ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
วันศุกร์ที่ ๑๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๓๐ น. รศ.ดร.ชูสิทธิ์ ประดับเพ็ชร์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา พร้อมคณะเข้าร่วมหารือเกี่ยวกับการปลูกสร้างอาคารเรียนศิลปกรรม (บริเวณสะพานเทพหมี) มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา กับนายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร โดยมีนางสาวสุกัญญา เบาเนิด ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยข้าราชการ เจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา ร่วมหารือในเรื่องดังกล่าว ณ ห้องประชุมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง ธมฺมปทวณฺณา ธมฺมปทฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ธมฺมปทฺธ)
สพ.บ. 376/8ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 52 หน้า กว้าง 4 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง ธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด-ลองรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.39/1-4
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สงฺคีติกถา (ปถม-ปญฺจมสงฺคายนา)
ชบ.บ.101/1-5
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.324/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 10 หน้า ; 4.5 x 57 ซ.ม. : ชาดทึบ-ทองทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 130 (329-337) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : ปญฺตปารมี (ปัญตปารมี)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) (ด้านซ้ายมือ)พระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (ด้านขวามือ)
ชื่อผลงาน: พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) [พ.ศ. 2310 - 2367] / พระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า [พ.ศ. 2405 - 2498]
ศิลปิน: พระสรลักษณ์ลิขิต (มุ่ย จันทรลักษณ์) [พ.ศ. 2418 - 2501]
เทคนิค: จิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบ
ขนาด: กว้าง 100 ซม. สูง 200 ซม.
อายุสมัย: รัตนโกสินทร์ (สมัยรัชกาลที่ 5)
รายละเอียดเพิ่มเติม: พระสรลักษณ์ลิขิต (มุ่ย จันทรลักษณ์) เป็นจิตรกรในราชสำนักและมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ผู้มีความสนใจในการเขียนภาพเหมือนบุคคล ในเทคนิคสีน้ำมันแบบตะวันตก เป็นจิตรกรไทยคนแรกที่ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงให้ไปศึกษาศิลปะยังต่างประเทศ ณ สถาบันวิจิตรศิลป์แห่งกรุงโรม อิตาลี เมื่อกลับมายังสยาม ได้เขียนภาพพระบรมสาทิสลักษณ์และพระสาทิสลักษณ์ของบูรพมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ไว้หลายพระองค์ โดยบางส่วน อาทิ พระบรมสาทิสลักษณ์ รัชกาลที่ 1 – 3 ตัวศิลปินอาจวาดขึ้นจากคำบอกเล่า เนื่องจากตัวศิลปินเองไม่เคยมีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ขณะดำรงพระชนม์ชีพ และอาจจะอาศัยต้นแบบงานศิลปกรรมที่สร้างขึ้นก่อนหน้า เป็นแบบในการศึกษาเทียบเคียง อาทิ ประติมากรรมพระบรมรูป รัชกาลที่ 1 – 3 ประดิษฐาน ณ ปราสาทพระเทพบิดร พระบรมมหาราชวัง ซึ่งปั้นหล่อ โดย พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ (อธิบดีกรมช่างสิบหมู่ สมัยรัชกาลที่ 5)
Title: a portrait of HM King Phra Puttha Lerdla Napalai (Rama II) [1767 - 1824]& a portrait of HM Queen Sri Savarindira (Queen consort of HM King Rama V) [1862 - 1955]
Artist: Phra Soralak Likhit (Mui Chandralak, 1875 - 1958)
Technique: oil on canvas
Size: 100 × 200 cm.
Period: Rattanakosin era, some years in the reign of King Chulalongkorn (Rama V)
Detail: Phra Soralak Likhit, a native Thai painter and a royal page in Siamese court in the reign of King Chulalongkorn (Rama V), he is the first Thai painter who granted a scholarship by His Majesty to study art abroad at L'Accademia di Belle Arti di Roma, Italy. When he returned to Siam, he painted several portraits of His Majesties and some members of the royal family. Some of these portraits such as portraits of HM King Rama I – III, an artist had to painted them according to oral testimony from elder courtesans because he never had a chance to witness the appearance of the passed away kings, and he might take an inspiration from earlier portrait sculptures of King Rama I – III sculpted by Prince Pradit Worakan (a chief of the royal artisan in the reign of King Rama V), enshrined at Prasat Phra Thep Bidon (hall of the ancestral kings), The Royal Grand Palace complex.
โบราณสถานปราสาทบ้านหนองขี้เหล็ก ตั้งอยู่บ้านหนองขี้เหล็ก ตำบลหนองขวาว อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ โดยอยู่ในพื้นที่นาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของบ้านหนองเหล็ก ห่างไปประมาณ 1 กิโลเมตร และอยู่ทางด้านทิศเหนือของปราสาทศีขรภูมิ ประมาณ 3 กิโลเมตร สภาพปัจจุบันถูกไถปรับพื้นที่เพื่อทำการเกษตร และนาข้าว เหลือเป็นเนินดินเตี้ยๆรูปทรงสี่เหลือมผืนผ้า สูงจากพื้นที่นาประมาณ 1.50 เมตร กว้าง 10 เมตร ยาวประมาณ 14 เมตร บริเวณโดยรอบเป็นที่นา จากการสำรวจพื้นที่ใกล้เคียงพบว่ามีบารายขนาดใหญ่ที่ปัจจุบันตื้นไปเกือบหมดแล้วอยู่ทางด้านตะวันออกห่างไปประมาณ 1 กิโลเมตร
บนพื้นเนินดินพบชิ้นส่วนภาชนะดินเผาแบบเครื่องถ้วยเขมรกระจายอยู่เบาบางโดยทั่วไป และยังพบก้อนหินศิลาแลงที่ตัดเป็นก้อนสำหรับก่อสร้างอาคาร มีขนาดประมาณ 80X65X36 เซนติเมตร วางตัวกระจายอยู่ชายเนินด้านตะวันตกและทิศใต้แต่ไม่เรียงกันเป็นฐานอาคาร ก้อนศิลาแลงสี่เหลี่ยมกระจายอยู่ทางด้านทิศตะวันออกที่ถูกขยับมาวางทิ้งไว้ที่คันนาห่างออกจากเนินดินประมาณ 20 เมตร พบชิ้นส่วนแท่นหินบดยา 1 ชิ้นอยู่บนเนินดิน ไม่พบโบราณวัตถุอื่นในพื้นที่นาที่อยู่โดยรอบ แต่เดิมเป็นพื้นที่ป่า ต่อมาจับจองเป็นพื้นที่ทำการเกษตรและปรับพื้นที่เป็นที่นาเมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้ว จึงมีการไถปรับพื้นที่ทำให้พื้นที่เนินดินหดเล็กลงเรื่องๆ ชาวบ้านเล่าว่า เท่าที่จำได้เดิมเนินดินนี้ มีขนาด 2 งาน เเต่ถูกไถปรับจนเหลือเท่าที่เห็นในปัจจุบัน ก้อนหินที่พบเกิดจากการไถและดุนมากองรวมกัน มีก้อนหินแลงบางส่วนนำไปไว้ที่วัดทุ่งสว่างนารุ่ง ตำบลนารุ่ง อำเภอศีขรภูมิ ที่อยู่ใกล้เคียงกัน
แม้หลักฐานที่พบ จะมิได้มีความโดดเด่นมากนัก แต่หลักฐานที่พบเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ช่วยแสดงให้เห็นถึงร่องรอยปราสาทในวัฒนธรรมเขมร ในเขตพื้นที่อำเภอศีขรภูมิ ที่ไม่ได้แค่ปราสาทหลังใหญ่ๆ อย่าง ปราสาทศีขรภูมิ ปราสาทช่างปี่ (อโรคยศาล) ได้เป็นอย่างดี
ข้อมูลโดย : นายกิตติพงษ์ สนเล็ก ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี
ชื่อผู้แต่ง คลุ้ม วัชโรบล
ชื่อเรื่อง ประสบการณ์วิญญาณ เล่ม 2
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๒
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ องค์การค้าของคุรุสภา
ปีที่พิมพ์ 2518
จำนวนหน้า 140 หน้า
รายละเอียด
“ประสบการณ์วิญญาน” เล่ม 2 เป็นบทสนทนาระหว่างผู้เขียนเป็นผู้ถามและคนไข้เป็นผู้ตอบ และเล่าเรื่อง ผู้เขียนได้พยายามรวบรวมหลักฐานไว้ทุกอย่างทุกประการ เช่นการเขียนบันทึกเรื่องราว ถ่ายรูป ถ่ายภาพยนตร์ บันทึกเสียงและจดประวัติของคนไข้ และบางเรื่องได้อธิบายเพิ่มเติมให้ละเอียดขึ้น
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง แบบเรียนภาษาไทย
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ -
สำนักพิมพ์ -
ปีที่พิมพ์ -
จำนวนหน้า ๑๐๐ หน้า
หมายเหตุ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๕
(เนื้อหา) อธิบายการสะกดคำศัพท์และการแต่งบทประพันธ์ประเภทโคลงฉันท์ กาพย์ กลอน โดยเฉพาะการแต่งบทประพันธ์ ประเภทโคลง คือ โคลง ๔ สุภาพ
#หนังสือชุดน่าอ่านหนังสือชุด หนูน้อยนักสำรวจ เปิดโลกการเรียนรู้ให้กับหนูน้อย ในเรื่องของสุสานอียิปต์โบราณ และภาพยนตร์ พร้อมไฟฉายวิเศษให้การอ่านสนุกยิ่งขึ้นอ่านได้ที่ห้องหนังสือเยาวชน หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2544 นิยามความหมายของยาม นอกจากแปลว่า ช่วงเวลาแห่งวันแล้ว ยังมีความหมายว่า “คนเฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกำหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม”
จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูล พบเอกสารที่แสดงถึงคุณความดีของคนยามหอพระสมุด ได้กล่าวไว้ ดังนี้
“ว่าด้วยแขกแชเบอร์ โจวทุรี รับราชการรักษายามที่หอพระสมุดแห่งพระนคร ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2463 เป็นเวลาสามปีหกเดือน รักษาหน้าที่เรียบร้อยตลอด มีความชอบพิเศษ 3 ครั้ง จับได้คนร้ายพยายามลักทรัพย์ สภานายกหอพระสมุดฯ ประทานรางวัล 1 ครั้ง ส่วนอีก 2 ครั้งไม่ได้ให้ จึงระบุความดีไว้ในหนังสือนี้ด้วย และลาจากหน้าที่รักษายามหอพระสมุด เพื่อกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดเมืองบิดร จึงได้ทำหนังสือแสดงคุณความดี ฉบับนี้ไว้เป็นสำคัญ” ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2466”
ช่วงเวลานั้นแขกมาเป็นนายยามที่หอพระสมุดฯในช่วงเวลาดังกล่าวอยู่เสมอ เช่น ในปีพ.ศ. 2460 มีคนยาม 3 คน ได้แก่ แขกสรัส (ชาติฮินดู แผลต้นนิ้วชี้ซ้าย) , แขกเชอดิเซ็ง (ชาติฮินดู แผลที่จมูกข้างขวา) และแขกพรหมหลัด(ชาติฮินดู แผลหลังมือซ้าย) ทั้งสามได้เงินเดือนเดือนละ 24 บาท แต่ไม่พบข้อมูลของแขกโจวทุรี ในเอกสารอื่น ทราบแต่ว่าได้รับเงินเดือนเดือนละ 25 บาท จากเอกสารปี พ.ศ. 2464 มีนายยาม 1 คน คือ แขกเซอร์ดิเซง และ คนยาม 2 คน คือ แขกแชเบอร์โจวทุรี (ในต้นฉบับสะกด โจวุดรี) และแขกงังเงอบีซน ระบุได้เงินเดือนปีละ 300 บาท เฉลี่ยเดือนละ 25 บาท
แม้ว่าจะไม่ได้ทราบประวัติหรือรายละเอียดมากมายเกี่ยวกับแขกโจวทุรี แต่ทำให้ตระหนักถึงความสำคัญที่ตนทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดด้วยความสุจริต นั่นคือเกียรติของตนเอง และทำให้ได้ตระหนักว่า ความดีไม่มีวันสูญหาย เอกสารยังปรากฏคุณความดีจนถึงทุกวันนี้ร่วมศตวรรษ ความดีจะเป็นนิรันดร์
-----------------------------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง
ศธ 0701.6/220 ตัวอย่างแสดงคุณความดีของคนยามหอพระสมุดฯ
ศธ 0701.6/189 ค่าใช้สอยต่างๆ พ.ศ.2464
ศธ 0701.6/107 ขอรับยกเว้นเงินค่าราชการ พ.ศ. 2460
-----------------------------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นายบารมี สมาธิปัญญา นักวิชาการเผยแพร่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ