หอฅำ/หอคำ
องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน
ตั๋วเมืองน่ารู้...ร่วมอนุรักษ์และสืบสานอักษรธรรมล้านนา
"หอฅำ/หอคำ"
--- ตามความหมายในพจนานุกรมภาษาล้านนา หมายถึง ปราสาท, ราชวัง, เรือนของเจ้าผู้ครองแคว้น
--- ในอดีตพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน คือ หอคำของเจ้าผู้ครองนครน่าน สร้างขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๔๔๖ ในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าเมืองน่านองค์ที่ ๖๓ (ครองเมืองน่าน พุทธศักราช ๒๔๓๖ - ๒๔๖๑) บริเวณหอคำหรือคุ้มหลวงเป็นที่พำนักและที่ออกว่าราชการของเจ้าเมืองน่านในอดีต อาคารที่ใช้จัดแสดงในปัจจุบันเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้นแบบตรีมุขหรือรูปตัวที รูปแบบผสมผสานระหว่างศิลปะไทยและศิลปะตะวันตก โครงสร้างภายในเป็นไม้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
--- หลังจากที่เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ ๖๔ (เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย) ถึงแก่พิราลัย พุทธศักราช ๒๔๗๔ และเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ ตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครน่านจึงถูกยุบยกเลิกไป อาคารหอคำถูกใช้เป็นศาลากลางจังหวัดน่าน ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๗๖ เป็นต้นมา
--- เมื่อมีการก่อสร้างศาลากลางจังหวัดน่านหลังใหม่ขึ้น กระทรวงมหาดไทยจึงมอบอาคารหอคำพร้อมกับพื้นที่คุ้มหลวงให้กรมศิลปากร เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๑๗
--- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ตามความในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๐๓ ตอนที่ ๒๕ วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๒๙ และได้เปิดให้บริการแก่ประชาชนอย่างเป็นทางการ โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๐
--- นอกจากนั้น หอคำ หรือ อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ยังได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้เป็นอาคารอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทอาคารสาธารณะ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๒ และในปีพุทธศักราช ๒๕๔๖ จังหวัดน่าน โดยสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดน่าน ได้กำหนดให้ หอคำ (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน) เป็นศูนย์กลางของพื้นที่เมืองประวัติศาสตร์น่านชั้นใน (หัวแหวนเมืองน่าน) ลงวันที่ ๑๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๖ เพื่อคุ้มครองโบราณสถาน อาคารประวัติศาสตร์ รวมทั้งปกป้องภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมอันเป็นเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมของเมืองน่าน ภายในบริเวณพื้นที่แห่งนี้ให้คงอยู่เป็นมรดกของแผ่นดินสืบไป...
อ้างอิง:
ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รุ่งเรืองศรี. พจนานุกรมล้านนา - ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง. เชียงใหม่; โครงการสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ. ปรับปรุงครั้งที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๗, หน้า ๘๑๗.
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน #อักษรธรรมล้านนา
ตั๋วเมืองน่ารู้...ร่วมอนุรักษ์และสืบสานอักษรธรรมล้านนา
"หอฅำ/หอคำ"
--- ตามความหมายในพจนานุกรมภาษาล้านนา หมายถึง ปราสาท, ราชวัง, เรือนของเจ้าผู้ครองแคว้น
--- ในอดีตพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน คือ หอคำของเจ้าผู้ครองนครน่าน สร้างขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๔๔๖ ในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าเมืองน่านองค์ที่ ๖๓ (ครองเมืองน่าน พุทธศักราช ๒๔๓๖ - ๒๔๖๑) บริเวณหอคำหรือคุ้มหลวงเป็นที่พำนักและที่ออกว่าราชการของเจ้าเมืองน่านในอดีต อาคารที่ใช้จัดแสดงในปัจจุบันเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้นแบบตรีมุขหรือรูปตัวที รูปแบบผสมผสานระหว่างศิลปะไทยและศิลปะตะวันตก โครงสร้างภายในเป็นไม้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
--- หลังจากที่เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ ๖๔ (เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย) ถึงแก่พิราลัย พุทธศักราช ๒๔๗๔ และเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ ตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครน่านจึงถูกยุบยกเลิกไป อาคารหอคำถูกใช้เป็นศาลากลางจังหวัดน่าน ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๗๖ เป็นต้นมา
--- เมื่อมีการก่อสร้างศาลากลางจังหวัดน่านหลังใหม่ขึ้น กระทรวงมหาดไทยจึงมอบอาคารหอคำพร้อมกับพื้นที่คุ้มหลวงให้กรมศิลปากร เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๑๗
--- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ตามความในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๐๓ ตอนที่ ๒๕ วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๒๙ และได้เปิดให้บริการแก่ประชาชนอย่างเป็นทางการ โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๐
--- นอกจากนั้น หอคำ หรือ อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ยังได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้เป็นอาคารอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทอาคารสาธารณะ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๒ และในปีพุทธศักราช ๒๕๔๖ จังหวัดน่าน โดยสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดน่าน ได้กำหนดให้ หอคำ (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน) เป็นศูนย์กลางของพื้นที่เมืองประวัติศาสตร์น่านชั้นใน (หัวแหวนเมืองน่าน) ลงวันที่ ๑๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๖ เพื่อคุ้มครองโบราณสถาน อาคารประวัติศาสตร์ รวมทั้งปกป้องภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมอันเป็นเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมของเมืองน่าน ภายในบริเวณพื้นที่แห่งนี้ให้คงอยู่เป็นมรดกของแผ่นดินสืบไป...
อ้างอิง:
ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รุ่งเรืองศรี. พจนานุกรมล้านนา - ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง. เชียงใหม่; โครงการสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ. ปรับปรุงครั้งที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๗, หน้า ๘๑๗.
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน #อักษรธรรมล้านนา
(จำนวนผู้เข้าชม 157 ครั้ง)