ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวงเป็นวาระสุดท้ายแห่งการบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระเกียรติยศและแสดงความจงรักภักดี สนองพระกรุณาธิคุณพระบรมวงศ์สำคัญผู้มีพระคุณอนันต์แก่แผ่นดิน น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายตามโบราณราชประเพณี
ชื่อเรื่อง ฌาปนกิจฺจานิสํสกถา (อานิสงส์เผาศพ)สพ.บ. 175/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 32 หน้า กว้าง 4.7 ซ.ม. ยาว 54.9 ซ.ม. หัวเรื่อง อานิสงส์เผาศพบทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ภาษาบาลี-ไทย ฉบับลานดิบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง เทศนาสุนันทราชชาดก (สุนันทราชชาดก)สพ.บ. 120/1คประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 32 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 5ุ4 ซ.ม. หัวเรื่อง นิทานคติธรรมทางพุทธศาสนา ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี
ชายฝั่งทะเลอันดามัน ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมาลายู บริเวณภาคใต้ของประเทศไทย มีลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสมุทร คือเป็นพื้นดินแคบ ๆ ทอดตัวออกไปในแนวเหนือใต้ โดยมีทะเลขนาบทั้งสองฝั่ง ฝั่งตะวันตกคือทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดีย และฝั่งตะวันออกคือทะเลอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีการค้นพบร่องรอยวิวัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่สมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่นแหล่งโบราณคดี ถ้ำหลังโรงเรียน จังหวัดกระบี่ ที่สามารถกำหนดอายุได้ถึง ๔๐,๐๐๐-๓๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว ( สุรพล นาถะพินธุ ๒๕๕๐ : ๒๔ ) จนเข้าสู่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ด้วยชายฝั่งทะเลอันดามันตั้งอยู่บนพื้นที่ที่เป็นชัยภูมิสำคัญของเส้นทางสายไหมทางทะเลจึงมีปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงให้เห็นถึงการติดต่อค้าขายกันระหว่างชาติตะวันออกอย่างประเทศจีน กับชาติตะวันตกอย่างประเทศอินเดีย และอาหรับ-เปอร์เชีย มีความเจริญรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๕ – ๑๔ โดยมีข้อสันนิษฐานจากนักประวัติศาสตร์โบราณคดีว่าบริเวณชายฝั่งอันดามันอาจจะเป็นที่ตั้งของเมือง “เกอหลัว/ตักโกลา” ตามที่มีปรากฏในหลักฐานเอกสารโบราณ ( อมราศีสุชาติ ๒๕๕๗ : ๑๑๕ ) จากการเข้ามาติดต่อค้าขายของอินเดีย ทำให้พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เช่นจารึกภาษาทมิฬ อักษรปัลลวะ เทวรูปพระวิษณุ และหลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงถึงการเข้ามาของกลุ่มคนที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ในไวษณพนิกาย ไวษณพนิกาย คือนิกายหนึ่งของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีการนับถือพระวิษณุเป็นเทพเจ้าสูงสุด แพร่หลายในอินเดียตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๕ – ๖ เน้นความภักดีด้วยวิธีง่าย ๆ ไม่ผ่านพิธีกรรมบูชายัญ ( จีราวรรณ แสงเพ็ชร์ ๒๕๖๑ : ๗๒) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถพบเทวรูปพระวิษณุได้ตามเมืองท่าสำคัญต่าง ๆ ในประเทศไทยพบหลักฐานเทวรูปรุ่นเก่าพระวิษณุสี่กร ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙ – ๑๐ จากวัดศาลาทึง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ศิลปะอินเดียเก่าก่อนสมัยคุปตะ แต่มีลักษณ์พื้นเมืองเด่นชัดยิ่งกว่าสุนทรียภาพของต้นแบบ เทวรูปพระวิษณุองค์นี้ยังถือเป็นเทวรูปฮินดูรูปแบบศิลปะอินเดียใต้ ที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในประเทศไทย ( สันติ เล็กสุขุม ๒๕๕๔ : ๔๖ ) และอาจเก่าถึงช่วงศิลปะมธุราตอนปลาย และศิลปะอมราวดี ซึ่งมีความเจริญในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๗ – ๙ ( จีราวรรณ แสงเพ็ชร์ ๒๕๖๑ : ๗๓ ) จากการศึกษาของ ดร.จิราวรรณ แสงเพ็ชร์ ปี ๒๕๖๑ ในหัวข้อ “พระวิษณุจากหลักฐานโบราณคดีและประวัติศิลปะในประเทศไทย ช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙” สามารถจัดจำแนกความสัมพันธ์ระหว่างพระวิษณุในประเทศไทยกับพระวิษณุในศิลปะอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ออกเป็น ๕ รูปแบบด้วยกัน ในส่วนของพระวิษณุที่พบบนฝั่งทะเลอันดามัน สามารถแบ่งได้สองรูปแบบ คือรูปแบบแรกเป็นรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลศิลปะหลังคุปตะสมัยราชวงศ์ปัลลวะ ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๔ ผสมผสานกับลักษณะท้องถิ่น ในรูปแบบนี้พระวิษณุจะสวมกิรีฏมกุฎเรียบไม่มีลาย นุ่งผ้าโธตียาว ไม่คาดเข็มขัดผ้ากฏิสูตร รวมทั้งการจำหลักกล้ามที่เหมือนจริงตามหลักกายวิภาค แสดงให้เห็นถึงความเป็นท้องถิ่นตัวอย่างเช่น พระวิษณุ จากเขาพระเหนอ อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ รูปแบบที่สองเป็นรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลศิลปะสมัยราชวงศ์ปัลลวะตอนปลาย ถึงสมัยต้นของราชวงศ์โจฬะ หรือราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๗ ในรูปแบบนี้พระวิษณุจะสวมกิรีฏมกุฎทรงสูงจำหลักลวดลาย เป็นประติมากรรมนูนสูงขนาดใหญ่ พระหัตถ์ขวาล่างแสดงปางประทานอภัย พระหัตถ์ซ้ายล่างจับที่พระโสณี(สะโพก) ทรงถืออาวุธในพระหัตถ์ขวาบนและซ้ายบน คือจักรและสังข์ นุ่งผ้าโธตียาว คาดกฏิสูตรและเข็มขัด ที่มีการตกแต่งอย่างประณีต ตัวอย่างเช่น พระวิษณุจากเขาพระนารายณ์ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา ปัจจุบัน จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งลักษณะประติมานดังกล่าวเป็นไปตามหลักของคัมภีร์ ศิลปศาสตร์ภาษาสันสกฤตของอินเดียใต้ ได้แก่คัมภีร์อังศุมัทเภทาคม และคัมภีร์สุประเภทาคม ( เชษฐ์ ติงสัญชลี ๒๕๕๙ : ๖๓ ) ซึ่งต่อมาได้มีการผสมผสานกันระหว่างศิลปะแบบอินเดียเหนือ คือศิลปะปาละตอนต้น ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔ จนกลายเป็นเอกลักษณะเฉพาะของศิลปะชวาภาคกลาง และอาจเป็นไปได้ที่จะตรงกับประติมากรรมในศิลปะศรีวิชัยทางภาคใต้ของประเทศไทย ( เชษฐ์ ติงสัญชลี ๒๕๕๘ : ๑๘๙ ) พระวิษณุจากเขาพระนารายณ์ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา จึงเป็นพระวิษณุในรูปแบบ ศิลปะอินเดียใต้ ปัลลวะ-โจฬะ ที่ค่อนข้างมีความสำคัญที่พบบนฝั่งทะเลอันดามัน และพบเพียงองค์เดียว ในประเทศไทย ที่อาจบอกเล่าเรื่องราวได้มากกว่าการเข้ามาของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ในช่วงเวลาดังกล่าว พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง จังหวัดภูเก็ต สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๓ ได้จัดให้มีการเสวนา ทางวิชาการเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ในหัวข้อ “พระวิษณุกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู บนฝั่งทะเลอันดามัน” โดยมุ่งเน้นให้มีการเสวนาในเรืองหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดี ประวัติศาสตร์-ศิลปะ ของพระวิษณุช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๗ บนคาบสมุทรมาลายู และฝั่งทะเลอันดามัน เพื่ออธิบายความสำคัญของเมืองท่าโบราณบนฝั่งทะเลอันดามัน รวมไปถึงรูปแบบทางประติมานวิทยาของพระวิษณุ จากเขาพระนารายณ์ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา ตามคัมภีร์ศิลปศาสตร์ภาษาสันสกฤต การรับและส่งต่ออิทธิพลต่อรูปแบบศิลปะอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และคติการบูชาพระวิษณุจากอินเดียสู่คาบสมุทรมาลายู เพื่อเป็นฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ บนฝั่งทะเลอันดามัน และคาบสมุทรมาลายูต่อไป-----------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
เลขทะเบียน : นพ.บ.141/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4.5 x 50.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 84 (334-339) ผูก 3 (2564)หัวเรื่อง : ปุณฺณปทสังคหะ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง หม่อมเจ้าวงศนิชร เทวกุล
ชื่อเรื่อง ลำดับราชสกุล เทวกุล รวมทั้งราชสกุลและสกุลอื่นๆที่เกี่ยวเนื่อง
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งแรก
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ตีรณสาร
ปีที่พิมพ์ 2513
จำนวนหน้า 72
หมายเหตุ พิม์ในงานพระราชพระราชทานเพลิงศพพลตรี หม่อมเจ้าปรีดีเทพย์พงษ์ เทวกุล
ลำดับราชสกุลเล่มนี้เป็นชุดที่ทำการรวบรวมรายพระนามและนามสมาชิกในราชสกุลเทวกุล รวบรวมจากหลักฐานหลายเล่มประกอบด้วยฉบับที่สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการทรงบันทึกไว้ฉบับที่พลตรีหม่อมเจ้าปรีดิแทพย์พงษ์ เทวกุลจัดทำ ฉบับนที่โอรสและธิดาของหม่อมใหญ่เทวกุล ณ อยุธยาทรงรวบรวมตอนต้นนำเสนอประวัติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ องค์ต้นราชสกุลเทวกุล
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.10/1-5
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
แผ่นอิฐเขียนสีรูปเจดีย์ทรงหม้อน้ำ จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
แผ่นอิฐทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างประมาณ ๑๕ เซนติเมตร ยาว ๓๓ เซนติเมตร หนา ๗ เซนติเมตร อิฐเนื้อละเอียด ผิวด้านหน้าและด้านข้างขัดมัน เห็นร่องรอยแกลบข้าวในเนื้ออิฐ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของอิฐในสมัยทวารวดี ส่วนล่างมุมด้านซ้ายหักหายไป ด้านหลังและด้านข้างของอิฐมีร่องรอยปูนติดอยู่
อิฐแผ่นนี้ผลิตขึ้นด้วยความประณีตแตกต่างจากอิฐที่ใช้ในการก่อสร้างทั่วไป โดยมีการตกแต่งพื้นผิวด้านหน้าด้วยการเขียนภาพเจดีย์ทรงหม้อน้ำตามแนวตั้งของอิฐด้วยสีดำและสีขาว ภาพเจดีย์มีองค์ระฆังกลมคล้ายหม้อน้ำ ส่วนยอดเป็นทรงกรวยตกแต่งด้วยใบฉัตร ซึ่งเป็นลักษณะเจดีย์ที่พบทั่วไปตามเมืองโบราณสมัยทวารวดี ทั้งส่วนยอดเจดีย์ศิลาและปูนปั้น เจดีย์สำริดจำลอง รูปสลักบนใบเสมาและพระพิมพ์ สามารถกำหนดอายุอยู่ในสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖ (ประมาณ ๑,๐๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว)
ภาพเจดีย์ทรงหม้อน้ำที่เขียนลงบนแผ่นอิฐนี้ น่าจะหมายถึงสัญลักษณ์มงคล ได้แก่ “กลศ” หรือ “ปูรณฆฏะ” เพื่อสื่อถึงความอุดสมสมบูรณ์และความเป็นศูนย์กลางจักรวาล จึงสันนิษฐานว่าอิฐแผ่นนี้ทำหน้าที่เป็นอิฐฤกษ์ ใช้ในการประกอบพิธีกรรมเมื่อเริ่มก่อสร้างศาสนสถาน เพื่อให้พื้นที่เกิดความเป็นสิริมงคลและความศักดิ์สิทธิ์ คติการวางฤกษ์ปรากฏในอินเดียและส่งอิทธิพลให้สมัยทวารวดี ปรากฏหลักฐานการวางฤกษ์ที่โบราณสถานในเมืองโบราณสมัยทวารวดีหลายแห่ง เช่น โบราณสถานที่เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี เจดีย์จุลประโทน จังหวัดนครปฐม โบราณสถานที่บ้านคูเมือง จังหวัดสิงห์บุรี และเจดีย์หมายเลข ๑ เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นต้น
นอกจากแผ่นอิฐเขียนสีรูปเจดีย์ทรงหม้อน้ำแผ่นนี้แล้ว ยังพบอิฐฤกษ์รูปแบบอื่น ๆ ที่มีเนื้อละเอียด ผิวขัดมัน ผลิตด้วยความประณีต มีการตกแต่งผิวหน้าอิฐด้วยการปิดทองคำเปลว การเขียนรูปลายเรขาคณิตหรือลวดลายมงคลอื่นๆ ด้วยสีแดง ขาว และดำ รวมถึงการจำหลักอิฐเป็นภาพนูนสูงลายเรขาคณิตและลวดลายอื่นๆ ด้วย
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕.
นิตยา กนกมงคล. “สถูปทรงหม้อน้ำ ศิลปะทวารวดีที่พบในเขตภาคกลางของประเทศไทย”. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย ศิลปากร, ๒๕๔๗.
วิภาดา อ่อนวิมล. “อิฐมีลวดลายในสมัยทวารวดี”. เอกสารการศึกษาเฉพาะบุคคล ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๖.
พระพุทธรูปปางมารวิชัย
ศิลปะสุโขทัย ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๐ หรือประมาณ ๖๐๐ ปีมาแล้ว
สำริด
สูงพร้อมฐาน ๑๐๐ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๗๕ เซนติเมตร
เป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ รับมาจากกรมคลัง กระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิบนฐานเรียบ พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่งงุ้ม ขมวดพระเกศาเป็นรูปก้นหอยขนาดใหญ่ พระรัศมีเป็นเปลว พระอังสากว้าง บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียง ชายจีวรยาวจรดพระนาภีปลายเป็นรูปเขี้ยวตะขาบ
ฐานด้านหน้ามีจารึกอักษรสุโขทัย ภาษาไทย ความว่า “พระพุทธรูปองค์นี้ ทิดไสหง นางแก้ว เป็นผู้สร้าง” แต่ไม่ระบุปีที่สร้าง ลักษณะพระพุทธรูปสามารถเปรียบเทียบกับพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยที่พระระเบียงวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีจารึกที่ฐานว่าสร้างในพ.ศ. ๑๙๖๕ แล้ว จึงสันนิษฐานว่า พระพุทธรูปองค์นี้คงสร้างขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน
ปัจจุบันพระพุทธรูปปางมารวิชัย องค์นี้จัดแสดงในห้องประวัติศาสตร์และโบราณคดีสุโขทัย อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร