ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
องค์ความรู้วิชาการ เรื่อง "ประวัติฤาษีมารกัณเฑยะ" จัดทำข้อมูลโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
เลขทะเบียน : นพ.บ.141/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 44 หน้า ; 4.5 x 50.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 84 (334-339) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : ปุณฺณปทสังคหะ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.89/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.6 x 50 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 52 (103-117) ผูก 6 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺปทฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (ธรรมบท)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.10/1-3
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 23 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 39 (ต่อ)-40) ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2511 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว จำนวนหน้า : 348 หน้า สาระสังเขป : ประชุมพงศาวดารขององค์การค้าคุรุสภาจัดพิมพ์ขึ้น โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงรวบรวม มีรายละเอียด ดังนี้ ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 39 เรื่องจดหมายเหตุของพวกบาทหลวงฝรั่งเศสฯ ตอนแผ่นดินพระเจ้าเอกทัศ, ครั้งกรุงธนบุรี และครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งเป็นจดหมายรายการของคณะบาทหลวงฝรั่งเศสเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ในการมาสอนศาสนาคริสเตียน เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเมืองไทย และประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 40 เรื่อง จดหมายเหตุขอคณะพ่อค้าฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภาคที่ 1 ซึ่งเป็นการจดหมายรายการต่าง ๆ ของพ่อค้าฝรั่งเศส โดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการค้าขาย และประวัติของบ้านเมืองที่ใครรู้เห็นอย่างไรก็บันทึกเอาไว้
อาสนวิหารอัสสัมชัญ เป็นศาสนสถานในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ตั้งอยู่ในซอย โอเรียนเต็ล ถนนเจริญกรุง ๔๐ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ประวัติความเป็นมาของอาสนวิหารอัสสัมชัญ เริ่มจากบาทหลวงยอน บัปติส ปาสกัล (Jean-Baptiste Pascal) ผู้มีเชื้อสายโปรตุเกส ได้รวบรวมเงินจากบรรดาคริสตศาสนิกชนคาทอลิก นำไปมอบให้แก่บาทหลวงเอสปรีต์ ฟลอรังส์ (Esprit-Marie-Joseph Florens) เพื่อสร้างวัดถวายเกียรติแด่พระแม่มารี บาทหลวงฟลอรังส์จึงได้นำเงินส่วนหนึ่งไปซื้อที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณฝั่งตรงข้ามวัดซางตาครู้สเพื่อเตรียมสร้างวัด ภายหลัง เมื่อบาทหลวงฟลอรังส์ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสังฆราช และเดินทางไปเยี่ยมคริสตศาสนิกชนที่ปีนัง ได้มีผู้บริจาคเงินเพื่อสมทบทุนสร้างวัดพระแม่มารี ท่านจึงได้ซื้อที่ดินแปลงที่สองแล้วเริ่มดำเนินการก่อสร้างวัดอัสสัมชัญขึ้น โบสถ์หลังแรกสร้างด้วยอิฐ มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบ “วิลันดา” อันเป็นรูปแบบผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมสยามและสถาปัตยกรรมตะวันตก ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยอยุธยาตอนปลายจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อาคารหลังนี้สร้างแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๓๖๔ และทำพิธีเสก ในวันฉลองแม่พระลูกประคำ ใน พ.ศ. ๒๓๖๕ พระสังฆราชฌ็อง บัปติส ปัลเลอกัวซ์ (Jean-Baptiste Pallegoix) บาทหลวงชาวฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามายังประเทศสยามในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้บันทึกถึงโบสถ์หลังนี้ไว้ในหนังสือ “เล่าเรื่องกรุงสยาม” ดังปรากฏความตอนหนึ่งว่า “มีสำนักคริสตจักร หรือชมรมพวกคริสตังอยู่ห้าแห่งด้วยกันในพระนครหลวง แห่งแรกชื่อชมรมอัสสัมชัญ ซึ่งวิทยาลัยเสมินาร์ตั้งอยู่ที่นั่น ใกล้กับตัวโบสถ์อันงามก่ออิฐถือปูน สร้างมาได้เกือบสี่สิบปีแล้ว ตัวโบสถ์นั้นมีสวนอันกว้างล้อมอยู่โดยรอบ มีบ้านเรือนของพวกคริสตังกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ห่างจากชายฝั่งแม่น้ำ (Me-nam) ลึกไปประมาณหนึ่งร้อยเมตร จะเห็นทำเนียบอันสูงเด่นของมุขนายกมิซซังซึ่งสิ้นค่าก่อสร้างไปถึงสามพันฟรังก์เศษ ชั้นล่างของอาคารหลังนั้นประกอบด้วยห้องนอนสองห้องกับห้องรับแขกอันกว้างใหญ่” ต่อมา บาทหลวงเอมีล กอลมเบต์ (Emile Genest Auguste Colombet) ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอัสสัมชัญระหว่าง พ.ศ. ๒๔๑๘ - ๒๔๗๖ มีความเห็นว่าโบสถ์หลังเดิมคับแคบ ไม่สามารถรองรับคริสตศาสนิกชนซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงได้หารือกับบาทหลวงปิแอร์ ฌ็อง-หลุยส์ โรมิเออ (Pierre Jean Louis Romieu) เหรัญญิกของคณะมิสซังสยามซึ่งรับผิดชอบโรงพิมพ์อัสสัมชัญอยู่ในขณะนั้น และตกลงว่าจะดำเนินการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ทดแทนหลังเดิม โดยจำลองรูปแบบภายนอกอาคารมาจากอาสนวิหารแม่พระแห่งเมืองไซ่ง่อน ประเทศเวียดนาม ส่วนอาคารหลังเดิมได้ถูกรื้อถอนใน พ.ศ ๒๔๔๗ อาสนวิหารหลังใหม่เริ่มวางฐานรากเมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๐ แต่การก่อสร้าง ใช้เวลาหลายปีเนื่องจากอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑ ทำให้การคมนาคมไม่สะดวก และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ขาดแคลน อย่างไรก็ดี อาคารหลังใหม่นี้ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จและเริ่มเปิดใช้ในวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ อาสนวิหารอัสสัมชัญได้รับความเสียหายจากแรงระเบิด จึงต้องซ่อมแซมโดยใช้เหล็กยึดโยงกลางวัด ภายในอาสนวิหารหลังปัจจุบันตกแต่งด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนัง เขียนโดยโจวานนี สกวานชิ (Giovanni Sguanci) จิตรกรจากเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ภาพที่มีความโดดเด่นที่สุดคือ ภาพเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติพระแม่มารีซึ่งอยู่เหนือพระแท่นบูชา ส่วนสิ่งของที่ใช้ประดับตัวอาคาร รวมถึงรูปพระต่างๆ มีทั้งของเก่าที่นำมาจากอาสนวิหารหลังเดิม และของใหม่ที่บาทหลวงกอลมเบต์สั่งมาจากประเทศฝรั่งเศสและประเทศอิตาลี รวมทั้งสิ่งของที่มีผู้บริจาคด้วย อาสนวิหารอัสสัมชัญเคยได้รับเกียรติเป็นสถานที่ต้อนรับสมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ ๒ เมื่อครั้งเสด็จเยือนประเทศไทยใน พ.ศ. ๒๕๒๗ นอกจากนี้ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส พระสันตะปาปาองค์ปัจจุบันยังได้เสด็จมาประกอบพิธีมิสซาเพื่อเยาวชน ในคราวเสด็จเยือนประเทศไทยเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒ ด้วย ซึ่งได้มีการเผยแพร่ภาพข่าวพิธีมิสซาดังกล่าวไปทั่วโลก(ภาพสเก็ตช์) อาสนวิหารอัสสัมชัญหลังเดิม ภาพจากหนังสือ “เล่าเรื่องกรุงสยาม” ของพระสังฆราชฌ็อง บัปติส ปัลเลอกัวซ์ภาพ อาสนวิหารอัสสัมชัญในปัจจุบัน------------------------------------------------------------เรียบเรียงโดย นางสาวพัชรา สุขเกษม นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มแปลและเรียบเรียง สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์------------------------------------------------------------
พระที่นั่งคชกรรมประเวศ ถ่ายเมื่อเป็นพิพิธภัณฑสถานในราวทศวรรษที่ ๒๔๓๐
ในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ สถาปนาพระบาทมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวให้มีพระราชอิสริยยศเทียบเท่ากับพระเจ้าแผ่นดิน จึงทรงดำริให้สร้างพระที่นั่งคชกรรมประเวศ บริเวณชาลาหน้าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระบวรราชวัง เพื่อเป็นเครื่องเฉลิมพระเกียรติยศ โดยพระที่นั่งโถงองค์นี้เป็นพระที่นั่งทรงปราสาทเพียงองค์เดียวที่เคยสร้างในวังหน้า จาก “สาส์นสมเด็จ” ลายพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทูลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๔๗๔ ความตอนหนึ่งว่า “...สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) โปรดปราสาทองค์นั้น (พระที่นั่งคชกรรมประเวศ) มาก ได้เคยทำพิธีพืชน์มงคลที่นั้นครั้งหนึ่ง....”
ตามหลักฐานที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาพบว่า ในพุทธศักราช ๒๔๔๒ (รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๘) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีพืชมงคลที่พระที่นั่งคชกรรมประเวศ โดยมีรายละเอียดดังนี้
“วันที่ ๒๐ เมษายน เวลาเย็นได้ตั้งกระบวนแห่ พระพุทธรูปแลเทวรูปต่างๆ แลพระไชยวัฒน แต่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ไปประดิษฐานที่มณฑลพระราชพิธี ณ พระที่นั่งคชกรรมประเวศ พระพุทธรูปตั้งที่เตียงมณฑลบนพระที่นั่งนั้น เทวรูปตั้งบนโต๊ะที่ปรำด้านเหนือแห่งพระที่นั่ง...” อย่างไรก็ดีพระที่นั่งโถงทรงปราสาทองค์นี้เป็นพระที่นั่งเครื่องไม้ ในปลายรัชกาลที่ ๕ ทรุดโทรมเสาผุจนไม่สามารถปฏิสังขรณ์ได้ จึงโปรดให้รื้อยังคงแต่ฐานปราสาทกับเกยช้างอยู่ข้างน่าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์จนทุกวันนี้
พระที่นั่งคชกรรมประเวศ ถ่ายในปลายรัชกาลที่ ๕
ตามที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เสนอ เพื่อเป็นการจารึกพระนาม และเนื่องในวโรกาสครบรอบ ๖๔ พรรษา ของศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี และในวโรกาสที่ทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ ตลอดจนเผยแผ่พระเกียรติคุณและพระมหากรุณาธิคุณในฐานะเจ้าหญิงของปวงประชา และองค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์อย่างกว้างไกลและยิ่งยืนนานและเผยแพร่ต่อประชาชนชาวไทย และใช้ในราชการ รวมถึงผู้คนทั่วโลก สามารถนำชุดแบบอักษรไปใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดภาษาและตัวอักษรไทย รวมถึงเป็นการจารึกพระนามขององค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์บนโลกดิจิทัล
สำหรับชุดแบบอักษรพระราชทาน “จุฬาภรณ์ลิขิต” ได้รับการออกแบบให้มีความคล้ายคลึงกับยอดอ่อนของดอกกล้วยไม้พันธุ์ Phalaenopsis Princess Chulabhorn เพื่อเผยแผ่เกียรติคุณและรางวัลระดับนานาชาติที่ทรงได้รับอันเกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยตัวอักษรไทยซึ่งมีโครงสร้างถูกต้องตามมาตรฐานโดยมีลักษณะเป็นตัว มีหัว มีปาก มีส่วนประกอบถูกต้องตามอักขรวิธี ไม่มีการประดับลวดลาย รายละเอียดมากจนเกินไป สามารถนำไปใช้ได้หลากหลายลักษณะ จึงเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในราชการ อย่างไรก็ตาม ครม.เห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานดำเนินการติดตั้งชุดแบบอักษรพระราชทาน “จุฬาภรณ์ลิขิต” เป็นชุดแบบอักษรมาตรฐานราชการไทย แบบที่ ๑๔ เพิ่มเข้าไปในระบบปฏิบัติการ Thai OS และให้ถือเป็นมาตรฐานของหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วย ดาวน์โหลดชุดแบบอักษรพระราชทานจุฬาภรณ์ลิขิต https://www.cra.ac.th/th/download_fonts/no_donation
ชื่อเรื่อง ตำนานธาตุพนม (พื้นธาตุพนม)
สพ.บ. 384/1
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ภาษา บาลี/ไทยอีสาน
หัวเรื่อง พุทธศาสนา
พระธาตุพนม
ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลาน
ลักษณะวัสดุ 12 หน้า : กว้าง 5.2 ซม. ยาว 57.5 ซม.
บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิน ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
องค์ความรู้ : กลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ เรื่อง "กรีนิรมิต" บทเสภาสรรเสริญพระคเณศ เทพแห่งศิลปวิทยา โดยนางสาวทิพพวรรณ บุญส่งเจริญ นักอักษรศาสตร์ชำนา่ญการ กลุ่มภาษาและวรรณกรรม
นายพนมบุตร จันทรโชติ รองอธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากรได้พัฒนาการจัดแสดง นิทรรศการถาวรภายในอาคารมหาสุรสิงหนาท ตามโครงการอนุรักษ์และพัฒนาพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ระหว่าง พ.ศ.๒๕๕๕ – ๒๕๖๔ โดยบูรณะอาคารและพัฒนาการจัดแสดงนิทรรศการถาวรทั้งอาคาร มาตั้งแต่ ปี ๒๕๖๒ ปัจจุบันอาคารมหาสุรสิงหนาทจัดแสดงศิลปะเอเชีย และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ - โบราณคดีที่พบบนผืนแผ่นดินไทยตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ก่อนพุทธศักราช ๑๘๐๐ อันเป็นช่วงเวลาที่ดินแดนในประเทศไทยปัจจุบันปรากฏหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์ จนถึงยุคที่รับวัฒนธรรมจากภายนอกโดยเฉพาะประเทศอินเดีย ก่อเกิดการพัฒนาจากบ้านสู่รัฐ ได้แก่ ห้องศิลปะเอเชีย ห้องก่อนประวัติศาสตร์ ห้องทวารวดี ห้องลพบุรี และห้องศรีวิชัย ห้อง ๔๐๑ : ห้องศิลปะเอเชีย จัดแสดงโบราณวัตถุที่เป็นงานศิลปกรรมในภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ศิลปะอินเดีย ศิลปะลังกา ศิลปะจีน ศิลปะญี่ปุ่น ศิลปะจาม และศิลปะพุกาม-พม่า ส่วนมากเป็นประติมากรรมในพุทธศาสนาซึ่งแสดงถึงการแพร่กระจายและความหลากหลายของรูปแบบศิลปกรรมในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งพุทธศิลป์บางประเทศได้เป็นต้นแบบการสร้างพระพุทธรูปในศิลปะไทย อาทิ ศิลปะลังกาที่ส่งอิทธิพลให้กับศิลปะสุโขทัย หรือศิลปะพม่าที่ส่งอิทธิพลให้กับการสร้างพระพุทธรูปในศิลปะล้านนา ห้อง ๔๐๒ : ห้องก่อนประวัติศาสตร์ ประเทศไทยพบหลักฐานเครื่องมือที่ทำจากหินกะเทาะของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตั้งแต่เมื่อประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว และมีพัฒนาการมาเป็นลำดับจนประมาณ ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว จึงพบการผลิตเครื่องมือหินขัด ภาชนะเครื่องปั้นดินเผา การทอผ้า เมื่อเข้าสู่สมัยโลหะมีการนำแร่โลหะ เช่น ทองแดง ดีบุก เหล็ก มาหลอมทำอาวุธ เครื่องมือ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ช่วงเวลานี้มีการค้นพบโบราณวัตถุที่แลกเปลี่ยนกับชุมชนอื่นที่ห่างไกล จากการติดต่อสัมพันธ์ส่งผลให้เกิดพัฒนาการทางสังคมเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ในเวลาต่อมา ห้อง ๔๐๓ : ห้องทวารวดี “ทวารวดี” คำจารึกบนเหรียญเงินซึ่งพบตามชุมชนโบราณหลายแห่งใน พื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย นักวิชาการสันนิษฐานว่าคืออาณาจักร “โตโลโปตี” ที่ปรากฏในเอกสารจีนสมัยราชวงศ์ถัง วัฒนธรรมทวารวดีแพร่กระจายไปตามชุมชนโบราณหลายแห่งของประเทศไทย นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖ หรือ ๑,๐๐๐-๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว ส่วนใหญ่ได้รับแรงบันดาลใจจากพระพุทธศาสนา โดยพบหลักฐานจำนวนมากในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก ส่วนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้มีรูปแบบที่คลี่คลายผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่น โบราณวัตถุสำคัญ เช่น ธรรมจักร วัดเสน่หา (ร้าง) นครปฐม พระพุทธรูปปางแสดงธรรม คูบัว ราชบุรี ฯลฯ ห้อง ๔๐๔ : ห้องลพบุรี “ลพบุรี” มาจากชื่อเมืองหรือรัฐ “ลวปุระ” ใช้เรียกรูปแบบศิลปกรรมที่มี ความใกล้ชิดกับรูปแบบศิลปกรรมวัฒนธรรมเขมรในราชอาณาจักรกัมพูชา สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยปัจจุบัน ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ หรือประมาณ ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว ต่อมาช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๘ หรือประมาณ ๘๐๐-๑,๑๐๐ ปีมาแล้ว พบหลักฐานงานศิลปกรรมสร้างขึ้นเนื่องในความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ และศาสนาพุทธ ผ่านระบบการเมืองการปกครอง ห้อง ๔๐๕ : ห้องลพบุรี ศาสนสถานในศิลปะลพบุรีสร้างด้วยถาวรวัตถุ ประเภทอิฐหรือหิน จึงปรากฏหลักฐานชิ้นส่วนประดับสถาปัตยกรรมต่างๆ อาทิ ทับหลัง เสาประดับกรอบประตู สำหรับประติมากรรมรูปเคารพมีทั้งที่สลักจากศิลาและหล่อจากสำริด รูปแบบศิลปะลพบุรีมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศิลปะเขมรสมัยเมืองพระนคร และต่อยอดเป็นพื้นฐานงานศิลปกรรมในสมัยอยุธยาตอนต้น นอกเหนือจากหลักฐานงานศิลปกรรมด้านศาสนา ปรากฏหลักฐานงานศิลปกรรมเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิต ประเภทเครื่องปั้นดินเผาที่รังสรรค์เป็นงานศิลปกรรมประดับอาคาร และเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ห้อง ๔๐๖ : ห้องศิลปะศรีวิชัย ศรีวิชัย เป็นชื่อรัฐในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘ หรือประมาณ ๘๐๐-๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว ตั้งอยู่บริเวณคาบสมุทรแหลมมลายูภาคใต้ของประเทศไทยจนถึงเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบหลักฐานทางโบราณคดีวัฒนธรรมศรีวิชัย อาทิ โบราณสถาน จารึก รูปเคารพในศาสนาพราหมณ์ทั้งไศวนิกายและไวษณพนิกาย ศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน สำหรับประติมากรรมศิลปะชวา เป็นโบราณวัตถุที่ได้รับมอบในคราวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสชวา ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๓๙ และอีกส่วนหนึ่งได้รับเพิ่มเติมในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทั้งนี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ได้เปิดให้ประชาชนเข้าชมการจัดแสดงนิทรรศการถาวร ภายในอาคารมหาสุรสิงหนาท คงเหลือการจัดแสดงนิทรรศการถาวรห้องลพบุรี ซึ่งจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ และจะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการต่อไป ผู้สนใจสามารถเข้าชมการจัดแสดงนิทรรศการประวัติศาสตร์-โบราณคดีก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๘ อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เปิดให้บริการทุกวันพุธ - วันอาทิตย์ ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม โทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒ , ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓ โทรสาร ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๔