ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
บทความจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านเรื่อง "สิ่งปลูกสร้างในบริเวณโดยรอบ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน"ในจุลสารแป้นเกล็ดจุลสารเรื่องราวอาคารเก่า สาระความรู้ ศิลปกรรม สถาปัตยกรรมคณะกรรมการกองทุนเพื่อการอนุรักษ์อาคารเก่าเมืองน่าน แป้นเกล็ด ฉบับที่ ๗ มีนาคม-พฤษภาคม ๒๕๖๑อ่านเนื้อหา บทความอื่นๆ ได้ที่ https://www.facebook.com/.../pfbid02wTv2mWsT4ADYy1A3UyGgL....
องค์ความรู้ เรื่อง : เมืองนครราชสีมา 555 ปี มีเรื่องเล่า ตอนที่ 1 "..เรื่องเล่าก่อนมีทางรถไฟในบันทึกฝรั่ง
ชาวต่างชาติโดยเฉพาะชาวตะวันตกที่เดินทางเข้ามาในประเทศสยามเมื่อร้อยกว่าปีก่อนมักบันทึกเรื่องราวที่ตนเองเดินทางไปพบเห็นแล้วเอาไปพิมพ์เผยแพร่ในบ้านเกิดของตน ส่วนมากมักจะบันทึกเรื่องราวในกรุงเทพและหัวเมืองใกล้เคียง หรือฟังคำบอกเล่ามาจนบันทึก แต่ก็มีบางคนที่เดินทางมายังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะเมืองนครราชสีมา เราจึงได้รับรู้สภาพบ้านเมืองของนครราชสีมาหรือโคราชในช่วงเวลานั้นผ่านบันทึกชาวต่างประเทศเหล่านี้
ที่น่าสนใจคือบันทึกของนายเฮอร์เบิร์ท วาริงตัน สมิธ ที่เขียนขึ้นและนำเสนอให้ราชภูมิศาสตร์สมาคมแห่งสหราชอาณาจักรตีพิมพ์ในปี พ.ศ.2438 ทำให้โลกได้รับรู้ถึงอารยธรรมและอัฉริยภาพของรัชกาลที่ 5 ในการพัฒนาเทคโนโลยีของสยาม กรมศิลปากรโดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ได้แปลเป็นภาษาไทยในปีพ.ศ.2544 ในชื่อ บันทึกการเดินทางสู่แม่น้ำโขงตอนบน ประเทศสยาม เรียบเรียงจากบันทึกเอกสารภาษาอังกฤษเรื่อง Notes of a Journey on the Upper Mekong,Siam เขียนจากบันทึกการเดินทางของ นาย เฮอร์เบิร์ท วาริงตัน สมิธ นักธรณีวิทยาชาวอังกฤษ ซึ่งรัฐบาลสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 จ้างมาปฎิบัติราชการสังกัดกรมราชโลหะกิจและภูมิวิทยา(กรมทรัพยากรธรณีในปัจจุบัน) ภายหลังได้เป็นเจ้ากรมในปี พ.ศ.2438-2439 ได้บันทึกการเดินทางไปสำรวจแร่จากกรุงเทพ ผ่านภาคเหนือไปหลวงพระบาง และใช้เส้นทางขากลับผ่านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากหนองคายมาตามเส้นวางสายโทรเลขผ่านนครราชสีมาไปสระบุรีและกลับกรุงเทพ การเดินทางขากลับโดยใช้เส้นทางผ่านมาทางนครราชสีมาผ่านดงพระยาเย็นเข้าสู่สระบุรี
นายเฮอร์เบิร์ท วาริงตัน สมิธ ได้บรรยายายการเดินทางที่ลำบากยากเข็ญจนมาถึงนครราชสีมาในช่วงเวลานั้น คือในราวเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2436 ก่อนที่จะมีเส้นทางรถไฟมาถึง (รถไฟมาถึงในปีพ.ศ.2443) ได้เขียนบันทึกสภาพเมืองนครราชสีมาในช่วงเวลาดังกล่าว พร้อมทำแผนที่การเดินทางและวาดลายเส้นประกอบไว้หลายเรื่องเช่น ข้าหลวงประจำเมืองคือพระยาประสิทธิ์ศัลยการ ข้าหลวงเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลนครราชสีมา ที่ท่านเรียกว่า PHra Prasadit ว่าเป็นผู้ที่พูดภาษาอังกฤษได้ดี มีอัธยาศัยและปกครองเมืองอย่างดี เล่าถึงบริเวณกลางเมืองที่เคยถูกไฟไหม้แต่ยังไม่ได้ฟื้นฟู กำแพงเมืองศิลาแลงขนาดใหญ่ล้อมรอบเมืองทั้งสี่ด้าน และมีหอคอยทรงกลมอยู่ด้านข้างของกำแพงแต่สภาพทรุดโทรมมากแล้ว คูเมืองด้านนอกก็เกือบจะตื้นเขินหมดแล้ว มีประตูอยู่ตรงกลางแต่ละด้านมีถนนที่เชื่อมจากประตูเมืองด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง ถนนสองเส้นไปตัดกันที่กลางเมือง ภายในเมืองมีป่าย่อมๆและหนองบึงหลายแห่ง กำแพงเมืองตั้งอยู่บนเนินดินขนาดใหญ่ที่ป้องกันน้ำไหลเข้าเมืองในช่วงฤดูฝนที่บริเวณโดยรอบจะเป็นทะเลสาบ มีหมู่บ้านตั้งอยู่บนเนินรายรอบเมือง มีทุ่งนาและสวนผลไม้หลายชนิดทั้งมะม่วง กล้วย มะพร้าว ลูกตาล มีขนมหวานที่ทำจากตาลโตนดรสชาดดี
ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมือง มีทั้งคนไทยและคนลาว ตั้งบ้านเรือนกระจายกันอยู่ซึ่งสภาพบ้านไม่ค่อยดีนัก มักจะอยู่ตามหนองบึงและชายป่า แต่คนจีนจะรวมตัวกันอยู่ในย่านที่มีความเจริญจำนวนหลายพันคน เกือบทั้งหมดเป็นเจ้าของร้านค้าที่ตั้งเป็นระเบียบอยู่นอกประตูเมืองด้านตะวันตก ถนนสายนี้มีแผ่นไม้กระดานปูตามขวาง (น่าจะเป็นย่านถนนจอมผลออกไปโพธิกลางผ่านทางตลาดแม่กิมเฮงในปัจุบัน)
ตลาดด้านตะวันตก(ถนนโพธิกลาง) สินค้าที่นำมาขายจะเป็นสินค้าชนิดต่างๆทั้งจากพื้นที่และนำเข้าจากแดนไกลเช่นรองเท้าแตะทำจากหนังสัตว์ นมกระป๋องจากสวิส ไม้ขีดไฟ เข็มและด้ายเย็บผ้า เส้นลวดและตะปู เครื่องมือจากยุโรป เสื้อชั้นใน ตลอดจนสบู่และสินค้าทุกชนิดที่สั่งเข้ามาจากรุงเทพผ่านเส้นทางดงพญาเย็นโดยใช้เกวียนและวัวต่าง ผ้านุ่งที่นิยมมากที่สุดเป็นผ้านุ่งของโคราชซึ่งส่วนมากเข้าใจกันว่าเป็นผ้าของชาวสยามเป็นผ้าพื้นมีเชิงตอนปลายสีที่ใช้กันมากคือสีน้ำเงิน สีชมพูเรื่อๆ และสีแดงอ่อน ที่กลางเมืองที่ถนนสองเส้นหลักมาตัดกันมีตลาดกลาง มีอาคารหลังใหญ่เปิดค้าขายตลอดทั้งวัน โดยมีเจ้าของเป็นคนจีนและภรรยาชาวไทยต่อรองราคากับผู้ซื้อทั้งวัน
เมื่อออกเดินทางกลับกรุงเทพ โดยใช้เส้นทางผ่านหมู่บ้านเล็กๆชื่อจันทึก Chanteuk (ปัจจุบันคืออำเภอสีคิ้ว)ที่เคยมีเหมืองทองแดงอยู่สองสามแห่ง ผ่านบ้านขนงพระ Ban Kanong Pra (ปัจจุบันคือตำบลขนงพระ อำเภอปากช่อง) เข้าสู่แก่งคอย Keng Koi ด้วยความยากลำบากและอันตรายจากสัตว์ป่า ไข้ป่า และสภาพป่าฝน สัมภาระในการสำรวจเสียหายจากการข้ามป่าดงพญาเย็นไปหลายอย่าง จนถึงปากเพรียว Pak prio (จังหวัดสระบุรี )จึงพบคันดินทางรถไฟที่กำลังก่อสร้างไปยังนครราชสีมา ท่านได้บันทึกถึงความสำคัญและความมุ่งมั่นที่จะต้องสร้างทางรถไฟสายนี้ให้สำเร็จ
จากบันทึกนี้ ถึงแม้จะไม่ถูกต้องทั้งหมดเนื่องจากบันทึกจากมุมมองของชาวตะวันตกที่มีวัฒนธรรม ความคิด แตกต่างจากคนท้องถิ่น แต่ก็ทำให้เรารู้ถึงสภาพบ้านเมืองในช่วงเวลานั้นๆได้เป็นอย่างดี
เก็บความจาก บันทึกการเดินทางสู่แม่น้ำโขงตอนบน,ประเทศสยาม พรพรรณ ทองตัน นักอักษรศาสตร์ 8ว. แปล โดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร แปลเป็นภาษาไทยในปีพ.ศ.2544
เรียบเรียงนำเสนอโดย นายกิตติพงษ์ สนเล็ก นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี
ชื่อเรื่อง ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏธกถา ขุทฺทกนิกายฏธกถ (ธมฺมปทขั้นต้น, คาถาธมฺมปท)อย.บ. 244/8หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 58 หน้า : กว้าง 4.7 ซม. ; ยาว 53.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธ ศาสนา บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด
วันนี้ในอดีต 7 กรกฎาคม 2566
ครบรอบ 164 ปี พิธีก่อพระฤกษ์พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ พระที่นั่งองค์แรกของพระราชวังพระนครคีรี
ครบรอบ 164 ปี พิธีก่อพระฤกษ์ พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ พระที่นั่งองค์แรกของพระราชวังพระนครคีรี เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 8 ค่ำ เดือนแปด ปีมะแม เอกศก จุลศักราช 1221 เป็นปีที่ 8 แห่งรัชกาล (ตรงกับวันที่ 7 กรกฎาคม พุทธศักราช 2402) โดยโปรดสร้างขึ้น ณ พระนครคีรี เพื่อใช้เป็นเป็นพระราชวังในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช รัชกาลที่ 4 ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในพุทธศักราช 2402 ด้วยทรงเห็นภูมิสถานของเมือง เพชรบุรีเป็นที่เหมาะสมในการจะสร้างพระราชฐานที่ประทับ โดยให้สร้างขึ้นบนเขาสมณะ ภายหลังพระราชทานนามว่า เขามหาสวรรค์ นับเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีการสร้างพระราชวังขึ้นบนเขา เป็นพระราชฐานในหัวเมืองที่สำคัญที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาประทับอยู่เสมอตลอดรัชสมัย
ภายหลังสร้างเสร็จได้ประกอบพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรในคราวบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในพระเจดีย์เพชรภูมิไพโรจน์ (พระสุทธเสลเจดีย์) เมื่อวันพุธ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ จัตวาศก จ.ศ. 1224 (ตรงกับวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2405)
พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้เป็นท้องพระโรง สำหรับเสด็จออกขุนนางและให้ใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ทั้งใน รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้จัดพิธีสงฆ์ตั้งเครื่องบูชาและแขวนโคม
ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบยุโรปผสมไทย การเข้ามาของลักษณะสถาปัตยกรรมแบบยุโรป ริเริ่มจากความสนใจของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ทรงเริ่มศึกษาภาษาอังกฤษ และวิชาความรู้ต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงความรู้เกี่ยวสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมาสร้างพระราชวัง และพระที่นั่งต่าง ๆ ในรัชสมัยของพระองค์ เช่น พระที่นั่งอนันตสมาคมในหมู่พระอภิเนาว์นิเวศน์ รวมถึงพระนครคีรีแห่งนี้ด้วย แม้นำสถาปัตยกรรมตะวันตกใช้แต่ฝีมือช่างนั้นยังมีอิทธิพลของงานสถาปัตยกรรมจีนผสมอยู่ด้วย เช่น การปั้นสันหลังคา และการใช้กระเบื้องกาบกล้วย เป็นต้น สำหรับตัวผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีมุขยื่นออกไปด้านข้างสองด้านทั้งซ้ายและขวา ภายในแบ่งเป็นห้องต่างๆ การก่อสร้างพระนครคีรี
ต่อมา พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ปรับเปลี่ยนเป็นห้องรับรองการประทับสำหรับพระราชอาคันตุกะจากต่างประเทศ คือ ดยุคโยฮัน อัลเบรกต์ ผู้สำเร็จราชการเมืองบรันซวิก ประเทศเยอรมนี และดัชเชสอลิสซาเบธ สโตลเบิร์ก รอซซาล่า พระชายา โดยได้จัดตกแต่งห้อง ต่าง ๆ บนพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ใหม่ ดังนี้
ท้องพระโรงหน้าเดิม จัดเป็นห้องเสวยและห้องเสด็จออกขุนนางปัจจุบันจัดแสดงโต๊ะอาหารขนาดใหญ่พร้อมเก้าอี้
ท้องพระโรงหลังเดิม จัดเป็นห้องบรรทมปัจจุบันจัดแสดงแท่นบรรทม โต๊ะทรงพระอักษร เครื่องราชูปโภค เครื่องกระเบื้องและเครื่องแก้ว
มุขด้านทิศตะวันออก จัดเป็นห้องทรงพระสำราญปัจจุบันจัดแสดงโต๊ะและเก้าอี้สำหรับพักผ่อนพระอิริยาบถ
มุขด้านทิศตะวันตก จัดเป็นห้องสรงและห้องลงพระบังคนปัจจุบันจัดแสดงอ่างน้ำสำหรับสรงและโต๊ะเครื่องพระสำอาง
การจัดตกแต่งห้องต่าง ๆ ในปัจจุบัน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี ยังคงถือตามแบบที่เปลี่ยนแปลงในคราวหลังนี้ โดยจัดแสดงเครื่องราชูปโภคและเครื่องเรือนประจำอยู่แต่ละห้องตามเดิม
เอกสารสำหรับการสืบค้น
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี, “162 ปี พิธีก่อพระฤกษ์พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์”, [ออนไลน์], แหล่งที่มา : https://www.finearts.go.th/.../27178-%E0%B9%91%E0%B9%96... [6 ก.ค. 2566].
กรมศิลปากร. พระนครคีรี. เพชรบุรี : กรมศิลปากร.
ชื่อเรื่อง ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏธกถา ขุทฺทกนิกายฏธกถ (ธมฺมปทขั้นปลาย)อย.บ. 240/13หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 54 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ; ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง พุทธ ศาสนา บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ
ชื่อเรื่อง ภูมินามอำเภอปากเกร็ดผู้แต่ง พิศาล บุญผูกประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN 978-616-505-278-8หมวดหมู่ ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ เลขหมู่ 959.312 พ757ภสถานที่พิมพ์ นนทบุรีสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชปีที่พิมพ์ 2553ลักษณะวัสดุ 194 หน้า : ภาพประกอบ ; 24 ซม.หัวเรื่อง ปากเกร็ด (นนทบุรี) – ประวัติศาสตร์ ปากเกร็ด (นนทบุรี) -- ประวัติ ปากเกร็ด (นนทบุรี) -- ความเป็นอยู่และประเพณี ปากเกร็ด (นนทบุรี) -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยวภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก รวบรวมเรื่องราวของอำเภอปากเกร็ดและชุมชนต่างๆของอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีในด้านประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ความสำคัญ บทบาทและหน้าที่ของบ้านปากเกร็ดซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นราชธานีของไทย ความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ การตั้งถิ่นฐาน วิถีชีวิตความเป็นอยู่และอาชีพ การทำเครื่องปั้นดินเผา การทำขนมหวาน พระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินทรงปฏิพระราชกรณียกิจต่างๆ ที่อำเภอปากเกร็ด ตลอดจนวัฒนธรรมและประเพณีชาวมอญ สถานที่ท่อง เที่ยวพร้อมทั้งแผนที่ที่ชาวต่างชาติเขียนระบุถึงที่ตั้งของชุมชนบ้านปากเกร็ดน้อย พงศาวดารที่กล่าวถึงการขุดคลองลัดเกร็ด และการฉลองพระแก้วมรกตสมัยกรุงธนบุรี เป็นต้น
สลากภัต หรือตานก๋วยสลาก ประวัติ ความเป็นมา และความสำคัญที่ปรากฏในพระไตรปิฎกและคัมภีร์อานิสงส์ล้านนา#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่านตานก๋วยสลาก ณ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร (วันศุกร์ที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๖) สุทินฺนัง วะตะ เม ทานัง สะหลากกะภัตตานัง นิพฺพานัง ปะระมัง สุขัง หมายทานสลากภัต กัณฑ์นี้ หมายมี มหามูลศรัทธา....ได้ทำบุญถวายสลากภัตรกัณฑ์นี้แล้ว มีเจตนาอุทิศส่วนบุญนี้ไปหา.....บรรพบุรุษ เจ้ากรรมนายเวร เจ้าคุณนายคุณ สรรพสัตว์ทั้งหลาย เทวดา ขอหื้อได้รับ ได้บริโภค ว่าสั้นนั้น แต้ดีหลี . สลากภัต คือ ชื่อประเพณีทางพุทธศาสนาอย่างหนึ่ง เป็นการถวายภัตตาหาร เครื่องไทยธรรมแด่พระภิกษุสงฆ์ โดยมิได้มีความประสงค์จำเพาะเจาะจงถวายพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง พระภิกษุรูปใดจะพึงได้รับก็ด้วยการจับสลากต้องตรงกันกับสลาก ซึ่งทายกหรือทายิกาปักไว้ที่เครื่องภัตตาหารที่ได้เตรียมไว้ถวายเท่านั้น สลากภัต ชาวล้านนานิยมเรียกว่า กินสลาก (อ่าน "กิ๋นสะหลาก") หรือ กินกวยสลาก (อ่าน "กิ๋นก๋วยสะหลาก") หรือ ทานสลาก (อ่าน "ตานสะหลาก") หรือ ตานก๋วยสลาก หรือ กินเข้าสลากมักทำกันราว วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ เหนือ คือเดือน ๑๐ ภาคกลาง และสิ้นสุดในเดือนเกี๋ยงดับ (เดือน ๑๑ แรม ๑๕ ค่ำ) ราวปลายเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม ความสำคัญของประเพณีสลากภัต คือ เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ ญาติ พี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว สอนให้ลูกหลานมีความกตัญญู กตเวที ต่อผู้มีพระคุณ ทั้งนี้การทำบุญที่ไม่จำเพาะเจาะจงพระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง เป็นการขจัดซึ่งความเห็นแก่ตัว การขจัดซึ่งกิเลส ที่เรียกว่า อคติ (ความลำเอียง) พระภิกษุสามเณรที่มารับสลากเองก็ไม่มีซึ่งความยึดติด เพราะสลากที่นำมาถวายนั้นแตกต่างหลากหลาย ประเพณีสลากภัตถือเป็นงานบุญใหญ่ที่ต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจกันของคนในหมู่บ้าน สังคม ซึ่งย่อมนำมาซึ่งความสามัคคีปรองดรอง ประเพณีสลากภัตจะจัดขึ้นในช่วงของการเข้าพรรษา หรือช่วงพักระหว่างการทำนา เกษตรกรรม พระภิกษุสามเณรจำพรรษายังวัดที่แน่นอน ชาวบ้านก็ว่างเว้นจากกิจการงาน ผลผลิตทางการเกษตรออกผลผลิต จึงเป็นช่วงเวลาที่มีความเหมาะสมในการทำบุญ การถวายสลากภัตยังเป็นการบำเพ็ญบุญกิริยาอันบริสุทธิ์ด้วยการบริจาคภัตตาหารและบริขารอันควรแก่ความจำเป็น เพื่อทำนุบำรุงพระภิกษุให้สามารถดำรงชีพและสืบพระพุทธศาสนาต่อไป. ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ สลาก (สะหฺลาก) น. สิ่งเช่นติ้ว ตั๋ว หรือแผ่นกระดาษเล็ก ๆ เป็นต้น ซึ่งทำเป็นเครื่องหมายกำหนดไว้เนื่องในการเสี่ยงโชคเสี่ยงทายเป็นต้น ฉลาก-สลากก็ว่า ภัต หมายถึง อาหาร, ข้าว สลากภัต หมายถึง อาหารแห้งหรือผลไม้ถวายพระโดยวิธีจับฉลากภตฺต หมายถึง ข้าวสาร สลากภตฺต หมายถึง ภัตอันบุคคลพึงถวายตามสลาก. ในพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) กล่าวว่า “สลาก” คือ เครื่องหมายหรือวัตถุที่ใช้ในการเสี่ยงโชค เช่น สลากภัต ก็ได้แก่อาหารที่เขาถวายสงฆ์ โดยเขียนชื่อเจ้าภาพลงในกระดาษใบละชื่อ ม้วนรวมคละกันเข้าแล้วให้ภิกษุทั้งหลายจับตามลำดับพรรษากันมา หรือเขียนเลขหมายไว้ที่ของจำนวนหนึ่ง ภิกษุจับได้สลากของผู้ใดก็ได้รับอาหารของทายกนั้น ฉลาก ก็เรียก “สลากภัต” อาหารถวายตามสลาก หมายเอาสังฆภัตอันทายกเข้ากันถวาย ต่างคนต่างจัดมา เป็นของต่างกัน เขามักทำในเทศกาลที่ผลไม้เผล็ดแล้วถวายพระด้วยวิธีจับสลาก. จากอรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ยมกวรรคที่ ๑ เรื่องความเกิดขึ้นของนางกาลียักษิณี ในสมัยพุทธกาล ในขณะที่พระพุทธเจ้าประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหารนั้น วันหนึ่งนางกุมารีผู้หนึ่งได้อุ้มลูกชายวิ่งหนีนางยักขินีผู้มีเวรต่อกันหลายชาติแล้วติดตามจะทำร้ายลูกของนาง นางเห็นจวนตัวจะวิ่งหนีไปที่อื่นไม่ได้ จึงวิ่งเข้าไปในเขตวัน เข้าไปในพระวิหารขณะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมอยู่ นางเอาลูกน้อยวางแทบพระบาทแล้วกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอทรงโปรดเป็นที่พึ่งของลูกชายของหม่อมฉันเถิดพระเจ้าข้า"พระพุทธเจ้าได้หยุดพฤติกรรมที่จองเวรของนางกุมาริกาและนางยักขินีด้วยการตรัสคำสอนว่า "เวรย่อมไม่ระงับด้วยเวรเวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร ธรรมนี้เป็นของโบราณ" แล้วทรงให้นางทั้งสองเห็นผิดชอบชั่วดี นางยักขินีรับศีล ๕ แล้วนางก็ร้องไห้สะอึกสะอื้น กราบทูลพระพุทธเจ้าว่านางไม่รู้จะไปทำมาหากินอะไรเพราะรักษาศีลเสียแล้ว นางกุมาริกาจึงรับอาสาจะพานางไปอยู่ด้วย นางได้รับอุปการะจากนางกุมาริกาหลายประการ นึกถึงอุปการะแล้วอยากตอบแทนบุญคุณ จึงเป็นผู้พยากรณ์บอกกล่าวเรื่องอุตุนิยมวิทยา คือบอกให้นางกุมาริกาทำนาในที่ดอนในปีที่ฝนมาก ทำนาในที่ลุ่มปีที่ฝนแล้งนางกุมาริกาได้ปฏิบัติตาม ทำให้ฐานะร่ำรวยขึ้นยิ่งกว่าคนอื่นๆในละแวกนั้น คนทั้งหลายจึงมาถามนางกุมาริกาว่าเป็นอย่างไรได้รับคำตอบว่า นางยักขินีเป็นผู้บอกให้คนทั้งหลายจึงพากันไปหานางนางบอกให้อย่างเดียวกับนางกุมาริกา คนทั้งหลายได้รับอุปการะจากนางยักขินีจนมีฐานะร่ำรวยไปตามๆ กัน ด้วยความสำนึกในบุญคุณ จึงพากันเอาเครื่องอุปโภคบริโภค อาหารการกิน เครื่องใช้ มาสังเวยเป็นอันมาก ข้าวของที่สำนักนางยักขินีจึงมีมากเหลือกินเหลือใช้ นางจึงนำมาทำเป็นสลากภัตโดยให้พระสงฆ์ได้ทำการจับตามสลากอุปโลกนกรรม คือของที่ถวายมีทั้งของมีราคามาก ราคาน้อย พระสงฆ์องค์ใดได้ของมีค่าน้อยก็อย่าเสียใจ ให้ถือเป็นว่าโชคของตนไม่ดีการถวายแบบจับสลากของนางยักขีนีนี้ นับเป็นครั้งแรกแห่งประเพณีทำบุญสลากภัต หรือทานสลากในพระพุทธศาสนา. ประเพณีและธรรมเนียมถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุด้วยวิธีถวายสลากภัตนี้ มาจากความเชื่อว่าจะช่วยให้ได้บุญกุศลมากกว่าการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์โดยจำเพาะเจาะจง สลากภัตเป็นภัต ๑ ใน ๗ อย่าง ซึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้พระสงฆ์รับ จากพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒ พุทธานุญาตภัตร ความว่า “ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่เมืองอาฬวีตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จจาริกทางกรุงราชคฤห์ เสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงกรุงราชคฤห์ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหารอันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตกรุงราชคฤห์นั้น ฯ สมัยต่อมา กรุงราชคฤห์มีข้าวแพง ประชาชนไม่สามารถจะ ทำสังฆภัตร แต่ปรารถนาจะทำอุทเทสภัตร นิมันตนภัตร สลากภัตร ปักขิกภัตร อุโปสถิกภัตร ปาฏิปทิกภัตร ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ รับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสังฆภัตร อุทเทสภัตร นิมันตนภัตร สลากภัตร ปักขิกภัตร อุโปสถิกภัตร ปาฏิปทิกภัตร ฯ”.๑. สังฆภัตร อาหารถวายสงฆ์ หมายถึงอาหารที่เจ้าของนำมา หรือส่งมาถวายสงฆ์ในอารามพอแจกทั่วกัน๒. อุกเทศภัต อาหารที่ถวายสงฆ์จำกัดจำนวน๓. นิมนตภัต อาหารที่ถวายสงฆ์ตามที่นิมนต์๔. สลากภัต อาหารที่ถวายสงฆ์โดยการจับสลาก๕. ปักขิกภัตร อาหารที่เขาถวายปักษ์ละครั้ง๖. อุโปสถิกภัตร อาหารที่ถวายในวันอุโบสถ คือ วันพระ๗. ปาฏิปทิกภัตร อาหารที่ถวายในวันแรม ๑ ค่ำ. จากคัมภีร์อานิสงส์สลากภัตต์ กล่าวถึงประวัตความเป็นมาและอานิสงส์ของการถวายสลากภัตร (พระมหาสิงห์คำ รักป่า. การศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์อานิสงส์ล้านนา. ๒๕๔๓) ความว่า.ในสมัยพุทธกาล มีธิดาเศรษฐี ๒ คน ชื่อ นางจุลนันทาและนางสุภัทรา ทั้งสองพี่น้องนี้มีความแตกต่างกันในด้านนิสัยใจคอเป็นอย่างมาก นางจุลนันทาเป็นผู้ที่ชอบให้ทานแก่คนยากจนแต่นางสุภัทราไม่สนใจในการทําบุญให้ทาน นางจุลนันทาจึงสอนน้องสาวของตนให้ทําบุญทํากุศลบ้าง นางสุภัทราจึงนิมนต์พระสงฆ์มาที่บ้าน และถวายทานสลากภัตต์แด่พระภิกษุเหล่านั้น เมื่อสิ้นชีวิตแล้ว นางสุภัทราได้ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นนิมมานนรดี แต่นางจุลนันทาได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นต่ำกว่า คือ ดุสิตา ทั้งนี้เพราะนางทําบุญให้ทานเฉพาะแต่คนยากจน แต่ไม่เคยถวายทานสลากภัตต์แด่พระสงฆ์ ส่วนในเมืองราชคฤห์ พระญาเจ้าเมืองได้ถวายทานสลากภัตต์ในชาติก่อน เมื่อจุติจากสวรรค์ มาเกิดในเมืองมนุษย์ จึงเป็นผู้ที่มีพละกําลังมหาศาล สามารถใช้มือหักเหล็กได้อย่างสบาย วันหนึ่ง มเหสีทรงทักว่าอย่าได้ลําพองตนมากนัก ทําให้พระญาเจ้าเมืองโกรธ จึงบอกว่า ภายใน ๗ วัน ถ้าหากใครมาประลองพละกําลังไม่ได้ มเหสีจะถูกตัดหัว ด้วยความกลัวว่าตัวเองต้องเสียชีวิต มเหสีจึงออกจากเมืองไปพร้อมกับรําพึงรําพันว่า ตัวเองคง ตายแน่ เมื่อผ่านมาในป่าแห่งหนึ่ง พระญาลิงจึงไต่ถามความจริง เมื่อทราบว่า พระเจ้าเมืองเป็นผู้มีกําลังมาก จึงทําให้มาประลองกําลังกัน มเหสีจึงกลับไปบอกให้สวามีของตนทราบ.พระญาเจ้าเมืองและเสนาอามาตย์ได้พากันเข้ามาในป่า และได้ต่อสู้ประลองกําลังกับพระญาลิง แต่ในที่สุดก็ถูกพระญาลิงใช้หางตวัดขึ้นไปบนอากาศทําให้พระญาเจ้าเมืองปลิวไปตกยังเมืองสาวัตถีพระญาเจ้ามืองสาวัตถีจึงบอกแก่พระญาเจ้าเมืองราชคฤห์ว่า ตนเองก็มีพละกําลังมหาศาลเช่นกัน เพราะได้รับอานิสงส์ที่เคยถวายทานสลากภัตต์มาก่อน จากนั้นจึงใช้ปากเป่าให้พระญาเจ้าเมืองราชคฤห์ปลิวไปตกยังเมืองของตน.เมื่อแสดงธรรมจบลง พระพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า ผู้ใดที่ถวายทานสลากภัตต์ให้แก่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร จะเป็นผู้ที่มีพละกําลัง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รวมทั้งเป็นผู้ที่มีรูปร่างลักษณะงดงาม และมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดในครั้งที่พระพุทธเจ้าประทับที่เชตวันนารามซึ่งอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี ได้สร้างถวาย ในกาละ ครั้งนั้น นางปทุมาวดีได้บริจาคอาหารให้ทานเป็นอันมาก และเมื่อนางสิ้นชีวิตแล้วก็ได้ไป เสวยสุขในสวรรค์ เพราะอานิสงส์จากการที่นางได้มีเจตนาสละเข้าของเป็นทานนั้น.พอมาถึงสมัยที่พระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ในกาลวันนั้น นางจันทปทุมาวดีได้จุติจากเทวโลกมา เป็นผู้มีฐานะดีในเมืองพาราณสี พออายุได้ ๑๖ ปี นางก็ได้ถวายภัตตาหารและผ้าจีวรแก่ภิกษุทั้งหลาย เป็นเวลาถึง ๒ วัน จนเจ้าภิกษุทั้งหลายก็ได้กล่าวถึงนางจันทปทุมาวดีว่า ประกอบด้วยศรัทธาและ เลื่อมใสใน ศาสนาของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้ากล่าวแก่ภิกษุทั้งหลายว่า นางจันทปทุมาวดี มิได้มีใจ ศรัทธาในการบริทานในชาตินี้เท่านั้น ในชาติก่อนนางได้ทําบุญให้ทานมากเช่นกัน เมื่อภิกษุทั้งหลาย ทูลอาราธนาให้พระพุทธเจ้าเทศนาเรื่องในชาติก่อนให้ฟัง พระพุทธเจ้าจึงเทศนาว่า.ในครั้งที่พระเจ้าพรหมทัตต์ครองเมืองพาราณสีประกอบด้วยทศพิศราชธรรม ทําให้บ้านเมือง สงบสุข ในครั้งนั้น ยังมีนางจันทปทุมาวดีผู้มีรูปงามและมีศรัทธามากอยู่ในเมือง พารารณสี นางได้ถวาย ทานแก่ภิกษุสงฆ์ด้วยข้าวของเป็นอันมาก วันหนึ่งนางนึกได้ว่า รุ่งขึ้นเป็นวันดี วิเศษ นางจึงไปอาราธนา พระพุทธเจ้าพร้อมหมู่สงฆ์ให้ไปรับทานสลากภัตต์ที่เรือนของนาง เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปถึงพร้อม หมู่สงฆ์ นางก็ได้ถวายทานแล้วกรวดน้ำตั้งจิตปรารถนาว่า ด้วย อานิสงส์ที่ได้ทานข้าวสลากภัตต์นี้ ขอให้เป็นปัจจัยนําไปเกิดเมืองสวรรค์ชั้นฟ้า แม้เกิดชาติใดขอให้ เสวยสมบัติอันมาก ซึ่งพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยหมู่สงฆ์ก็ได้อนุโมทนาซึ่งทานของนางจันทปทุมาวดีแล้ว จึงกลับสู่เชตวนาราม.ในขณะนั้นทิพยอาสน์ของพระอินทร์ก็ร้อนกระด้างขึ้นในทันใด พระอินทร์ก็ได้รับรู้ด้วย ปัญญาว่า ในวันนี้นางปทุมาวดีได้ศรัทธาให้ทานข้าวสลากภัตต์แก่เจ้าภิกษุทั้งหลายมาก พระอินทร์ ก็อนุโมทนากับนาง แล้วให้ห่าฝนแก้ว ๒ ประการตกมาในเมืองพาราณสี ชาวเมืองเห็นอัศจรรย์จึงกล่าวว่า การให้ทานข้าวสลากภัตต์เป็นอานิสงส์มาก.ในกาลนั้นพระญาพรหมทัต เห็นว่านางจันทปทุมาวดีมีรูปงาม ก็ให้เสนานํานางมาอยู่ที่ ปราสาทด้วย แล้วได้ตั้งให้เป็นอัครมเหสีตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นางจันทปทุมาวดีก็ให้ทานบิณฑบาต ทุกวันไม่ขาด ตราบจนสิ้นอายุของนาง. จากพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก กุสัฏฐกทายกเถราปทาน ประวัติในอดีตชาติของพระกุสัฏฐกทายกเถระ กล่าวว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดีได้ถวายสลากภัต ๘ ครั้ง แด่พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะประเสริฐ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ในกัปนี้เอง ข้าพเจ้าได้ถวายสลากภัต ๘ ครั้งไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายสลากภัต ๘ ครั้ง กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า เป็นการมาดีแล้วโดยแท้ วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้วคุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้วคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล ได้ทราบว่า ท่านพระกุสัฏฐกทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้”.ในอรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ทัณฑวรรคที่ ๑๐ เรื่องพระโกณฑธานเถระ ท่านได้จับสลากได้ที่ ๑ สามครั้ง พระพุทธองค์จึงยกย่องทรงแต่งตั้งไว้ในตำแหน่งภิกษุผู้เลิศแห่งภิกษุผู้จับสลากก่อน.วิธีปฏิบัติทานสลากภัตของชาวล้านนา. ก่อนวันทำบุญพิธีสลากภัต หรือตานก๋วยสลาก ๑ วัน หรือมากกว่านั้น เรียกว่า “วันดา”, “วันดาสลาก” (วันสุกดิบ) คือ วันที่จัดเตรียมสิ่งของไทยทาน ชาวบ้านใกล้เรือนเคียงจะช่วยกันแต่งดาจัดเตรียมสิ่งของ หน้าที่ของผู้ชายจะสานกวย (อ่าน "ก๋วย") ซึ่งมีทั้งกวยเล็ก กวยใหญ่ คือ ตะกร้าไม้ไผ่ สำหรับเป็นภาชนะบรรจุสิ่งของที่จะถวายทาน ส่วนผู้หญิงจะจัดเตรียมห่อของจำพวก พริก เกลือ หอม กระเทียมอาหารคาวหวาน ผลไม้ และสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน แล้วเอาตะกร้าไม้ไผ่ที่ผู้ชายสานมากรุด้วยใบตอง ใบหมากผู้หมากเมีย หรือกระดาษ เอาสิ่งของที่เตรียมไว้บรรจุลงไป ของบางอย่างที่มีน้ำหนักเบาเช่น ไม้ขีดไฟ บุหรี่ ยาซอง ก็เอาผูกติดกับเรียวไม้ไผ่ที่เหลาตกแต่งไว้อย่างสวยงาม นอกจากนั้นที่สำคัญต้องมีไม้หนีบสำหรับเสียบยอด หรือธนบัตรจำนวนหนึ่งเสียบไว้กับกวยสลากนั้น ด้านหน้ากวยจะมีเส้นสลากหรือข้อเขียนคำจารึกชื่อผู้ถวายพร้อมทั้งระบุด้วยว่าถวายเพื่ออะไรหรือถวายสำหรับใคร เพราะบางคนจะถวายทานเพื่ออุทิศส่วนกุศลไปสะสมไว้เป็นส่วนกุศลของตนเพื่อวันข้างหน้า บางคนก็อุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษหรือญาติมิตรผู้ล่วงลับ.ในวันดาสลากนี้ บางท้องถิ่นจะมีคนต่างหมู่บ้านซึ่งเป็นเพื่อนฝูงญาติมิตรพี่น้องมาเที่ยวเยี่ยมเยียนเจ้าของบ้าน หรือหมู่บ้าน ชุมชนที่ดาสลาก เพื่อช่วยเหลือจัดเตรียมสิ่งของ พร้อมกับนำข้าวของปัจจัยมาร่วมทำบุญเรียกว่ามา รอมสลาก (อ่าน "ฮอมสะหลาก") หรือ รอมพอย (อ่าน "ฮอมปอย") เจ้าของบ้าน หรือชาวบ้านจะตอบแทนด้วยการเลี้ยงอาหาร แล้วยังทำขนมพื้นเมือง อย่างข้าวต้มกะทิข้าวต้มกล้วย ข้าวต้มถั่ว ที่นิยมทำและชอบกินกันคือเข้าหนมจ็อก หรือขนมเทียนแบบล้านนา เป็นของฝากให้แก่พี่น้องทุกคนเพื่อนำไปให้ลูกให้หลานที่อยู่บ้านได้กินกัน.กวยสลาก หรือ ก๋วยสลาก คำว่า “ก๋วย” คือ ภาชนะสาน ประเภทตะกร้า หรือชะลอม ที่สานขึ้นเพื่อบรรจุเครื่องไทยทานซึ่งจะได้นำไปถวายพระ มีรูปแบบที่หลากหลาย และมีชื่อเรียกขานที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ประกอบด้วย -สลากน้อย คือ สลากก๋วยเล็ก (กระชุหรือชะลอมขนาดเล็ก) -สลากก๋วยใหญ่ หรือสลากโชค -สลากต้น หรือสลากที่มีขนาดใหญ่ วิธีการถวายทานสลากภัต.ในวันทานสลากภัตหรือทำบุญสลากภัตนั้น พระภิกษุตามหัววัดต่างๆ ในตำบลเดียวกันหรือต่างตำบลที่มีความสัมพันธ์กันจะได้รับนิมนต์ให้มาร่วมรับการถวายทานด้วยพร้อมกันนั้นวัดต่างๆ ก็นำต้นสลาก หรือเครื่องไทยทานที่นำมาร่วมจับสลากด้วย ชาวบ้านที่เป็นเจ้าศรัทธาวัดนั้นจะนำก๋วยสลากทั้งหมดไปที่วัด กวยเล็กที่เตรียมสำหรับทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลจะนำไปถวายทานแต่เช้ามืดลักษณะเดียวกันเหมือนกับการทานขันเข้า เมื่อพระสงฆ์ให้พรแล้วก็จะนำกวยสลากทั้งหมดไปรวมกัน ส่วนที่เป็นกวยถวายพระเจ้าคือถวายพระพุทธหรือพระธรรม ก็นำไปรวมกันที่หน้าพระประธานในวิหาร กวยใหญ่ที่จะให้พระสงฆ์จับสลากก็นำไปวางเรียงกันตามสถานที่กรรมการวัดจัดไว้ให้ กรรมการวัดมีหน้าที่จัดเตรียมสลากอีกชุดหนึ่งเท่ากับจำนวนกวยสลากที่ศรัทธาชาวบ้านจะถวาย เมื่อถึงเวลาก็นิมนต์พระสงฆ์ที่มาร่วมพิธีทุกรูปจับสลาก เมื่อแต่ละรูปได้เบอร์ไหนก็ออกเดินค้นหาต้นสลากที่วางไว้ พบแล้วชาวบ้านก็จะถวายทานต้นสลาก หรือบางทีพระสงฆ์ก็อาจอ่านชื่อศรัทธาตามเส้นสลาก เพื่อเรียกให้ศรัทธานำเอากวยสลากไปถวายพระสงฆ์จะให้พรศรัทธาผู้ถวายแล้วรับต้นสลากไป เป็นอันเสร็จพิธี พระเณรก็จะรีบกลับไปฉันเพลที่วัดของตน ซึ่งหากวัดอยู่ไกลเกินไป ก็อาจฉันตามห้างนาราวป่าตามข้างทางก็ได้เพราะสมัยก่อนไม่มีการเลี้ยงเพล . เส้นสลาก คือข้อความที่จารหรือเขียนกำกับต้นสลากหรือ กวยสลาก ในเส้นสลากจะเขียนชื่อเจ้าของ / หน่วยงาน ต้นสลาก และมีคำปรารถนา (อ่าน "กำผาถะนา") คือคำอุทิศที่แสดงความจำนงว่าจะให้อานิสงส์ในการทำบุญนั้นไปตกอยู่กับผู้ใด ในอดีตเส้นสลากทำด้วยใบตาลหรือใบลาน นำมาตากให้แห้งตัดแต่งให้กว้างประมาณ ๓-๔ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๔๐-๕๐ เซนติเมตร แหลมหัวและท้าย แต่งขยักหัวให้สวยงาม ในปัจจุบันมักเขียน หรือปริ้นบนแผ่นกระดาษ และที่ทำเป็นแบบฟอร์มให้กรอกรายละเอียดก็มี ในพิธีการถวายสลากภัตที่นิยมมี ๓ ประเภท คือ ๑. สลากเอาเส้น ประชาชนเป็นผู้จับสลาก แล้วนำสลากไปถวาย ๒. สลากที่พระสงฆ์จับสลากเอง ๓. สลากที่มีจำนวนมาก นำเอาเส้นสลากมาวางรวมกันหมดแล้ว ทางคณะกรรมการจึงทำการ “สูนเส้นสลาก” ผูกเส้นสลากทำเป็นมัดๆ คำนวณหารกับจำนวนวัด หรือพระภิกษุสามเณรที่นิมนต์มาเอกสารอ้างอิง-พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒. พุทธานุญาตภัตร. เข้าถึงได้โดย https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=2837...-พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๑. “จัตตารินิสสยะ ว่าด้วยนิสสัย ๔ เรื่องทรงอนุญาตให้บอกนิสสัย ๔”https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=04&siri=51-พระบุญชุม วชิโร (ปัญญายศ). ศึกษาวิเคราะห์ปุพพเปตพลีตามประเพณีตานก๋วยสลาก. วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.) สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๖๒.-พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. ๒๕๕๑. เข้าถึงได้โดย https://www.thammapedia.com/pdf/Dict_sadda.pdf-พระมหาสิงห์คำ รักป่า. การศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์อานิสงส์ล้านนา. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ๒๕๔๓.-พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=33&siri=66-สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง เล่ม ๑๔. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, ๒๕๔๒.-สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม ๑. เล่ม ๑๓. เล่ม ๑๔ กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์. ๒๕๔๒.-อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ยมกวรรคที่ ๑. เรื่องความเกิดขึ้นของนางกาลียักษิณี https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=11&p=4
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมโบราณสถานในยามค่ำคืนอีก 1 วัด คือ "วัดราชบูรณะ" ตั้งแต่เวลา 18.00 - 22.00 น. (ซื้อบัตรเข้าชมได้ถึงเวลา 21.00 น.) ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาทผู้พิการ และชาวไทยผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี เข้าชมฟรี ทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศิจกายน 2566 ถึงวันที่ 1 มกราคม 2567 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โทร 0 3524 2286 ต่อ 101 E-mail Ayh_hispark@hotmail.com
สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 11 นครศรีธรรมราช. ย้อนประวัติศาสตร์บูรณะพระบรมธาตุเมืองนคร. สำนัก : นครศรีธรรมราช, 2539. เป็นเอกสารประกอบการจัดนิทรรศการ เนื้อหาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และรายละเอียดเกี่ยวกับการบูรณะพระบรมธาตุที่ผ่านมา
ชื่อโบราณวัตถุ : ภาชนะดินเผาแบบศิลปะ : สมัยก่อนประวัติศาสตร์ชนิด : ดินเผาขนาด : สูง 22.7 เซนติเมตร ปากกว้า 16 เซนติเมตรอายุสมัย : วัฒนธรรมบ้านเชียงสมัยกลาง 3,000 - 2,300 ปีมาแล้วลักษณะ : ภาชนะดินเผามีฐานสูง มีการตกแต่งด้วยลายเส้นสีแดง และขูดขีดบริเวณไหล่และฐานภาชนะสภาพ : ...ประวัติ : ...สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีแสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang/360/model/09/ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang
สำนักหอสมุดแห่งชาติ จัดกิจกรรมพิเศษประกอบนิทรรศการเนื่องในงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี 2567 ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ “การซ่อมหนังสือชำรุด” โดยวิทยากรจากกลุ่มงานสงวนรักษาหนังสือ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ในวันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม 2567 เวลา 13.30 - 16.00 น. ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าด้วยการสแกน qr code หรือผ่านลิงก์ https://forms.gle/u4qdkXxiNzFsZaDd7
สมัครอบรมฟรี รับจำนวน 30 ท่านเท่านั้น สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ กลุ่มงานสงวนรักษาหนังสือ สำนักหอสมุดแห่งชาติ โทร. 0 2280 9828-32 ต่อ 603