ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

           กรมศิลปากร โดยสำนักช่างสิบหมู่ จัดกิจกรรม Workshop การขึ้นรูปชิ้นงานจานและการเขียนสีใต้เคลือบ ในงานนิทรรศการพิเศษ “เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก”           สำนักช่างสิบหมู่ ประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมเวิร์กชอป  เรื่อง “การขึ้นรูปด้วยมือ” และ “การเขียนสีใต้เคลือบ” โดยสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ในนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เซรามิกแห่งแดนอาทิตย์อุทัย : สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลาย ในพาณิชยวัฒนธรรมโลก" ติดตามได้ทางเฟสบุุ๊ก สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร https://www.facebook.com/officeoftraditionalarts          ขอความร่วมมือผู้ร่วมกิจกรรมที่ลงทะเบียนไว้ล่วงหน้าตรวจสอบรายชื่อตนเอง และเดินทางมาในช่วงเวลาตามวันที่ลงทะเบียนไว้ ณ ห้องดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร ผู้สนใจยังสามารถลงทะเบียนร่วมกิจกรรม โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ทาง https://forms.gle/tkhjW58b4cHKupjKA          *ทั้งนี้ หากกิจกรรมในรอบนั้น ๆ มีผู้สมัครไม่ครบจำนวน ๓๐ คน จะเปิดให้ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมบริเวณหน้างาน



          สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญร่วมโครงการรำลึกพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  การเสวนาเรื่อง "ในหลวงรัชกาลที่ 9 กับวงดนตรี อ.ส.วันศุกร์" โดยสมาชิกวง "อ.ส.วันศุกร์" อ.นนท์ บูรณสมภพและ อ.สันทัด ตัณฑินันทน์ ดำเนินรายการโดย นายบุญศักดิ์ ปัญจสุนทร ในวันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ณ ห้องจัดแสดง ชั้น 2 หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 สำนักหอสมุดแห่งชาติ             ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการดังกล่าว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2280-9856 หรือรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Fcebook Live ของสำนักหอสมุดแห่งชาติ https://www.facebook.com/NationalLibraryThailand


ชื่อเรื่อง                                 สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                    25/6ประเภทวัสดุ/มีเดีย              คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                         40 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 55.8 ซม.หัวเรื่อง                                  พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม...จากความคิดสร้างสรรค์ สู่หลักฐานชิ้นเอกแห่งสุโขทัย. เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือเจดีย์ทรงทะนาน เป็นชื่อที่เรียกตามลักษณะของยอดเจดีย์ เจดีย์ทรงนี้สันนิษฐานว่ามีวิวัฒนาการและการผสมผสานศิลปะจากหลายแหล่ง ถือได้ว่าเป็นเจดีย์ที่มีลักษณะเฉพาะของศิลปะสุโขทัย และเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมของสุโขทัยอย่างแท้จริง ซึ่งที่มาของเจดีย์ทรงนี้ได้มีนักวิชาการเสนอไว้หลากหลายทฤษฎี.ศ.ดร.สันติ เล็กสุขุม สันนิษฐานว่า เจดีย์ทรงนี้เกิดจากการพัฒนาและผสมผสานระหว่างศิลปะเขมรและศิลปะพุกามของพม่า โดยส่วนเรือนธาตุพัฒนามาจากเรือนธาตุของปราสาทเขมร ในส่วนขององค์ระฆังดัดแปลงมาจากเจดีย์ในศิลปะพุกามของพม่า โดยสันนิษฐานว่ามีอายุในช่วงกลางหรือปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 สอดคล้องกับข้อมูลจารึกที่พบ เช่นที่ เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมที่วัดอโสการาม มีจารึกที่กล่าวว่าสร้างในปี พ.ศ.1942 เป็นต้น .ศ.ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ เรียกเจดีย์ทรงนี้ว่า ปรางค์ยอดบัว ได้เสนอทฤษฎีที่ว่า เจดีย์ยอดดอกบัวตูมนี้ เกิดจากการผสมผสานระหว่างเจดีย์ยอดดอกบัวของชาวจีนที่ใช้สำหรับบรรจุอัฐิกับปรางค์ของไทย และได้กำหนดอายุไว้แตกต่างไปจากเดิมที่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 23 ในช่วงสมัยพระเจ้าท้ายสระ ซึ่งเป็นระยะที่ชาวจีนมีบทบาททางการเมืองในภูมิภาคนี้.ทั้งนี้ ในปัจจุบันนักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าเจดีย์ทรงยอดยอดบัวตูมนั้น เป็นการพัฒนาและผสมผสานระหว่างศิลปะเขมร ศิลปะล้านนา และศิลปะพุกามของพม่า ซึ่งเป็นแนวความคิดที่สามารถอธิบายที่มาของรูปแบบศิลปกรรมที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย และสอดคล้องกับลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่ปรากฏ.เจดีย์ทรงนี้สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดขึ้นในช่วงสมัยของพญาลิไท และแพร่หลายในเฉพาะช่วงที่สุโขทัยเรืองอำนาจ ซึ่งการกำหนดอายุของเจดีย์ยอดดอกบัวตูมนี้อ้างอิงจากจารึกวัดอโสการาม ซึ่งเป็นวัดที่มีเจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ยอดดอกบัวตูม โดยพบจารึกที่ระบุปีที่สร้างวัดคือ พ.ศ.1942 และศิลาจารึกนครชุม กล่าวถึงพระมหาธรรมราชาลิไทเสด็จมาสร้างพระศรีมหาธาตุ วัดบรมธาตุนครชุม ซึ่งเจดีย์องค์เดิมนั้นเป็นเจดีย์ยอดดอกบัวตูม โดยเจดีย์ที่เห็นในปัจจุบันนั้นถูกสร้างครอบทับด้วยเจดีย์ทรงมอญ-พม่าในภายหลัง นำมาสู่การกำหนดอายุให้เจดีย์ทรงนี้ไว้ว่าเริ่มปรากฏอย่างช้าสุดคือในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 .เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมนี้พบแพร่หลายในเมืองที่ร่วมสมัยกับสุโขทัย ซึ่งเจดีย์ยอดดอกบัวตูมนี้ถือเป็นเจดีย์รูปแบบเฉพาะของสุโขทัย เป็นที่น่าสังเกตว่าเจดีย์ทรงนี้เป็นรูปแบบเจดีย์ที่พบในวัดที่มีขนาดใหญ่และสำคัญ อยู่ในระดับที่เจ้านายทรงสร้าง และถ้าหากพบเจดีย์รูปแบบนี้ที่เมืองใด แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์และบทบาททางการเมืองของสุโขทัยที่มีต่อเมืองเหล่านั้น ทั้งเมืองกำแพงเพชรและศรีสัชนาลัยที่พบเป็นจำนวนมาก ในส่วนของเมืองพิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ น่าน สรรคบุรี ในปัจจุบันเหลือหลักฐานเพียงเมืองละหนึ่งองค์เท่านั้น  ทั้งนี้รวมถึงเมืองที่มีความสัมพันธ์ทางศาสนา เช่น เมืองเชียงใหม่ ซึ่งสันนิษฐานว่าแพร่ไปพร้อมกับพระเถระจากสุโขทัย ที่เดินทางไปเผยแพร่ศาสนา ราวพุทธศตวรรษที่ 20 ซึ่งได้ปรากฏภาพถ่ายเก่าของวัดสวนดอกก่อนการปฏิสังขรณ์ว่ามีเจดีย์ยอดดอกบัวตูมเป็นเจดีย์รายของวัด และนอกจากนี้ที่บริเวณสบแจ่ม ได้ปรากฏวัดพระเจ้าดำซึ่งเป็นวัดที่มีเจดีย์ยอดตัวบัวตูมเป็นเจดีย์ประธานของวัด เป็นหลักฐานสำคัญของศิลปะสุโขทัยแท้ที่ขึ้นมายังล้านนา และเจดีย์ยอดดอกบัวตูมยังเป็นเจดีย์ประธานของวัดอีกด้วย .เอกสารอ้างอิง1.ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย ประมวลศิลปกรรมโบราณเมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร พิษณุโลก. กรุงเทพฯ : หจก.เรือนแก้วการพิมพ์, 2561.2.ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์.. เจดีย์ในประเทศไทย รูปแบบ พัฒนาการและพลังศรัทธา. นนทบุรี : เมืองโบราณ, 2560.3.ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา (ฉบับปรับปรุงใหม่). เอกสารคำสอน รายวิชา 310333 ศิลปะสุโขทัยและล้านนา และรายวิชา 317405 ศิลปะในประเทศไทยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19-21. ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2554. (อัดสำเนา)4.ศ.ดร.สันติ เล็กสุขุม. เจดีย์ ความเป็นมาและคำศัพท์เรียกองค์ประกอบเจดีย์ในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : มติชน, 2553.5.ศ.ดร.สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะสุโขทัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2555.6.ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดำริห์กุล. ประวัติศาสตร์และศิลปะสุโขทัย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, 2562. #โบราณสถาน #อุทยานประวัติศาสตร์ #สุโขทัย #อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           33/7ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              32 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


          สำนักการสังคีต จัดการแสดงนาฏศิลป์และดนตรีสัญจร ณ วัดพนัญเชิงวรวิหาร ตำบลคลองสวนพลู อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระหว่างวันที่ ๒๗ – ๒๘ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๘.๓๐ น. ขอเชิญชมการแสดงละครนิทานพื้นบ้าน เรื่อง “นางสร้อยดอกหมาก” ในวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๖ และการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด รามราชจักรี ในวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๖ นำแสดงโดยศิลปินสำนักการสังคีต กำกับการแสดงโดย  ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ อำนวยการแสดงโดย ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต            ชมฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย สามารถติดตามข่าวสารกิจกรรมของสำนักการสังคีตได้ทางเฟสบุ๊ก: สำนักการสังคีต กรมศิลปากร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ ๐ ๒๒๒๑ ๐๑๗๑


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 128/5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 164/4เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)



ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           18/6ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                54 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อผู้แต่ง         พระยาอนุมานราชธน ชื่อเรื่อง           ชาติศาสนา  วัฒนธรรม ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์     ธนบุรี สำนักพิมพ์       สำนักพิมพ์บรรณาการ ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๕ จำนวนหน้า      ๕๕๖  หน้า หมายเหตุ        รายละเอียด                เป็นงานส่วนหนึ่งของผู้เขียนที่เขียนขึ้นในวาระต่างๆ หลายแห่ง ในสมัยแรกของการศึกษาค้นคว้าถึงขนมธรรมเนียม  ประเพณีไทยในเล่มนี้  ประกอบด้วย  เรื่อง ๑.ชนเชิ้อชาติไทย ๒. เชื้อชาติ  ภาษา  และวัฒนธรรม ๓.เรื่องวัฒนธรรมท ๔.ประเพณีและวัฒนธรรม และ ๕.ความภักดีศาสนาและจริยธรรม



เลขทะเบียน : นพ.บ.445/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 28 หน้า ; 5 x 58.5 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 158  (149-162) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : แทนน้ำนมแม่--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.589/1                         ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 34 หน้า ; 4.5 x 52.5 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 190  (378-384) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : พระสังคิณี--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


Messenger