ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
การไถนาเป็นการเตรียมที่นาให้พร้อม ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกสุดของการปลูกข้าว ก่อนที่ชาวนาจะลงมือทำนาด้วยวิธีการปักดำต้นกล้าหรือหว่านเมล็ดข้าวลงในที่นา การไถนาเป็นการพรวนดิน ทำให้ดินร่วนซุยขึ้น ช่วยกำจัดวัชพืช เช่น ต้นหญ้าต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการให้ออกไปจากที่นา และปรับพื้นดินให้ราบเรียบเสมอกัน ชาวนาเริ่มลงมือไถนาประมาณปลายเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ฤดูฝน
ก่อนลงมือหว่านเมล็ดข้าวหรือปักดำต้นกล้า ชาวนาจะไถนาอย่างน้อย 2 ครั้ง ไถครั้งแรก เรียกว่า “ไถดะ” ไถครั้งที่สอง เรียกว่า “ไถแปร”
เครื่องมือที่ใช้ในการไถนาหรือพรวนดินในที่นา เรียกกันว่า “คันไถ” ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ ตัวคันไถ หางยาม (หางไถ) และหัวหมู ทำด้วยไม้เนื้อแข็งและประกอบเข้าด้วยกันโดยการต่อเข้าลิ่ม
ส่วนประกอบสำคัญของคันไถ มีดังนี้
- คันไถ คือส่วนที่ยื่นออกไปด้านหน้า เพื่อเชื่อมต่อกับส่วนที่ผูกควาย เป็นไม้อีกท่อนหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบของตัวไถ ส่วนที่ต่อเข้ากับหางไถจะทำเป็นเดือยตัวผู้เพื่อใช้ต่อเข้ากับรูเดือยตัวเมียที่ส่วนหางไถ ทำให้แน่นโดยใช้ลิ่มตอกยึด ส่วนปลายคันไถยื่นออกไปข้างหน้า โค้งทำมุมต่ำลง มีปลายจะงอยขึ้นมา
- หางยาม หรือหางไถ คือ ส่วนที่ชาวนาใช้จับขณะไถนา เป็นไม้ชิ้นเดียวที่มีลักษณะเอียงจากหัวหมูประมาณ ๑๕ องศา ยาวมาจนถึงส่วนที่ต่อเข้ากับคันไถ และเจาะรูสี่เหลี่ยมผืนผ้าทะลุชิ้นไม้เพื่อใส่ลิ่มต่อเข้ากับคันไถ เหนือส่วนนี้ขึ้นไปทำเป็นรูปโค้งเพื่อสะดวกต่อการจับ เวลาประกอบเข้าเป็นตัวไถแล้ว ส่วนนี้จะตั้งขึ้นและส่วนโค้งก็จะยื่นไปด้านหลังตั้งอยู่ระดับสะเอว
- หัวหมู คือ ส่วนที่ใช้ไถดิน ประกอบด้วยไม้หนึ่งชิ้นบากปลายให้แหลมและมีลักษณะบาน เจาะรูเดือยตัวเมียสี่เหลี่ยมสำหรับต่อเข้ากับหางไถ ส่วนท้ายจะทำเป็นรูปท่อนกลมยาว
- ผาล ทำด้วยเหล็ก ใช้สำหรับพลิกหรือไถพรวนดิน สวมต่ออยู่กับส่วนหัวหมูและหางไถโดยการตอกเข้าลิ่ม
ในสมัยโบราณชาวนาใช้แรงงานวัวควายในการลากไถนา แต่ปัจจุบันนิยมใช้รถแทรกเตอร์หรือที่เรียกกันว่าควายเหล็กไถนาแทนวัวควาย เพราะสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลา และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร อย่างไรก็ตาม การใช้เครื่องจักรกลเข้ามาแทนแรงงานวัวควายในการไถนา ทำให้ชาวนาปัจจุบันประสบปัญหาต้นทุนจากค่าใช้จ่ายเรื่องราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้น
ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งไม่เคลือบ ผลิตจากแหล่งเตาบ้านบางปูน ตำบลพิหารแดง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนบนตกแต่งลายกดประทับในกรอบสามเหลี่ยม คล้ายลายเฟื่องอุบะและกรวยเชิงที่ประดับบนศาสนสถานในวัฒนธรรมเขมร ส่วนล่างตกแต่งลายกดประทับรูปบุคคล คันไถและวัวคู่ อาจหมายถึงพิธีแรกนาขวัญ แสดงถึงการให้ความสำคัญในเรื่องการปลูกข้าวหรือเกษตรกรรมของผู้ปกครองรัฐสุพรรณภูมิ เมื่อพุทธศตวรรษที่ 19-20 หรือประมาณ 600-700 ปีมาแล้ว
ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย จังหวัดสุพรรณบุรี
ภาพลายเส้นบนภาชนะดินเผา พบที่บ้านบางปูน ตำบลพิหารแดง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ตกแต่งลายกดประทับรูปบุคคล คันไถและวัวคู่ อาจหมายถึงพิธีแรกนาขวัญ แสดงถึงการให้ความสำคัญในเรื่องการปลูกข้าวหรือเกษตรกรรมของผู้ปกครองรัฐสุพรรณภูมิ เมื่อพุทธศตวรรษที่ 19-20 หรือประมาณ 600-700 ปีมาแล้ว
-------------------------------------------------------------
อ้างอิง
- จารึก วิไลแก้ว. แหล่งเตาเผาบ้านบางปูน. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2531.
- คันไถโบราณ ตำนานและความเชื่อของชาวนา. เข้าถึงได้จาก https://e-shann.com/คันไถโบราณตํานานและคว/ สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2565.
- สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ. ข้าวไทย. กรุงเทพฯ : ปลาตะเพียน, 2555.
-------------------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทยwww.facebook.com
องค์ความรู้ เรื่อง พระแว่นสูรยกานต์
โดย นายธนากรณ์ มณีกุล นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มจารีตประเพณี
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 26/2ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 48 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 129/1
เอกสารโบราณ
(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 164/7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 19/2ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 42 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
เลขทะเบียน : นพ.บ.445/1กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 26 หน้า ; 5 x 59 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 158 (149-162) ผูก 1ก (2566)หัวเรื่อง : แทนน้ำนมแม่--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.590/1 ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 28 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ลานดิบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 191 (385-391) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : มไลหมื่น--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สวัสดีวันสงกรานต์จ้า อาจจะมาช้าหน่อย แต่แอดฯก็มาพร้อมสาระเช่นเดิมน้า หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าทำไมคนไทยเราวันสงกรานต์ หรือวันที่ 13 เมษายน คือการเข้าสู่ปีใหม่ ม่ะเดี๋ยวแอดจะเล่าให้ฟัง
"สงกรานต์" มาจากภาษาสันสกฤตมีความหมายว่า "ก้าวขึ้น ย่างขึ้น ย้ายที่ หรือเคลื่อนที่"
“วันสงกรานต์” หมายถึงวันที่ดวงอาทิตย์ย้ายจากราศีหนึ่งไปสู่อีกราศีหนึ่งในกลุ่มดาวจักราศีทั้ง 12 กลุ่ม ดังนั้นในรอบ 1 ปี จึงมีวันสงกรานต์ถึง 12 วัน
ส่วนสงกรานต์คนไทยรู้จัก (วันที่ 13 เมษายน) เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ย้ายจากราศีมีน ไปสู่ราศีเมษ เป็นวันที่พิเศษกว่าวันสงกรานต์อื่นๆ ที่เรียกว่า “วันมหาสงกรานต์” หรือวันสงกรานต์ใหญ่ เพราะตามสุริยะคติของชาวฮินดูในอินเดียจะถือว่าราศีเมษ เป็นราศีที่ 1 ของทั้ง 12 ราศี
ในทางดาราศาสตร์ ก็เป็นการเริ่มต้นปีดาราศาสตร์ใหม่ เมื่อดวงอาทิตย์ย้ายจากด้านใต้ขึ้นสู่ด้านเหนือของเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า
โดยในปกรณัมศาสนาฮินดู พระสูริยะถือเป็นบุคลาธิษฐานของเทพแห่งแสงอาทิตย์ในลักษณะรูปบุคคล และยังเป็นหนึ่งในเทพนพเคราะห์อีกด้วย
ในยุคพระเวท หรือประมาณ 3300 ปีมาแล้ว สูริยะเป็นเทพในกลุ่มเทพแห่งแสงอาทิตย์ 6 องค์ ร่วมกับ สวิตฤ วิษณุ ปูษัน มิตระ และอุษา โดยวิษณุมีหน้าที่คือก้าว 3 ก้าว เพื่อทำให้เกิดความแตกแต่งของช่วงเวลา หรืออาจหมายถึงการโคจรของดวงอาทิตย์ตั้งแต่รุ่งอรุณ ส่องแสงสว่าง ยามย่ำสนธยา นั้นเอง
แต่เมื่อเข้าสู่ยุคปุราณะ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 9-11 (หรือประมาณ 1700-1500 ปีมาแล้ว) คัมภีร์ปุราณะได้ยกย่องวิษณุจากเทพชั้นรองของกลุ่มอาทิตยเทพในยุคพระเวท กลายเป็นเทพองค์สำคัญ 3 องค์ ร่วมกับพระศิวะ และพระหรหม ส่วนพระสุริยะนั้นถูกลดบทบาทลงเป็นเพียงเทพชั้นรองเท่านั้น และยังมีการรวมบทบาทหน้าที่ รูปลักษณ์ของเทพในกลุ่มเทพเจ้าแห่งแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นเทพเจ้าองค์เดียวคือ พระสูริยะ จึงทำให้คำว่า “อาทิตย์” กลายเป็นชื่อสามัญของพระสูริยะ
เมืองศรีเทพ เป็นเมืองโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีค้นพบประติมากรรมพระสูริยะเป็นจำนวนมาก (อาจสันนิษฐานได้มากถึง 6-7 องค์ ) จนสันนิฐานได้ถึงการอยู่มีอยู่ของลัทธิเสาระ (ลัทธิที่นับถือพระสูริยะเป็นเทพเจ้าสูงสุด) ในเมืองศรีเทพ โดยเทวรูปพระสูริยะที่พบจากเมืองศรีเทพนั้นมีอายุตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11-14 โดยลักษณะทางรูปแบบศิลปกรรมนั้น กล่าวได้ว่ามีสัมพันธ์กับวัฒนธรรมเขมรยุคก่อนเมืองพระนคร ในเขตประเทศกัมพูชา และบริเวณปากแม่น้ำโขงประเทศเวียดนาม
ปล.เนื่องในวันสงกรานต์นี้ แอดฯของเป็นตัวแทนของบุคลากรอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ขอกล่าวอวยพรให้มิตรรักแฟนเพจทุกท่าน มีความสุขในวันสงกรานต์ เดินทางกลับบ้านหรือไปเที่ยวอย่างสวัสดิภาพ ขับขี่ปลอดภัย เมาไม่ขับเน้อ สุขสันต์วันปีใหม่ไทยครับ
เอกสารอ้างอิง
- ธนะจักร เย็นบำรุง. “ประเพณีสงกรานต์”. ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (โบราณคดี) ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดีประวัติศาสร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2524
- พิกุล สมัครไทย. “คติความเชื่อเรื่องพระสูริยะเทพที่พบจากประติมากรรมที่เมืองโบราณศรีเทพ”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (โบราณคดี) ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2543
- พิริยะ ไกรฤกษ์. “รากเหง้าแห่งศิลปะไทย”. กรุงเทพฯ : ริเวอร์บุ๊ค, 2553
- วรลักษณ์ ผ่องสุขสวัสดิ์. “คติเรื่องพระสูริยะเทพที่พบในประเทศไทยช่วงก่อนดินพุทธศตวรรษที่ 19”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2549
- ศรัณย์ มะกรูดอินทร์. “การนับถือพระสูริยะในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนพุทธศตวรรษที่ 19”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ภาควิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553
- เอกสุดา สิงห์ลำพอง. “เทวปฏิมาสยาม”. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพลส, 2553
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : เข้าป่าหาหมอน -- ปี 2512 คนไทยหาหมอนได้ในป่า เป็นหมอนมีค่าที่ใช้เวลาเติบโต ตัดแบ่ง เรียงไว้ และขนย้าย หมอนดังกล่าวนี้คือ " หมอนไม้ " โดยเฉพาะไม้สำคัญ เช่น ไม่สัก มะค่า ประดู่ หรือกระยาเลย ฯลฯ ของป่าน้ำแหง - น้ำสา จังหวัดน่าน ซึ่งเจ้าหน้าที่ป่าไม้ได้ตรวจสอบ และผู้รับสัมปทานขณะนั้นขออนุญาตชักลากออกมา จากเอกสารจดหมายเหตุเรื่องสัญญาจ้างทำและขนส่งไม้สักสัมปทานป่าน้ำแหง - น้ำสา ปรากฏแผนที่สังเขปขนาดมาตราส่วน 1 : 25,000 กำหนดจุด " หมอนไม้ " และ " ทางลากขน " ไว้ ถ้าสังเกตจะพบถนน ที่สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (ร.พ.ช.) ตัดผ่าน แต่เส้นทางลากขนหมอนไม้สัมปทานถูกสร้างต่างหาก เพื่อเชื่อมต่อจุดรวมหมอนไม้และทิศทางที่จะไปเด่นชัย - แพร่อีกทอดหนึ่ง นอกจากนี้ ยังเห็นเส้นประแนวอาณาเขตตอนไม้คนละเส้นกับแนวอาณาเขตป่า สำหรับแบ่งพื้นที่สัมปทานออกเป็นแปลง ลดการทับซ้อนการสัมปทานหรือห้ามบุกรุกพื้นที่ข้างเคียงจนกระทั่ง " พันธุ์ไม้สูญไป " ซึ่งแน่นอนว่า พื้นที่ที่ไม่เกี่ยวข้องจะเกิดความอุดมสมบูรณ์ ยังมีลำห้วยต่างๆ เช่น ห้วยลึก ห้วยผัก ห้วยทราย ห้วยเตาปูน ห้วยต้นยา และห้วยตีนเป็ด ฯลฯ ไหลผ่าน พื้นที่สีขาวบนแผนที่คงเป็นป่าเขียวขจีแน่นขนัด ฉะนั้น การอนุญาตให้สัมปทานจึงไม่ใช่การเปิดผืนป่าทั้งหมด น่าสนใจว่า แผนที่สังเขปต่อจากแผ่นที่นำเสนอนี้ ยังเป็นป่าตามธรรมชาติหรือไม่ ? อย่างไรก็ดี การลากขนขอนไม้ในขณะนั้น ยังไม่แสดงเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ร่วมด้วย จึงได้แต่สันนิษฐานว่า น่าจะได้รับการเอาใจใส่เฉกเช่นปัจจุบัน สำหรับตอนต่อไป เราจะตามเจ้าหน้าที่ป่าไม้ไปสำรวจผืนป่า " แปลงที่ 10 " แปลงที่เห็นในมุมซ้ายด้านบนของแผนที่ มาดูกันว่า เราพบอะไร ???ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา นน 1.6.3.5/14 เอกสารสำนักงานป่าไม้จังหวัดน่าน เรื่อง สัญญาจ้างทำและขนไม้สัมปทานป่าน้ำแหง - น้ำสา ภาค 4 แปลง 1 [ 6 - 25 ก.พ. 2512 ].#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ จัดการประกวดเพลง “เพชรในเพลง” เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๖ ขึ้นเพื่อยกย่องบุคคลในวงการเพลงที่มีผลงานดีเด่นด้านภาษาไทย ได้แก่ นักประพันธ์เพลงที่มีความสามารถผสมผสานความรู้ทางภาษา วรรณศิลป์ คีตศิลป์ และจินตนาการได้อย่างเหมาะสม และนักร้องที่ขับร้องเพลงได้ชัดเจนและถูกต้องตามหลักภาษาไทย มีศิลปะการใช้เสียง และถ่ายทอดจังหวะอารมณ์ในการขับร้องได้อย่างยอดเยี่ยม ทั้งยังเชิดชูเกียรติบุคคล องค์กร หรือโครงการที่มีผลงานดีเด่นด้านการส่งเสริมภาษาไทยและมีคุณูปการต่อวงการเพลง โดยผลการประกวดเพลง “เพชรในเพลง” เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๖ ซึ่งเป็นการประกวดปีที่ ๒๐ มีผู้ได้รับรางวัลทั้งสิ้น ๑๔ รางวัล ตามรายละเอียดดังประกาศกรมศิลปากร
ทั้งนี้ กรมศิลปากรจะจัดพิธีมอบรางวัลเพชรในเพลง พุทธศักราช ๒๕๖๖ ในงานวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๖ ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมกำหนดจัดขึ้นในวันจันทร์ที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๓๐ น. เป็นต้นไป ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ น.
พระพิมพ์ดินเผาจำนวน ๒ ชิ้น พบที่เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เก็บรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
พระพิมพ์ดินเผารูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีภาพพระพุทธรูปยืนตริภังค์ โดยการยืนเอียงสะโพกไปทางด้านซ้าย หย่อนพระบาทขวา พระเศียรมีร่อยรอยนูนของอุษณีษะ รายละเอียดบนพระพักตร์ลบเลือน พระกรรณยาว เอียงพระศอเล็กน้อย รอบพระเศียรมีกรอบประภามณฑลเรียบ พระพุทธรูปทรงครองจีวรห่มเฉียง เปิดพระอังสาขวา จีวรเรียบแนบพระวรกาย พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นระดับพระอุระ หันเข้าหาลำตัวอยู่ในท่าจับชายจีวร พระหัตถ์ขวาทอดลง หงายฝ่าพระหัตถ์บริเวณพระโสณี ชายจีวรที่ตกลงมาจากพระกรซ้ายมีลักษณะเป็นแถบหนาและรอยยับย่นเสมือนจริง นอกจากนั้นบริเวณข้อพระบาทมีขอบสบงที่ยาวลงมากว่าชายจีวรเล็กน้อย บริเวณพระบาทมีฐานคล้ายกลีบบัวมารองรับ
รูปแบบศิลปกรรมของพระพิมพ์ดินเผาที่ปรากฏข้างต้น มีลักษณะที่สัมพันธ์กับรูปแบบของพระพุทธรูปศิลปะอินเดียแบบหลังคุปะ เช่น พระพุทธรูปที่ถ้ำอชันตาหมายเลข ๑๙ ประเทศอินเดีย คือ การยืนตริภังค์เอียงสะโพก หย่อนพระบาทข้างหนึ่ง และเอียงพระศอเล็กน้อย พระพุทธรูปครองจีวรเรียบและไม่มีริ้ว สืบมาจากศิลปะอินเดียแบบคุปตะ สกุลช่างสารนาถ ส่วนการทำพระพุทธรูปยืนครองจีวรเฉียงนิยมในศิลปะอินเดียแบบหลังคุปตะ
การแสดงปางของพระพุทธรูปสันนิษฐานว่าแสดงปางประทานพร โดยพิจารณาจากพระหัตถ์ซ้ายที่ยกขึ้นมีจีวรคลุมตามรูปแบบที่นิยมในศิลปะอินเดีย พระหัตถ์ดังกล่าวนิยมจับชายจีวรไม่แสดงปาง ดังนั้นสันนิษฐานว่า พระหัตถ์ขวาที่วางทอดลง และหงายพระหัตถ์แสดงถึงปางประทานพร ซึ่งลักษณะการจับชายจีวรและการแสดงปางในแนวตรงข้ามเช่นนี้สืบมาจากอินเดียเหนือ โดยปรากฏต่อเนื่องมาจนถึงศิลปะอินเดียแบบหลังคุปตะ ถือได้ว่าพระพิมพ์ดินเผาซึ่งพบที่เมืองโบราณอู่ทองชิ้นนี้มีความสัมพันธ์ทางด้านรูปแบบศิลปกรรมกับศิลปะอินเดียแบบหลังคุปตะ นอกจากนั้นยังพบพระพุทธรูปยืนตริภังค์แสดงปางประทานพร ในศิลปะเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร สะท้อนถึงรูปแบบพระพุทธรูปศิลปะอินเดียแบบหลังคุปตะที่แพร่กระจายในพื้นที่วัฒนธรรมทวารวดี และเขมรก่อนเมืองพระนคร จากรูปแบบพระพิมพ์ดินเผาที่ปรากฏสามารถกำหนดอายุอยู่ในสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓ หรือประมาณ ๑,๑๐๐ - ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว
เอกสารอ้างอิง
เชษฐ์ ติงสัญชลี. ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๐.
เชษฐ์ ติงสัญชลี. พระพุทธรูปอินเดีย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๔.
ธนกฤต ลออสุวรรณ. “การศึกษาคติความเชื่อของชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในลุ่มแม่น้ำแม่กลองและท่า จีน : กรณีศึกษาจากพระพิมพ์ดินเผา”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๖.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.