ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
ชื่อเรื่อง ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏธกถา ขุทฺทกนิกายฏธกถ (ธมฺมปทขั้นปลาย)อย.บ. 240/9หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 56 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ; ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง พุทธ ศาสนา บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยชุมชนโบราณ และมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยเหล็ก บริเวณต้นลำน้ำชี ในเขตพื้นที่อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ
องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านตั๋วเมืองน่ารู้...ร่วมอนุรักษ์และสืบสานอักษรธรรมล้านนา"พระเจ้าน่าน" หรือ พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ ๖๓--- พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เป็นโอรสของเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้าผู้ครองนครเมืองน่านกับแม่เจ้าสุนันทา ประสูติเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๓๗๔ (จุลศักราช ๑๑๙๓ ตรงกับรัชกาลที่ ๓)--- พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ รับราชการเรื่อยมาจนกระทั่งในปีพุทธศักราช ๒๓๙๘ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นพระยาราชวงษ์ ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๓๐ เจ้าอุปราชเกิดโรคลมปัจจุบันถึงแก่อนิจกรรม จึงมีพระบรมราชานุญาตแต่งตั้งให้เจ้าราชวงศ์ว่าราชการในตำแหน่งเจ้าอุปราชเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ร.ศ.๑๐๘ (พุทธศักราช ๒๔๓๒) --- จนกระทั่งในปีพุทธศักราช ๒๔๓๔ เจ้าอนัตวรฤทธิเดช ถึงแก่พิราลัยเมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ร.ศ.๑๑๐ เวลา ๑๑ ทุ่ม กรมการเมืองน่านได้พร้อมกันทำขวดใส่ศพไว้ตามธรรมเนียม ในการนั้นเจ้าอุปราชหอหน้าและพระยาสุนทรนุรักษ์ข้าหลวงใหญ่ประจำเมือง และเจ้าราชวงศ์เสนาอำมาตย์ได้กะเกณฑ์ไพร่พลบ้านเมืองให้สร้างพระเมรุหลวงหลังใหญ่ที่ข่วงดอนไชยลุ่ม วัดหัวเวียง ต่อมาได้อัญเชิญพระบรมศพของเจ้าอนัตวรฤทธิเดชลงจากหอคำราชโรงหลวงเพื่อไปถวายพระเพลิงเมื่อวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ จุลศักราช ๑๒๕๕ (พุทธศักราช ๒๔๓๖) --- ปีพุทธศักราช ๒๔๓๔ ภายหลังเสร็จจากงานพระเมรุเจ้าอนันตวรฤทธิเดชแล้ว เจ้าอุปราชหอหน้าก็เสด็จลงไปทูลเกล้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ที่กรุงเทพฯ ถวายเครื่องราชบรรณาการ ในการนั้นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระมหากรุณาโปรดเกล้าให้แต่งตั้งเจ้าอุปราชหอหน้าเป็นเจ้านครเมืองน่าน พระราชทานนามว่า “เจ้าสุริยพงศ์ผริตเดชกุลเชษฐมหันต์ไชยนันทบุรมหาราชวงศาธิบดี เจ้านครเมืองน่าน” แล้วพระราชทานเครื่องยศ คือพานหมากคำ เครื่องในคำทั้งมวล กระโถนคำ คนโทคำ พระมหามาลาหมวกจิกคำ กับเสื้อผ้าเครื่องครัวทั้งมวล ครั้นเสร็จราชกิจแล้วก็กราบทูลลาพระมหากษัตริย์เจ้ากลับขึ้นมาเมืองน่าน จากนั้นพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ได้ปกครองบ้านเมืองด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โอบอ้อมอารี เป็นที่นิยมนับถือทั้งในหมู่เจ้านายและราษฎร อีกทั้งมีความจงรักภักดีปฏิบัติราชการด้วยความเข้มแข็งอย่างสม่ำเสมอ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการให้สถาปนาเลื่อนฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็นพระเจ้านครเมืองน่าน มีนามตามจาฤกในสุพรรณบัตร์ว่า “พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช กุลเชษฐ์มหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงษาธิบดี สุจริตจารีราชานุภารักษ์ วิบูลยศักดิกิติไพศาล ภูบาลพิตร์ สถิตย์ ณนันทราชวงษ์ พระเจ้านครเมืองน่าน” เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๔๖--- พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ถึงแก่พิราลัย ในวันที่ ๕ เมษายน ๒๔๖๑ ด้วยโรคชรา อายุได้ ๘๗ ปี #พระเจ้าน่าน #พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน #อักษรธรรมล้านนา #องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน
กรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จัดกิจกรรมสุดพิเศษ “Night at The Palace ย้อนเวลา ชมวัง 4 ศตวรรษ พระราชวังจันทรเกษม” เพื่อให้ทุกท่านยลโฉมความงามของโบราณสถานสำคัญอันเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราชในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในช่วงเวลาค่ำคืน พร้อมด้วยกิจกรรมอีกมากมาย โดยเปิดให้เข้าชมพระราชวังจันทรเกษม ตั้งแต่เวลา 16.30 - 21.00 น. (ซื้อบัตรเข้าชมได้ถึงเวลา 20.30 น.)
พระราชวังจันทรเกษม เป็นพระราชวังเดิมตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2120 เพื่อใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวร และในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมเพื่อใช้เป็นที่ประทับแปรพระราชฐาน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้เป็น “ที่ว่าการมณฑลเทศาภิบาล” ซึ่งพระราชวังจันทรเกษม นับเป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนภูมิภาคแห่งแรก ก่อตั้งโดยพระยาโบราณราชธานินทร์ เรียกชื่อว่า โบราณพิพิธภัณฑ์ อยุธยาพิพิธภัณฑสถาน และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม ตามลำดับ
ภายในงานมีกิจกรรมพิเศษ ประกอบด้วย
- กิจกรรมนำชมพระราชวังสุดพิเศษ "นำชม รอบเปิดวัง" ในวันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 18.30 น. เป็นต้นไป
- กิจกรรม “ย้อนเวลา ชมวัง” เชิญชวนแต่งชุดไทยเข้าชมพระราชวัง
- กิจกรรม “ชวน ชม ชิม” ฉลองเดือนแห่งความรักที่วังจันทน์
- กิจกรรม “ชาววัง ชวนขึ้นหอ” ชมทิวทัศน์อยุธยา บนหอสังเกตการณ์ยุคแรกของสยาม
- กิจกรรม “สายมู ยูต้องมา” สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำวัง
ขอเชิญชวนทุกท่านเที่ยวชมโบราณสถานยามค่ำ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมแต่งชุดไทย “ชม ชิด แชะ”ถ่ายรูปกับมุมสวยๆ ภายในพระราชวังจันทรเกษม เริ่มวันที่ 2 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน 2567 ทุกวันศุกร์ เสาร์และอาทิตย์ อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท (ผู้พิการ และชาวไทยผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี เข้าชมฟรี) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 0 3525 1586 E-mail : wangchantra@gmail.com
ปราสาทบ้านบุใหญ่
ปราสาทบ้านบุใหญ่ ตั้งอยู่ที่บ้านบุใหญ่ หมู่ที่ ๗ ตำบลสูงเนิน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
ปราสาทบ้านบุใหญ่ เป็นปราสาทก่อด้วยหินทรายทั้งหลัง ส่วนมากใช้หินทรายสีขาว หรือเทาเป็นวัสดุหลัก โดยใช้หินทรายสีแดงเป็นบางส่วน โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ทับหลัง ซึ่งมีการจัดองค์ประกอบสำคัญคือ มีหน้ากาลอยู่ด้านล่างคายท่อนพวงมาลัยเป็นกรอบ สี่เหลี่ยม ด้านบนและด้านใต้ท่อนพวงมาลัยมีลายใบไม้ อันเป็นลักษณะของทับหลังแบบ บาปวน กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๗ (ประมาณ ๑,๐๐๐ - ๙๐๐ ปีมาแล้ว)
กรมศิลปากร โดยกองโบราณคดีใต้น้ำ และสำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี ขอเชิญชวนร่วมรับฟังเสวนาทางวิชาการทศวรรษแห่งการค้นพบใหม่ ในหัวข้อ "ทศวรรษแห่งการค้นพบเรือโบราณพนมสุรินทร์" กิจกรรมเนื่องในสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย พ.ศ. ๒๕๖๗ วันพฤหัสบดีที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. ณ ห้องประชุมดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยวิทยากร นางสาวปรียานุช จุมพรม นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี จ่าเอก สมเกียรติ คุ้มรักษา นายช่างสำรวจชำนาญงาน กองโบราณคดีใต้น้ำ และนางสาวพรนัชชา สังข์ประสิทธิ์ นักโบราณคดีชำนาญการ กองโบราณคดีใต้น้ำ ดำเนินรายการโดย นายวสันต์ เทพสุริยานนท์ ผู้อำนวยการกองโบราณคดีใต้น้ำ
ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมฟังการเสวนาได้แล้วตั้งแต่บัดนี้ โดยการแสกน QR Code สอบถามเพิ่มเติมได้ทาง Facebook: กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร - UAD Thailand หมายเลยโทรศัพท์: ๐ ๓๙๓๙ ๑๒๓๖
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ขอเผยแพร่ องค์ความรู้ประจำเดือนสิงหาคม ๒๕๖๖ เรื่อง "ตุ๊กตาสังคโลก : ผลิตภัณฑ์สังคโลกเมืองศรีสัชนาลัย" ราวพุทธศตวรรษที่ 19 การผลิตภาชนะดินเผาประเภทเครื่องเคลือบได้เกิดขึ้นแล้วที่เมืองศรีสัชนาลัย โดยมีพัฒนาการสืบทอดมาจากการผลิตเครื่องถ้วยเชลียงที่ผลิตขึ้นตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 17 บริเวณแหล่งเตาบ้านเกาะน้อย เมืองศรีสัชนาลัย ต้นพุทธศตวรรษที่ 20 สมัยราชวงศ์หมิงของจีน ได้มีการควบคุมการค้าอย่างเข้มงวด จึงลดปริมาณการส่งออกเครื่องปั้นดินเผาจีน ทำให้เครื่องสังคโลกจากแหล่งเตาเมืองศรีสัชนาลัยกลายเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ สามารถครองตลาดการค้าแทนประเทศจีนช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 20-21 โดยมีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้าเพื่อการส่งออกไปยังดินแดนต่าง ๆ ซึ่งพบเครื่องสังคโลกจำนวนมากมายตามแหล่งเรืออับปางในอ่าวไทย เช่น แหล่งเรือคราม เรือพัทยา เรือประแสร์ เรือสัตหีบ เรือเกาะกระดาด โดยช่วงระยะเวลาดังกล่าว สังคโลกได้แพร่กระจายไปยังเมืองใหญ่ และเมืองท่าที่สำคัญในแหลมมลายู และพบกระจายไปสู่ดินแดนในเอเชียอาคเนย์ เช่น เมืองซานตา อานา (Santa Ana) , เมืองกาลาตากัน (Calatagan) ประเทศฟิลิปปินส์ และเมืองจัมบิ (Jambi) ประเทศอินโดนีเซีย เป็นต้น ความนิยมจากตลาดการค้าทำให้อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องสังคโลกเมืองศรีสัชนาลัย มีความเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด มีการพัฒนาทางเทคโนโลยี วิธีการผลิต และรูปทรงของผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย ซึ่งไม่จำกัดเพียงแค่ภาชนะใช้สอยเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีการผลิตเพื่อตอบสนองการใช้งานประเภทอื่น ๆ เช่น ผลิตเพื่อเป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม และผลิตเป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึง การผลิตตุ๊กตาสำหรับการละเล่น ซึ่งเป็นตุ๊กตาขนาดเล็กเป็นรูปบุคคลในกิริยาต่าง ๆ แต่เดิมเชื่อว่า เป็นตุ๊กตาเสียกบาลที่ใช้ในพิธีกรรมสะเดาะเคราะห์ เนื่องจากส่วนหัวมักหักหายไป แต่จากการศึกษาทางโบราณคดีสันนิษฐานว่า เป็นของเล่น หรือตุ๊กตาของคนโบราณ ซึ่งเทคนิคการผลิต หรือลักษณะของตุ๊กตามีขนาดเล็ก และเปราะ จึงทำให้ส่วนคอแตกหักได้ง่าย ลักษณะโดยทั่วไปของตุ๊กตาสังคโลกที่พบ จะทำด้วยดินเผาเคลือบสีเขียว และสีน้ำตาล มีทั้งรูปผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก และรูปสัตว์นานาชนิด โดยตุ๊กตาถ้าเป็นรูปผู้หญิงจะไว้ผมมวยค่อนไปเบื้องหลัง ไม่ใส่เสื้อ หรือห่มผ้า อยู่ในท่าทางนั่งพับเพียบ หรือนั่งชันเข่าข้างหนึ่ง และอยู่ในกิริยาต่าง ๆ เช่น ตุ๊กตาแม่อุ้มลูกที่กำลังนอนกินนมบนตัก หรือลูกกำลังยืนกินนม ส่วนตุ๊กตารูปผู้ชายจะเกล้าผมไว้บนหัว อยู่ในกิริยาหลากหลายรูปแบบ เช่น นั่งถือขลุ่ย นั่งอุ้มไก่ ส่วนตุ๊กตารูปสัตว์ที่พบเช่น ตุ๊กตารูปวัว ควาย และไก่ เป็นต้น ทั้งนี้ ตุ๊กตาเหล่านี้เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต และขนบธรรมเนียมของผู้คนในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี เอกสารอ้างอิงปริวรรต ธรรมาปรีชากร. เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เครื่องปั้นดินเผาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พัฒนาการ แรงบันดาลใจ และการตรวจพิสูจน์. ม.ป.ท. ๒๕๕๘.
ภาพปูนปั้นรูปกลุ่มอัศวิน หรือนักรบ
- ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔)
- ปูนปั้น
- ขนาด กว้าง ๗๘.๕ ซม. ยาว ๙๒.๕ ซม. หนา ๕ ซม.
เดิมประดับที่ฐานลานประทักษิณด้านทิศใต้ ของเจดีย์จุลประโทน อ.เมืองนครปฐ จ.นครปฐม ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ ภาพปูนปั้นภาพกลุ่มบุคคล ๕ – ๖ คน นั่งจับเข่าเรียงแถวกัน ๒ แถว บุคคลในภาพทั้งหมดแต่งกายคล้ายๆกัน ไว้ผมลอนยาวประบ่า แสกกลาง สวมตุ้มหู และพกอาวุธซึ่งมีลักษณะคล้ายมีดดาบยาวปลายตัด ลักษณะการแต่งกายนี้ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นการแต่งกายของอัศวิน หรือนักรบในสมัยทวารวดี
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40052
ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th
ขอเชิญชมนิทรรศการ ""กล้องยาสูบ" พืชพันธ์ุ และ ควันไฟ Object of the Month วัตถุจากคลัง พช. สุพรรณบุรี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี เชิญชมนิทรรศการหมุนเวียน "Object of the Month" วัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ประจำเดือน "มิถุนายน" เชิญพบกับ "กล้องยาสูบ" พืชพันธ์ุ และ ควันไฟ พาย้อนไปรู้จักกับประวัติศาสตร์การสูบบุหรี่ในอดีต
โบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ ได้แก่ "กล้องยาสูบ" แบบศิลปะล้านนา วัสดุทำจากดินเผา ขนาดยาว ๑๐.๕ เซนติเมตร ปากกว้าง ๓ เซนติเมตร มีลักษณะการตกแต่งลวดลายเป็นรูปหัวช้างอ้าปาก ชูงวง ลำตัว/ฐาน และก้านส่วนที่ ๑ เป็นลายขีดเส้นตรง ก้านส่วนที่ ๒ เป็นเส้นขีดแนวขวางและเส้นไข่ปลา มีห่วงสำหรับร้อยเชือก ซึ่งได้มาจากการรับมอบบริจาค เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๓ นิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมการสูบ กล้องยาสูบที่พบในพื้นที่ใกล้เคียงประเทศไทย กล้องยาสูบที่พบในประเทศไทย กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวัฒนธรรมการใช้กล้องยาสูบ และวัฒนธรรมการสูบในปัจจุบัน
ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ กับ "กล้องยาสูบ" พืชพันธ์ุ และ ควันไฟ ได้ในเดือนมิถุนายน ๒๕๖๗ เปิดวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร ณ ห้องโถงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๕๕๓ ๕๓๓๐ หรือเฟสบุ๊ก: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี Suphanburi National Museum
สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช เปิดหอพระสิหิงค์ให้ประชาชนเข้าสักการบูชาพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองนครศรีธรรมราช ที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ทุกวัน เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. โดยไม่เว้นวันหยุดเสาร์ - อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่วันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๗
หอพระสิหิงค์ เป็นสถานที่ประดิษฐาน “พระพุทธสิหิงค์” พระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองนครศรีธรรมราช กำหนดอายุในสมัยอยุธยา (ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑) หอพระสิหิงค์ตั้งอยู่บนถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช เดิมเป็นหอพระตั้งอยู่บริเวณจวนเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งปัจจุบันคือที่ตั้งศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช “พระพุทธสิหิงค์” ถือเป็นพระพุทธรูปสำคัญของบ้านเมือง ซึ่งในประเทศไทยปรากฏพระพุทธสิหิงค์เพียง ๓ องค์ องค์แรกประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร องค์ที่ ๒ ประดิษฐานในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ และองค์ที่ ๓ ประดิษฐานในหอพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดพระนครศรีธรรมราช
ผู้สนใจสามารถเข้าสักการบูชาพระพุทธสิหิงค์ ณ หอพระสิหิงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดทุกวัน โดยเริ่มให้บริการในวันหยุดตั้งแต่วันเสาร์ที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๗ เป็นต้นไป สอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช โทร. ๐ ๗๕๓๕ ๖๔๕๘
เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๔พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปทรงวางศิลาฤกษ์เขื่อนคลองท่าด่าน โครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายกรหัสเอกสาร ภ หจภ (๓) กษ ๑.๑/๗๐
หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ตรัง ขอเชิญน้องๆ ที่มีอายุระหว่าง 6 - 12 ปี เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ "ฝึกสมาธิ สร้างจินตนาการไปกับศิลปะผ้ามัดย้อมและการพับกระดาษ" พบกับกิจกรรม การทำผ้ามัดย้อม เล่านิทานจากเล่มโปรด และพับกระดาษจากนิทานที่ชอบ ในวันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม 2567 เวลา 13.30 - 15.00 น. ณ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ตรัง สามารถร่วมกิจกรรมได้ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 23 สิงหาคม 2567 ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. 06 4229 2540 (พี่เชฟ) หรือ 08 5474 5150 (พี่ปุ๋ย)