ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

สำนักช่างสิบหมู่ นำเสนอ E – book ความรู้เรื่อง : การเขียนภาพจิตรกรรมประกอบนิทรรศการพิเศษ เรื่อง "เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก" ณ พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ภาพจิตรกรรมเรือสำเภาแล่นในท้องทะเล เป็นภาพแสดงท้องทะเลและเรือสำเภาขนส่งสินค้าเดินทางติดต่อค้าขาย มีทั้งเรือสำเภาญี่ปุ่น จีน อยุธยา และยุโรปโดยจัดวาง องค์ประกอบเพื่อสื่อให้เห็นถึงบรรยากาศการเดินทางติดต่อค้าขาย ด้วยเรือสำเภาระหว่างเมืองท่าญี่ปุ่น อยุธยาและยุโรปนำไปติดตั้งสร้างบรรยากาศ ประกอบกับการจัดแสดงภายในนิทรรศการ ผู้เรียบเรียงและออกแบบ นายธรรมรัตน์ กังวาลก้อง จิตรกรปฏิบัติการ สังกัด กลุ่มจิตรกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลด E – book ขั้นตอนการเขียนภาพจิตรกรรมได้จากลิ้งค์ที่แนบด้านล่างนะคะ ------------------------------------------------ https://datasipmu.finearts.go.th/academic/84 ------------------------------------------------ #佐賀県有田焼展覧会バンコク国立博物館 #SagaAritaThaiceramicexhibitionBangkokNationalmuseum #นิทรรศการไทยญี่ปุ่นเซรามิกอาริตะพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร


ชื่อเรื่อง                                  สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                     26/1ประเภทวัสดุ/มีเดีย               คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                          44 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                                  พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


องค์ความรู้ เรื่อง น้ำถุ้ง เรียบเรียงโดย พิมพ์สวาท จิตวรรณา เจ้าพนักงานห้องสมุดชำนาญงาน หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ น้ำถุ้ง เป็นภาชนะที่ใช้ตักน้ำจากบ่อน้ำ ทำด้วยไม้ไผ่ มีรูปทรงกรวยป้าน ก้นแหลม มีงวงหรือหูจับทำด้วยไม้ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒๐ - ๓๐ เซนติเมตร สูงประมาณ ๒๕ เซนติเมตร เป็นการออกแบบที่แสดงออกถึงภูมิปัญญาของชาวชนบทภาคเหนือ สำหรับการใช้งานตามความต้องการได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากชาวล้านนามักจะขุดบ่อน้ำไว้ใช้สำหรับใช้ในครัวเรือน บ่อน้ำที่ขุดมีความลึกเกินกว่าที่จะเอื้อมมือตักได้ จึงจำเป็นต้องใช้ภาชนะสำหรับตักน้ำขึ้นมาใช้ การสานน้ำถุ้ง เริ่มที่การทำแบบไม้รูปทรงคล้ายน้ำถุ้งคว่ำหรือบางรายก็ใช้น้ำถุ้งเก่าเป็นแม่แบบ ใช้ตอกแบนเป็นโครงเส้นยืนวางทับไขว้กันบนแบบในลักษณะรัศมีออกจากศูนย์กลาง ใช้ตอกส่วนผิวเส้นเล็กสานขัดวนขึ้นมาแบบลายก้นหอยจากศูนย์กลางส่วนก้น ๔-๕ รอบแล้วสลับเส้นที่บางแต่กว้างกว่ามาสานต่ออีกจนได้ระดับความสูงประมาณ ๑๕ เซนติเมตร จึงตัดปลายตอก เมื่อได้โครงไม้ไผ่เสร็จแล้วก็ทามูลควายเป็นการอุดรูรั่วไว้ชั้นหนึ่งก่อน หลังจากนั้นจึงติดงวงแล้วนำไปลงชัน ทางภาคเหนือเรียกว่า “ขี้หย้า” ซึ่งเป็นยางไม้ที่เกิดจากแมลงตัวเล็ก ๆ สีแดงคล้ายแมงหวี่ ก่อรังตามต้นเหียง ต้นรัง และต้นแงะ(ต้นเต็ง) ลักษณะเป็นก้อนแข็งสีขาวหม่นก่อนทาต้องนำมาตำแล้วร่อนเอาผงละเอียดผสมกับน้ำมันยางหรือน้ำมันก๊าดทาเคลือบผิวหรือหากต้องการความรวดเร็วอาจจะไม่ลงมูลสัตว์แต่ต้องใช้ผงชันผสมน้ำมันก๊าดทาทับผิว ก็จะได้น้ำถุ้งที่ไม่มีรูรั่ว ทนน้ำ หรือบางบ้านก็อาจนำสังกะสีมาดัดแปลงแทนไม้ไผ่ซึ่งมีความคงทนแต่ถ้าใช้ไปนาน ๆ อาจเกิดสนิมได้ รูปทรงของน้ำถุ้ง ที่เป็นกรวยป้าน คือปากกว้าง ก้นแหลมโค้งมน ทำให้น้ำถุ้งจมผ่านผิวน้ำได้เร็วขึ้น หูที่ทำจากไม้ไขว้กันก็จะเพิ่มน้ำหนักช่วยกดปากน้ำถุ้งให้จมลงและน้ำเข้าได้ง่ายเมื่อโยนลงไปในบ่อน้ำ ปัจจุบัน การใช้น้ำถุ้งเป็นภาชนะตักน้ำจากบ่อแทบไม่มีให้เห็น แต่ละบ้านมีการใช้น้ำประปาแทนการตักน้ำจากบ่อน้ำ น้ำถุ้งจึงเปลี่ยนบทบาทจากภาชนะที่ใช้ในชีวิตประจำวันเป็นภาชนะที่ใช้ประดับตกแต่งสถานที่เพื่อความสวยงาม#องค์ความรู้สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร  


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 128/7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 164/6 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)




ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           19/1ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                38 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


เลขทะเบียน : นพ.บ.589/1ข                       ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 102 หน้า ; 4 x 49 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 190  (378-384) ผูก 1ข (2566)หัวเรื่อง : พระสังคิณี--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



                   ๒๑ เมษายน ๒๕๖๖ วันแห่งการสถาปนา “กรุงรัตนโกสินทร์” และวันยกเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเวลา ๒๔๑ ปี ทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี จึงเรียบเรียงเรื่องราวสำคัญนี้ขึ้นมา เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี           เป็นเรื่องราวก่อนวันสถาปนา “กรุงรัตนโกสินทร์” รัชสมัยที่ราชธานียังคงเป็น “กรุงธนบุรี”ปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่เกิดการจลาจลขึ้นในกรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก หรือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ระงับจลาจลราบคาบ และทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ในวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๓๒๕           และนำไปสู่เหตุการณ์ที่สำคัญอย่างยิ่งต่อรัชสมัย “กรุงรัตนโกสินทร์” นั้นคือ เหตุการณ์การย้ายราชธานี โดยราชธานีใหม่นั้นก็คือ “กรุงเทพมหานคร” หรือชื่อเต็มในขณะนั้นเรียกกันว่า “กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้อธิบายถึงสาเหตุของการย้ายราชธานีในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ไว้ว่า           “ฝั่งฟากตะวันออก (กรุงเทพฯ) เป็นที่ชัยภูมิดีกว่าที่ฟากตะวันตก (กรุงธนบุรี) โดยเป็นแหลมมีลำแม่น้ำเป็นขอบเขตต์อยู่กว่าครึ่ง ถ้าตั้งพระนครข้างฝั่งตะวันออก (กรุงเทพฯ) แม้นข้าศึกยกมาติดถึงชานพระนครก็ต่อสู้ป้องกันได้ง่ายกว่าอยู่ข้างฝั่งตะวันตก (กรุงธนบุรี) ฝั่งตะวันออก (กรุงเทพฯ) นั้นเสียแต่เป็นที่ลุ่ม เจ้ากรุงธนบุรีจึงได้ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตก (กรุงธนบุรี) ที่เป็นดอน แต่ก็เป็นที่ท้องคุ้งน้ำเซาะทรุดพังอยู่เสมอไม่ถาวร พระราชนิเวศน์มนเทียรสถานเล่า ก็ตั้งอยู่ในอุปจาร ระหว่างวัดแจ้งและวัดท้ายตลาดขนาบอยู่ทั้ง ๒ ข้าง ควรเป็นที่รังเกียจ ” โดยสรุปสาเหตุที่ย้ายราชธานีเพราะ          ๑. ที่ตั้งราชธานีใหม่ (กรุงเทพฯ) อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่นํ้าเจ้าพระยา เป็นพื้นที่กว้างขวางเป็นชัยภูมิที่เหมาะแก่การป้องกันตัวเองจากข้าศึก          ๒. ที่ตั้งราชธานีเดิม (กรุงธนบุรี) อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่นํ้าเจ้าพระยาเป็นที่ที่นํ้าเซาะ          ๓. ราชธานีเดิม (กรุงธนบุรี) มีวัดขนาบทั้งสองข้างไม่เหมาะแก่การที่จะขยายพระราชวังออกไปได้อีก           ในวาระการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๔๑ ปี ในวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๖ นี้ ถือเป็นโอกาสดีที่คนไทย โดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ จะได้เรียนรู้และสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องประวัติศาสตร์ความเป็นมาของการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก่อให้เกิดความรักและภาคภูมิใจในความเป็นไทย ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรม




ชื่อเรื่อง                      ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏธกถา ขุทฺทกนิกายฏธกถ (ธมฺมปทขั้นปลาย)อย.บ.                           240/10หมวดหมู่                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ               60 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ; ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                        พุทธ                                      ศาสนา                                                           บทคัดย่อ/บันทึก     เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ


ชื่อเรื่อง                    ภูมินามอำเภอบางบัวทองผู้แต่ง                      พิศาล  บุญผูกประเภทวัสดุ/มีเดีย      หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                978-616-505-490-4หมวดหมู่                  ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ เลขหมู่                     959.312 พ757ภสถานที่พิมพ์              กรุงเทพฯสำนักพิมพ์                โครงการบริการวิชาการแก่สังคม สำนักบรรณสารสนเทศ                              มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชปีที่พิมพ์                   2554ลักษณะวัสดุ              276 หน้า : ภาพประกอบ ; 23 ซม.หัวเรื่อง                    อำเภอ -- ไทย -- นนทบุรี                             บางบัวทอง (นนทบุรี) -- ประวัติ                             บางบัวทอง (นนทบุรี) -- ความเป็นอยู่และประเพณี                             บางบัวทอง (นนทบุรี) -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยวภาษา                      ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                              รวบรวมข้อมูลสำคัญที่ทำให้ทราบความเป็นมาตั้งแต่อดีตของอำเภอบางบัวทองได้ชัดเจนยิ่งขึ้น


องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านตั๋วเมืองน่ารู้...ร่วมอนุรักษ์และสืบสานอักษรธรรมล้านนา"หอฅำ/หอคำ" --- ตามความหมายในพจนานุกรมภาษาล้านนา หมายถึง ปราสาท, ราชวัง, เรือนของเจ้าผู้ครองแคว้น--- ในอดีตพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน คือ หอคำของเจ้าผู้ครองนครน่าน สร้างขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๔๔๖ ในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าเมืองน่านองค์ที่ ๖๓ (ครองเมืองน่าน พุทธศักราช ๒๔๓๖ - ๒๔๖๑) บริเวณหอคำหรือคุ้มหลวงเป็นที่พำนักและที่ออกว่าราชการของเจ้าเมืองน่านในอดีต อาคารที่ใช้จัดแสดงในปัจจุบันเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้นแบบตรีมุขหรือรูปตัวที รูปแบบผสมผสานระหว่างศิลปะไทยและศิลปะตะวันตก โครงสร้างภายในเป็นไม้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก--- หลังจากที่เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ ๖๔ (เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย) ถึงแก่พิราลัย พุทธศักราช ๒๔๗๔ และเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ ตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครน่านจึงถูกยุบยกเลิกไป อาคารหอคำถูกใช้เป็นศาลากลางจังหวัดน่าน ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๗๖ เป็นต้นมา--- เมื่อมีการก่อสร้างศาลากลางจังหวัดน่านหลังใหม่ขึ้น กระทรวงมหาดไทยจึงมอบอาคารหอคำพร้อมกับพื้นที่คุ้มหลวงให้กรมศิลปากร เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๑๗--- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ตามความในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๐๓ ตอนที่ ๒๕ วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๒๙ และได้เปิดให้บริการแก่ประชาชนอย่างเป็นทางการ โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๐--- นอกจากนั้น หอคำ หรือ อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ยังได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้เป็นอาคารอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทอาคารสาธารณะ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๒ และในปีพุทธศักราช ๒๕๔๖ จังหวัดน่าน โดยสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดน่าน ได้กำหนดให้ หอคำ (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน)  เป็นศูนย์กลางของพื้นที่เมืองประวัติศาสตร์น่านชั้นใน (หัวแหวนเมืองน่าน) ลงวันที่ ๑๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๖ เพื่อคุ้มครองโบราณสถาน อาคารประวัติศาสตร์ รวมทั้งปกป้องภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมอันเป็นเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมของเมืองน่าน ภายในบริเวณพื้นที่แห่งนี้ให้คงอยู่เป็นมรดกของแผ่นดินสืบไป...อ้างอิง: ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รุ่งเรืองศรี. พจนานุกรมล้านนา - ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง. เชียงใหม่; โครงการสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ. ปรับปรุงครั้งที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๗, หน้า ๘๑๗.#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน #อักษรธรรมล้านนา


Messenger