ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
ชื่อเรื่อง : วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนครสวรรค์
ผู้แต่ง : คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ปีที่พิมพ์ : 2542
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กระทรวงมหาดไทย : กระทรวงศึกษาธิการ และกรมศิลปากร
ชื่อเรื่อง : ชุมนุมตำรากลอน หอพระสมุดวชิรญาณ
ผู้แต่ง ; วชิรญาณ หอพระสมุด
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๙
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว
หนังสือ ชุมนุมตำรากลอน เล่มนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งนายกหอพระสมุดวชิรญาณ ได้มีรับสั่งให้กรรมการหอพระสมุดวชิรญาณรวบรวมขึ้นและพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๕๗ ตำรากลอนซึ่งได้รวบรวมมาลงพิมพ์ในสมุดเล่มนี้ มี๕ เรื่อง คือ ๑.ฉันท์ วรรณพฤติ ตำราแต่งฉันท์ ๒. ตำราฉันท์ มาตราพฤติ ๓. หนังสือกาพย์ สาร วิลาสินี ๔. หนังสือเรื่อง ศิริวิบุลยกิติ ตำราแต่งกลอน กลบทเป็นหนังสือเก่า ๕. ตำราแต่งโคลง ของพระโหราธิบดี
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ตำนานพระพุทธเจดีย์. พระนคร : กรมศิลปากร, 2510 ว่าด้วยมูลเหตุที่เกิดพุทธเจดีย์ ประวัติพุทธเจดีย์และการสร้างพระพุทธรูป ท้ายเล่มมีภาพประกอบเกี่ยวข้องที่สำคัญ ๆ
องค์ความรู้ เรื่อง งานประเพณีทิ้งกระจาด จังหวัดสุพรรณบุรี จัดทำโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี
รวบรวมภาพ พระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนารถบพิตร ในขณะครองราชย์ ดำรงพระอิสริยยศเป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ บรมนารถบพิตร รัชกาลที่ 9 ประจำปี พ.ศ. 2549 ผู้แต่ง สำนักงานเสิมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล โรงพิมพ์ เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป ปีที่พิมพ์ 2549 ภาษา ไทย - อังกฤษ รูปแบบ pdf เลขทะเบียน หช.จบ. 152 จบ (ร) (198)
***บรรณานุกรม***
ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ
ปีที่ 16(7)
ฉบับที่ 659(253)
วันที่ 1-15 สิงหาคม 2534
พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวงเป็นวาระสุดท้ายแห่งการบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระเกียรติยศและแสดงความจงรักภักดี สนองพระกรุณาธิคุณพระบรมวงศ์สำคัญผู้มีพระคุณอนันต์แก่แผ่นดิน น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายตามโบราณราชประเพณี
องค์ความรู้แหล่งโบราณคดี โบราณสถานในเขตสำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย ขอนำเสนอข้อมูลแหล่งเตาที่เพิ่งสำรวจพบและขุดค้นในปี 2563 ในจังหวัดพิจิตร
.
แหล่งเตาบึงวัดป่า : ข้อมูลใหม่ในจังหวัดพิจิตร
.
นาตยา ภูศรี
นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย
แหล่งเตาบึงวัดป่า ตั้งอยู่ที่หมู่ 4 ตำบลท่านั่ง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร แหล่งเตาแห่งนี้เป็นแหล่งเตาที่พบใหม่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2561 สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย ได้รับแจ้งจากจังหวัดพิจิตรว่ามีการขุดพบเครื่องปั้นดินเผาโบราณ ขณะขุดลอกแหล่งน้ำบริเวณบึงวัดป่า ใน พื้นที่หมู่ที่ 4 ตำบลท่านั่ง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร หลังจากที่ผู้รับเหมาใช้รถแบคโฮ (backhoe) ขุดลอก แหล่งน้ำบริเวณดังกล่าว ลึกลงไปประมาณ 1.50 เมตร ในเบื้องต้นพบลักษณะคล้ายเตาเผาโบราณ 3 จุด พร้อมโบราณวัตถุ เช่น แจกัน ถ้วย โถ จาน เป็นต้น ต่อมากลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย ได้เข้าไปตรวจสอบพื้นที่ พบว่า สภาพแวดล้อมของพื้นที่เป็นบึงเรียกว่าบึงวัดป่า มีรอยขุดตักของรถแบคโฮ บริเวณ ขอบบึงได้พบร่องรอยเตาเผาภาชนะดินเผาที่ถูกขุดไปบางส่วน และมีบางส่วนยังอยู่ในผนังชั้นดิน พบเศษ ภาชนะดินเผาเนื้อแกร่ง (Stone Wares) ทั้งแบบไม่เคลือบและเคลือบสีน้ำตาล ประเภท ไห แจกัน กระปุก เป็นต้น
.
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย ได้ดำเนินการขุดค้นแหล่ง เตาบึงวัดป่าจำนวน 1 เตา ผลการขุดค้น ได้พบหลักฐานเป็นเตาเผาโบราณ ลักษณะเป็นเตาระบายความร้อน แบบแนวนอน (crossdraft kiln) เตามีหลังคาโค้งรีคล้ายประทุนเรือ ก่อด้วยดิน ผนังเตามีคราบซิลิก้าละลาย ติดอยู่ เตามีขนาดกว้าง 2.90 เมตร (ส่วนที่กว้างที่สุด) ยาว 9 เมตร วางตัวตามแนวแกนทิศเหนือใต้ ช่องใส่ไฟ อยู่ทางด้านทิศเหนือ อยู่ในระดับต่ำกว่าพื้นที่ส่วนอื่นของเตา ปล่องไฟอยู่ทางด้านทิศใต้ เตามีสภาพไม่สมบูรณ์ เนื่องจากถูกรถแบคโฮขุดตัดบริเวณช่องวางภาชนะ ระหว่างการขุดลอกบึงวัดป่า
.
จากการขุดค้นไม่พบเครื่องปั้นดินเผา ภายในเตาพบว่ามีดินอัดแน่นอยู่ภายใน บริเวณพื้นที่โดยรอบ พบเศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งและเนื้อไม่แกร่ง กระจายตัวทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นเศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งที่ผลิตจากแหล่งเตาบ้านบางปูน จังหวัดสุพรรณบุรี กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 19 และเศษภาชนะดินเผา จากแหล่งเตาในประเทศจีน สมัยราชวงศ์เยวี๋ยน กำหนดอายุราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 19
.
ในเบื้องต้นสันนิษฐานว่าผลิตภัณฑ์จากแหล่งเตาบึงวัดป่า ได้แก่ ภาชนะดินเผาทั้งประเภทเนื้อไม่แกร่ง (Earthern wares) และประเภทเนื้อแกร่ง (Stone ware) ส่วนใหญ่เป็นภาชนะประเภท ไห อ่าง และกระปุก ผลการกำหนดอายุด้วยวิธี AMS (Accelerator Mass Spectrometry Radiocarbon Dating) จากตัวอย่างถ่านที่พบบริเวณช่องใส่ไฟของเตาอยู่ระหว่าง พ.ศ. 1767 – 1841 หรือ ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 – ต้น พุทธศตวรรษที่ 19 ส่วนการกำหนดอายุจากชิ้นส่วนผนังเตาด้วยวิธีเรืองแสงความร้อน (Thermoluminescence Dating : Tl) อยู่ระหว่างรอผลทดสอบ
ชื่อเรื่อง ฌาปนกิจฺจานิสํสกถา (อานิสงส์เผาศพ)สพ.บ. 175/1กประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 22 หน้า กว้าง 4.7 ซ.ม. ยาว 54.9 ซ.ม. หัวเรื่อง อานิสงส์เผาศพบทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ภาษาบาลี-ไทย ฉบับลานดิบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง หัตถังคุลีชาดก (หัตถังคุลีชาดก)สพ.บ. 121/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 28 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 5ุ7 ซ.ม. หัวเรื่อง ปัญญาสชาดก ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี
องค์ความรู้เรื่องพระมาลัย
พระมาลัยที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
พระมาลัย คือ พระอรหันตสาวกในพระพุทธศาสนา ปรากฏในคัมภีร์พระมาลัยสูตร กล่าวถึง พระอรหันต์ชาวลังการูปหนึ่งนามว่า “พระมาลัยเทวเถระ” อาศัยอยู่บ้านกัมโพช แคว้นโลหะชนบท ทวีปลังกา เป็นพระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์ สามารถไปยังนรกและสวรรค์ เพื่อนำความที่พบเห็นมาเทศนาแก่มนุษย์ ทำให้เกิดความเชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษ
ความเชื่อเรื่องพระมาลัยสันนิษฐานว่าเกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศพม่าราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๘ และได้แพร่หลายเข้ามาในประเทศไทยผ่านทางล้านนาและสุโขทัยราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ ต่อมาได้แพร่กระจายไปทั่วทุกภูมิภาค ซึ่งเห็นได้จากการแต่งวรรณกรรมพระมาลัย เช่น คัมภีร์มาลัยต้น มาลัยปลาย ในภาคเหนือ คัมภีร์มาลัยหมื่น มาลัยแสน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พระมาลัยคำหลวง พระมาลัยกลอนสวด นิทานพระมาลัย ในภาคกลาง และ พระมาลัยคำกาพย์ในภาคใต้
จากคติความเชื่อเรื่องพระมาลัยจึงทำให้เกิดการสร้างสรรค์งานประติมากรรมและจิตรกรรมต่าง ๆ ซึ่งในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร ได้จัดแสดงโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับพระมาลัย ได้แก่ สมุดไทย เรื่อง พระมาลัย เขียนด้วยตัวอักษรขอม ภาษาบาลี ด้วยหมึกสีดำลงบนสมุดไทยขาว ศิลปะรัตนโกสินทร์ กำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ได้รับมอบจากวัดราชพฤกษ์ศรัทธาราม และประติมากรรมรูปพระมาลัย ซึ่งเป็นรูปพระภิกษุ ครองจีวรลายดอกพิกุลห่มเฉียง นั่งขัดสมาธิราบบนฐานบัว มือซ้ายอยู่ในลักษณะถือวัตถุ สันนิษฐานว่าถือตาลปัตรหรือพัด ศิลปะรัตนโกสินทร์ กำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๕ พระครูวิมลวชิรคุณ เจ้าอาวาสวัดคูยาง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นผู้มอบให้ โดยลักษณะงานประติมากรรมเช่นนี้น่าจะมีความหมายถึงพระมาลัยเทศนาโปรดสัตว์ หรือพระมาลัยปางโปรดสัตว์ เนื่องจากตาลปัตรเป็นเครื่องหมายของการแสดงธรรม
เอกสารอ้างอิง
เด่นดาว ศิลปานนท์. พระมาลัยในศิลปกรรมไทย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๔๖.
ถ้ำภูผาเพชร เป็นถ้ำขนาดใหญ่อยู่ในเทือกเขาบรรทัด เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดสตูล และเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานธรณีสตูล และที่สำคัญก็คือเป็นแหล่งโบราณคดีที่มีร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์โบราณ เมื่อหลายพันปีก่อน แหล่งโบราณคดีถ้ำภูผาเพชร ตั้งอยู่ หมู่ ๙ บ้านควนดินดำ ตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ตั้งอยู่บนเขาหินปูนในเขตเทือกเขาบรรทัดมีลำน้ำ ๒ สายไหลโอบภูเขา ได้แก่ คลองลำโลนไหลผ่านทางทิศเหนือ และคลองระเกดไหลผ่านทางทิศใต้ ที่มาของชื่อ “ถ้ำภูผาเพชร” หรือ “ถ้ำเพชร” มาจากหินงอก หินย้อยภายในถ้ำที่มีความระยิบระยับคล้ายกับเพชร จากการศึกษาทางด้านโบราณคดีโดยสำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา พบว่าถ้ำภูผาเพชรเป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญ โดยสำรวจพบหลักฐานทางโบราณคดีทั้งหมด ๔ จุด ได้แก่ จุดที่ ๑ เพิงผาทางเข้าถ้ำภูผาเพชร ปากถ้ำหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีลักษณะเป็นเพิงผากว้าง จากการสำรวจพบเครื่องมือหินกะเทาะ หน้าเดียวแบบสุมาตราลิทซ์ (Sumatralith) กำหนดอายุได้ประมาณ ๑๐,๐๐๐ - ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว ชิ้นส่วนกรามสัตว์ เปลือกหอย กระดองเต่า เป็นต้น จุดที่ ๒ ห้องพญานาคพันภายในถ้ำ จากการสำรวจพบชิ้นส่วนกะโหลก ศีรษะของมนุษย์และกระดูกรยางค์ ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ ร่องรอยก้นภาชนะดินเผาที่ถูกหินปูนยึดเกาะอยู่และเปลือกหอย จุดที่ ๓ ทางขึ้นปากปล่องถ้ำฝั่งทิศเหนือ จากการสำรวจพบชิ้นส่วน ภาชนะดินเผากระจายอยู่ทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อหยาบ มีการตกแต่งผิวเป็นลายเชือกทาบ ลายขูดขีด เป็นต้น จุดที่ ๔ เพิงผาหน้าปากปล่องถ้ำด้านทิศเหนือ จากการสำรวจพบ ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา เครื่องมือหินกะเทาะ ขวานหินขัดมีคมด้านเดียว เป็นต้น นอกจากนี้ ยังพบหลักฐานโบราณวัตถุที่ชาวบ้านเก็บได้จากถ้ำภูผาเพชร ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลมะนัง ได้แก่ ภาชนะดินเผาก้นกลม จำนวน ๒ ใบ และภาชนะดินเผาฐานทรงกระบอกปากผายออก จำนวน ๒ ใบ ตกแต่งผิวด้านนอกด้วยการขัดมันและกดประทับลายเชือกทาบ และยังพบหลักฐานประเภทกระดูกสัตว์ เช่น เต่า เปลือกหอย บรรจุอยู่ในภาชนะดินเผาอีกด้วย จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบและสภาพภูมิศาสตร์ที่มีความเหมาะสม ต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์ จึงสรุปได้ว่าแหล่งโบราณคดีภูผาเพชรเป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยใช้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งพิธีกรรมเกี่ยวข้องกับการฝังศพ ที่สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดสตูลได้เป็นอย่างดี-----------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา-----------------------------------------------------
เลขทะเบียน : นพ.บ.141/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4.5 x 50.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 84 (334-339) ผูก 4 (2564)หัวเรื่อง : ปุณฺณปทสังคหะ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.89/8ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 48 หน้า ; 4.6 x 50 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 52 (103-117) ผูก 8 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺปทฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (ธรรมบท)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม