ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
กรมศิลปากร โดยสำนักการสังคีต ขอเชิญชม โครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๗ "เหมันต์สุขศรี สุนทรีย์สังคีต" ในวันอาทิตย์ที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๗.๓๐ น. ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พบกับรายการแสดง ดังนี้
๑. การบรรเลงดนตรีสากล (เริ่ม ๑๖.๓๐ น.)
๒. พิธีเปิด ฯ
๓. รำอวยพรเปิดสังคีตศาลา ปีที่ ๖๗
๔. การแสดงตำนานเทวะนิยาย เรื่องนารายณ์สิบปาง “วราหะวตาร”
๕. โขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดปฐมวงวานจักรี สร้างกรุงศรีอยุธยา
นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีต กำกับการแสดงโดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ อำนวยการแสดงโดย ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต
บัตรราคา ๒๐ บาท (จำหน่ายบัตรก่อนการแสดง ๑ ชั่วโมง) ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ โทร. ๐ ๒๒๒๑ ๐๑๗๑
แหล่งโบราณคดีประเทศไทย เล่ม 3
ผู้แต่ง : กองโบราณคดี กรมศิลปากร
ต้นฉบับอยู่ที่ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี (ห้องกรมศิลปากร)
โรงพิมพ์ : กรมศิลปากรปีที่พิมพ์ : 2532
รูปแบบ : PDF
ภาษา : ไทย
เลขทะเบียน : น.34บ. 6240 จบ(ร)เลขหมู่ : 959.3 ศ528ห
สาระสังเขป : เป็นข้อมูลรายละเอียดของแหล่งโบราณคดีในเขตจังหวัดสกลนคร จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดอุดรธานี จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วยแผนที่และรูปภาพที่สวยงาม
เทศกาลวันลอยกระทง
ผู้แต่ง : กรมศิลปากร
ต้นฉบับอยู่ที่ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี (ห้องกรมศิลปากร)
โรงพิมพ์ : รุ่งเรืองธรรม
ปีที่พิมพ์ : 2504
รูปแบบ : PDF
ภาษา : ไทย
เลขทะเบียน : น 31 บ 12412
เลขหมู่ : 294.3138 อ197ล
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี ขอเชิญร่วมกิจกรรม DIY POP-UP CARD ในโครงการ Kidsเรียนรู้ @หอสมุดแห่งชาติฯ กาญจนบุรี ในวันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2567 เวลา 13.00 - 16.00 น. ผู้สนใจสามารถร่วมกิจกรรมได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ และไม่ต้องลงทะเบียนล่วงหน้า สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 3451 3926 หรือทางเฟสบุ๊ก เพจ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี https://www.facebook.com/nlkanhanaburi
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ขอเผยแพร่ องค์ความรู้ประจำเดือนธันวาคม ๒๕๖๖ เรื่อง "ตามรอยรัชกาลที่ ๙ เสด็จฯ เมืองศรีสัชนาลัย” ตลอดช่วงระยะเวลาแห่งการครองราชย์ ๖๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) พระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการด้วยพระวิริยอุตสาหะ พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในทุกพื้นที่ที่ทุรกันดารและทุกพื้นที่ที่ห่างไกล ในอดีตเมืองศรีสัชนาลัยถือว่าเป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลและเดินทางยากลำบาก แต่ความยากลำบากเหล่านี้มิได้เป็นอุปสรรคต่อความพยายามในการเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรของพระองค์ ทั้งนี้จึงได้รวบรวมพระราชกรณียกิจที่พระองค์ทรงเสด็จฯ เมืองศรีสัชนาลัย ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ถึง พ.ศ. ๒๕๑๕ เพื่อน้อมรำลึกและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการในการอนุรักษ์ ส่งเสริม สืบทอด และพัฒนามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของแผ่นดิน เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาประชาราษฎร เสด็จพระราชดำเนินครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๐๑ วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จประพาสภาคเหนือทรงเยี่ยมประชาชนจังหวัดต่างๆ รวมทั้งจังหวัดสุโขทัย เสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่งไปยังเมืองศรีสัชนาลัยในเวลาบ่ายและได้เสด็จพระราชดำเนินโดยพระบาท เสด็จเข้าทอดพระเนตรวัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง เสด็จพระราชดำเนินครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๐๙ วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๙พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมด้วยทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จในพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง ถึงเวลาประมาณ ๑๑.๐๐ น. หลังประกอบพระราชพิธีแล้ว ได้เสด็จไปยังบ้านรับรองหน่วยศิลปากรที่ ๓ เมืองศรีสัชนาลัย ทอดพระเนตรรูปจำลองเมืองศรีสัชนาลัย และเสวยพระกระยาหารกลางวัน แล้วจึงได้เสด็จทอดพระเนตรโบราณสถาน วัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ วัดนางพญา หลักเมือง พระราชวัง และวัดสวนแก้วอุทยานน้อย โดยมีนายมะลิ โคกสันเทียะ หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ ๓ กราบบังคมทูลถวายคำบรรยายสรุปการปรับปรุงขุดแต่งและบูรณะที่เมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งในครั้งนั้นได้มีพระราชกระแสรับสั่งกับเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรว่า “โบราณสถานเมืองศรีสัชนาลัยนี้ เมื่อได้บูรณะเสร็จแล้วให้จัดการดูแลรักษาไว้ให้เป็นอย่างดี อย่าให้กลับชำรุดทรุดโทรมลงอีก โดยเฉพาะบริเวณพระราชวังที่ได้ขุดพบรากฐานนั้น ควรจะได้ขุดดูให้ทั่วถึง เพราะอาจพบจารึกหรือหลักฐานอันจะเป็นประโยชน์แก่ประวัติศาสตร์” กระแสพระดำรัสนี้ได้เป็นการพระราชทานแนวทางการบริหารจัดการโบราณสถานและแนวทางการศึกษาทางวิชาการโบราณคดี ซึ่งกรมศิลปากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้น้อมนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานจวบจนประทั่งปัจจุบัน เสด็จพระราชดำเนินครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๑๕ วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมด้วย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๑๐) สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จเป็นการส่วนพระองค์ทอดพระเนตรเมืองโบราณศรีสัชนาลัย ได้เสด็จทอดพระเนตรเขาพนมเพลิง เขาสุวรรณคีรี วัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว (ทอดพระเนตรภาพเขียนในสถูป) วัดนางพญา (ทอดพระเนตรวิหารและลวดลายปูนปั้น) วัดสวนแก้วอุทยานน้อย และวัดเจดีย์เจ็ดยอด (วัดเจดีย์เก้ายอด) เอกสารอ้างอิงกรมศิลปากร. จดหมายเหตุการอนุรักษ์เมืองโบราณศรีสัชนาลัย. กรุงเทพฯ: กองโบราณคดี กรมศิลปากร, ๒๕๓๓.สมาคมนักโบราณคดี. ๑๑๑ ปี โบราณคดีสโมสร. กรุงเทพฯ: สมาคมนักโบราณคดี, ๒๕๖๑.สำนักงานจังหวัดสุโขทัย. สุโขทัยใต้ร่มพระบารมี. (ม.ป.ท., ๒๕๔๕.).
ภาพเล่าเรื่องบุคคลนั่งชันเข่า
- ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔)
- ปูนปั้น และดินเผา
- ขนาด กว้าง ๗๖.๕ ซม. ยาว ๘๐ ซม. หนา ๕ ซม.
เดิมประดับที่ฐานลานประทักษิณด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เจดีย์จุลประโทน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม ได้จาการขุค้นทางโบราณคดี เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑ ภาพปูนปั้นนี้เป็นรูปบุคคลนั่งหลังตรง หันด้านขวาของลำตัวออก ชันเข่าขวาขึ้น มือขวาประคองสิ่งของคล้ายภาชนะทรงกลมสูงตั้งบนเข่า ที่เบื้องหน้าของบุคคลดังกล่าว มีแท่นสี่เหลี่ยมตกแต่งด้านข้างด้วยลายวงกลมสลับรูปสี่เหลี่ยมฐานเว้า ด้านบนของแท่นมีชายผ้ารูปหางปลาติดอยู่ ถัดไปทางซ้ายของแท่นมีขาของอีกบุคคลหนึ่งในท่าก้าวเดิน อย่างไรก็ตาม ภาพนี้สามารถสะท้อนให้เห้นถึงสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้น เช่น ภาชนะทรงกลมมีฝาปิดเป็นรูปกรวยแหลม
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40076
ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ โดยกลุ่มภาษาและวรรณกรรม กำหนดจัดกิจกรรมการแสดงสาธิต "พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์สู่การแสดง 'นารายณ์ปราบนนทก' ของกรมศิลปากร" ประกอบนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ "เอกสารล้ำค่า จารึกสยาม (Priceless Document of Siam)" ในวันอาทิตย์ที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๒.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ผู้สนใจขอเชิญลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมกิจกรรมทางแบบฟอร์ม https://forms.gle/kVXCYxsB8NWhCt947 รับจำนวน ๑๐๐ คน หรือสามารถติดตามชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม https://www.facebook.com/FineArtsDept
#นานาสาระจากหนังสืออนุสรณ์งานศพ นำเสนอสาระความรู้ และแนะนำเรื่องที่น่าสนใจจากหนังสืออนุสรณ์งานศพ พร้อมประวัติของผู้วายชนม์โดยสังเขป
วันนี้ #หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี ขอนำเสนอหนังสืออนุสรณ์งานศพ เรื่อง #สุภาษิตสอนสตรีของสุนทรภู่ หนังสือจัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางวุทธพิทักษ์ (แฃ วาสนะโชติ) ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2506
นางวุทธพิทักษ์ (แฃ) วาสนะโชติ เกิดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2421 ณ ตำบลวัดเกาะ อำเภอสัมพันธวงศ์ พระนคร เป็นบุตรีคนที่ 4 ของหลวงทองสื่อ (วัน) ดารานนท์ กรมท่าซ้าย และคุณนายชุ่ม เมื่อ พ.ศ. 2449 ได้สมรสกับร้อยเอกหลวงวุทธพิทักษ์ (วาศ) วาสนะโชติ ซึ่งรับราชการเป็นมหาดเล็กหลวงรักษาพระองค์ ในรัชกาลที่ 5 มีบุตรชาย 1 คน คือ นายสวัสดิ์ วาสนะโชติ ด้านอุปนิสัยใจคอเป็นผู้ใจบุญสุนทาน ประกอบกิจการกุศลอยู่เสมอ นางวุทธพิทักษ์เริ่มป่วยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2498 และถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 ด้วยโรคชรา รวมอายุได้ 85 ปี
#สุภาษิตสอนสตรีของสุนทรภู่ นี้ เดิมเรียกกันว่า #สุภาษิตสอนหญิง หรือ #สุภาษิตไทย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายว่า “สุนทรภู่เห็นจะแต่งเมื่อราวระหว่างปี พ.ศ. 2380 จน พ.ศ. 2383 ในเวลาเมื่อกลับสึกออกมาเป็นคฤหัสถ์ แล้วต้องตกยากจนถึงลอยเรืออยู่ พิเคราะห์ตามสำนวนดูเหมือนหนังสือเรื่องนี้สุนทรภู่จะแต่งขาย เป็นสุภาษิตสอนสตรีสามัญทั่วไป ความไม่บ่งว่าแต่งให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ ต้นฉบับเดิมที่หอพระสมุดฯ ได้มาเรียกว่าสุภาษิตไทย เป็นคำสมมติของผู้อื่น ดูเหมือนผู้สมมติจะไม่รู้ว่าเป็นกลอนของสุนทรภู่ด้วยซ้ำไป ถ้อยคำก็วิปลาสคลาดเคลื่อน ต้องซ่อมแซมในหอพระสมุดฯ หลายแห่ง แต่แต่งดีน่าอ่านไม่แพ้เรื่องอื่นเหมือนกัน”
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนักวิชาการบางกลุ่มได้ศึกษาและมีความเห็นว่า วรรณกรรมเรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นผลงานของสุนทรภู่ แต่น่าจะเป็นของนายภู่ จุลละภมร ซึ่งเป็นกวีในสมัยรัชกาลที่ 5 มีชื่อเสียงในการแต่งนิทานชาดกคำกลอนเรื่องนกกระจาบ จึงเรียกกันทั่วไปว่า นายภู่นกกระจาบ
สุภาษิตสอนสตรีมีฉันทลักษณ์ในรูปแบบกลอนแปดสุภาพ มีจำนวน 201 บท เนื้อหาและใจความสำคัญว่าด้วยเรื่องการสอนสตรีให้ประพฤติปฏิบัติตามค่านิยมอันดีของสังคมไทยดั้งเดิมในด้านต่าง ๆ เป็นคำสอนที่ใช้ได้กับสตรีทุกชนชั้น มีทั้งข้อห้าม ข้อที่ควรปฏิบัติ ทั้งในเรื่องของการวางตัว กิริยามารยาท การพูดจา การแต่งกาย การเลือกคู่ครอง การปรนนิบัติ ความซื่อสัตย์ต่อสามี การดูแลบ้านเรือน ความมัธยัสถ์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังกล่าวถึงลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ของสตรีแบบต่าง ๆ เช่น การละทิ้งพ่อแม่ ติดการพนัน สูบฝิ่นกินเหล้า หญิงสองใจ เป็นต้น สตรีเหล่านี้ชีวิตมีแต่จะประสบความหายนะ ซึ่งคำสอนต่าง ๆ สามารถนำมาใช้เป็นหลักปฏิบัติได้เป็นอย่างดีสำหรับสังคมไทยในปัจจุบัน ดังตัวอย่าง เรื่องของความประหยัดมัธยัสถ์ ความว่า
“มีสลึงพึงประจบให้ครบบาท อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน”
หรือ การกล่าวถึงความสำคัญของคำพูด ความว่า
“เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา
แม้พูดดีมีคนเขาเมตตา จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ”
ผู้ที่สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก https://www.finearts.go.th/chantaburilibrary/view/50216
หรือสแกนอ่านจาก QR Code เพื่ออ่านในรูปแบบ E-Book
บรรณานุกรม
ประชุมสุภาษิตสอนหญิง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2567, จาก: https://vajirayana.org/ประชุมสุภาษิตสอนหญิง/สุภาษิตสอนสตรี/บทนำเรื่อง.
สุนทรโวหาร (ภู่), พระ. สุภาษิตสอนสตรีของสุนทรภู่. พระนคร: แสงทองการพิมพ์, 2506.
ที่ระลึกในวโรกาสสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินทรงพระกอบพิธีเปิดพระอนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ วันศุกร์ที่ 7 เมษายน 2532. กรุงเทพฯ :