ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมในสาระสำคัญต่าง ๆ และ
เพื่ออนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ
ส.สีมา.เล่าเรื่อง พระเพทราชา ตกกระไดพลอยโจน.ศิลปวัฒนธรรม(34):9;กรกฎาคม 2556
ชื่อ “เพทราชา” เป็นชื่อที่ผู้เขียนคุ้นเคยอย่างมาก มาตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมต้น ด้วยเป็นชื่อถนนที่อยู่หน้าโรงเรียน และพวกเราก็เดินบนถนนนี้แทบทุกวัน คือ ถนนเพทราชา เป็นถนนเล็กๆ แคบและสั้น ทอดยาวตลอดกำแพงวังด้านใต้ของพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ทางตะวันออกจรดถนนสรศักดิ์และทางตะวันตกจรดถนนพระราม ความยาวของถนนเท่ากับความยาวของกำแพงวัง ประมาณ ๑๘๐ เมตรเท่านั้น พื้นถนนลาดยางดูไม่สู้เรียบร้อย ข้างถนนด้านกำแพงวังมีเพิงพิงกำแพงมีหลังคาคลุม เป็นคอกม้ายาวไปตามกำแพง สลับกับเป็นโกดังรกรุงรัง เก็บฟืนและกระสอบถ่าน ส่วนของถนนอีกด้านเป็นบ้านเรือนเลียบมาจนจรดปากประตูโรงเรียน
ผู้เขียนในขณะนั้น ไม่ทราบที่มาที่ไปของชื่อนี้มากนัก รู้แต่เพียงว่าเป็นพระนามของพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่ง ผู้เป็นต้นราชวงศ์บ้านพลูหลวง คือ พระเพทราชา หรือพระมหาบุรุษ และรู้สึกต่อมาว่า ถนนเล็กๆ หลังวังสายนี้ ไม่สมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ระดับต้นราชวงศ์ ผู้ทรงเคยกระทำการรัฐประหาร ในช่วงปลายสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (๒๒๓๑) ไม่เช่นนั้นสยาม (อยุธยา) อาจถูกยึดครองโดยฝรั่งเศสมาตั้งแต่ปีนั้นเลยก็เป็นได้ บางทีจะมีอะไรผิดพลาดเกิดขึ้น เพราะถนนในเมืองอีกสายหนึ่ง จากประตูวังด้านตะวันออก (ประตูพยัคฆา) ทอดผ่านวัดราชา (สวนราชานุสรณ์) ไปจรดถนนหน้าพระธาตุ ยังใช้ชื่อเจ้าเมือง คือ ถนนพระยากำจัดฯ (พ.ต.อ. พระยากำจัดโสณฑ์ทุจริต ๒๔๖๖-๖๙) อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นชื่อถนนสายสำคัญสายนั้นได้ ให้ความรู้สึกลึกๆ ถึงความแตกต่างบางประการ ชวนให้ค้นหา
นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม
ในสาระสำคัญต่าง ๆ และเพื่ออนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ
ชื่อเรื่อง : วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกำแพงเพชร
ผู้แต่ง : คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ปีที่พิมพ์ : 2544
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กระทรวงมหาดไทย : กระทรวงศึกษาธิการ และกรมศิลปากร
ชื่อเรื่อง : เรื่องฉากลายรดน้ำ ในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
ผู้แต่ง : พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร
ปี่ที่พิมพ์ : ๒๕๑๒
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายสนั่น บุณยศิริพันธุ์ บ.ช.,ภปร.ชั้น ๔
เรื่องฉากลายรดน้ำในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท แบ่งออกเป็น ๕ ตอน การเขียนใช้ลารักปิดทองทั้ง ๒ ด้านเป็นเรื่องเดียวกัน ในช่องที่ ๑ เป็นภาพเทพชุมนุม ช่องที่ ๒ เป็นบานพระทวาร เป็นภาพที่แสดงว่าดอกไม้ทองเงินหล่นมาจากสวรรค์และบรรดาประชาชนต่างพากันมาเก็บเอาไป ช่องที่ ๓ พิธีอินทราภิเษก ช่องที่ ๔ แสดงต้นกัลปพฤกษ์ ช่องที่ ๕ คือภาพสุดทางขวาแสดงต้นปาริชาตมีพระอินทร์แท่นแวดล้อมไปด้วยเทพีทั้ง ๔ และมีเทวดานางฟ้ามาจับระบำถวาย
วิทยาลัยครูสุราฏร์ธานี. วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี : วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี, ม.ป.ป. เนื้อหาประกอบด้วย ประวัติการจัดตั้งวิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี ผังการบริหารงานของวิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี ปี 2523 แนะนำจังหวัดสุราษฎร์ธานี และแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
องค์ความรู้ เรื่อง ประติมากรรมดินเผารูปคนจูงลิง จัดทำโดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
องค์ความรู้ เรื่อง แหล่งโบราณคดีเนินทางพระ จัดทำข้อมูลโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี
***บรรณานุกรม***
ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ
ปีที่ 16(7)
ฉบับที่ 663(257)
วันที่ 1-15 ตุลาคม 2534
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือที่ปวงชนชาวไทยขนานพระนามเป็นสามัญว่า "สมเด็จย่า" และที่บรรดาชาวไทยภูเขาถวายพระสมญานามว่า "แม่ฟ้าหลวง"
ชื่อเรื่อง กจฺจายนมูล (นาม)สพ.บ. 174/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 56 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 58.7 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง เทศนาสุนันทราชชาดก (สุนันทราชชาดก)สพ.บ. 120/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 26 หน้า กว้าง 6 ซ.ม. ยาว 59 ซ.ม. หัวเรื่อง นิทานคติธรรมทางพุทธศาสนา ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมืองฯ จ.สุพรรณ