ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ


          กรมศิลปากร โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญร่วมกิจกรรม "๑๑๑ ปี ปิยมหาราชรำลึก" เพื่อน้อมรําลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันปิยมหาราช ระหว่างวันที่ ๒๑ – ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ อาคารถาวรวัตถุ (ตึกแดง) ถนนหน้าพระธาตุ กรุงเทพฯ           เนื่องในวันปิยมหาราช ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๔ กรมศิลปากร โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ กำหนด จัดกิจกรรม "๑๑๑ ปี ปิยมหาราชรำลึก" ณ อาคารถาวรวัตถุ (ตึกแดง) ประกอบด้วย การจัดแสดงชุดเครื่องโต๊ะ พร้อมทั้งการบรรยายให้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องลายคราม ระหว่างวันที่ ๒๑ – ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๔ การเสวนา เรื่อง “แนวคิดในการจัดแสดงนิทรรศการพิเศษตู้ลายทอง เหรียญที่ระลึกในรัชกาลสมเด็จพระปิยมหาราช และชุดเครื่องโต๊ะ” (จำกัดผู้เข้าร่วมจำนวน ๔๐ ท่านที่ได้ลงทะเบียนไว้ล่วงหน้า) ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. และการแสดงดนตรีจากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ในวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๔.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. โดยจะมีการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live และ YouTube Live ของสำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร National Library of Thailand          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้สร้างอาคารถาวรวัตถุขึ้น เพื่อใช้เป็น อาคารประกอบเนื่องในการพระเมรุสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้เป็นสถานที่ตั้งหอพระสมุดสำหรับพระนคร ซึ่งพัฒนามาเป็นหอสมุดแห่งชาติ กระทั่งพุทธศักราช ๒๕๔๐ ได้ปรับปรุงอาคารถาวรวัตถุเป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงสถาปนาถาวรวัตถุสถานแห่งนี้ ปัจจุบันจัดแสดง นิทรรศการ เรื่อง “ตู้ลายทอง” และ “เหรียญที่ระลึกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระปิยมหาราช พระมหากษัตริย์ผู้พระราชทานความสุขและความเจริญ ก้าวหน้าแก่ชาติไทยอเนกประการ อีกทั้งส่งเสริมให้ตระหนักถึงคุณค่าในการอนุรักษ์ เผยแพร่ภูมิปัญญางานช่างไทย รวมถึงศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของบ้านเมืองจากเหรียญที่ระลึกอันเป็นอนุสรณ์ถึงเหตุการณ์สำคัญในอดีต           นอกจากนี้ กรมศิลปากรได้อัญเชิญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉลอง พระองค์เต็มยศจอมพล ขนาดเท่าพระองค์จริง พิมพ์จำลองจากพระบรมรูปหล่อสำริดในปราสาทพระเทพบิดร มาประดิษฐานให้สักการะ โดยพระบรมรูปองค์นี้เคยประดิษฐานในบุษบกมุขเด็จพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทสำหรับ ให้ราษฎรสดับปกรณ์อุทิศถวายพระราชกุศลสนองพระเดชพระคุณในงานพระบรมศพ ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร           ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรม "๑๑๑ ปี ปิยมหาราชรำลึก" และชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง “ตู้ลายทอง” และ “เหรียญที่ระลึกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ระหว่างวันที่ ๒๑ – ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ อาคารถาวรวัตถุ (ตึกแดง) ถนนหน้าพระธาตุ กรุงเทพฯ


          สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยอีกพระองค์หนึ่ง ที่คนไทยเคารพศรัทธาต่อเนื่องมายาวนานหลายศตวรรต โดยเฉพาะจันทบุรี หัวเมืองชายทะเลตะวันออก ซึ่งตามพงศาวดารได้บันทึกว่าเป็นเมืองที่พระองค์ทรงเลือกที่มาสะสมเสบียงพืชพันธุ์ธัญญาหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ เรือรบ 100 ลำ และเหล่าทหารกล้า เพื่อออกไปกอบกู้อยุธยา จนมีชัยชนะเหนือพม่าในที่สุด          จากที่กล่าวมา จังหวัดจันทบุรีจึงได้มีแนวทางก่อสร้าง พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ บริเวณทุ่งนาเชย แต่ด้วยงบประมาณมีจำกัด คณะกรรมการดำเนินการก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงมีดำริที่จะสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เพื่อเป็นที่ระลึก อีกทั้งเพื่อนำเงินรายได้นี้นำไปสมทบเป็นค่าก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่ได้ดำเนินการมาหลายปียังไม่แล้วเสร็จ          ดังนั้นใน พ.ศ.2517 จึงได้จัดสร้างเหรียญที่ระลึกขึ้น ในส่วนของเอกสารจดหมายเหตุไม่ได้ระบุว่าจำนวนเท่าไร          ในพิธีพุทธาภิเษกเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ใด้จัดขึ้นในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2517 ณ พระอุโบสถวัดพลับ ต.บางกะจะ อ.เมืองจันทบุรี สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช ประธานฝ่ายสงฆ์ และนายบุญช่วย ศรีสารคาม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส และในพิธีอันยิ่งใหญ่และศักดิ์สิทธิ์ในครั้งนั้น มีพระเถราจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในเรื่องพุทธคุณทั้งระดับประเทศและระดับจังหวัดมากมาย มาร่วมนั่งปรก โดยเฉพาะในส่วนของภาคตะวันออก ได้แก่ -หลวงพ่อทอง วัดเกาะแก้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา -หลวงพ่อเหมือน วัดกำแพง จังหวัดชลบุรี -หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก จังหวัดระยอง -หลวงพ่อกี๋ วัดแหลมมะขาม จังหวัดตราด -หลวงพ่อสวน วัดบางกระดาน จังหวัดตราด -พระพิศาลธรรมคุณ วัดบูรพาพิทยาราม จังหวัดจันทบุรี -หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จังหวัดจันทบุรี -หลวงพ่อสมชาย วัดเขาสุกิม จังหวัดจันทบุรี          และต่อมาในวันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2524พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แห่งนี้ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผสกนิกรในจังหวัดจันทบุรีและผู้ที่มาเยี่ยมเยือนสักการะ          ส่วนเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นสร้างอนุสาวรีย์นั้น ผู้เขียนทราบมาว่าในขณะนี้เป็นเหรียญที่ค่อนข้างหายาก และมีราคาสูงพอประมาณเลยทีเดียว-------------------------------------------------------ผู้เขียน : สุมลฑริกาญจณ์ มายะรังสี นักจดหมายเหตุชำนาญการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี-------------------------------------------------------/// อ้างอิง หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี. จบ1.1.1.6/49 เอกสารชุดจังหวัดจันทบุรี ส่วนแผนกมหาดไทย. เรื่องพิธีพุทธาภิเษกเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (13 – 28 ธันวาคม 2517)


ชื่อเรื่อง                                ธมฺมปทวณฺณา ธมฺมปทฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ธมฺมปทฺธ) สพ.บ.                                  376/9กประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           54 หน้า กว้าง 4 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                 ธรรมเทศนา บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด-ลองรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.159/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  56 หน้า ; 4.5 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 95 (22-26) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์(8หมื่น) --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.39/1-7  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


อุณฺหิสฺสวิชยธมฺมกถา (อุณฺหิสฺสวิชยธมฺมกถา)  ชบ.บ.79/1-1  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


พุทฺธาภาสิตเทสนา (พระพุทธภาษิตเทศนา)  ชบ.บ.102/1-1  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.327/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 32 หน้า ; 4.5 x 54 ซ.ม. : ชาดทึบ-ทองทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 130  (329-337) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : กมฺมวาจาวิธิ (กัมมวาจาแปล)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


        ชื่อผลงาน: ภาพประกอบบทละคร เรื่อง “ศกุนตลา” ตอน ท้าวทุษยันต์เห็นนางศกุนตลาครั้งแรก         ศิลปิน: พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6)         เทคนิค: จิตรกรรมสีน้ำบนกระดาษ         ขนาด: กว้าง 50.5 ซม. สูง 39 ซม.         อายุสมัย: รัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 6) พุทธศักราช 2463         รายละเอียดเพิ่มเติม: ผลงานจิตรกรรมชิ้นหนึ่งในชุดภาพประกอบบทละคร เรื่อง “ศกุนตลา” ฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) สันนิษฐานว่าทรงวาดขึ้นประกอบพระนิพนธ์บทละคร เรื่อง “ศกุนตลา” ซึ่งทรงดัดแปลงมาจากภารตะวรรณกรรมสันสกฤในชื่อเดียวกัน โดยอาจจะมีจุดมุ่งหมายเพื่อทรงใช้กำกับและลำดับฉาก ประกอบบทละครในพระพระนิพนธ์เรื่องดังกล่าวด้วย             Title: illustration from a series of paintings for His Majesty’s stage play entitled “Shakuntala”,         scene: King Dusyanta first caught his eyes on Shakuntala         Artist: HM King Vajiravudh (Rama VI)         Technique: watercolor on paper Size: 50.5 × 39 cm.         Period: Rattanakosin era, 1920 in the reign of HM King Vajiravudh (Rama VI)         Detail: The series of paintings entitled “Shakuntala” which was painted by HM King Rama VI, is an illustration for His Majesty’s stage play which adapted from a well-known Sanskrit literature of the same title. His Majesty might paint this series of paintings on a specific purpose of using them as a storyboard, to direct the scenes for His Majesty’s stage play.


 เกาะยอ  เป็นเกาะที่ตั้งอยู่กลางทะเลสาบสงขลา ห่างจากอำเภอเมืองสงขลาประมาณ ๑๕ กิโลเมตร มีความโดดเด่นทั้งความงามทางธรรมชาติ สถาปัตยกรรม วิถีชีวิตของผู้คนที่สงบและเรียบง่าย หัตถกรรมอันเลื่องชื่อเช่นผ้าเกาะยอ ความอุดมสมบูรณ์ทางอาหาร เช่น ผลไม้ อาหารทะเล ฯลฯ สมกับคำขวัญประจำเกาะที่ว่า “สมเด็จเจ้าเป็นศรี ผ้าทอดีล้ำค่า นานาผลไม้หวาน ถิ่นอาหารทะเล เสน่ห์สะพานติณฯ สถาบันทักษิณลือนาม งดงามเรือนไทย” สำหรับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของเกาะยอนั้นปรากฏหลักฐานชัดเจนในสมัยอยุธยาราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ เป็นต้นมา โดยปรากฏภาพเกาะยอในแผนที่เมืองนครศรีธรรมราช จ.ศ.๙๗๗ (ราวพ.ศ.๒๑๕๘) และแผนที่เมืองสงขลาของมองซิเยอร์ เดอร์ ลามาร์ (Monsieur de la Mare) วิศวกรชาวฝรั่งเศสราว พ.ศ.๒๒๓๐ ........................................................................................................................................ เส้นทางถีบจักรยานรอบเกาะยอ สำหรับเส้นทางในวันนี้ ทางกลุ่มโบราณคดีขอนำเสนอ เส้นทางโบราณสถานวัดแหลมพ้อ - วัดโคกเปี้ยว - จุดชมวิวเกาะยอ - ศาลเจ้าไท้ก๋ง - โบราณสถานวัดท้ายยอ - วัดเขาบ่อ และขอแถมสถาบันทักษิณคดีศึกษา - เจดีย์บนเขากุฏิ (หากใจท่านนั้นยังไหว) ส่วนรายละเอียดแต่ละสถานที่นั้นจะบรรยายในแต่ละภาพค่ะ  เกาะยอเป็นเกาะที่เป็นมิตรกับนักปั่นจักรยาน เนื่องจากเป็นเกาะขนาดเล็กที่มีความเงียบสงบ ไม่พลุกพล่าน มีรถขนาดใหญ่ขับขี่ไม่มาก สุนัขในเกาะยอก็ค่อนข้างเป็นมิตรและถนนลาดยางตลอดสาย การปั่นจักรยานเกาะยอจึงมีความปลอดภัยมาก นอกจากนี้ยังมีคาเฟ่สวยๆ ของกินอร่อยๆให้นักถีบได้นั่งพักให้หายเหนื่อยกันอีกด้วย และอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรพลาด คือ การถ่ายฟ้าและวิวของเกาะยอที่ไม่เคยเหมือนกันในแต่ละวัน ถือเป็นงานศิลปะชิ้นเอกที่ธรรมชาติได้สร้างสรรค์ออกมาให้เราได้ชม แต่มีข้อควรระวังสักนิดหากเพื่อนๆปั่นจักรยานเพลินจนมืดค่ำ ควรจะติดไฟหน้าและท้ายรถจักรยานเพื่อความปลอดภัยในการปั่นนะคะ


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอเชิญร่วมกิจกรรม "นำชมวันอาทิตย์"  เปิดรอบนำชม นิทรรศการ ห้องจัดแสดงต่าง ๆ ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำหรับผู้สนใจเข้าชมพิพิธภัณฑ์ โดยมีภัณฑารักษ์และเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ บรรยายนำชม ทุกบ่ายวันอาทิตย์          ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม สามารถลงทะเบียน ณ บริเวณห้องจำหน่ายบัตร ในวันอาทิตย์ เฉพาะช่วงเวลาที่จัดกิจกรรมเท่านั้น โดยเปิดให้ลงทะเบียนร่วมกิจกรรมและแบ่งกลุ่ม ในเวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๓๐ น.  และเวลา ๑๓.๓๐ - ๑๕.๐๐ น. เป็นกิจกรรมนำชม            สอบถามเพิ่มเติมทาง Inbox Facebook Page :  Education.National Museum Bangkok เที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร หรือโทร. ๐๒ ๒๒๔ ๑๔๐๒ และ ๐๒ ๒๒๔ ๑๓๓๓


          สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญร่วมกิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับชาติ ศาสน์ กษัตริย์ รับฟังการเสวนาเรื่อง "90 พรรษา พระพันปีหลวง ศรีศิลป์มรดกวัฒนธรรม" วิทยากรโดย ดร.สุรัตน์ จงดา ผู้ช่วยอธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และ ผศ.ดร.อนุชา ทีรคานนท์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในวันที่ 22 มีนาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 13.30 น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ พร้อมทั้งสามารถรับการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live  : National Library of Thailand  และ YouTube Live หอสมุดแห่งชาติได้อีกด้วย           ผู้สนใจเข้าร่วมฟังการเสวนา สามารุสำรองที่นั่งล่วงหน้า หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 08 6891 2548


ชื่อผู้แต่ง        - ชื่อเรื่อง         ธรรมะคำกาพย์ ครั้งที่พิมพ์      - สถานที่พิมพ์    - สำนักพิมพ์      - ปีที่พิมพ์         - จำนวนหน้า   ๑๕๘ หน้า หมายเหตุ.    - (เนื้อหา)            อธิบายหลักธรรมทางพุทธศาสนา คือ กุศลกรรมและอกุศลกรรมอันนำสัตว์ไปเกิดในภพภูมิต่างๆ คือกุศลกรรมนำไปเกิดในสุคติภูมิ อกุศลกรรมนำไปสู่อบายภูมิ



Messenger