ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
สำนักการสังคีต ขอเชิญชมรายการ “เหมันต์เบิกบาน สุขสราญสังคีต” โครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๖ วันอาทิตย์ที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๗.๓๐ - ๑๙.๓๐ น. การแสดงวิพิธทัศนา ชุด “สรรสาระศิลปะทั่วไทย”
รายการแสดงประกอบด้วย ๑. ระบำจตุรกสิกรรม ๒. เลิศล้ำลายมวย ๓. นวยนาฏราชสำนัก (ละครใน เรื่องอิเหนา ตอนอิเหนาชมพระอาราม, โขน เรื่องรามเกียรติ์ ตอนศึกอินทรชิต, ละคร เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนสร้อยฟ้าศรีมาลาละเลงขนมเบื้อง) นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีต กำกับการแสดงโดย หัสดินทร์ ปานประสิทธิ์ อำนวยการแสดงโดย ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต
บัตรราคา ๒๐ บาท (จำหน่ายบัตรก่อนการแสดง ๑ ชั่วโมง) ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ โทร. ๐๒๒๒๑ ๐๑๗๑
ทั้งนี้ โครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๖ “เหมันต์เบิกบาน สุขสราญสังคีต” นี้ เป็นการแสดงประจำปีของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร เพื่อเผยแพร่และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม โดยมีการจัดรายการแสดงและการบรรเลงหลากหลายรูปแบบทั้งการแสดงโขน ละคร วิพิธทัศนา การบรรเลงดนตรีไทยและการบรรเลงดนตรีสากล กำหนดจัดแสดงทุกวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา ๑๗.๓๐ น. ถึง ๑๙.๓๐ น. ผู้สนใจสามารถไปชมได้จนถึงวันอาทิตย์ที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๖ ค่าเข้าชมคนละ ๒๐ บาท โดยกรมศิลปากรจะนำเงินรายได้ดังกล่าวส่งเป็นเงินรายได้แผ่นดิน ผู้สนใจสามารถติดตามข้อมูลรายการแสดงแต่ละอาทิตย์ได้ทางเฟสบุ๊ก สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 128/6
เอกสารโบราณ
(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 164/5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 18/7ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 46 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง ปัญญาสชาดก
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ ธนบุรี
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์คีระพัธนา
ปีที่พิมพ์ ๒๕๓๘
จำนวนหน้า ๔๔ หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจษพ นางบุญหนัก ฐิตะฐาน
รายละเอียด
หนังสือปัญญาชาดกเป็นประชุมนิทานเก่าแก่ที่เล่ากันในประเทศไทยแต่โบราณ ปี ๕๐ เรื่องพระวงฆ์ชาวเชียงใหม่รวบรวมแต่งเป็นภาษมคธ ประมาณ พ.ศ.๒๐๐๐-๒๒๐๐ ปี
สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 11 นครศรีธรรมราช. โบราณสถานเขาคา. นครศรีธรรมราช : สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 11 นครศรีธรรมราช, 2540. โบราณสถานเขาคา เนินเขาขนาดย่อมในตำบลเสาเภา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช นับได้ว่าเป็นศาสนสถานที่สร้างบนยอดเขาเพื่อประดิษฐานรูปเคารพอันศักดิ์สิทธิ์ หรือวิมานเทพเจ้าแห่งแรกในบรรดาศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ ในดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน เมื่อเวลาจะล่วงเลยมานับพันปี อาคารศาสนสถานแห่งนี้ทรุดโทรมจนถูกทอดทิ้งไปในที่สุด แต่ร่องรอยความเป็นผู้มีอารยธรรม ความชำนาญในเชิงช่าง ความเชื่อและศรัทธาในศาสนาของอดีตรากเหง้าหนึ่งของความเป็นไทยในดินแดนนี้ยังคงปรากฏเป็นประจักษ์พยานหลักฐาน ที่สามารถสัมผัสได้ในรูปแบบโบราณสถาน โบราณวัตถุ และความล้ำลึกของงานช่างที่กระจัดกระจายอยู่บนพื้นที่สันทรายชายฝั่งทะเลตะวันออกในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งยังคงความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารมาจนทุกวันนี้
เลขทะเบียน : นพ.บ.589/1ก ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 32 หน้า ; 4 x 52 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 190 (378-384) ผูก 1ก (2566)หัวเรื่อง : พระสังคิณี--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
บทความจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านเรื่อง "การศึกษาข้อมูลทางโบราณคดีที่คุ้มหลวงเมืองน่าน"ในจุลสารแป้นเกล็ดจุลสารเรื่องราวอาคารเก่า สาระความรู้ ศิลปกรรม สถาปัตยกรรมคณะกรรมการกองทุนเพื่อการอนุรักษ์อาคารเก่าเมืองน่าน แป้นเกล็ด ฉบับที่ ๘ มิถุนายน-สิหาคม ๒๕๖๑อ่านเนื้อหา บทความอื่นๆ ได้ที่ https://www.facebook.com/.../pfbid0xCHf2S3mLVrebMrkdDZAVX...
องค์ความรู้ : การขุดตรวจ โบราณสถานกู่แก้วสี่ทิศบ้านหว้าน ตำบลหว้านคำ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
ที่ตั้ง
โบราณสถานแก้วสี่ทิศบ้านหว้าน ตั้งอยู่บริเวณที่สาธารณประโยชน์ป่าช้าดงใหญ่ ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของบ้านหว้าน ตำบลหว้านคำ อำเภอราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
พิกัดทางภูมิศาสตร์
ละติจูด 15° 22' 14.59" เหนือ ลองจิจูด 104°11'3.97"ตะวันออก
UTM 48 P 412471 ม. ตะวันออก 1699495 ม. เหนือ
แผนที่ทหาร ระวาง 5839 IV ลำดับชุด L7017 มาตราส่วน 1: 50,000 พิมพ์ครั้งที่ 2-RTSD
การทำผัง
วางผังตามแนวแกนทิศตะวันออก-ตะวันตก เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดหลุม กว้าง 1 เมตร ยาว 4.50เมตร กำหนดจุดอ้างอิงตายตัว (fixed point) บริเวณพื้นผิวด้านบนของรั้วเหล็กล้อมรอบโบราณสถานเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยม (utm) จากนั้นถ่ายระดับมายังพื้นที่หลุมขุดตรวจโดยได้บวกระดับความสูงเพิ่มขึ้นจากจุดอ้างอิงตายตัว (fixed point) 100 เซนติเมตร กำหนดเป็นระดับอ้างอิงสมมติ (datum point) ระดับ 0 cm.dt. จากนั้นตรวจสอบระดับของเนินปรากฎว่ายอดเนินมีระดับ 23 cm.dt. กลางเนินมีระดับ 82 cm.dt. ปลายเนินมีระดับ 190 cm.dt.
สภาพก่อนขุด
เป็นเนินดินขนาดเล็ก มีผังพื้นรูปคล้ายวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 เมตร สูงจากพื้นโดยรอบประมาณ 3 เมตร มีต้นไม้ขนาดใหญ่และขนาดเล็กขึ้นอยู่บนยอดเนิน
สภาพหลังขุด
สภาพหลังขุด มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดหลุม กว้าง 1 เมตร ยาว 4.50 เมตร ความลึก 3.00 เมตร (ลึกจากระดับสมมติ 320 cm.dt.) ปรากฏร่องรอยโบราณสถานประเภทเจดีย์ ก่อด้วยอิฐสอดิน เจดีย์มีความสูงประมาณ 2.00 เมตร สามารถศึกษารูปทางสถาปัตยกรรมโดยการศึกษาเปรียบเทียบกับโบราณสถานที่มีลักษณะคล้ายกันในพื้นที่ของโบราณสถานกู่แก้วสี่ทิศบ้านหว้าน โดยมีลักษณะทางสถาปัตยกรรม ส่วนฐาน เป็นฐานเขียง สองชั้นในแผนผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส รองรับส่วนฐานบัวคว่ำบัวหงายท้องไม้ยกสูงประดับซุ้มจระนำประจำด้าน บริเวณมุมทั้งสี่ยกเก็จ รองรับส่วนองค์ระฆังในผังสี่เหลี่ยม ประดับจระนำซุ้มขนาดเล็กประจำด้าน ส่วนยอดซ้อนชั้นลดหลั่นเป็นปล้องไฉน และประดับปลียอดที่ส่วนยอดสุด
การกำหนดอายุเบื้องต้น
ในเบื้องต้นกำหนดอายุจากรูปแบบสถาปัตยกรรมสันนิษฐานว่าร่วมสมัยทวารวดี พุทธศควรรษที่ 12-16 ในการนี้กลุ่มโบราณคดีได้เจาะเก็บดินใต้ฐานของเจดีย์ส่งไปกำหนดอายุด้วยวิธีเรืองแสงความร้อนในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ หากได้ผลอย่างไรกลุ่มโบราณคดีจะดำเนินการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ต่อไป
เรียบเรียงนำเสนอโดย นายวีระชาติ พงค์ชนะ นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา
วัดม่วง ตั้งอยู่เลขที่ ๔๘ หมู่ ๕ ตำบลโพธิ์สามต้น อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สังกัดสงฆ์คณะมหานิกาย มีที่ดิน ๑๖ ไร่ ๑ งาน ๕๒ ตารางวา
ตั้งอยู่ที่ราบลุ่ม ในเขตพื้นที่ชุมชน ด้านทิศเหนือติดกับพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม ส่วนด้านทิศใต้
ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกติดกับชุมชน
ประวัติการสร้างวัดม่วง ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน ทราบแต่เพียงคำบอกเล่าว่า วัดม่วงนี้หม่อมเจ้าเกษร
ได้บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกับเจ้าพระยาภูธราภัย (บุตร บุญรัตน์) ที่สมุหานายกสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์วัดเขาดิน (วัดวรนายกรังสรรค์เจติยบรรพถาราม) แล้วจึงถวายเป็น
พระอารามหลวง ส่วนวัดม่วงนี้หม่อมเจ้าเกสร ผู้ปฏิบัติปรารถนาจะถวายเป็นพระอารามหลวงในสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เช่นกัน แต่ภายหลังการปฏิสังขรณ์วัดม่วงแล้วเสร็จ หม่อมเจ้าเกสร ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏจึงไม่ได้ถวายเป็นพระอารามหลวง ทั้งนี้ชื่อวัดม่วงน่าจะเรียกตามหมู่บ้านที่ตั้งวัด ซึ่งเรียกว่าบ้านม่วงมาแต่เดิมก่อนที่จะมีการสร้างวัด
จิตรกรรมภายในวิหาร เขียนขึ้นทั้งหมด ๔ ด้าน เป็นเทคนิคจิตรกรรมเขียนสีฝุ่นบนรองพื้น สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ ในสมัยรัชการที่ ๕ เป็นภาพเรื่องราวของพระพุทธประวัติ ทศชาติชาดก ไตรภูมิ และปริศนาธรรม ตลอดจนสอดแทรกภาพวิถีชีวิตของผู้คนในยุคสมัยนั้นได้อย่างชัดเจน เป็นศิลปะแบบจิตรกรรมไทยประเพณีผสมผสานกับศิลปะแบบตะวันตกในบางส่วน (อิทธิพลของอารยธรรมต่างชาติหรือที่เรียกว่าแบบสมัยใหม่ ในรัชกาลที่ ๕) แต่ยังคงเขียนตามคติประเพณีนิยมแบบโบราณ เช่น การเขียนไตรภูมิด้านหลังพระประธาน มารจญอยู่ด้านหน้า เทพชุมนุมอยู่บน ต่อด้วยพระพุทธประวัติ ถัดลงมาระหว่างหน้าต่างเขียนทศชาติชาดก การเรียงลำดับภาพได้วางภาพให้เรียงติดต่อกันโดยลำดับตลอดผนังทั้ง ๓ ด้าน การเขียนกษัตริย์ ปราสาท ราชรถ เป็นไปอย่างระเบียบแบบแผนตามประเพณีของช่างไทยโบราณ
ภาพ : กลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี กรมศิลปากร
ช่างภาพ : ว่าที่ร้อยตรี ธวัชชัย รามนัฏ
จิตรกรรมฝาผนังด้านทิศตะวันตก (ผนังด้านหลังพระประธาน) เขียนภาพเล่าเรื่องไตรภูมิ จิตรกรรมฝาผนังด้านทิศตะวันออก(ผนังด้านหน้าพระประธาน) เขียนภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติจิตรกรรมฝาผนังด้านทิศใต้(ผนังด้านขวาพระประธาน) ช่วงบนเขียนภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติ ช่วงล่างระหว่างช่องหน้าต่างเขียนภาพเล่าเรื่องทศชาติชาดกจิตรกรรมฝาผนังด้านทิศเหนือ(ผนังด้านซ้ายพระประธาน) ช่วงบนเขียนภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติ ช่วงล่างระหว่างช่องหน้าต่างเขียนภาพเล่าเรื่องทศชาติชาดก
วันนี้ในอดีต 20 กรกฎาคม น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 10 ผู้ทรงเปิด อุทยานประวัติศาสตร์ พระนครคีรี เมื่อ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2532
โดยเรื่องราวและความเป็นมาของ “พระนครคีรี” เป็นพระราชวังในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2502 ประกอบไปด้วย หมู่พระที่นั่ง ตําหนักและอาคารต่าง ๆ ซึ่งสร้างด้วยไม้ อิฐ และปูน เมื่อ พ.ศ. 2426 ภายหลังจากที่พระราชวังสร้างแล้วเสร็จ 24 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ก็โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะพระนครคีรีทั่วทั้งบริเวณ ด้วยทรงมีพระราชประสงค์จะใช้เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานพักผ่อนพระอิริยาบถ และเพื่อใช้รับรองพระราชอาคันตุกะ นับเป็นการบูรณะซ่อมแซมครั้งแรกของพระราชวังแห่งนี้ ทว่าหลังจากปลาย พ.ศ. 2526 นั้นก็ไม่พบหลักฐานการบูรณะอีกเลยมีเพียงการตกแต่งและดัดแปลงพื้นที่บนพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ เพื่อรับรองพระราชอาคันตุกะ เมื่อต้น พ.ศ. 2553 เท่านั้น หลังจากนั้นพระนครคีรีก็ร้างไป ไม่มีเจ้านายเสด็จมา ประทับอีก จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2496
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดําเนินเป็นการส่วนพระองค์ทอดพระเนตร เห็นความรกร้าง ขาดการดูแล หมู่พระที่นั่งและอาคารต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่ชํารุดทรุดโทรมทั่วกันตามกาลเวลา เช่น สีหมองมัว มีคราบรา และตะไคร่น้ำขึ้นทั่วไป อาคารบางหลังเหลือเพียงเสาหรือผนัง หลังคารั่ว ปูนเปื่อยยุ่ย ผุกร่อนและอาคารบางหลังพังทลายลงในที่สุด พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงมีพระราชดําริให้บูรณปฏิสังขรณ์พระนครคีรีขึ้นให้คงสภาพ
กรมศิลปากรได้ดําเนินการสํารวจ และประกาศขึ้นทะเบียนพระนครคีรีเป็นโบราณสถานสําคัญของชาติ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 (ประกาศกรมศิลปากร ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 หน้า 3693 วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2478) กําหนดเขตโบราณสถานไว้ทั้งภูเขา รวม 3 ยอดเขา และกั้นเขตบริเวณโดยรอบพระนครคีรีออกไปจากตีนเขาอีก 20 เมตร และในคราวนั้นเมื่อกรมศิลปากรได้รับงบประมาณจึงดําเนินการบูรณะพระที่นั่งและอาคารบางส่วน นับเป็นการบูรณะครั้งใหญ่ของพระนครคีรี เป็นครั้งที่ 2
ต่อมากรมศิลปากรได้ประกาศจัดตั้ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี เมื่อวันที่ สิงหาคม พ.ศ. 2522 เป็นพิพิธภัณฑ์ประเภทแหล่งอนุสรณ์สถาน และได้ดําเนินการบูรณะเมื่อ พ.ศ. 2524 - 2530 นับเป็นการบูรณะครั้งที่ 3 โดยได้จัดทําโครงการเสนอแผนทํานุบํารุงส่งเสริมศิลป วัฒนธรรมเข้าในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 ชื่อโครงการอุทยานประวัติศาสตร์ พระนครคีรี ซึ่งในครั้งนั้นกรมศิลปากรร่วมกับจังหวัดเพชรบุรี ข้าราชการ คณะสงฆ์ และประชาชน
ได้มีส่วนร่วมในการตําปูนสําหรับบูรณะพระธาตุจอมเพชรกว่า 2,493 คน เพื่อแสดงความจงรักภักดีและเฉลิมพระเกียรติแก่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัฐบาลในขณะนั้นได้กําหนดให้เป็นหนึ่งในโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร)
เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 และพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 เมื่อกรมศิลปากรดําเนินการบูรณปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 10 ) หรือในขณะนั้น คือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อครั้งดํารงพระอิสริยยศที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดําเนินแทนพระองค์ ทรงเปิดอุทยานประวัติศาสตร์ พระนครคีรี พร้อมทั้งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในองค์พระธาตุจอมเพชร เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2532
ตลอดระยะเวลากว่า 43 ปีที่พระนครคีรี ร้างไปนั้น โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่อยู่ในอาคารและห้องต่าง แต่เดิมได้นําไปเก็บรักษาไว้ที่อื่น ยกเว้นเครื่องราชูปโภคบางองค์ที่อยู่ในสภาพชํารุด ภายหลังเมื่อกรมศิลปากร ได้ดําเนินการบูรณะอาคารจึงนําเครื่องราชูปโภคทั้งหมดที่ได้รับมอบกลับคืนมาจากสํานักพระราชวังและ กระทรวงมหาดไทย มาขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุ อนุรักษ์ และนําออกจัดแสดงภายในพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ และพระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์ โดยจัดแสดงให้อยู่ในสภาพใกล้เคียงกับแบบเดิมให้มากที่สุด
โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่จัดแสดงและเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี จําแนกได้ เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. เครื่องราชูปโภคของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) และพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เช่น พระแท่นบรรทม โต๊ะทรงพระอักษร โต๊ะและเก้าอี้รับแขก โต๊ะเสวย และโต๊ะเครื่องพระสําอาง เป็นต้น เครื่องราชูปโภคดังกล่าวนี้ได้แบบมาจากยุโรป แต่ใช้ช่างจีนในเมืองไทยทํา จึงมีลักษณะผสมระหว่างศิลปะยุโรป จีน และไทย นอกจากนี้ยังมีสิ่งของเครื่องใช้ เช่น เชิงเทียน แจกัน ขวด หมึกพร้อมที่วางปากกา ฯลฯ ซึ่งเป็นของที่ซื้อหรือส่งมาจากต่างประเทศ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)
2. รูปหล่อโลหะสําริดและทองเหลือง ใช้สําหรับตกแต่งห้องต่าง ๆ ในพระที่นั่ง สันนิษฐานว่าพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงซื้อมาจากต่างประเทศในคราวเสด็จประพาสยุโรป
3. เครื่องกระเบื้อง ซึ่งมีทั้งเครื่องกระเบื้องของจีน เช่น กระถางต้นไม้และกรองกระถาง เครื่องกระเบื้อง ของญี่ปุ่นที่เป็นเครื่องราชูปโภค เช่น ชุดสรงพระพักตร์และขวดเครื่องพระสําอาง เครื่องใช้ เช่น แจกัน ชุดอาหาร เป็นต้น
ขอบคุณรูปภาพ : สำนักหอจดหมายเหตุเเห่งชาติ
ชื่อเรื่อง ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏธกถา ขุทฺทกนิกายฏธกถ (ธมฺมปทขั้นปลาย)อย.บ. 240/12หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 56 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ; ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง พุทธ ศาสนา บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ
องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ตั๋วเมืองน่ารู้...ร่วมอนุรักษ์และสืบสานอักษรธรรมล้านนา"เมืองน่าน"เมืองเก่าล้านนาตะวันออก มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน ปรากฏหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของผู้คนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จวบจนในสมัยประวัติศาสตร์ตามลำดับพัฒนาการของศูนย์กลางเมือง ได้แก่ เมืองวรนครหรือเมืองปัว เวียงภูเพียงแช่แห้ง เวียงน่านใต้ เวียงน่านเหนือ และเวียงน่านหรือนันทบุรี ในปัจจุบัน#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน #อักษรธรรมล้านนา