ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ


โทร. 035 535 501     - ติดต่องานบริหารเอกสาร, เรื่องทำลาย, เรื่องรับมอบเอกสาร, งานบันทึกเหตุการณ์ ต่อ 101     - ติดต่องานเอกสารจดหมายเหตุและบริการ, การทำสำเนาเอกสารจดหมายเหตุ ต่อ 108     - ติดต่องานธุรการ การเงินและพัสดุ ต่อ 101


ปราสาทเมืองแขก   ปราสาทเมืองแขก ตั้งอยู่ห่างจากเมืองเสมาไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ ๔ กิโลเมตร ในเขตบ้านกกกอก ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ก่อสร้างด้วยอิฐและ หินทราย ประกอบไปด้วยปราสาทประธานขนาบข้างด้วยปราสาทบริวาร ๒ หลังตั้งอยู่บน ฐานเดียวกัน หันหน้าไปทางทิศเหนือ ปราสาทประธานมีมณฑปยื่นออกมาข้างหน้า ส่วนปราสาทบริวารมีมุขยื่นออกมาท้งสองข้าง มีบรรณาลัย ข้างละ ๑ หลัง หันหน้าเข้าสู่ มณฑป อาคารทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว มีซุ้มประตูทางเข้าอยู่ตรงกลาง และแนว กำแพงทางด้นทิศตะวันออกมีลักษณะเป็นห้องยาว ถัดออกมาเป็นกำแพงชั้นนอก มีซุ้มประตูทางเข้าอยู่ตรงกลางโดยกำแพง ชั้นนอกนี้ด้านทิศเหนือก่อด้วยอิฐ ส่วนด้านอื่น ๆ ใช้แนวคันดินของสระน้ำรูปตัวยู (U)  ที่ล้อมรอบปราสาทเป็นแนวขอบเขตด้วย ถัดออกมาเป็นอาคารขนาดใหญ่สองหลัง ตั้งหันหน้าเข้าหากัน สันนิษฐานว่าปราสาทหลังนี้สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ โดยมีรูปแบบของ ศิลปะเขมรแบบเกาะแกร์-แปรรูป (ครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๑๕)


อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ขอเผยแพร่ องค์ความรู้ประจำเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๖ เรื่อง "ไหตะเกียงสังคโลกจากเตาหมายเลข ๖๑"     ไหตะเกียงสังคโลก จัดแสดง ณ ศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์เตาสังคโลกหมายเลข ๖๑ เป็นภาชนะดินเผาสังคโลกที่มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากสังคโลกชิ้นอื่นที่พบจากการขุดค้นทางโบราณคดีแหล่งเตาบ้านเกาะน้อยหมายเลข ๖๑ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๖ มีลักษณะเป็นภาชนะทรงไหไม่เคลือบเนื้อแกร่ง (Stoneware) ปากผายกว้าง มีไหขนาดเล็กรูปทรงเดียวกันจำนวน ๔ ใบ (ชำรุดไป ๑ ใบ) ประดับอยู่ที่ไหล่ของภาชนะ บางครั้งก็เรียกว่า “หม้อมีลูก” โดยไหขนาดเล็กที่ไหล่ทั้ง ๔ ใบ ทำหน้าที่เป็นปล่องสำหรับใส่ไส้ตะเกียง ส่วนน้ำมันบรรจุภายในไห สันนิษฐานว่าภาชนะประเภทนี้ผลิตขึ้นเป็นตะเกียงใส่น้ำมันจุดเพื่อให้แสงสว่างในพิธีกรรมในศาสนสถานเป็นหลัก สัมพันธ์กับภาชนะทรงไหไม่เคลือบใบอื่นๆ ที่ขุดพบร่วมกันได้ถูกคนในสมัยสุโขทัยนำมาใช้ในการบรรจุอัฐิฝังไว้ใกล้ฐานเจดีย์และวิหาร ดังได้พบจากการขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดีโบราณสถานหลายแห่ง     อายุสมัยไหสังคโลกนี้คงผลิตขึ้นในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ จากผลการกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์จากชิ้นส่วนผนังเตาหมายเลข ๖๑ ด้วยวิธีเทอร์โมลูมิเนสเซนซ์ (Thermoluminescence Dating - TL) มีค่าอายุราว ๔๔๓ ±๒๙BP หรือราวปีพุทธศักราช ๒๐๒๑ - ๒๐๗๘ เป็นช่วงเวลากรุงศรีอยุธยาเข้าปกครองเมืองศรีสัชนาลัยแล้ว อันเป็นช่วงที่มีการผลิตสังคโลกเพิ่มมากขึ้นเพื่อส่งออกทำให้เกิดขยายตัวของเตาเผาสังคโลกและรูปแบบสังคโลกที่มีความหลากหลายมากขึ้น เอกสารอ้างอิงกรมศิลปากร. เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัยสานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก(ระเบียนรูปเซรามิกไทย-ญี่ปุ่น). กรุงเทพฯ : สำนักบริหารกลาง กรมศิลปากร, ๒๕๖๕. บริษัท นอร์ทเทริ์นซัน (๑๙๓๕) จำกัด. รายงานการขุดค้นทางโบราณคดี : โครงการงานอนุรักษ์หลุมขุดค้นทางโบราณคดีภายในอาคารศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์เตาสังคโลกหมายเลข ๖๑ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. ปีงบประมาณ ๒๕๕๕. (เอกสารอัดสำเนา)อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย. รายงานการขุดค้นทางโบราณคดีเตาเผาสังคโลกหมาย ๖๑, ๑๗๖, ๑๗๗ และ ๑๗๘. งานโบราณคดี โครงการอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย กองโบราณคดี กรมศิลปากร ปีพุทธศักราช ๒๕๒๙-๓๐. (เอกสารอัดสำเนา)


         ภาพปูนปั้นรูปนรสิงห์          - ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔)          - ปูนปั้น          - ขนาด กว้าง ๙๓.๓ ซม. ยาว ๘๒ ซม. หนา ๕ ซม.          เดิมประดับที่ฐานลานประทักษิณด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของเจดีย์จุลประโทน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ นรสิงห์ มีร่างกายท่อนบนเป็นสิงโต และร่างกายท่อนล่างเป็นมนุษย์ นั่งชันเข่า หันหน้าตรง แขนทั้งสองข้างท้าวอยู่บนเข่า ข้อศอกกางออกคล้ายท่าแบก   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40072   ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th


            คณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพิจารณาการจัดทำหนังสือที่ระลึกงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ขยายเวลากำหนดส่งคำขอจัดทำหนังสือที่ระลึกเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2567              เนื่องจากขณะนี้ยังมีหน่วยงานภาครัฐ เอกชน มูลนิธิ สมาคม ชมรม หรือบริษัท/ห้าง/ร้าน ที่มีความประสงค์จะร่วมจัดทำหนังสือที่ระลึกเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 จึงขยายเวลาการส่งแบบคำขอจัดทำหนังสือที่ระลึกฯ โดยขอความร่วมมือดำเนินการตามหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณาที่ได้กำหนดไว้ เพื่อให้การจัดทำหนังสือมีวัตถุประสงค์และลักษณะเนื้อหา รูปแบบ ที่ถูกต้อง เหมาะสม และกรอกแบบการขอจัดทำหนังสือที่ระลึกฯ ตามที่กำหนด ทั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐจะต้องผ่านการพิจารณาและกลั่นกรองจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไป ส่วนหน่วยงานภาคเอกชนจะต้องผ่านการพิจารณาและกลั่นกรองจากหัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร จากนั้นส่งมายัง ฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพิจารณาการจัดทำหนังสือที่ระลึกฯ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2567              สามารถดูรายละเอียดหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณากลั่นกรอง และดาวน์โหลดแบบการขอจัดทำหนังสือที่ระลึกฯ ได้ที่ https://shorturl.at/betJ8 หรือเว็บไซต์ nat.go.th ของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2281 1599 ต่อ 141, 143, 145 โทรสาร 0 2282 3826 E-mail: Korbokor57@gmail.com




ผู้แต่ง : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก ปีที่พิมพ์ : ม.ป.ป. สถานที่พิมพ์ : ตาก สำนักพิมพ์ : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก      กะเหรี่ยงหรือปกาเกอะญอ เป็นกลุ่มชาติพันธ์ที่บรรพบุรุษอพยพมาตั้งถิ่นฐานในแถบภาคเหนือของไทย ชนกลุ่มน้อยเหล่านี้มีวิถีชีวิตที่ต่างจากชนเผ่าอื่นๆ ใช้ชีวิตอิงกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ท่ามกลางกระแสเทคโนโลยีและสังคมวัตถุนิยมในปัจจุบัน ทำให้ปกาเกอะญอต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาอย่างรวดเร็ว จนตั้งตัวไม่ทัน ทำให้เกิดการสับสนในการเลือกรับและปฏิเสธ โดยเฉพาะด้านประเพณีวัฒนธรรมและความเชื่อที่ถูกปรับเปลี่ยนไปตามอิทธิพลของการพัฒนา




พิพิธิภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง พระปฐมเจดีย์: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/phrapathomchedi      ความเป็นมาของการก่อตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ นั้นมีมูลเหตุมาจากความพยายามในการรวบรวมโบราณวัตถุที่กระจัดกระจายอยู่ภายในแขวงมณฑลนครชัยศรี กล่าวคือ ในราวปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) พระองค์ทรงโปรดให้มีการย้ายเมืองนครชัยศรีจากตำบลบ้านท่านา มายังบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ โดยขณะนั้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการรวบรวมโบราณวัตถุที่กระจัดกระจายอยู่ภายในแขวงมณฑลนครชัยศรี เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น ได้มีการรื้อทำลายโบราณสถานและโบราณวัตถุโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ตัดผ่านจังหวัดนครปฐม จึงเกิดการรื้อทำลายโบราณสถานเพื่อปรับหน้าดิน รวมถึงการนำเอาเศษอิฐจากโบราณสถานไปถมสร้างรางรถไฟด้วย ฯลฯ      ดังนั้น ในปี พ.ศ.2438 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงทรงมีพระดำริให้ทำการรวบรวมโบราณวัตถุ ในแขวงมณฑลนครชัยศรี โดยขณะนั้นเจ้าพระยาศรีวิไชยชนินทร์ สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครชัยศรี จึงมอบให้หลวงพุทธเกษตรานุรักษ์ (จร จรณี) กับหลวงไชยราษฎร์รักษา (โพธิ์ เคหะนันท์) เป็นผู้ดำเนินการรวบรวมโบราณวัตถุ     โบราณวัตถุที่รวบรวมได้ในระยะแรก ได้ถูกนำมาเก็บรักษาไว้บริเวณระเบียงคดรอบองค์พระปฐมเจดีย์ ต่อมาได้มีการเคลื่อนย้ายโบราณวัตถุดังกล่าวเข้าไปไว้ในวิหารด้านตรงข้ามพระอุโบสถ ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2454 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงรามชานุภาพ โปรดประทานชื่อวิหารหลังนี้ว่า “พระปฐมเจดีย์พิพิธภัณฑสถาน”     ในปี พ.ศ.2477 กรมศิลปากรได้รับ พระปฐมเจดีย์พิพิธภัณฑสถาน เข้ามาเป็นสาขาหนึ่งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504” นั้น บทบัญญัติในพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้กำหนดให้พิพิธภัณฑสถานในความดูแลของกรมศิลปากร เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติด้วย ดังนั้น พระปฐมเจดีย์พิพิธภัณฑสถาน จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์”     นับตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) งานสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดี ตลอดจนงานขุดแต่งบูรณะโบราณสถานภายในจังหวัดนครปฐม ได้ดำเนินไปอย่างกว้างขว้าง เป็นผลให้มีโบราณวัตถุเพิ่มเข้ามายังพิพิธภัณฑ์ฯเป็นจำนวนมาก ทำให้อาคารจัดแสดงหลังเดิม (อาคารจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์วัดพระปฐมเจดีย์ ในปัจจุบัน) นั้นมีขนาดไม่เพียงพอต่อการจัดแสดงโบราณวัตถุ ที่นับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปี พ.ศ.2510 กรมศิลปากร จึงได้อนุมัติงบประมาณเพื่อใช้ก่อสร้างอาคารจัดแสดงหลังปัจจุบันของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ หลังจากการก่อสร้างแล้วเสร็จ จึงได้เคลื่อนย้ายโบราณวัตถุจากอาคารจัดแสดงหลังเดิม มายังอาคารจัดแสดงหลังใหม่และทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2514 โดยใช้ชื่ออาคารหลังใหม่นี้ว่า “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์” โดยโบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่จัดแสดง ส่วนใหญ่นั้นเป็นโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ เนื่องในวัฒนธรรมทวารวดี






Messenger