม่ห่างจากคลองท่าชนะ (๓ กิโลเมตร) ซึ่งเป็นคลองที่ไหลออกสู่อ่าวไทย ณ บริเวณที่เรียกว่าแหลมโพธิ์ ต.พุมเรียง อ.ไชยาจากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในพื้นที่แหลมโพธิ์บ่งชี้ว่า บริเวณนี้เป็นชุมชนเมืองท่าสำคัญมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔ ดังสะท้อนผ่านหลักฐานการค้านานาชาติ เช่น ลูกปัดโบราณ เครื่องถ้วยจีนและเปอร์เซียที่พบจากการตรวจสอบพบว่า บริเวณหลังบ้านของ นางพรพิมล เป็นพื้นที่สวนปาล์ม มีการขุดสระน้ำสำหรับใช้ภายในสวน ภายในมีซากของไม้เรือโบราณถูกเก็บรักษาอยู่ภายในโรงเปิดโล่งมีหลังคาคลุม ซากเรือดังกล่าวประกอบด้วยไม้ ๘๔ ชิ้น เป็นไม้กระดานขนาดยาว ไม้ที่ทำเป็นทรงแหลมสำหรับหัวเรือ และเศษไม้ที่ไม่สามารถระบุส่วนได้ไม้กระดานเรือแต่ละแผ่น มีการเจาะรูที่ด้านสันของไม้ตลอดความยาว อีกทั้งยังพบลูกประสักหรือสลักไม้สวนอยู่ในรูบางส่วน นอกจากนี้ที่แผ่นกระดานเปลือกเรือด้านในมีการทำปุ่มสันทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้านูนออกมาจากระดับพื้นกระดาน ยาวตลอดความยาวของแผ่นเปลือกเรือนอกจากไม้เรือแล้ว ในบริเวณที่เป็นที่เก็บซากเรือยังพบว่าเศษเชือกสภาพเปื่อยยุ่ยอยู่ที่พื้นและปะปนอยู่กับซากเรือ คาดว่าน่าจะเป็นเชือกที่มากับเรือ จึงได้ทำการเก็บตัวอย่างเพื่อนำไปตรวจหาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์สภาพของซากเรือยังอยู่ในสภาพที่แข็งแรง แต่เนื่องจากไม่ได้รับการอนุรักษ์อย่างถูกวิธีตัวเรือจึงเริ่มเสื่อมสลายผุพังไปตามกาลเวลา เมื่อวิเคราะห์จากลักษณะของซากเรือลำนี้โดยคร่าวเป็นเรือที่ต่อด้วยเทคนิค Lashed-Lug หรือ เชือกรัดสันรูเจาะ เป็นเทคนิคแบบโบราณที่มีมานานกว่า ๑,๐๐๐ ปี พบแพร่กระจายอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทะเลกองโบราณคดีใต้น้ำจึงได้ขอให้ นางพรพิมล มีนุสรณ์ มอบซากเรือโบราณให้แก่กองโบราณคดีใต้น้ำ เพื่อนำกลับไปอนุรักษ์และศึกษาวิเคราะห์ยังกองโบราณคดีใต้น้า จังหวัดจันทบุรีเจ้าหน้าที่จึงได้ทำการถ่ายรูปไม้เรือทุกชิ้นที่พบจากนั้นทยอยลำเลียงขึ้นบนรถบรรทุกเพื่อนำมาเก็บรักษาไว้ที่สำนักงาน การวิเคราะห์ชนิดไม้และการหาค่าอายุ หลังจากที่นำซากเรือบ้านคลองยวนกลับมาเก็บรักษาที่สำนักงานกองโบราณคดีใต้น้ำแล้ว ได้นำตัวอย่างไม้เรือส่งไปวิเคราะห์ตรวจหาชนิดของไม้ที่นำมาใช้ในการต่อเรือ ณ สํานักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้ โดยส่งตัวอย่างชิ้นไม้จำนวน ๓ ชิ้น ประกอบด้วย เปลือกเรือ ๑ ชิ้น และลูกประสัก ๒ ชิ้นผลการตรวจพิสูจน์พบว่า ไม้เปลือกเรือบ้านคลองยวนนั้นทำจากไม้ในสกุลตะเคียน (Hopea sp.) แต่ไม่ทราบชนิด และลูกประสักทำจากไม้ตะแบกเลือด (Terminalia mucronata Craib & Hutch.)นอกจากการตรวจหาชนิดไม้แล้ว กองโบราณคดีใต้น้ำยังนำตัวอย่างจากตัวเรือไปหาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธี Accelerator Mass Spectrometry (AMS) ณ ห้องปฏิบัติการในประเทศสหรัฐอเมริกาอีกด้วย โดยส่ง ๓ ตัวอย่าง ประกอบด้วย ไม้เปลือกเรือ เศษเชือก และลูกประสัก ซึ่งผลของค่าอายุที่ได้บ่งชี้ว่า เรือบ้านคลองยวนมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔ (คริสต์ศตวรรษที่ ๙) รูที่สันไม้กระดาน (dowel & lashing holes) เปลือกเรือแต่ละแผ่นที่พบมีการเจาะรูที่ด้านสันของไม้กระดานยาวไปตลอดแนวของไม้เปลือกเรือและพบมีลูกประสักเสียบอยู่ในรูที่ถูกเจาะ จากการพินิจแล้วพบว่า การเจาะรูสันเปลือกเรือมีรูปแบบที่ซ้ำกันชัดเจน กล่าวคือ เจาะเพื่อใช้ยึดลูกประสัก ๔ รู สลับกับรูร้อยเชือกที่ด้านบนของกระดานทะลุกออกด้านสัน ๒ รู เป็นเช่นนี้ตลอดแนวสันเปลือกเรือ ถือเป็นลักษณะที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของเรือบ้านคลองยวน ที่ไม่อาจพบได้ในการต่อเรือไม้สมัยใหม่ลูกประสักที่พบ มีลักษณะเป็นไม้ทรงกระบอกยาว ๔ เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๒ ขนาด คือ ๗ และ ๑๐ มิลลิเมตร พบว่าลูกประสักที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๐ มิลลิเมตร จะใช้กับส่วนไม้ที่ต่อกับหัวเรือเท่านั้น แผ่นไม้เปลือกเรือบ้านคลองยวนนั้น หนา ๓.๕ – ๔ เซนติเมตร กว้าง ๒๗ เซนติเมตร (ส่วนที่กว้างที่สุด) ฝั่งกราบขวามี ๕ แผ่น ส่วนกราบซ้ายมี ๓ แผ่น (เท่าที่เหลือ) เมื่อพิจารณาจากกระดานเปลือกเรือแผ่นที่ ๕ ของกราบขวาพบว่า ที่ด้านสันของเปลือกเรือยังมีการเจาะรูรับลูกประสักอยู่ สิ่งนี้บ่งชี้ว่ากระดานเปลือกเรือแผ่นที่ ๕ ยังไม่ใช่แผ่นสุดท้าย ที่ส่วนปลายของไม้เปลือกเรือแต่ละแผ่นจะมีการทำให้เป็นรูปทรงแหลม เพื่อให้สามารถเข้าไม้ได้อย่างพอดีกับไม้หัวและท้ายเรือไม้เปลือกเรือของเรือบ้านคลองยวนไม่ได้สมบูรณ์ตลอดลำเรือ ส่วนที่คาดว่าจะเป็นท้ายเรือได้ขาดหายไปจึงไม่อาจสรุปได้ว่าไม้เปลือกเรือแต่ละชั้นจะเป็นไม้แผ่นเดียวยาวตลอดลำเรือหรือไม่ แต่จากข้อมูลของเรือประเภทเดียวกันที่พบในต่างประเทศ เช่น แหล่งเรือ Punjurhajo บนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซียนั้น พบเปลือกเรือเป็นไม้แผ่นเดียวยาวตลอดลำเรือ จึงพอสันนิษฐานได้ว่าน่าจะมีลักษณะเหมือนกัน สันรูเจาะ (lug) เปลือกเรือแต่ละแผ่น ทำขึ้นด้วยการถากไม้ให้เป็นแผ่นกระดานและรูปทรงตามที่ช่างต้องการเพื่อให้เข้ากับรูปทรงของเรือ และจะเว้นสันรูเจาะ หรือ lug ไว้ตลอดความยาวของเรือ เป็นลักษณะอันโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของเรือประเภทนี้ โดยสันรูเจาะเหล่านี้มีไว้สำหรับรองรับกงเรือที่จะถูกนำมาเสริมในภายหลัง มีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใกล้เคียงกัน คือ ยกสูงกว่าส่วนเรียบของแผ่นกระดานประมาณ ๑.๕ – ๒ เซนติเมตร ยาว ๓๐ เซนติเมตร กว้างประมาน ๒๐ เซนติเมตร ในส่วนที่กว้างที่สุด และจะค่อย ๆ แคบลงเรื่อย ๆ ไปทางหัวและท้ายเรือ สันที่แคบที่สุดกว้างเพียง ๔ เซนติเมตร แต่ละสันจะเว้นระยะห่างกันประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ยกเว้นบริเวณกึ่งกลางลำเรือบนกระดานกระดูกงูและเปลือกเรือแผ่นที่ ๑ และ ๒ ของทั้งสองกราบจะเว้นช่วงห่างมากกว่าส่วนอื่น คือ ห่างประมาณ ๑๒๐ เซนติเมตร ไม้กระดานกระดูกงู (keel plank) ไม้ส่วนที่เป็นแกนกลางของเรือบ้านคลองยวนหรือที่มักเรียกกันว่ากระดูกงูนั้น มีลักษณะเป็นกระดูกงูที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนเปลือกเรือไปด้วยหรือที่เรียกว่า keel plank ซึ่งกระดูกงูแบบนี้เป็นลักษณะเฉพาะของเรือที่ต่อแบบต่อเปลือกก่อนแล้วนำกงมาเสริมทีหลัง หรือ shell-basedเมื่อวางกระดูกงูบนพื้นราบพบว่าปลายกระดานกระดกขึ้นสูงจากพื้นประมาณ ๕๐ เซนติเมตร พิจารณาจากลักษณะแล้วคาดว่าเรือบ้านคลองยวนเป็นเรือที่มีหัวและท้ายเชิดขึ้นและท้องเรือแอ่นส่วนสันรูเจาะบนกระดูกงูมีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างไปจากสันรูเจาะบนกระดานแผ่นอื่น กล่าวคือ ระหว่างสันรูเจาะแต่ละสันจะมีสันแคบ ๆ กว้างประมาณ ๑๐ – ๑๒ เซนติเมตร เชื่อมต่อไปตลอดความยาวของกระดูกงู ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าช่างจงใจทำสันแคบ ๆ นี้ไว้เพื่ออะไร เบื้องต้นสันนิษฐานว่าอาจทำไว้เพื่อเสริมความแข็งแรงตามแนวยาวของเรือ หัวเรือและท้ายเรือ (wing-end) หัวและท้ายของเรือบ้านคลองยวนมีรูทรงและลักษณะที่โดดเด่นอย่างมาก ซึ่งเรือกว่า wing-end กล่าวคือ ช่างจะแกะไม้เป็นรูปทรงคล้ายตัว V และนำมาซ้อนกัน 2 ชั้น โดยแต่ละชั้นจะมีการเจาะรูเพื่อใส่ลูกประสักเตรียมไว้การเข้าไม้หัวและท้ายเรือ ช่างจะนำ wing ชั้นที่ ๑ มาวางบนกระดูกงู หัวเรือและกระดูกงูจะได้ระยะเสมอกันพอดี แขนของ wing จะต่อชนกับกระดานแผ่นที่ ๑ พอดี ด้านบนของแขนจะเว้นช่องว่างไว้เพื่อให้ไม้กระดานแผ่นที่ ๒ มาต่อชนกันส่วนโคนของแขนรูปตัว V เมื่อชั้นที่ ๑ สามารถต่อเข้ากับกระดูกงู ไม้กระดานแผ่นที่ ๑ และ ๒ ได้แล้ว จึงนำเอา wing ชั้นที่ ๒ มาวางซ้อนบนชั้นที่ ๑ แล้วนำกระดานชั้นที่ ๓ และ ๔ มาต่อแบบเดียวกับชั้นที่ ๑เป็นที่น่าสังเกตว่าหัวและท้ายเรือแบบ wing-end นั้น มีขนาดค่อนข้างใหญ่และทำจากไม้ชิ้นเดียว เป็นไปได้ว่าช่างในสมัยนั้นอาจนำไม้จากบริเวณของโคนต้นมาผ่าตามแนวขวางแล้วจึงแกะให้เป็นรูปตัว V ดังสังเกตได้จากวงปีไม้ที่มีลักษณะเป็นวงวางตัวขวางกับแนวเรือ ส่วนกลางลำต้นจะนำไปทำไม้กระดาน


ชื่อผู้แต่ง        - ชื่อเรื่อง         พระอภิธรรมสังคหะ ครั้งที่พิมพ์      - สถานที่พิมพ์    - สำนักพิมพ์      - ปีที่พิมพ์         - จำนวนหน้า   ๑๕๒ หน้า หมายเหตุ.    - (เนื้อหา)            อธิบายเนื้อความของพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ไว้โดยย่อเปรียบเทียบอธิบายข้อธรรมสำคัญ ๆ ของพระอภิธรรมแบ่งเป็น ๙ ปริจเฉท


ชื่อเรื่อง                     บทละครนอกเรื่องคาวีและสังข์ศิลป์ชัยผู้แต่ง                       พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   วรรณคดีเลขหมู่                      895.9112081 พ835บจสถานที่พิมพ์               ม.ป.ท.   สำนักพิมพ์                 ม.ป.พ.ปีที่พิมพ์                    2508ลักษณะวัสดุ               242 หน้าหัวเรื่อง                     บทละครไทย -- รวมเรื่องภาษา                      ไทยบทคัดย่อ/บันทึก            หนังสือบทละครนอกเรื่องคาวีและสังข์ศิลป์ชัย พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  





(ที่มาภาพ https://mapio.net/pic/p-42150518/)           รถไฟ เข้ามาในประเทศไทยเป็นเวลานานร่วมร้อยปีแล้ว ด้วยเกิดจากพระราชดำริในพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ที่ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของกิจการรถไฟที่ทำให้การติดต่อค้าขายหรือขนส่งสินค้าระหว่างกรุงเทพฯ และภูมิภาคต่าง ๆ มีความสะดวกสบายมากกว่าการคมนาคมทางเรือหรือทางเกวียนซึ่งใช้เวลานานและไม่สะดวกเท่า โดยทางรถไฟสายแรกที่เปิดให้บริการแก่ชาวสยามในสมัยนั้น คือ ทางรถไฟสายกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะมีการสร้างรถไฟสายเหนือหรือรถไฟสายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่และพัฒนากิจการรถไฟมาเป็นลำดับเช่นในปัจจุบัน           ทางรถไฟสายเหนือ ถือเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญที่เอื้อให้การติดต่อระหว่างกรุงเทพฯ กับเมืองต่าง ๆ ในภาคเหนือเป็นไปโดยสะดวกมากขึ้น ความน่าสนใจประการหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายดังกล่าว คือ การสร้างทางแยกที่ชุมทางบ้านดารา (ปัจจุบันอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์) และมาสิ้นสุดที่เมืองสวรรคโลกหรือจังหวัดสวรรคโลก (ปัจจุบันคือ สถานีรถไฟสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย) ทำให้ทางรถไฟสายนี้ถูกเรียกว่า เส้นทางรถไฟสายสวรรคโลก มีระยะทาง ๒๙ กิโลเมตร เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๔๕๒ เป็นต้นมาจนถึงในปัจจุบัน แรกเริ่มทางรถไฟสายนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางรถไฟที่จะไปยังเมืองตาก เชื่อมต่อพื้นที่ลุ่มแม่น้ำน่านและพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปิงเข้าด้วยกันทว่าการก่อสร้างทางรถไฟกลับไม่ได้ดำเนินการต่อจนบรรลุตามจุดประสงค์เดิม ทำให้เส้นทางรถไฟสายนี้สิ้นสุดลงที่เมืองสวรรคโลกเท่านั้น ถึงกระนั้น เส้นทางรถไฟสายสวรรคโลกก็นับเป็นเส้นทางรถไฟสายสำคัญที่ช่วยขนส่งท่อนไม้ ของป่า และสินค้าอื่น ๆ รวมถึงช่วยให้การเดินทางติดต่อของผู้คนจากเมืองสวรรคโลกและเมืองต่าง ๆ ในบริเวณใกล้เคียงไปยังกรุงเทพฯ มีความสะดวกสบายมากขึ้น ทั้งยังเป็นหลักฐานบ่งชี้ถึงความสำคัญของเมืองสวรรคโลกซึ่งสอดคล้องกับการประกาศยกฐานะเมืองสวรรคโลกเป็นจังหวัดสวรรคโลกในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ด้วย           ทุกวันนี้ เส้นทางรถไฟสายสวรรคโลกยังคงเปิดให้บริการมาโดยตลอด กระทั่งช่วงสองปีมานี้ที่มีการปิดให้บริการชั่วคราวเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) จึงอาจเรียกได้ว่าทางรถไฟสายนี้เป็นมรดกความทรงจำสำคัญของผู้คนในท้องถิ่นที่ยังรอคอยที่จะทำหน้าที่ของตนเองต่อไป -------------------------------------------------------------------- เอกสารอ้างอิง หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ กต.๕.๒/๗๙ เรื่อง พระราชดำรัสในการเปิดรถไฟสายเหนือ. การรถไฟไทย. ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าเสริมสวาสดิ์ กฤดากร ณ สุสานหลวงวัดเทพ ศิรินทราวาส วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๔๘๔. ประวัติการรถไฟแห่งประเทศไทย [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๕. เข้าถึงได้จาก https://www.railway.co.th/   --------------------------------------------------------------------- ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก https://www.facebook.com/sawanvoranayok/posts/pfbid02ikJfWnVkQnjUCQx7fbU9pK7qCNgYbinToEjsF9k8misgazc99Mn3bSdsUW1GUDgjl*เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร


ชื่อเรื่อง                                      สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                         26/4ประเภทวัสดุ/มีเดีย                   คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                   พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              46 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                                      พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           34/3ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              26 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 53.5 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


Messenger