ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.141/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 60 หน้า ; 4.5 x 50.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 84 (334-339) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : ปุณฺณปทสังคหะ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.89/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 48 หน้า ; 4.6 x 50 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 52 (103-117) ผูก 5 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺปทฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (ธรรมบท)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.10/1-2
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อผู้แต่ง ประยุทธ สิทธิพันธ์
ชื่อเรื่อง มหาราชและมหาบุรุษโลก
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์พิบูลการพิมพ์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๐๖
จำนวนหน้า ๘๐๐ หน้า
หมายเหตุ หนังสือประวัติบุคคลสำคัญโลกจำนวน ๘๓ คน ทั้งชาย หญิง รวมทั้งบุคคลสำคัญของชาวไทยจำนวน ๙ ท่าน ได้แก่ สมเด็จพระภัทรมหาราช กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรมพระยานริศรานุวัติวงค์ เจ้าพระยาพระเสด็จฯ เรมพรดะกำแพงเพชร เจ้าพระยมราช จอมพลป. พิบูลสงคราม จอมสฤษดิ์ธนะรัชต์ และกรมพระยาเทวะวงค์วโรปการ
บัลลังก์จำลอง
ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๒ หรือประมาณ ๔๐๐ ปีมาแล้ว
โลหะผสม ปิดทอง
ขนาด ยาว ๓๖.๗ เซนติเมตร สูง ๓๒.๙ เซนติเมตร
ได้จากการขุดค้นวัดเจดีย์สูง ตำบลฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณที่จะถูกน้ำท่วมเมื่อสร้างเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก
บัลลังก์จำลอง หรือ อาสนา หรือ ราชอาสน์ พร้อมเครื่องสูงสำหรับกษัตริย์ เป็นเครื่องสักการบูชาพระพุทธเจ้า ประกอบด้วย บัลลังก์หรือพระแท่นบรรทม ฉัตร แส้ บังสูรย์ พัดใบตาล เบื้องหัวนอนมีแท่นสี่เหลี่ยมซ้อนกันชั้นบนสุดเป็นพระเขนย (หมอน) กลางเบื้อหัวนอนเคยมีวัตถุปลายแหลมแต่หักชำรุด อาจได้แก่พระขรรค์ นอกจากนี้ยังมีฉลองพระบาท (รองเท้า) อีก ๑ คู่ พระเขนยนี้สันนิษฐานว่าคงแทนอุณหิส (กรอบหน้า) ซึ่งเป็นของสูงคู่กับพระเศียร สิ่งเหล่านี้คือเครื่องราชกกุธภัณฑ์ สิ่งที่แสดงความเป็นพระราชาธิบดี
การถวายพระแท่นบรรทมเป็นพุทธบูชานี้ เป็นความเชื่อของชาวล้านนาที่ว่าพระพุทธองค์ยังทรงดำรงอยู่ จึงจัดแท่นสำหรับทรงพระบรรทมในเวลากลางคืนถวาย ทั้งนี้พุทธศาสนิกชนยังถือว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นขัติยวงศ์ หากมิได้ทรงผนวชก็จะเป็นพระจักรพรรดิราชา จึงสร้างเครื่องราชูปโภคซึ่งเป็นของใช้สำหรับกษัตริย์ถวายเป็นเครื่องพุทธบูชาอีกคติหนึ่งด้วย
ปัจจุบันบัลลังก์จำลอง จัดแสดงในห้องประวัติศาสตร์และโบราณคดีล้านนา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
กรมศิลปากร ขยายเวลาจัดแสดงนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “อารยธรรมวิวัฒน์ ลพบุรี – ศรีราม เทพนคร” ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จัดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “อารยธรรมวิวัฒน์ ลพบุรี - ศรีรามเทพนคร” นำเสนอความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทย โดยคัดเลือกโบราณวัตถุที่มีความสำคัญ ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สะท้อนให้เห็นที่มาของวิวัฒนาการทางอารยธรรม เน้นอิทธิพลของศิลปะลพบุรี (เขมรในประเทศไทย) ที่ส่งผลต่อบ้านเมืองบนแผ่นดินไทย และยังคงมีอิทธิพลในสมัยต่อมา โดยเฉพาะศิลปะอยุธยา ตกทอดมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เนื้อหานิทรรศการแบ่งเป็น ๔ หัวเรื่อง ได้แก่ ๑. รากฐานและพัฒนาการก่อนอิทธิพลศิลปะลพบุรี ๒. ลพบุรี - ศรีรามเทพนคร ๓. มรดกจากลพบุรี คลี่คลายสู่ปัจจุบัน และ ๔. คืนชีวิตประติมากรรม ความน่าสนใจของนิทรรศการครั้งนี้ คือ การคืนชีวิตให้กับประติมากรรม โดยนำชิ้นส่วนประติมากรรม พระโพธิสัตว์สำริดจากบ้านโตนด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นประติมากรรมที่จัดอยู่ในกลุ่มประโคนชัย ศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลเขมรพบมากบริเวณที่ราบสูงโคราช มาประกอบและติดตั้งบนหุ่นจำลองขนาดเท่าจริงตามรูปแบบการสันนิษฐานและการบูรณาการทางด้านวิชาการระหว่างนักวิชาการหลายแขนง ทั้งภัณฑารักษ์ นักวิทยาศาสตร์ นายช่างศิลปกรรม และนักวิชาการช่างศิลป์ อันเป็นการจัดแสดงและนำเสนอความรู้เรื่องราวของโบราณวัตถุในอีกมิติหนึ่ง นอกจากนี้ ยังมีโบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่นำมาจัดแสดง เช่น ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์จากปรางค์กู่สวนแตง จังหวัดบุรีรัมย์ จารึกลานทองวัดส่องคบ ๑ ซึ่งแสดงถึงธรรมเนียมการจารึกบนแผ่นโลหะมีค่า เพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาสืบมาตั้งแต่สมัยทวารวดี สุโขทัย อยุธยา จวบจนสมัยรัตนโกสินทร์ ประติมากรรมหน้ายักษ์หรืออสูร ภาชนะดินเผารูปสัตว์ สิงห์สำริด เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้ศึกษาหาความรู้ได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมยิ่งขึ้น ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “อารยธรรมวิวัฒน์ ลพบุรี - ศรีรามเทพนคร” ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ (ปิดวันจันทร์ - อังคาร) เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ พระที่นั่ง ศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒, ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๗๐
องค์ความรู้ : กลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ เรื่อง คนจีนตัวอย่างในพระราชทรรศนะพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยนายปารเมศ อภัยฤทธิรงค์ นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ
ชื่อเรื่อง มาเลยฺยสุตฺต (มาลัยหมื่น-มาลัยแสน)
สพ.บ. 240/2กประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 30 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด-ล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
อาณาจักรหลักคำ หรือกฎหมายเมืองน่าน สร้างขึ้นและใช้ในพุทธศักราช ๒๓๙๖ - ๒๔๕๑ ลักษณะเป็นพับสา มีไม้ประกับสองด้าน จำนวน ๑ เล่ม ๖๑ หน้า ขนาด กว้าง ๑๑.๘ เซนติเมตร ยาว ๓๖.๕ เซนติเมตร หนา ๕ เซนติเมตร ต้นฉบับเป็นอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทยยวน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ได้รับมอบจาก นางสุภาพ สองเมืองแก่น เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๓๐ อาณาจักรหลักคำหรือกฎหมายเมืองน่าน นอกจากจะมีความสำคัญในเมืองน่านเมื่อครั้งอดีต ในปัจจุบันยังนับเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่มีคุณค่าความสำคัญจนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น "เอกสารมรดกความทรงจำแห่งโลก" ของประเทศไทย ส่วนท้องถิ่น เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๙ คำว่า "อาณาจักรหลักคำ" มีความหมายว่า "อาณาจักร" ในที่นี้หมายถึง "กฎหมาย" ดังปรากฎข้อความตอนหนึ่งในอาณาจักรหลักคำว่า "จึ่งได้หาเอาเจ้านายพี่น้องขัตติยราชวงสา ลูกหลานและท้าวพญาเสนาอามาตย์ ขึ้นเปิกสาพร้อมกันยังหน้าโรงไชย เจ้าพระยาหอหน้าเปิกสากันพิจารณา ด้วยจักตั้งพระราชอาณาจักรนั้นตกลงแล้ว” และในอีกนัยหนึ่ง กล่าวว่า อาณา เป็นคำบาลีตรงกับ อาชญา ซึ่งเป็นคำสันสกฤต แปลว่า อำนาจการปกครอง จักร แปลว่า ล้อ แว่นแคว้น รวมความแล้วจึงหมายถึง อำนาจปกครองของบ้านเมือง ส่วนคำว่า “หลักคำ” หมายถึง หลักอันมีค่าประดุจทองคำ คำว่า อาณาจักรหลักคำ จึงอาจหมายถึง “กฎหมายที่ใช้เป็นหลักในการปกครองบ้านเมืองอันมีคุณค่าประดุจดั่งทองคำ” อาณาจักรหลักคำ เขียนขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๖ โดยเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๖๒ (ครองเมือง พ.ศ. ๒๓๙๕ - ๒๔๓๔) กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่ใช้เฉพาะในเมืองน่าน และเมืองต่างๆที่ขึ้นกับเมืองน่าน เหตุที่ต้องมีการออกกฎหมายได้มีการกล่าวไว้ในตอนต้นของกฎหมายอาณาจักรหลักคำว่า บ้านเมืองในขณะนั้นเกิดความวุ่นวาย มีการลักขโมย การเล่นการพนัน ตลอดจนปัญหาต่างๆ ที่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้คนในเมือง เพื่อให้บ้านเมืองเป็นไปด้วยความสงบสุขและเป็นระเบียบเรียบร้อย จึงได้กำหนดกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมา โดยอาณาจักรหลักคำเป็นกฎหมายใช้เรื่อยมาในเมืองน่านและเมืองต่างๆที่ขึ้นกับเมืองน่านมาจนถึงพุทธศักราช ๒๔๕๑ ในสมัยเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๖๓ (ครองเมือง พ.ศ. ๒๔๓๖ - ๒๔๖๑) ได้ยกเลิกการใช้อาณาจักรหลักคำ และเปลี่ยนมาใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗ ของกรุงรัตนโกสินทร์แทน เนื่องด้วยในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีนโยบายในการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง จึงทรงปฏิรูปการปกครองมณฑลพายัพและส่งข้าหลวงจากส่วนกลางมาเป็นส่วนหนึ่งของเค้าสนามหลวงประจำอยู่ที่เมืองน่าน อาณาจักรหลักคำ มีลักษณะเป็นกฎหมายท้องถิ่น ซึ่งออกโดยเจ้าเมืองน่าน เจ้านายบุตรหลาน ขุนนาง และพ่อเมืองต่างๆร่วมกันออกตัวบทกฎหมายเพื่อใช้ภายในบ้านเมืองของตน โดยในการใช้กฎหมายนอกจากใช้ในเขตเวียงน่านโดยมีเค้าสนามหลวงดำเนินการแล้ว ยังมีการกระจายอำนาจให้กับหัวเมืองต่างๆที่ขึ้นอยู่กับเมืองน่านให้มีอำนาจตัดสินคดีความ แต่หากคดีนั้นพิจารณาในหัวเมืองน้อยแล้วยังไม่ยอมความ สามารถที่จะฟ้องร้องต่อเค้าสนามในเวียงเพื่อพิจารณาคดีใหม่ได้ ในส่วนของเนื้อหากฎหมายในอาณาจักรหลักคำ อาจแบ่งออกเป็น ๒ ช่วง ได้แก่ กฎหมายในช่วงตอนต้นที่ออกใน พ.ศ. ๒๓๙๕ และกฎหมายในช่วงตอนหลังที่ออกใน พ.ศ. ๒๔๑๘ ๑. กฎหมายที่ออกใน พ.ศ. ๒๓๙๕ มีสาระสำคัญอยู่หลายมาตรา แต่ละมาตราจะมีรายละเอียดตัวบทกฎหมายและบทลงโทษผู้กระทำความผิดแตกต่างกันไป การทำความผิดในกรณีเดียวกันอาจรับโทษหนักเบาไม่เท่ากัน เนื่องจากมีการกำหนดระดับชนชั้นของผู้ที่กระทำความผิด คือ เจ้านาย ขุนนาง หรือไพร่ ชนชั้นสูงจะเสียค่าปรับมากกว่าสามัญชน กฎหมายที่สำคัญที่ลงโทษหนัก คือ การลักควาย ซึ่งในสมัยนั้นอาจมีการลักขโมยควายไปฆ่ากินอยู่บ่อยครั้ง จึงระบุโทษว่า ผู้ลักควายไปฆ่ากินจะมีโทษถึงขั้นประหารชีวิต เนื้อหาของกฎหมายในช่วงนี้มีเพียงตัวบทกฎหมายซึ่งมีการกำหนดบทลงโทษผู้กระทำผิดอย่างชัดเจน แต่ไม่มีตัวอย่างคดีความที่เกิดขึ้นจริงให้เห็นถึงการบังคับใช้กฎหมายปรากฏอยู่ แต่อย่างไรก็ตามเนื้อความในกฎหมายก็ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงการเมืองการปกครอง สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเมืองน่านในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งกฎหมายส่วนใหญ่ในช่วงตอนต้นนี้มักจะมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของผู้คนในเมืองน่านในด้านต่างๆ ได้แก่ การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การเก็บของป่า การแลกเปลี่ยนสินค้า การประมง การแบ่งชนชั้น ตลอดจนความเชื่อค่านิยมและประเพณี ดังเนื้อความที่ปรากฏในอาณาจักรหลักคำ เช่น การทำเครื่องมือจับปลาในแม่น้ำจะต้องเว้นช่องไว้ให้เรือผ่านได้สะดวก, การห้ามฟันไร่บริเวณต้นน้ำและริมแม่น้ำ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดน้ำและนำน้ำเข้าสู่ไร่นา หากฝ่าฝืนมีโทษ เฆี่ยนหลัง ๓๐ แส้ และปรับเงิน ๓๓๐ น้ำผ่า นอกจากนั้นยังมีกฎหมายห้ามฆ่าค้างคาวในถ้ำ ห้ามเบื่อปลาในน้ำ และห้ามตัดต้นไม้บางชนิด , กฎหมายห้ามปลอมแปลงเงินตรา โดยมีโทษต้องเข้าคุก ปรับไหมและเฆี่ยนตี ความว่า “...คันว่าบุคคลผู้ใดเบ้าเงินแปลกปลอมและจ่ายเงินแปลกปลอมเงินดำคำเส้านั้น คันรู้จับตัวไว้จักเอาตัวเข้าใส่ราชวัตร ไว้แล้ว...จักไหม ๓๓๐ น้ำผ่า เฆี่ยน ๓๐ แส้...” เป็นต้น ๒. กฎหมายในช่วงตอนหลัง มีลักษณะแตกต่างจากช่วงตอนแรก ประกอบด้วย กฎหมายที่ออกเพิ่มเติมขึ้นใหม่ใน พ.ศ. ๒๔๑๘, พ.ศ. ๒๔๒๓ และบันทึกการตัดสินคดี พ.ศ. ๒๔๑๙ และบันทึกกฎหมายเก่าที่ออกใน พ.ศ. ๒๓๘๗ นอกจากนี้ยังมีบันทึกเหตุการณ์ที่จดแทรกเข้ามา ได้แก่ บันทึกเหตุการณ์เจ้าเมืองล้าส่งบรรณาการมาให้เจ้าเมืองน่าน (พ.ศ. ๒๔๒๑) และจดบันทึกนาสักดิ์เจ้านาย ขุนนางและไพร่ แสดงให้เห็นว่าในช่วงตอนหลังการบันทึกในอาณาจักรหลักคำนอกจากกฎหมายที่ประกาศใช้แล้ว ยังมีการจดแทรกเพิ่มเติมเรื่องอื่นไว้ด้วยโดยไม่ได้ลำดับศักราชและเหตุการณ์ อย่างไรก็ตาม กฎหมายที่ออกในช่วง พ.ศ. ๒๔๑๘ ก็มีความสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม จึงต้องออกกฎหมายใหม่เพิ่มเติมให้ทันกับสถานการณ์บ้านเมือง คือ เรื่องห้ามสูบฝิ่น ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุก ๓ ปี และกฎหมายห้ามจับควายละเลิง (ควายป่า, ควายไม่มีเจ้าของ) ที่มาของกฎหมายห้ามสูบฝิ่น แสดงให้เห็นถึงคนจีนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานค้าขายในเมืองน่านมากขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว สิ่งที่คนจีนนำเข้ามาคือการสูบฝิ่น สืบเนื่องมาจากมีเจ้านายบุตรหลานเมืองน่านผู้หนึ่งติดฝิ่น สร้างปัญหาให้กับบิดา จึงได้มีการเสนอเรื่องนี้พิจารณาในระดับชั้นเจ้า ในที่สุดเจ้าเมืองน่านจึงพิจารณาโทษเจ้านายบุตรหลาน และต่อมาก็ออกกฎหมายประกาศใช้ทั่วไป และมีหนังสือบันทึกกฎหมายใหม่ส่งไปยังหัวเมืองต่างๆในการปกครองของเมืองน่านได้รับรู้ด้วย ปัจจุบัน อาณาจักรหลักคำ ซึ่งถูกจัดเก็บรักษาและจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ได้มีโครงการศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งจัดทำโครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน ได้บันทึกภาพอาณาจักรหลักคําไว้ในรูปไมโครฟิล์ม เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ และต่อมาจึงได้มีการปริวรรตโดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ สรัสวดี อ๋องสกุล ซึ่งผู้ที่สนใจศึกษาเนื้อหารายละเอียดทั้งหมดในอาณาจักรหลักคำ สามารถหาอ่านเพิ่มเติมตามเอกสารอ้างอิง------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน https://www.facebook.com/1116844555110984/posts/3728196513975762------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง - กรมศิลปากร. เมืองน่าน โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ, ๒๕๓๗. - ชฎาพร จีนชาวนา. การวิเคราะห์สังคมเมืองน่านจากกฎหมายอาณาจักรหลักคำ (พ.ศ. ๒๓๙๕ – ๒๔๕๑). ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, ๒๕๔๙. - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน. มรดกท้องถิ่นน่านเล่มที่ ๔ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน และโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ. น่าน: องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน, ๒๕๔๗. - สรัสวดี อ๋องสกุล. หลักฐานประวัติศาสตร์ล้านนาจากเอกสารคัมภีร์ใบลานและพับหนังสา. เชียงใหม่: สถาบันราชภัฏเชียงใหม่, ๒๕๓๔.
ชื่อเรื่อง ธมฺมปทวณฺณา ธมฺมปทฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ธมฺมปทฺธ)
สพ.บ. 376/8กประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 34 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง ธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด-ลองรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี