ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.39/1-5
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.325/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 26 หน้า ; 5 x 57.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ทองทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 130 (329-337) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : อภิธฺมมปิฎกสงฺเขป (อภิธรรมรวม)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผลงาน: พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 (พ.ศ. 2470 - 2559)
ศิลปิน: ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (พศ. 2435 - 2505)
เทคนิค: ประติมากรรมสำริด
ขนาด: สูง 62 ซม.
อายุสมัย: ถอดพิมพ์จากประติมากรรมต้นแบบปลาสเตอร์ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ ซึ่งศาสตราจารย์ศิลป์ ปั้นค้างไว้ เมื่อ พ.ศ. 2505
รายละเอียดเพิ่มเติม: ต้นแบบพระบรมรูปในหลวงรัชกาลที่ 9 ชิ้นนี้ เป็นผลงานประติมากรรมชิ้นสุดท้ายในชีวิตการทำงานของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี จากภาพผลงาน จะเห็นได้ว่ารายละเอียดบางส่วน ประติมากรปั้นขึ้นโครงและแต่งรายละเอียดผลงานไว้จนเกือบจะแล้วเสร็จ เหลือเพียงบางส่วนที่ยังแต่งไม่เสร็จ อาทิ เครื่องราชอิสริยายศ ในระหว่างดำเนินงานปั้นต้นแบบ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ล้มป่วยลงกะทันหัน และเสียชีวิตลง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2505
Title: His Majesty King Bhumibol Adulyadej (Rama IX) (1927 - 2016)
Artist: Professor C. Feroci (Silpa Bhirasri, 1892 - 1962)
Technique: bronze sculpture
Size: 62 cm. (H.)
Year: casted from a prototype plaster in Silpa Bhirasri Memorial National Museum which was sculpted as unfinished in 1962
Detail: A sculptural portrait of His Majesty King Bhumibol Adulyadej (Rama IX) is considered as the last work in artist life, Professor Silpa Bhirasri sculpted this piece of sculpture in nearly complete condition, except some detail on clothing ornaments such as insignias, medals etc.., unfortunately the sculpture was left unfinished as professor Silpa Bhirasri suddenly suffered from illness and finally passed away on May 14, 1962.
พระบาทสมเด็จมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. มงคลสูตรคำฉันท์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2512. หนังสือเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระนิพนธ์ขึ้นเพื่ออธิบายความในมงคลสูตร อันเป็นสูตรหนึ่งในพระไตรปิฏก กล่าวถึงข้อประพฤติปฏิบัติซึ่งเป็นมงคลรวม 11 ประการ
ชื่อผู้แต่ง ศูนย์ส่งเสริมภาษาและวัฒนธรรมภาคใต้
ชื่อเรื่อง หนังตะลุง
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ สงขลา
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์มงคลการพิมพ์
ปีที่พิมพ์ ม.ป.ป.
จำนวนหน้า 150 หน้า
รายละเอียด
หนังสือ “หนังตะลุง” พิมพ์ออกเผยแพร่เพื่อเป็นความรู้และความคิดขั้นพื้นฐาน ของประวัติ ความเป็นมา ประวัติของตัวตัวละคร ความสำคัญของตัวละครที่ใช้เล่นหนังตะลุง ซึ่งให้ผู้อ่านได้ตระหนักในคุณค่า ของวัฒนธรรมภาคใต้
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง พระพุทธโฆสาจารย์
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ -
สำนักพิมพ์ -
ปีที่พิมพ์ -
จำนวนหน้า ๑๔๘ หน้า
หมายเหตุ. -
(เนื้อหา) กล่าวถึงประวัติพระพุทธโฆสาจารย์ตั้งแต่เยาว์วัยจนกระทั่งบวชเป็นสามเณรและเป็นพระภิกษุ ท่านได้เดินทางจากอินเดียไปแปลคัมภีย์ที่เกาะลังกา ทำให้มีตำราทางพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นในสมัยนั้นมากมาย
(ที่มาภาพ https://mapio.net/pic/p-42150518/)
รถไฟ เข้ามาในประเทศไทยเป็นเวลานานร่วมร้อยปีแล้ว ด้วยเกิดจากพระราชดำริในพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ที่ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของกิจการรถไฟที่ทำให้การติดต่อค้าขายหรือขนส่งสินค้าระหว่างกรุงเทพฯ และภูมิภาคต่าง ๆ มีความสะดวกสบายมากกว่าการคมนาคมทางเรือหรือทางเกวียนซึ่งใช้เวลานานและไม่สะดวกเท่า โดยทางรถไฟสายแรกที่เปิดให้บริการแก่ชาวสยามในสมัยนั้น คือ ทางรถไฟสายกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะมีการสร้างรถไฟสายเหนือหรือรถไฟสายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่และพัฒนากิจการรถไฟมาเป็นลำดับเช่นในปัจจุบัน
ทางรถไฟสายเหนือ ถือเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญที่เอื้อให้การติดต่อระหว่างกรุงเทพฯ กับเมืองต่าง ๆ ในภาคเหนือเป็นไปโดยสะดวกมากขึ้น ความน่าสนใจประการหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายดังกล่าว คือ การสร้างทางแยกที่ชุมทางบ้านดารา (ปัจจุบันอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์) และมาสิ้นสุดที่เมืองสวรรคโลกหรือจังหวัดสวรรคโลก (ปัจจุบันคือ สถานีรถไฟสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย) ทำให้ทางรถไฟสายนี้ถูกเรียกว่า เส้นทางรถไฟสายสวรรคโลก มีระยะทาง ๒๙ กิโลเมตร เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๔๕๒ เป็นต้นมาจนถึงในปัจจุบัน แรกเริ่มทางรถไฟสายนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางรถไฟที่จะไปยังเมืองตาก เชื่อมต่อพื้นที่ลุ่มแม่น้ำน่านและพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปิงเข้าด้วยกันทว่าการก่อสร้างทางรถไฟกลับไม่ได้ดำเนินการต่อจนบรรลุตามจุดประสงค์เดิม ทำให้เส้นทางรถไฟสายนี้สิ้นสุดลงที่เมืองสวรรคโลกเท่านั้น ถึงกระนั้น เส้นทางรถไฟสายสวรรคโลกก็นับเป็นเส้นทางรถไฟสายสำคัญที่ช่วยขนส่งท่อนไม้ ของป่า และสินค้าอื่น ๆ รวมถึงช่วยให้การเดินทางติดต่อของผู้คนจากเมืองสวรรคโลกและเมืองต่าง ๆ ในบริเวณใกล้เคียงไปยังกรุงเทพฯ มีความสะดวกสบายมากขึ้น ทั้งยังเป็นหลักฐานบ่งชี้ถึงความสำคัญของเมืองสวรรคโลกซึ่งสอดคล้องกับการประกาศยกฐานะเมืองสวรรคโลกเป็นจังหวัดสวรรคโลกในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ด้วย
ทุกวันนี้ เส้นทางรถไฟสายสวรรคโลกยังคงเปิดให้บริการมาโดยตลอด กระทั่งช่วงสองปีมานี้ที่มีการปิดให้บริการชั่วคราวเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) จึงอาจเรียกได้ว่าทางรถไฟสายนี้เป็นมรดกความทรงจำสำคัญของผู้คนในท้องถิ่นที่ยังรอคอยที่จะทำหน้าที่ของตนเองต่อไป
--------------------------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ กต.๕.๒/๗๙ เรื่อง พระราชดำรัสในการเปิดรถไฟสายเหนือ.
การรถไฟไทย. ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าเสริมสวาสดิ์ กฤดากร ณ สุสานหลวงวัดเทพ
ศิรินทราวาส วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๔๘๔.
ประวัติการรถไฟแห่งประเทศไทย [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๕. เข้าถึงได้จาก https://www.railway.co.th/
---------------------------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก
https://www.facebook.com/sawanvoranayok/posts/pfbid02ikJfWnVkQnjUCQx7fbU9pK7qCNgYbinToEjsF9k8misgazc99Mn3bSdsUW1GUDgjl*เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 25/7ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 44 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 55.8 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม...จากความคิดสร้างสรรค์ สู่หลักฐานชิ้นเอกแห่งสุโขทัย. เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือเจดีย์ทรงทะนาน เป็นชื่อที่เรียกตามลักษณะของยอดเจดีย์ เจดีย์ทรงนี้สันนิษฐานว่ามีวิวัฒนาการและการผสมผสานศิลปะจากหลายแหล่ง ถือได้ว่าเป็นเจดีย์ที่มีลักษณะเฉพาะของศิลปะสุโขทัย และเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมของสุโขทัยอย่างแท้จริง ซึ่งที่มาของเจดีย์ทรงนี้ได้มีนักวิชาการเสนอไว้หลากหลายทฤษฎี.ศ.ดร.สันติ เล็กสุขุม สันนิษฐานว่า เจดีย์ทรงนี้เกิดจากการพัฒนาและผสมผสานระหว่างศิลปะเขมรและศิลปะพุกามของพม่า โดยส่วนเรือนธาตุพัฒนามาจากเรือนธาตุของปราสาทเขมร ในส่วนขององค์ระฆังดัดแปลงมาจากเจดีย์ในศิลปะพุกามของพม่า โดยสันนิษฐานว่ามีอายุในช่วงกลางหรือปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 สอดคล้องกับข้อมูลจารึกที่พบ เช่นที่ เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมที่วัดอโสการาม มีจารึกที่กล่าวว่าสร้างในปี พ.ศ.1942 เป็นต้น .ศ.ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ เรียกเจดีย์ทรงนี้ว่า ปรางค์ยอดบัว ได้เสนอทฤษฎีที่ว่า เจดีย์ยอดดอกบัวตูมนี้ เกิดจากการผสมผสานระหว่างเจดีย์ยอดดอกบัวของชาวจีนที่ใช้สำหรับบรรจุอัฐิกับปรางค์ของไทย และได้กำหนดอายุไว้แตกต่างไปจากเดิมที่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 23 ในช่วงสมัยพระเจ้าท้ายสระ ซึ่งเป็นระยะที่ชาวจีนมีบทบาททางการเมืองในภูมิภาคนี้.ทั้งนี้ ในปัจจุบันนักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าเจดีย์ทรงยอดยอดบัวตูมนั้น เป็นการพัฒนาและผสมผสานระหว่างศิลปะเขมร ศิลปะล้านนา และศิลปะพุกามของพม่า ซึ่งเป็นแนวความคิดที่สามารถอธิบายที่มาของรูปแบบศิลปกรรมที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย และสอดคล้องกับลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่ปรากฏ.เจดีย์ทรงนี้สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดขึ้นในช่วงสมัยของพญาลิไท และแพร่หลายในเฉพาะช่วงที่สุโขทัยเรืองอำนาจ ซึ่งการเจดีย์ทรงระฆัง...จากพลังแห่งศรัทธา.. การสร้างสถูปนั้นมีต้นกำเนิดมาจากอินเดียโบราณ มีคติมาจากการสร้างมูลดินขนาดใหญ่เหนือหลุมฝังศพ ต่อมาได้เกิดการพัฒนาไปเป็นเจดีย์รูปทรงต่างๆ ทั้งใน ศรีลังกา พม่า ไทย และในดินแดนอื่นๆ ที่นับถือพระพุทธศาสนา สถูปหรือในไทยนิยมเรียกว่า เจดีย์ นั้นเป็นคำที่มีที่มาจากคำว่า ถูปะ หรือ สถูปะ มีความหมายว่า เนินดินฝังศพ . ในสมัยทวารวดีเมื่อได้ยอมรับเอาศาสนาพุทธเข้ามาในวิถีชีวิต ก็ได้รับเอาสิ่งก่อสร้างในพระพุทธศาสนาเข้ามาด้วยเช่นกัน แต่ในปัจจุบันไม่เหลือหลักฐานของเจดีย์ในสมัยทวารวดีที่เต็มองค์สมบูรณ์ จึงทำได้เพียงสันนิษฐานรูปแบบของเจดีย์จากโบราณวัตถุประเภทสถูปจำลองหรือฐานของเจดีย์ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันเท่านั้น ทั้งนี้เจดีย์ทรงระฆังในสมัยสุโขทัยนั้นไม่ได้รับรูปแบบมาจากทวารวดี แต่ได้รับอิทธิพลมาจากเจดีย์ทรงระฆังของลังกา ซึ่งสุโขทัยยกย่องว่าลังกาคือศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในขณะนั้น ดังนั้นเจดีย์ทรงนี้ในบางครั้งจะนิยมเรียกว่า “เจดีย์ทรงลังกา”. สถูปของลังกาในศิลปะอนุราธปุระ (พุทธศตวรรษที่ 3 - 16) ได้รับรูปแบบมาจากสถูปในศิลปะอมราวดี ที่พัฒนามาจากสถูปทรงโอคว่ำของอินเดียโบราณ ทำให้สถูปในสมัยนี้ยังทำในผังกลม มีองค์ระฆังขนาดใหญ่ หรรมิกาทำลายคานตั้ง-คานนอน แต่ทั้งนี้ ฉัตรวลีในสมัยอินเดียโบราณมีลักษณะเป็นฉัตรอย่างชัดเจน แต่ศิลปะอนุราธปุระของลังกาได้ปรับมาจนมีลักษณ์เป็นวงแหวนซ้อนต่อกันเป็นปล้องๆ ยืดสูงเป็นทรงกรวย . ต่อมาในศิลปะโปลนนารุวะ (พุทธศตวรรษที่ 16 - 18) เมืองหลวงแห่งที่ 2 ของลังกา ที่สืบต่อมาจากอนุราธปุระ องค์ประกอบของสถูปในศิลปะโปลนนารุวะยังมีความคล้ายคลึงกับศิลปะอนุราธปุระเป็นอย่างมาก สถูปอยู่ในผังกลม องค์ระฆังทรงโอคว่ำขนาดใหญ่ หรรมิกาเป็นลายคานตั้ง-คานนอนเลียนแบบเครื่องไม้ และฉัตรวลีทำเป็นปล้องคล้ายปี่ไฉนยืดสูงเป็นทรงกรวย ทั้งนี้ในส่วนของฐานสถูปนั้นได้พัฒนาต่างไปจากสมัยอนุราธปุระซึ่งนิยมทำเป็นฐานเขียงเรียบๆ แต่ในสมัยโปลนนารุวะเปลี่ยนเป็นฐานบัว ซึ่งลักษณะต่างๆ เหล่านี้ได้ส่งมายังเจดีย์ทรงระฆังของสุโขทัย. เจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัยเริ่มปรากฏเมื่อใดนั้นยังไม่แน่ชัด เนื่องจากโบราณสถานส่วนใหญ่ไม่มีจารึกหรือหลักฐานชัดเจนของระยะเวลาก่อสร้าง มีเพียงวัดช้างล้อม เมืองสุโขทัยที่พบจารึก ระบุปี พ.ศ.1927 และจารึกวัดสรศักดิ์ ระบุว่าสร้างใน พ.ศ.1955 ทั้งนี้ เจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัยนี้น่าจะเริ่มปรากฏเมื่อสุโขทัยได้รับเอาพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทจากลังกามา เมื่อประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 18 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 19. เจดีย์ทรงระฆังของสุโขทัยประกอบด้วย ฐานเขียงด้านล่างสุด ถัดขึ้นไปคือฐานบัวคว่ำ-บัวหงาย (ซึ่งในบางแห่งมีประติมากรรมประดับอยู่ เช่น เจดีย์ช้างล้อม) ถัดขึ้นไปเป็นชั้นเขียง 2-3 ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นชุดบัวถลา 3 ชั้น (บัวถลาคือ ส่วนของบัวคว่ำซ้อนกัน 3 ชั้น ลักษณะเหมือนลาดเอนหรือถลาลงมา จึงเรียกว่า บัวถลา จัดเป็นลักษณะเฉพาะของเจดีย์ทรงระฆังสมัยสุโขทัย) ถัดขึ้นไปคือบัวปากระฆัง (ลักษณะเป็นกลีบบัวคว่ำ-บัวหงาย) ถัดขึ้นไปคือองค์ระฆังขนาดใหญ่ ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังก์ที่อยู่ในผังสี่เหลี่ยม ถัดจากบัลลังก์ก็คือก้านฉัตร ถัดจากก้านฉัตรขึ้นไปก็คือบัวฝาละมี ถัดจากนั้นก็คือปล้องไฉน และที่อยู่ด้านบนสุดก็คือปลียอด. เจดีย์ทรงระฆังของสุโขทัยในระยะหลัง ได้รับอิทธิพลของทางอยุธยาและล้านนา ทำให้เจดีย์บางองค์มีการทำมาลัยเถาแทนบัวถลา มีเพิ่มส่วนของฐานบัวเหนือฐานเขียง โดยขยายท้องไม้ของฐานบัวชั้นล่างให้สูงขึ้นอย่างมาก ทั้งยังมีการยกเก็จและประดับลูกแก้วอกไก่ รวมทั้งบัลลังก์ก็มีการประดับด้วยลูกแก้วอกไก่.เอกสารอ้างอิง- รศ.ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี. ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. พิมพ์ครั้งที่ 4.นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, 2563.- ผศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และศิลปะศรีลังกา. เอกสารคำสอนรายวิชา 310212 Sri Lanka Art ฉบับปีการศึกษา 2554. ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. (อัดสำเนา)- ศ.ดร.สันติ เล็กสุขุม. เจดีย์ ความเป็นมาและคำศัพท์เรียกองค์ประกอบเจดีย์ในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : มติชน, 2553.- ศ.เกียรติคุณ สุรพล ดำริห์กุล. ประวัติศาสตร์และศิลปะสุโขทัย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, 2562. - ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส, 2561.- ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์. เจดีย์ในประเทศไทย รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา. นนทบุรี : เมืองโบราณ, 2560.#โบราณสถาน #อุทยานประวัติศาสตร์ #สุโขทัย #อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย #องค์ความรู้กรมศิลป์ #องค์ความรู้กรมศิลปากร
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 34/1ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 38 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 53.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา