ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ

ชื่อเรื่อง : ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว บทละครพูดเขียนตามเรื่องของ ท. เลียงพิบลูย์ ชื่อผู้แต่ง : ปิ่น มาลากุล, ม.ล. ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภา จำนวนหน้า : 298 หน้า สาระสังเขป : ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นบทละครพูด 4 เรื่อง ประกอบด้วย เรื่อง ทานชีวิต ที่สะท้อนให้เห็นถึงการทำดีได้ดี เรื่อง คนมีบาป ที่สะท้อนให้เห็นถึงการทำชั่วได้ชั่ว เรื่องลูกสาวเจ้าของบ้าน เป็นการพบกันของคนใจดีและคนใจชั่ว และเรื่องหนี้ชีวิต เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับกฏแห่งกรรม และการรู้ผิดชอบชั่วดี


          สุทธิศักดิ์ ระบอบ สุขสุวานนท์“สมเด็จพระนเรศวร” พระนามแปลกปลอมของ “สมเด็จพระนเรศ”.ศิลปวัฒนธรรม.(27).3;ม.ค.2549           “สมเด็จพระนเรศวร” เป็นพระนามที่พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยากลุ่มฉบับความพิสดารใช้เรียกพระราชโอรสองค์ใหญ่ในสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า กษัตริย์กรุงศรีอยุทธยาผู้ขึ้นเสวยราชสมบัติต่อจากพระราชบิดาใน พ.ศ. ๒๑๓๓ แต่แท้ที่จริงพระนามนี้หาใช่พระนามทางการของพระองค์ไม่           หลักฐานร่วมสมัยอย่างศิลาจารึกวัดอันโลก (รามลักษณ์) หมายเลข K 27 เรียกพระนามร่วมสมัยของพระองค์เมื่อคราวยกทัพไปตีเมืองละแวกใน พ.ศ. ๒๑๓๑ ว่า “พระนเรสส”           พระไอยการกระบดศึกที่ตราขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระนเรศเอง อันเป็นพระบรมราชโองการของสมเด็จพระเอกาทศรุทรอิศวรพระอนุชาเมื่อ พ.ศ. ๒๑๓๖ ออกพระนามพระองค์ว่า “สมเดจ์บรมบาทบงกชลักษณอัคบุริโสดมบรมหน่อนราเจ้าฟ้านเรศเชษฐาธิบดี” ตรงกับมหาราชวงศ์พงษาวดารพม่า (พงศาวดารฉบับหอแก้ว) ที่พระเจ้าอังวะจักกายแมง (พะคยีดอ) โปรดให้ราชบัณฑิตเรียบเรียงขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๗๒ เรียกว่า “พระนเรศ”           พงศาวดารฯ ฉบับวันวลิต (The Short History of the Kings of Siam) ของเยเรมีส ฟาน ฟลีต (Jeremias van Vlient) หัวหน้าสถานีการค้าบริษัทอินเดียตะวันออก (The East India Company) ของฮอลันดา ซึ่งเรียบเรียงขึ้นในรัชกาลพระเจ้าปราสาททองเมื่อ พ.ศ. ๒๑๘๒ เรียกพระองค์ว่า “พระนริศ” (Prae Naerith) และ “พระนริศราชาธิราช” ตรงกับคำให้การชาวกรุงเก่า (โยธยา ยาสะเวง) จากการสอบปากคำเชลยศึกชาวศรีอยุทธยาเมื่อครั้งเสียกรุงใน พ.ศ. ๒๓๑๐ เรียกพระองค์ว่า “พระนริศ” และคัมภีร์สังคีติยวงศ์ของสมเด็จพระพนรัตน์วัดพระเชตุพน (สมัยที่ยังดำรงสมณศักดิ์พระพิมลธรรม) ซึ่งรจนาเป็นภาษาบาลีใน พ.ศ. ๒๓๓๒ เรียกพระองค์ว่า “พระนริสสราช” (นริสฺสราชา) อันมีความหมายเช่นเดียวกับพระนามว่า “สมเด็จพระนเรศ”


นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ในสาระสำคัญต่าง ๆ และเพื่ออนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ


ชื่อเรื่อง : ปัญญาสชาดก เล่ม ๒ ผู้แต่ง : คณะสงฆ์หนเหนือ ปีที่พิมพ์ : 2552 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : อาทรการพิมพ์


ชื่อเรื่อง : วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดเชียงใหม่ ผู้แต่ง : คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปีที่พิมพ์ : 2542 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กระทรวงมหาดไทย : กระทรวงศึกษาธิการ และกรมศิลปากร


ชื่อผู้แต่ง        กรมศิลปากร กองหอสมุดแห่งชาติ   ชื่อเรื่อง          ชินมหานิทาน เล่ม ๑ ภาคภาษาบาลี   พิมพ์ครั้งที่      ๑   สถานที่พิมพ์   กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์      ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล สหประชาพาณิชย์   ปีที่พิมพ์           ๒๕๓๐     จำนวนหน้า       ๒๙๑     หน้า   หมายเหตุ        จัดพิมพ์เฉลิมพระเกียรติในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบพระบาทสมเด็จประปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราชชินมหานิทานเป็นเอกสารวิชาการ หอสมุดแห่งชาติ อันดับที่๑/๒๕๓๐ จัดทำขึ้นเนื่องในมหามลคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ ๙ เมื่อ ๕ ธันวาคม๒๕๓๐ กรมศิลปากรมอบหมายให้กองหอสมุดแห่งชาติจัดพิมพ์หนังสือชินมหานิทานขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชาสืบอายุพระพุทธศาสนาตามคตินิยมแต่โบราณและขอถวายเป็นพระราชกุศล






***บรรณานุกรม***     ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ     ปีที่ 16(7)     ฉบับที่ 661(255)    วันที่ 1-15 กันยายน 2534


+++โบราณสถานวัดพระพายหลวง+++ โบราณสถานวัดพระพายหลวงตั้งอยู่ใกล้ประตูเมืองด้านทิศเหนือ โดยอยู่ขนานกับกำแพงเมืองชั้นนอก จัดเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ และมีความสำคัญมากต่อประวัติศาสตร์สุโขทัย เพราะมีสิ่งก่อสร้างในรูปแบบสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของเมืองสุโขทัย และก่อสร้างเพิ่มเติมสืบต่อกันมาจนถึงสมัยสุโขทัยตอนปลาย . กลุ่มโบราณสถานตั้งอยู่ตรงกลางในพื้นที่ที่มีคูน้ำล้อมรอบ คูน้ำแต่ละด้านมีความยาวประมาณ ๖๐๐ เมตร โบราณสถานที่เก่าแก่ที่สุดเป็นปราสาทแบบเขมร ๓ องค์ ปัจจุบันพังทลายลงเหลือเพียงฐาน ๒ องค์ และที่สมบูรณ์เพียงองค์ด้านทิศเหนือ มีลวดลายปูนปั้นประดับเล่าเรื่องตามพุทธประวัติเหมือนกับปราสาทที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี และปราสาทปาลิไลย์ ในเมืองพระนครหลวงของเขมร เป็นเครื่องยืนยันว่า ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ชุมชนสุโขทัยมีวัฒนธรรมร่วมกับเขมรในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ และมีความเกี่ยวข้องกับเมืองละโว้ (ลพบุรี) เมืองใหญ่ที่เป็นตัวแทนของวัฒนธรรมเขมร ในที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลางของประเทศไทย . ถัดจากปราสาทไปทางตะวันออก มีวิหาร มีเจดีย์ทรงเหลี่ยมแบบปิรามิดประดับทุกด้านด้วยซุ้มพระพุทธรูปลดหลั่นเป็นชั้น ๆ ขึ้นไป เหมือนกับเจดีย์กู่กุด จังหวัดลำพูน ที่เจดีย์นี้มีหลักฐานการก่อสร้างทับซ้อนกันหลายสมัย เช่น มีพระพุทธรูปในซุ้มเป็นแบบหมวดวัดตระกวนอยู่ภายใน โดยถูกปิดและซ้อนทับอยู่ด้วยพระพุทธรูปสุโขทัยหมวดใหญ่อันเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เป็นต้น . ทางด้านตะวันออกสุดของกลุ่มโบราณสถาน เป็นมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปในอิริยาบท เดิน ยืน และนอน ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะสร้างในสมัยหลังที่สุดในบรรดาโบราณสถานที่กล่าวมาแล้ว คือในสมัยสุโขทัยตอนปลาย อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐


“เครื่องเคลือบสีขาว (White Monochrome Wares)” เป็นกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาที่เคลือบด้วยน้ำยาเคลือบสีขาวหรือสีขาวอมฟ้า มักเป็นเครื่องเคลือบจำพวกกระปุกขนาดเล็กและเครื่องตกแต่งสถาปัตยกรรม “เครื่องเคลือบสีน้ำตาลถึงสีดำ (Brown / Black Monochrome Wares)” เป็นกลุ่มเครื่องเคลือบที่มีสีน้ำตาลไปจนถึงสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ โดยมากมีคุณภาพด้อยกว่าเครื่องเคลือบสีเขียวและเครื่องเคลือบเขียนลายใต้เคลือบ ส่วนใหญ่เป็นภาชนะในกลุ่ม ไห กระปุก ตุ๊กตา เป็นต้น “เครื่องเคลือบสองสี (Incised Brown – and – Pearl Wares)” เป็นเครื่องเคลือบในระยะหลัง พบเฉพาะที่แหล่งเตาบ้านป่ายาง เมืองศรีสัชนาลัย โดยตกแต่งภาชนะด้วยเทคนิคการขูดขีดเป็นลวดลายแล้วระบายสีด้วยสีขาวสลับกับสีน้ำตาลก่อนนำไปเคลือบ เครื่องเคลือบประเภทนี้มีรูปแบบไม่หลากหลายและพบจำนวนไม่มาก นักวิชาการจึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นภาชนะที่ใช้ในพิธีกรรมหรือเป็นภาชนะสำหรับชนชั้นสูง มักทำเป็นภาชนะจำพวกตลับ ผอบ กาน้ำ เป็นต้น




ชื่อเรื่อง                           ฌาปนกิจฺจานิสํสกถา (อานิสงส์เผาศพ)สพ.บ.                             175/1ขประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           32 หน้า กว้าง 4.7 ซ.ม. ยาว 54.9 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 อานิสงส์เผาศพบทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ภาษาบาลี-ไทย ฉบับลานดิบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี  


Messenger