ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.591/1                       ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 18 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ลานดิบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 191  (385-391) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : สิริมหามายา--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ตึกมหาราช ตึกราชินี #เปลี่ยนสีแล้วนะ ตึกมหาราช ตึกราชินีตั้งอยู่ที่ ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ตามพระราชพงศาวดารระบุว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ สมุหกลาโหม ได้ก่อสร้างตึกขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อเป็นที่พักฟื้นของคนป่วย และเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (เจ้าคุณกรมท่า) ได้ก่อสร้างอาคารก่ออิฐถือปูนขึ้นมาอีกหลังหนึ่งซึ่งมีขนาดเล็กกว่า อาคารทั้งสองหลังเดิมเรียกกันว่า “อาศรัยสถาน” พุทธศักราช ๒๔๔๐ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินี ในระหว่างที่ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรป ได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์พระราชทานซ่อมแซมอาคารทั้งสองหลัง เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามอาศรัยสถานทั้ง ๒ หลัง โดยโปรดเกล้าฯให้เรียกอาคารหลังใหญ่ว่า “ตึกมหาราช” อาคารหลังเล็กว่า “ตึกราชินี” กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานตึกมหาราชตึกราชินีในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓ ตอนพิเศษ ๕๐ง ลงวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๓๙ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๑๙ไร่ ๓ งาน ๙๓ ตารางวา เรียบเรียง : นางเป็นภัสญ์ ศรีสุวิทธานนท์ (นักโบราณคดีชำนาญการ) กราฟฟิก : นางสาวศุภลักษณ์ หมีทอง (นักวิชาการวัฒนธรรม) กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี #สำนักศิลปากรที่๕ปราจีนบุรี #กรมศิลปากร #กระทรวงวัฒนธรรม


       โบราณวัตถุที่พบจากกลุ่มโบราณสถานคอกช้างดิน  เมืองโบราณอู่ทอง         กลุ่มโบราณสถานคอกช้างดิน ตั้งอยู่เชิงเขาด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขาคอก นอกคูเมืองโบราณอู่ทอง ห่างไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๓ กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร พบโบราณสถานทั้งหมด ๒๐ กลุ่มใหญ่ ประกอบด้วยโบราณสถานที่สร้างเป็นคันดิน และโบราณสถานที่สร้างด้วยโครงสร้างอิฐ  ศิลาแลง และหิน        กลุ่มโบราณสถานคอกช้างดินที่สร้างเป็นคันดินมีทั้งหมด ๔ แห่ง ลักษณะเป็นคันดินคล้ายอ่างเก็บน้ำ  เดิมเชื่อว่าเป็นคอกขังช้างหรือเพนียดคล้องช้าง แต่ปัจจุบันพบหลักฐานจากการดำเนินงานทางโบราณคดีที่โบราณสถานคอกช้างดินหมายเลข ๓ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๔ พบว่าสร้างขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำที่ไหลมาจากเขาคอกทางทิศเหนือ         โบราณสถานที่สร้างด้วยอิฐ ศิลาแลง และอิฐ ตั้งอยู่บริเวณที่ราบเชิงเขาคอก ปัจจุบันปรากฏเป็นเนินดิน แบ่งเป็นกลุ่มได้ ๑๖ กลุ่ม ส่วนมากยังไม่ได้ขุดศึกษา โบราณสถานคอกช้างดินที่สร้างด้วยอิฐ ศิลาแลง และอิฐ         ซึ่งผ่านการดำเนินงานทางโบราณคดีมาแล้วและพบหลักฐานที่สำคัญ มีดังนี้          • โบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๕ ผ่านการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ เอกมุขลึงค์           • โบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๖ ผ่านการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ ขันสำริด เชิงเทียนสำริด ตุ้มเหล็ก และแท่งเหล็ก เป็นต้น           • โบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๗ ผ่านการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ ภาชนะดินเผาบรรจุแท่งเงินตัด เหรียญเงินมีจารึก "ศรีทวารดี ศวรปุณยะ" เหรียญเงินมีสัญลักษณ์มงคล (รูปหอยสังข์ รูปศรีวัตสะ รูปพระอาทิตย์) ชิ้นส่วนหัวงูดินเผา เครื่องถ้วยจีน เคลือบสีเขียวสมัยราชวงศ์ถัง เป็นต้น           • โบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๑๓ ผ่านการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๔ โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ แผ่นเหล็กคล้าย ใบมีดเหล็ก แหวนสำริด แม่พิมพ์หรือเบ้าหลอมดินเผา เป็นต้น           • โบราณสถานคอกช้างดินหมายเลข ๑๘ ผ่านการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙ โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ กระปุกดินเผาบรรจุเหรียญเงิน เป็นต้น        โบราณวัตถุที่สำคัญมี ดังนี้          o ชิ้นส่วนภาชนะมีพวย เป็นชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อดินส่วนปาก คอ และบ่า มีพวยหนึ่งข้าง สันนิษฐานว่าป็นภาชนะสำหรับใช้สรงน้ำในพิธีกรรม โบราณวัตถุชิ้นนี้พบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๓          o ศิวลึงค์ เป็นศิวลึงค์ที่ทำจากหินขนาดสูง เพียง ๑๘.๕ เซนติเมตร ส่วนฐานเป็น แท่งสี่เหลี่ยมส่วนปลายเป็นแท่งกลมมน เนื่องจากเป็นศิวลึงค์ขนาดเล็ก จึงสันนิษฐานว่าอาจไม่ใช่ศิวลึงค์ประจำ ศาสนสถาน แต่สามารถพกพาเพื่อนำไปประกอบพิธีกรรมหรือบูชาได้          o ภาชนะดินเผาบรรจุเหรียญเงินตราสังข์ เป็นภาชนะดินเผา ส่วนลำตัวคล้ายบาตรพระ ส่วนคอแคบสูง ภายในบรรจุเหรียญ เงินตราสังข์เต็มกระปุก พบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๑๘          o ขัน เป็นขันสำริดทรงกระบอก เนื้อหนาผิวไม่สม่ำเสมอ สันนิษฐานว่าขึ้นรูปด้วยการตี และเป็นเครื่องใช้ในพิธีกรรม โบราณวัตถุชิ้นนี้พบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๖          o เชิงเทียน เป็นเชิงเทียนสำริด สันนิษฐานว่าขึ้น รูปด้วยการตี และเป็นเครื่องใช้ ในพิธีกรรม พบจากโบราณสถาน คอกช้างดิน หมายเลข ๖          o ตุ้มเหล็กเป็นตุ้มเหล็กรูปสี่เหลี่ยมคางหมู สภาพไม่สมบูรณ์ มีสนิมกินทั้งชิ้น ไม่ทราบลักษณะการใช้งาน แต่สันนิษฐานว่าเป็นตุ้มถ่วงชั่งน้ำหนัก พบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๖          o แท่งเหล็ก เป็นแท่งเหล็กเรียวยาวสภาพไม่สมบูรณ์ มีสนิม ไม่ทราบลักษณะ การใช้งานแต่สันนิษฐานว่าเป็นคานที่ใช้กับเครื่องชั่งน้ำหนัก เนื่องจากพบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๖ ใกล้กับตุ้มเหล็ก          o ใบมีด เป็นแผ่นเหล็กแบนยาว ด้านหนึ่งบางกว่าอีกด้าน คล้ายกับใบมีด มีสนิมเกาะทั้งแผ่น พบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๑๓          o แหวน เป็นเส้นลวดขดเกลียวเป็นเส้น และขดเป็นวงแหวน ไม่ทราบ ลักษณะการใช้งานที่แท้จริง สันนิษฐานว่าอาจเป็นของใช้ในพิธีกรรม พบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๑๓          o เบ้าหลอมเป็นแผ่นดินเผา มีหลุมตรงกลาง สันนิษฐานว่าเป็นเบ้าหลอมหรือ แม่พิมพ์ พบจากโบราณสถาน คอกช้างดิน หมายเลข ๑๓        โบราณสถานคอกช้างดิน มีทั้งส่วนที่คันดินสำหรับกักเก็บน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และส่วนที่เป็นอาคารศาสนสถานเนื่องในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เนื่องจากพบศิวลึงค์ ซึ่งเป็นรูปเคารพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไศวนิกาย สัมพันธ์กับการเลือกใช้ภูเขาเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ อันเปรียบเสมือนเขาไกรลาศ ที่ประทับของพระศิวะ พื้นที่บริเวณคอกช้างดินจึงน่าจะเป็นพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำพิธีกรรมของพราหมณ์ในไศวนิกาย   ที่มาข้อมูล  กรมศิลปากร. โบราณคดีคอกช้างดิน. กรุงเทพฯ : ฟันนี่พับบลิชชิ่ง, ๒๕๔๕. กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. สหมิตรพริ้นติ้ง : นนทบุรี, ๒๕๔๕.



วธ.ประกาศผลปูชนียบุคคล-ผู้ใช้ภาษาไทย-ภาษาไทยถิ่นดีเด่น-ผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย   รางวัลเพชรในเพลงและรางวัลส่งเสริมการใช้ภาษาไทย ชวนประชาชนร่วมงานวันภาษาไทยแห่งชาติ ในวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น. ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย           วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๖ กระทรวงวัฒนธรรมได้จัดงานแถลงข่าว วันภาษาไทยแห่งชาติพุทธศักราช ๒๕๖๖ โดยนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธาน นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม นายบพิตร วิทยาวิโรจน์ รองอธิบดีกรมศิลปากร ร่วมแถลงข่าว พร้อมด้วยผู้บริหาร เครือข่ายวัฒนธรรมร่วมงาน ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย           นางยุพา กล่าวว่า รัฐบาลได้ประกาศให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ วธ.จึงได้ดำเนินการจัดงานวันภาษาไทยแห่งชาติอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ กำหนดจัดงานวันภาษาไทยแห่งชาติ ในวันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม พุทธศักราช 2566 เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.  ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์และกระตุ้นให้เยาวชน ประชาชนรู้รักภาษาไทย ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติ ทั้งยังเป็นการส่งเสริมการสร้างต้นแบบที่ดีแก่ประชาชนให้มีการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง เหมาะสมและภูมิใจในความเป็นไทย รวมถึงสร้างค่านิยมและส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนเห็นคุณค่าความสำคัญของภาษาไทย ได้ร่วมกันสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมสำคัญของชาติให้คงอยู่สืบไป             ด้าน นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้เปิดเผยถึงผลการดำเนินการคัดเลือกปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น และผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖ ดังนี้ ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ๔ ราย ได้แก่ ศาสตราจารย์กิตติคุณศิราพร ณ ถลาง  ศาสตราจารย์กิตติคุณอัจฉรา ชีวพันธ์  ศาสตราจารย์ชลธิรา สัตยาวัฒนา  รองศาสตราจารย์อิงอร สุพันธุ์วณิช  ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น จำนวน ๑๑ ราย ได้แก่ นางสาวใกล้รุ่ง อามระดิษ  นายชะเอม แก้วคล้าย  นายปรีชา จันเอียด  นายภิรเดช แก้วมงคล  ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรวุฒิ ภักดีบุรุษ  นางวราภรณ์ สมพงษ์  นายวิฑูรย์ ไตรรัตน์วงศ์  รองศาสตราจารย์ศานติ ภักดีคำ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุวนีย์ พระแก้ว  นายอภิชาต อินทรวิศิษฏ์  นายอำนวย สุวรรณชาตรี ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น จำนวน ๖ ราย ได้แก่ นางเกษร แสนศักดิ์  พันตรีฉลอง จิตรตรง  นายชายชื้น คำแดงยอดไตย  นางเทวี บุตรตั้ว  นางพจนีย์ เพ็งเปลี่ยน  นางเอื้องคำ คำสันทราย และ ผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย ๑ องค์การ ได้แก่ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม           ในส่วนของรางวัลเพชรในเพลง นายบพิตร วิทยาวิโรจน์ รองอธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า มีผู้ที่ได้รับรางวัล เพชรในเพลง ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖ รวม ๑๔ รางวัล ดังนี้ รางวัลเชิดชูเกียรติพิเศษ ๒ รางวัล ได้แก่ คณะนักร้องประสานเสียงสวนพลู สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส รางวัลการประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ๔ รางวัล ได้แก่ คำร้องเพลงไทยสากล นายกมลศักดิ์  สุนทานนท์ นายปิติ  ลิ้มเจริญ  นายรัฐวิชญ์  อนันต์พรสิริ คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง นายประภาส  ชลศรานนท์ (โก๋ ลำลูกกา) และ นายสลา คุณวุฒิ รางวัลการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย จำนวน ๘ รางวัล ได้แก่ ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย นายธงไชย แมคอินไตย์ นายกิตติธัช แก้วอุทัย (ธัช เพลงเอก) ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลหญิง นางสาวอิสริยา คูประเสริฐ นางกุลมาศ สารสาส (ขนมจีน)  ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย มนต์แคน แก่นคูน นายปรัชญา ธรรมโชติ (โบ๊ท เพลงเอก) ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง นางสาวพรพิมล  เฟื่องฟุ้ง (เปาวลี  พรพิมล) นางสาวอรทัย  ดาบคำ (ต่าย อรทัย)          นอกจากนี้ กรมศิลปากร ยังได้จัดพิมพ์หนังสือหายาก เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ เรื่อง “ปกีรณำพจนาดถ์ และ อนันตวิภาค” เนื้อหาประกอบด้วยหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ๒ เรื่อง ได้แก่ หนังสือ “ปกีรณำพจนาดถ์” และหนังสือ “อนันตวิภาค” ซึ่งทั้ง ๒ เรื่อง เป็นผลงานประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย  อาจารยางกูร)  และยังได้เตรียมจัดการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “แบบเรียนรัตนโกสินทร์” กำหนดจัดในวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุมใหญ่ หอสมุดแห่งชาติ เทเวศร์ อีกด้วย รองอธิบดีกรมศิลปากร กล่าว           ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญชวนประชาชนทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๖ ได้ ในวันจันทร์ที่ ๒๔ กรกฎาคม ๖๖ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งจะมีพิธีมอบโล่เกียรติยศและโล่รางวัลแก่บุคคลและหน่วยงานผู้ได้รับรางวัลด้านภาษาไทย อาทิ ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น และผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย รางวัลด้านการประกวดหรือแข่งขันทักษะทางภาษาไทย อาทิ รางวัลสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ หัวข้อ “มนต์รักษ์ภาษาไทย” คลิปวิดีโอเพลงแรป รางวัลเพชรในเพลง  รวมถึงรางวัลอ่านทำนองเสนาะ “สดับถ้อยร้อยกรองไทย ครั้งที่ ๒” ตลอดจนการเผยแพร่วีดิทัศน์ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยของสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย โดยจะมีการมอบเกียรติบัตรให้แก่สถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยที่ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยด้วย นอกจากนี้ ยังมีนิทรรศการเผยแพร่ประวัติและผลงานของผู้ได้รับรางวัลภาษาไทย ในประเภทต่าง ๆ รวมถึงการแสดงทางวัฒนธรรม การขับร้องบทเพลงโดยศิลปินชื่อดังผู้ได้รับรางวัลเพชรในเพลง อีกด้วย


         เศียรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พบที่เจดีย์หมายเลข ๑๓ เมืองโบราณอู่ทอง ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องจัดแสดงเมืองโบราณอู่ทอง อาคารจัดแสดง ๒ ชั้น ๑ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง          ชิ้นส่วนเศียรรูปเคารพสำริด มีพระเกศาทรงชฎามกุฎ เป็นผมเกล้าทรงสูงโดยถักเป็นมวย และปล่อยเส้นผมตกลงมาบางส่วน ด้านหน้าของมวยผมมีรูปบุคคลนั่งอยู่ในท่าสมาธิแต่รายละเอียดค่อนข้างลบเลือน พระพักตร์ยาว พระขนงต่อเป็นเส้นคล้ายปีกกา พระเนตรทั้ง ๒ เหลือบต่ำ พระนาสิกยาว โด่งเป็นสัน พระโอษฐ์อวบอิ่ม พระหนุสั้น พระกรรณทั้ง ๒ ยาว รูปแบบทางศิลปกรรมของเศียรพระโพธิสัตว์นี้ มีความสัมพันธ์กับรูปแบบพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งพบเป็นจำนวนมากในศิลปะศรีวิชัย ที่เจริญอยู่บริเวณคาบสมุทรภาคใต้ของไทยในช่วงเวลาเดียวกันนั้น จึงกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๕  หรือประมาณ ๑,๑๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว          เศียรประติมกรรมชิ้นดังกล่าวนี้ มีพระเกศาทรงทรงชฎามกุฎ ซึ่งมักปรากฏกับประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์ในศาสนาพุทธมหายาน และรูปนักบวชในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ประกอบกับรูปบุคคลที่อยู่ในท่านั่งสมาธิน่าจะหมายถึง พระพุทธเจ้าอมิตาภะ ซึ่งเป็น ๑ ในพระธยานิพุทธ ๕ พระองค์ ตามความเชื่อของพุทธศาสนามหายาน โดยพระพุทธเจ้าอมิตาภะจะปรากฏในรูปของพระพุทธเจ้าทำปางสมาธิ ดังนั้นสันนิษฐานว่าเศียรประติมากรรมชิ้นดังกล่าวคือรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เช่นเดียวกับประติมากรรมพระโพธิสัตว์ปัทมปาณิ หรือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งพบในเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี นอกจากนั้นยังมีการพบประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์ในเมืองโบราณวัฒนธรรมทวารวดีอีกหลายแห่ง เช่น เมืองโบราณคูบัว จังหวัดราชบุรี และเมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นต้น     เอกสารอ้างอิง กาญจนา การะเกตุ. “พระโพธิสัตว์ที่พบในเมืองโบราณสมัยทวารวดีที่ตั้งอยู่ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก.” การค้นคว้าอิสระตามหลักสูตรปริญญาศิลปาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์  ภาควิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๔. เชษฐ์ ติงสัญชลี. ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๐.. ศิลปะไทย ภายใต้แรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดียแบบปาละ. นนทบุรี : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด, ๒๕๕๘. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.  


ชื่อเรื่อง                      ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏธกถา ขุทฺทกนิกายฏธกถ (ธมฺมปทขั้นปลาย)อย.บ.                           240/8หมวดหมู่                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ               54 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ; ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                        พุทธ                                      ศาสนา                                                           บทคัดย่อ/บันทึก     เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ


#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่านเรื่อง "ไหว้พระธาตุ ๘ จอม นครน่าน"๑. พระธาตุจอมกิตติ อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน๒. พระธาตุจอมทอง อำเภอปัว จังหวัดน่าน๓. พระธาตุจอมแจ้ง อำเภอปัว จังหวัดน่าน๔. พระธาตุจอมพริก อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน๕. พระธาตุจอมนาง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน๖. พระธาตุจอมแจ้ง (หนองหยิบ) อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน๗. พระธาตุจอมแจ้ง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน๘. พระธาตุจอมแจ้ง อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน


ชื่อเรื่อง                     ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ เล่ม 2 ภาค 7-13ผู้แต่ง                       องค์การค้าของคุรุสภาประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ประเพณี ขนบธรรมเนียม คติชนวิทยาเลขหมู่                      390.09593 ห391ลสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์คุรุสภาปีที่พิมพ์                    2504ลักษณะวัสดุ               340 หน้าหัวเรื่อง                     พิธีศาสนาและพิธีกรรมภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกกล่าวถึงประเพณี พิธีต่างๆ อธิบายหมายรับสั่งเรื่องรับเซอร์ยอนเบาริง ตำรากระบวนเสด็จครั้งกรุงเก่า กระบวนเสด็จพระพุทธบาทและพระราชพิธีต่าง ๆ ภาค 7-13 รวม 7 ภาค  


           สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา ขอเชิญฟังการเสวนาทางวิชาการ "สุดยอดการค้นพบใหม่" ในทศวรรษที่ผ่านมาของกรมศิลปากร เขตพื้นที่สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา ในหัวข้อ "คติการวางศิลาฤกษ์ปราสาทในวัฒนธรรมเขมรโบราณ" ในวันพุธที่ 3 เมษายน 2567 เวลา 13.30 - 15.30 น. ณ ห้องประชุมดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ  ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมฟังการเสวนาได้โดยการแสกน QR Code สอบถามเพิ่มเติมได้ทาง Facebook : สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา กรมศิลปากร


อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ขอเผยแพร่ องค์ความรู้ประจำเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๖ เรื่อง "ทวารบาลวัดเขาสุวรรณคีรี เมืองศรีสัชนาลัย"   ทวารบาล มาจากคำว่า ทวาร หมายถึง ประตู ส่วนคำว่า บาล หมายถึง การเลี้ยง รักษา ปกครอง และเมื่อแปลรวมกันคำว่า “ทวารบาล” จึงหมายถึง ผู้รักษาประตู หรือผู้รักษาช่อง  โดยทวารบาลมีหน้าที่ปกป้องรักษาไม่ให้สิ่งชั่วร้าย หรือสิ่งไม่ดีเข้ามาภายในศาสนสถานได้  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรง ราชานุภาพ ได้กล่าวถึงที่มาของทวารบาลไว้ในหนังสือสาส์นสมเด็จ ว่า “มนุษย์ย่อมต้องมีเครื่องป้องกันภัย อย่างต่ำมีประตูบ้านเรือน ต่อขึ้นมาถึงมีคนเฝ้าประตูบ้านเรือน ต่อขึ้นมาถึงเลือกสรรคนกล้าแข็งรักษาประตู  ต่อขึ้นมาถึงผู้เป็นอัจฉริยบุรุษ อาจจะหัดสัตว์ร้ายให้รักษาประตูได้ มูลเหตุนี้เองที่เลยมาเป็นรูปภาพ แล้วถึงแต่ชื่อสิงห์ก็นับว่าเป็นเกียรติยศอย่างสูง”    เมืองศรีสัชนาลัย ปรากฏประติมากรรมทวารบาลทั้งรูปบุคคล และรูปสัตว์ ที่วัดเขาสุวรรณคีรี บริเวณซุ้มประตูทางเข้าศาสนสถานทางด้านตะวันตก ด้านหลังของเจดีย์ประธาน โดยพบชิ้นส่วนของโกลนศิลาแลงรูปบุคคลยืนในลักษณะเข่าแยกออกจากกัน และชิ้นส่วนปูนปั้นรูปสิงห์ โดยประติมากรรมดังกล่าวทำหน้าที่เป็นทวารบาลตามคติความเชื่อตั้งแต่สมัยโบราณ ที่มีความเชื่อเกี่ยวกับภูต ผี ปีศาจ และพลังอันลึกลับเหนือธรรมชาติที่มองไม่เห็น ทั้งดี และร้าย โดยสถานที่สำคัญ หรือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์จะมีสิ่งที่คอยปกปักษ์รักษาเพื่อที่จะไม่ให้สิ่งไม่ดีเข้าไปยังที่แห่งนั้นได้ ด้วยการนำรูปยักษ์ รูปอสูร หรือแม้แต่รูปเทวดา ที่มีลักษณะน่ากลัวเป็นที่  น่าเกรงขามแก่เหล่าภูต ผี และปีศาจ ไปติดตั้งไว้ตามบริเวณช่องประตู บานหน้าต่าง หรือราวบันได โดยรูปยักษ์ รูปอสูร หรือแม้แต่รูปเทวดาจะถูกนำเสนอผ่านงานศิลปกรรมต่าง ๆ เช่น งานปั้น งานแกะสลักหรือแม้แต่งานจิตรกรรม เป็นต้น และถูกเรียกว่า “ทวารบาล”เอกสารอ้างอิงวิทยานิพนธ์ณวลพักตร์ พิมลมาศ. คติความเชื่อและรูปแบบทวารบาลไทย-จีน สมัยรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 3) กรณีศึกษาวัดสุวรรณารามและวัดราชโอรสาราม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ศิลปากร, 2549.เชาว์ เภรีจิต. สัตว์ประดับและบริวารของทวารบาล: ที่มา คติการสร้าง รูปแบบและพัฒนาการ จากสมัยอยุธยาตอนปลายถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ศิลปากร, 2556.ระพี เปรมสอน. จากทวารบาลแบบประเพณีมาสู่ทวารบาลแบบจีนในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ ศิลปากร, 2555.ออนไลน์ทวารบาล ผู้พิทักษ์ศาสนสถานเมืองกำแพงเพชร, อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. สืบค้นจาก https://www.finearts.go.th/kamphaengphethistor.../view/34671. (เข้าถึงวันที่ 10 มิถุนายน 2566).


         ภาพปูนปั้นรูปท้าวกุเวร          - ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔)          - ปูนปั้น และดินเผา          - ขนาด กว้าง ๘๘ ซม. สูง ๘๓ ซม.          เดิมประดับที่ฐานลานประทักษิณด้านทิศใต้ของเจดีย์จุลประโทน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑ รูปบุรุษในท่านั่งชันเข่า พุงใหญ่พลุ้ย สวมใส่เครื่องประดับ สามารถตีความได้ว่าคือท้าวกุเวรในศาสนาพุทธ รู้จักในนามท้าวชุมพลหรือชัมภล ถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง เนื่องจากมีประภามณฑล หรือรัศมีอยู่เบื้องหลัง   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40058   ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th


           หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ขอเชิญผู้สนใจร่วมรับฟังการเสวนาวิชาการ เรื่อง "มรดกกรมศิลป์ : Fine Arts Collection" วิทยากรโดย นายชินณวุฒิ วิลยาลัย ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่, นางสาวปุณณภา สุขสาคร ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ และนางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ดำเนินรายการโดย นายวีระยุทธ ไตรสูงเนิน นักจดหมายเหตุชำนาญการ พร้อมจัดแสดงทรัพยากรสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรมด้านภูมิปัญญาทางภาคเหนือของกรมศิลปากร วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2567 เวลา 14.00 - 15.00 น. ณ เชียงใหม่ฮอล์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลแอร์พอร์ต เชียงใหม่


พรรณไม้ในศิลาจารึกหลักที่ ๑.          ศิลาจารึกหลักที่ ๑ เป็นศิลาจารึกหลักแรกที่ใช้ตัวอักษรไทยและภาษาไทย ถูกพบโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๖ บริเวณเนินปราสาท โดยพบร่วมกันกับพระแท่นมนังคศิลาบาตร โดยเนื้อความในศิลาจารึกเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติของพ่อขุนรามคำแหง ตั้งแต่ประสูติจนได้เสวยราชสมบัติ ธรรมเนียมในเมืองสุโขทัย คำสรรเสริญยอพระเกียรติของพ่อขุนรามคำแหง และอาณาเขตเมืองสุโขทัยที่แผ่ออกไป           นับว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่แสดงเห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสุโขทัยในอดีต โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศให้ศิลาจารึกหลักที่ ๑ เป็นมรดกความทรงจำของโลก (The Memory of the World Register) นอกจากเนื้อความที่กล่าวถึงข้างต้นแล้วยังปรากฏชื่อของพรรณไม้ในสมัยสุโขทัยอีกด้วย ดังนี้           หมากส้ม หมายถึง ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๒ – ๑๓ ความว่า “...เนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้ม หมากหวาน อันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู...”          หมากหวาน หมายถึง ผลไม้ที่มีรสหวาน ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๒ – ๑๓ ความว่า “...เนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้ม หมากหวาน อันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู...”          ข้าว ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๘ - ๑๙ ความว่า “…เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง  เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว...”          หมาก ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๓ ความว่า “…ป่าหมากป่าพลูพ่อเชื้อมัน ไว้แก่ ลูกมันสิ้นไพร่ฟ้า...” ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๓๔ ความว่า “…มีทะเลหลวง มีป่าหมากป่าพลู...”          พลู ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๓ ความว่า “…ป่าหมากป่าพลูพ่อเชื้อมัน ไว้แก่ ลูกมันสิ้นไพร่ฟ้า...” ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๓๔ ความว่า “…มีทะเลหลวง มีป่าหมากป่าพลู...”          มะพร้าว เป็นพืชเขตร้อนที่ให้ประโยชน์แก่สัตว์และมนุษย์แทบทุกส่วน ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๒ ความว่า “…เมืองสุโขทัยนี้ มีตลาดปสาน มีพระอจนะ มีปราสาทมีหมากพร้าว...” และด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๕ “…มีป่าพร้าว ป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม...”           หมากลาง ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่าเป็นพืชชนิดใด โดยนักวิชาการสันนิษฐานว่า หมากลาง น่าจะหมายถึง ขนุน เป็นคำไทยใหญ่ ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชียใต้ บริเวณประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ แต่นายพิทูร มลิวัลย์สันนิษฐานว่า หมากลาง น่าจะหมายถึงต้นไม้ชนิดหนึ่งจำพวกปาล์ม ที่พบอยู่ในพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีลักษณะคล้ายมะพร้าว ผลมีรสหวานโดยเฉพาะส่วนกาบ ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๒ – ๓ ความว่า “…ป่าลาง มีไร่ มีนา มีถิ่นถาน...” และด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๕ ความว่า “…มีป่าพร้าว ป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม...”           มะม่วง เป็นพรรณพืชที่เกิดในเขตร้อน นักพฤกษศาสตร์เชื่อว่ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๓๕ ความว่า “…มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก มีป่าม่วง…” ด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๕ ความว่า “…มีป่าพร้าว ป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม...”           มะขาม เป็นไม้เขตร้อนมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา ในแถบประเทศซูดาน ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๓๕ ความว่า “…มีป่าขาม ดูงามดังแกล้...” และด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๕ ความว่า “…มีป่าพร้าว ป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม...”           ต้นตาล ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๑๐ - ๑๓ ความว่า “..พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยนี้ ปลูกไม้ตาลนี้ ได้สิบสี่เข้า จึงให้ช่างฟันขดานหินตั้งหว่าง กลางไม้ตาลนี้ วันเดือนดับเดือนโอก แปดวัน...” และด้านที่ ๓ บรรทัด ๒๔ - ๒๕ ความว่า “…มีในถ้ำรัตนธาร ในกลางป่าตาลมีศาลาสองอัน...”          ปัจจุบัน ต้นไม้ที่ปรากฏภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นต้นไม้ที่ปลูกขึ้นในช่วงที่มีการดำเนินการพัฒนาเมืองโบราณสุโขทัยให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นโครงการที่มีเป้าหมายเพื่ออนุรักษ์โบราณสถานของเมืองสุโขทัยไว้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์และอารยธรรม โดยอ้างอิงจากพรรณไม้ที่ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย.อ้างอิง          กรมศิลปากร. (๒๕๔๗). ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ๑ จารึกพ่อขุนรามคำแหง. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด. เข้าถึงเมื่อ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๗. เข้าถึงได้จากhttp://164.115.27.97/.../fc038bc8986859d9600f3ba9795d9a22...          ประโชติ สังขนุกิจ. (๒๕๖๗). บันทึกสุโขทัย ในวัยสนธยา. พิษณุโลก: โฟกัสมาสเตอร์พริ้นท์.           ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). จารึกพ่อขุนรามคำแหง. เข้าถึงเมื่อ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๗. เข้าถึงได้จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/47


           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ขอเชิญผู้ประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ ร่วมโครงการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการด้านศิลปะ ประวัติศาสตร์และโบราณคดี เรื่อง “การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโบราณวัตถุที่จัดแสดงภายในอาคารเครื่องทองอยุธยาสำหรับมัคคุเทศก์มืออาชีพ” ในวันพุธที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๖๗ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ อาคารเครื่องทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ เมื่อจบการอบรมผู้เข้าร่วมอบรมทุกท่านจะได้รับใบประกาศนียบัตรจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา                ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมฯ ทาง Qr code ไม่เสียค่าใช้จ่าย (ฟรี) รับจำนวนจำกัดเพียง ๕๐ ท่าน โดยจะประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม ในวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๗  


Messenger