ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
ชื่อเรื่อง เทศนาสุนันทราชชาดก (สุนันทราชชาดก)สพ.บ. 120/1ขประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 32 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 5ุ8 ซ.ม. หัวเรื่อง นิทานคติธรรมทางพุทธศาสนา ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.141/2กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 58 หน้า ; 4.5 x 50.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 84 (334-339) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : ปุณฺณปทสังคหะ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.89/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 44 หน้า ; 4.6 x 50 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 52 (103-117) ผูก 7 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺปทฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (ธรรมบท)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.10/1-4
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 28 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 46 (ต่อ)-48) ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2511 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว จำนวนหน้า : 324 หน้า สาระสังเขป : ประชุมพงศาวดารขององค์การค้าคุรุสภาจัดพิมพ์ขึ้น โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงรวบรวม มีรายละเอียด ดังนี้ ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 46 (ต่อ) เรื่องจดหมายเหตุของคณะพ่อค้าฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภาค 6 (ต่อจากภาค 5 ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 44) อีกทั้งมีประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 47 ภาค 7 ตอนที่ 1 เรื่องเรื่องจดหมายเหตุของคณะพ่อค้าฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ต่อจากภาค 6 ประชุมพงศาวดารภาคที่ 46) จดหมายเหตุของมองซิเออร์เซเบเรต์ ซึ่งเป็นเอกอัครราชทูตของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ไปเจริญทางพระราชไมตรีกับพระเจ้ากรุงสยาม เมื่อปี ค.ศ. 1687-1688 (พ.ศ.2230-2231) และประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 48 เรื่องจดหมายเหตุของมองซิเออร์เซเบเรต์ ราชทูตฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีในกรุงสยามครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภาค 7 ตอนที่ 2 ต่อจากประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 47)
ชื่อผู้แต่ง วสารคาม ,นามแฝง
ชื่อเรื่อง พระราชประวัติพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์และอภินิหารของพระองค์
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ศึกษาธรรมดา
ปีที่พิมพ์ ๒๔๗๕
จำนวนหน้า ๗๑ หน้า
หมายเหตุ พิมพ์ในงานฉลองพระนคร ๑๕๐ ปี และฉลองสะพาน พ.ศ.๒๔๗๕
เป็นเรื่องพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งปริวรรตจากสมุดข่อยปกดำและพงษาวดารบางตอนมีพระราชประวัติพระเจ้าตากสินส่วนหนึ่งด้วย
ชื่อผู้แต่ง คณะแพทย์ศิริราชพยาบาล
ชื่อเรื่อง วันมหาวิปโยคกับศิริราช
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ไทยเขษม
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๗
จำนวนหน้า ๑๐๒ หน้า
หนังสือ วันมหาวิปโยคกับศิริราช เป็นหนังสือที่บันทึกเหตุการณ์เรื่องราวเกี่ยวกับบทบาทของโรงพยาบาลศิริราชที่เกิดขึ้นจริงๆ ในวันมหาวิปโยค ๑๔-๑๕ ตุลาคม ๒๕๑๖ และเป็นความรู้สึกจริงๆ ของผู้เขียนที่เกิดขึ้นจริงในขณะนั้น พร้อมกับภาพความรุนแรงที่เกิดขึ้นจริงๆ โดยรายได้จากการจำหน่ายหนังสือนี้เพื่อสมทบทุนในการตีพิมพ์สารศิริราช ซึ่งเป็นหนังสือวารสารทางการแพทย์ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
แผ่นดินเผารูปพระสงฆ์สามองค์อุ้มบาตร พบจากการดำเนินงานทางโบราณคดีที่เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี อาจเป็นหลักฐานที่เก่าที่สุดซึ่งเกี่ยวข้องกับการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในดินแดนไทย เนื่องจากรูปแบบการครองจีวรของภาพพระภิกษุบนแผ่นดินเผา เป็นแบบห่มคลุม ริ้วจีวรมีขนาดใหญ่ คล้ายกับการครองจีวรของพระพุทธรูปศิลปะอินเดียแบบอมราวดี ซึ่งกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๙ – ๑๐ (ประมาณ ๑,๖๐๐ – ๑,๗๐๐ ปีมาแล้ว) สันนิษฐานว่าเป็นประติมากรรมที่สร้างขึ้นในท้องถิ่น มิได้เป็นการนำเข้ามาจากภายนอก เนื่องจากทำด้วยดินเผาที่มีส่วนผสมของดินดิบ และแกลบค่อนข้างหยาบ ประกอบกับประติมากรรมนี้มีแผ่นหลังซึ่งน่าจะใช้ประดับติดเข้ากับผนังของศาสนสถาน
อนึ่ง ภายในเมืองโบราณอู่ทองยังพบชิ้นส่วนประติมากรรมปูนปั้นประดับศาสนสถานแสดงภาพระพุทธรูปประทับ นั่งขัดสมาธิอย่างหลวมๆ เหนือขนดนาค ซึ่งนักวิชาการบางท่านกำหนดอายุจากรูปแบบศิลปกรรมว่าได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบอมราวดีเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามยังไม่มีการค้นพบโบราณสถานหรือโบราณวัตถุที่สร้างขึ้นในท้องถิ่น และมีรูปแบบศิลปกรรมร่วมสมัยกันกับแผ่นดินเผารูปพระภิกษุสามองค์อุ้มบาตร และพระพุทธรูปเหนือขนดนาคปูนปั้นที่กล่าวไป ทำให้นักวิชาการบางท่านมีความเห็นเรื่องอายุสมัยของโบราณวัตถุดังกล่าวแตกต่างกันออกไป โดยหากเชื่อว่าโบราณวัตถุนี้ มีอายุสมัยใกล้เคียงกับศิลปะอินเดียแบบอมราวดี ก็จะนับเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า ชุมชนแถบนี้ได้เปลี่ยนจากความเชื่อท้องถิ่นดั้งเดิม หันมานับถือพระพุทธศาสนา มีการสร้างรูปเคารพ รวมทั้งศาสนสถาน แสดงให้เห็นว่าระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๙ – ๑๑ พระพุทธศาสนาได้หยั่งรากลง ณ บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย และเป็นที่ยอมรับในหมู่ชนพื้นเมืองแล้ว โดยมีเมืองโบราณอู่ทองเป็นศูนย์กลางสำคัญของการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในระยะแรกเริ่ม
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. ศิลปะทวารวดี ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, ๒๕๕๒.
ผาสุข อินทราวุธ. ทวารวดี : การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรสมัย,๒๕๔๒.
พนมบุตร จันทรโชติ และคณะ. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง และเรื่องราวสุวรรณภูมิ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๕๐.
พระพุทธรูปปางโปรดมหิสสรเทพบุตร
รัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๕ หรือประมาณ ๑๐๐ ปีมาแล้ว
ทองเหลืองปิดทองคำเปลว
ขนาด สูง ๓๘.๕ เซนติเมตร ฐานกว้าง ๑๖.๕ เซนติเมตร
พระพุทธรูปประทับยืนบนเศียรมหิสสรเทวะทรงโคนนทิ สร้างขึ้นตามเรื่องราวครั้งพระพุทธเจ้าโปรดสั่งสอนมหิสสรเทพบุตร หรือมหิสสรเทวะ ครั้งนั้นมหิสสรเทพบุตรได้ท้าประลองฤทธิ์กับพระพุทธองค์เนื่องจากไม่พอใจเหล่าเทวดาที่ไปเคารพพระพุทธเจ้า โดยจำแลงซ่อนกายไว้ทว่าพระพุทธองค์ทรงทราบได้ทันทีว่ามหิสสรเทพบุตรอยู่ที่ใด และเมื่อถึงคราวพระพุทธองค์ซ่อนกาย ปรากฏว่ามหิสสรเทพบุตรไม่ทราบว่าพระพุทธเจ้าซ่อนกายพระองค์อยู่ใกล้กับพระนลาฏ (หน้าผาก) ของตน และเมื่อมหิสสรเทพบุตรหาไม่พบจึงจำนน จากนั้นพระพุทธเจ้าตรัสเทศนาธรรมโปรดมหิสสรเทพบุตรจนบรรลุธรรมและตั้งปณิธานขอเป็นพระสัพพัญญู เมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว มหิสสรเทพบุตรได้เนรมิตรพุทธปฏิมา แล้วอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วิหารบนเขาไกรลาส โดยมีหมู่ลิงเป็นผู้ดูแลมหาวิหาร ในขณะอัญเชิญพระปฏิมานั้น มหิสสรเทพบุตรได้อัญเชิญโดยยกเทินไว้เหนือเศียร
เรื่องราวของมหิสสรเทพบุตรได้รับการกล่าวถึงใน คัมภีร์หมวดโลกศาสตร์ โดยเฉพาะฝ่ายเถรวาทที่ปรากฏในประเทศไทย เช่น คัมภีร์โลกบัญญัติ โลกสัณฐานโชตรคัณฐี ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา ฯลฯ โดยพรรณนาลักษณะของมหิสสรเทพบุตร หรือมหิสสรเทวะให้คล้ายคลึงกับพระอิศวร (พระศิวะ) ในศาสนาพราหมณ์ฮินดู ว่า มีมเหสีชื่ออุมาเทวี มีบุตรชื่อขันธกุมาร ทรงโคชื่อนนทิ ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนจากพระพุทธรูปปางโปรดมหิสสรเทพบุตรนี้ ว่าทรงโคนนทิอยู่ โคนนทินั้นคือพาหนะประจำองค์ของพระศิวะ
ปัจจุบันพระพุทธรูปปางโปรดมหิสสรเทพบุตร จัดแสดงในห้องประวัติศาสตร์ธนบุรี – รัตนโกสินทร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ค้นคว้าโดย นายภานุพันธ์ ศิริสอน
นักศึกษาฝึกงาน สาขาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ขอเชิญชม
นิทรรศการออนไลน์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง
“สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงกับพระราชกรณียกิจด้านการสาธารณสุขและสังคมสงเคราะห์”
https://virtual-ex.web.app/
ตลอดเดือนสิงหาคม ๒๕๖๔
ผ่านทาง facebook หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช https://www.facebook.com/narama9 และที่ เว็บไซต์ http://www.finearts.go.th/narama9
โดยหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
องค์ความรู้หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา
เรื่อง ตามรอยกระเบื้องดินเผาด่านเกวียน
นับเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี ที่อาคารหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา ยังคงความสวยงามและร่วมสมัย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะตัวอาคารได้มีการตกแต่งด้วย "กระเบื้องดินเผาด่านเกวียน" ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถแสดงถึงอัตลักษณ์ของชาวจังหวัดนครราชสีมาได้เป็นอย่างดี