ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ


ชื่อเรื่อง                           พาหุฎีกา (กตฺวานสุตฺตวณฺณนา เผด็จ)สพ.บ.                                  170/5กประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           38 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 55 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ธรรมเทศนาบทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ภาษาบาลี-ไทย ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                ทานสีลานิสํสกถา (ทานกถาสีลกถา)สพ.บ.                                  119/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           42 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 58 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 ทาน(พุทธศานา)                                           อานิสงส์  บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม  เส้นจาร ฉบับล่องชาด  ได้รับบริจาคมาจากวัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี


  พระพิมพ์ดินเผามีจารึกจากโบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒       พระพิมพ์ดินเผามีจารึกได้จากการขุดแต่งโบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ ซึ่งตั้งอยู่บนเทือกเขารางกะปิด ห่างจากเมืองโบราณอู่ทองไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๑ กิโลเมตร ในพื้นที่บ้านเขาพระ ต.อู่ทอง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี พระพิมพ์ดินเผาชิ้นนี้ขุดพบภายในภาชนะดินเผาที่ฝังอยู่ในพื้นหินโครงสร้างรับน้ำหนักของตัวโบราณสถาน ร่วมกับพระพิมพ์องค์อื่นๆ เหรียญเงินทวารวดี และเศษทองคำเปลว      รูปแบบศิลปกรรมเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ มีประภามณฑลแบบมีการตกแต่งลวดลายที่ขอบนอกรอบพระเศียร ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนบัลลังก์เหลี่ยม แวดล้อมด้วยเครื่องสูง ๕ ตำแหน่ง คือ เหนือพระเศียรมีฉัตร ๑ คัน ข้างพระวรกายในระดับพระเศียรมีบังแทรกหรือบังสูรย์ ๒ คัน ถัดลงมามีจามร ๒ คัน วิเคราะห์จากรูปแบบศิลปกรรมเป็นศิลปะทวารวดี ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบปาละ อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕ พระพิมพ์แบบนี้พบตามแหล่งสมัยทวารวดีทั้งทางภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เมืองฟ้าแดดสงยาง อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ วัดนครโกษา อ.เมือง จ.ลพบุรี อ.เมืองและ อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เป็นต้น     จารึกด้านหลังพระพิมพ์เป็นจารึกอักษรหลังปัลลวะ ภาษามอญโบราณ อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ เป็นต้นมา ข้อความจารึกกล่าวว่า “บุญนี้(เป็นของ)กษัตริย์มะระตา(ผู้สร้าง)พระพุทธรูป จากข้อความจารึกทำให้สันนิษฐานได้ว่า พระพิมพ์ดินเผารวมทั้งโบราณวัตถุอื่นๆ ที่บรรจุอยู่ในภาชนะดินเผารวมถึงตัวโบราณสถาน สร้างขึ้นโดยกษัตริย์หรือชนชั้นปกครอง เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาตามคติความเชื่อเรื่องการสร้างบุญกุศล สามารถกำหนดอายุจากรูปแบบศิลปกรรมและจารึกด้านหลังพระพิมพ์ได้ว่าอยู่ในสมัยทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕ ปัจจุบันพระพิมพ์ชิ้นนี้จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง   เอกสารอ้างอิง ปรัชญา  รุ่งแสงทอง. ผลการขุดแต่งโบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ กับการตอบคำถามเรื่อง “หินตั้ง”ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. พุหางนาคและคอกช้างดินร่องรอยพุทธและพราหมณ์บนเขาศักดิ์สิทธิ์. สมุทรสาคร:บางกอกอินเฮ้าส์, ๒๕๖๑. รุ่งโรจน์  ธรรมรุ่งเรือง. พระพุทธรูปและพระพิมพ์ทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๒.



เลขทะเบียน : นพ.บ.140/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  36 หน้า ; 4.5 x 50.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 84 (334-339) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : มหาชยปกรณ (มหาชยปรณ์)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.89/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4.6 x 50 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 52 (103-117) ผูก 4 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺปทฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (ธรรมบท)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.10/1-1 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อผู้แต่ง                สารนาถ  ,นามแฝง     ชื่อเรื่อง                  ตามรอยบาทพระพุทธองค์ เล่ม ๓      ครั้งที่พิมพ์             -   สถานที่พิมพ์          พระนคร    สำนักพิมพ์             บริษัทบูรพาสามัคคี จำกัด    ปีที่พิมพ์                 ๒๕๐๘      จำนวนหน้า            ๕๓๘  หน้า    หมายเหตุ               หนังสือสารคดีท่องเที่ยวเพื่อไหว้พระตามสถานที่ต่างๆที่สำคัญทางพุทธศาสนาในประเทศอินเดียและเนปาลเนื้อหาสาระของเล่ม ๓ ประกอบด้วยภาษาอินดี  อุรุเวลาเสนานิคม  ร่มโพธิ์ร่มไทร ต้นศรีมหาโพธิ์   การต่อสู้กู้พุทธคะยาคืน   โพธิตรัสรู้  นิลักขะ  ปรัชญานิลักขะ  ปรัชญาสาขยะ ปรัชญาโยคะ ศาสนาฮิน  ลัทธิโลกายตะ พระเวท  อุปนิษัท  ปรัชญามีมางสา  ฯ



   มหามกุฏราชสันตติวงศ์สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา    พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔    สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา พระนามเดิม เปี่ยม ประสูติเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๓๘๐ (นับแบบปัจจุบันตรงกับปีพุทธศักราช ๒๓๘๑) เป็นธิดา   หลวงอาสาสำแดง (แตง) และท้าวสุจริตธำรง (นาค) เจ้าจอมมารดาเปี่ยมเข้าถวายตัวเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระชนนีในพระราชโอรส พระราชธิดา จำนวน ๖ พระองค์ คือ    - พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย    - พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์    - พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์    - พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา    - พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี    - พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ    ในรัชกาลที่ ๕ พระราชธิดาสามพระองค์ในรัชกาลก่อนที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเปี่ยมได้ถวายตัวเป็นพระภรรยาเจ้าในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๔๒๘ ในรัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระอัฐิขึ้นเป็นเจ้านายในราชวงศ์จักรี ถวายพระนามาภิไธยว่า สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา เนื่องด้วยในรัชกาลนั้นมีพระฐานะเป็นพระอัยยิกา (ยาย) โดยพระนาม "ปิยมาวดี" นั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแปลจากพระนามเดิมว่า "เปี่ยม" เป็นคำว่า "ปิยมาวดี" ส่วนสร้อยพระนาม "ศรีพัชรินทรมาตา" มาจากพระนามของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง กับคำว่ามาตา แปลว่าแม่ รวมกันมีความหมายว่า "พระราชชนนีของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง" สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา ถึงแก่พิราลัยในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๔๔๗ สิริอายุ ๖๖ ปี   เรียบเรียง : ณัฐพล ชัยมั่น ภัณฑารักษ์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี กรมศิลปากร อ้างอิงภาพ : สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา ทรงฉลองพระองค์ชุดอย่างตะวันตก ตามแนวแฟชั่นยุควิกตอเรีย เมื่อสมัยแรกรับราชการ อ้างอิง ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม ๔๐ตอน ๐ ก๑ เมษายน ๒๔๖๖หน้า ๑. พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนา เรื่อง สถาปนาพระนามพระอัฐิ พระอัยยิกา.[ออนไลน์]สืบค้นเมื่อ ๔ มีนาคม ๒๕๖๔ จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2466/A/1.PDF ศิลปากร, กรม. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ ๑๔. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค.ลาดพร้าว, ๒๕๕๔.  


     ตราพระไพสพราช (โคอุศุภราช)       รัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ หรือประมาณ ๒๐๐ ปีมาแล้ว      งาช้าง      ขนาด สูง ๑๐ เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง ๕.๘ เซนติเมตร      ตราเก่าที่เลิกใช้แล้วของกระทรวงเกษตราธิการ ส่งมาเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๔๙๐      เจ้าพระยาพลเทพ เสนาบดีกรมนา มีตราประจำตำแหน่ง ๙ ดวง สำหรับใช้ในภารกิจแตกต่างกัน หนี่งในนั้น คือ ตราพระไพสพราช การใช้งานของตรานั้นตามพระธรรมนูญ ในพระราชกฤษฎีกาเดิม ระบุว่า “...ตราพระไพสพราช ทรงเครื่องยืนบลแท่น ดวง ๑ สำหรับใช้ไปด้วยพระราชทานที่กัลปนา...” เป็นตราใช้สำหรับการพระราชทานที่ดินหรือสิ่งก่อสร้างที่พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานอุทิศผลประโยชน์แก่วัดหรือศาสนา (สำหรับกัลปนา)       ตราประทับแกะสลักจากงาช้างเป็นรูปโคมีเครื่องประดับยืนบนแท่น  โดยคำว่า “อุศุภ” แปลว่า โค ส่วน คำว่า “ราช” แปลว่าราชา รวมกันคือ ราชาแห่งโคทั้งปวง ในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ คือ โคนนทิ พาหนะของพระศิวะนอกจากนี้ยังพบการใช้คำว่า โคอุศุภราช ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลของกัมพูชา โดยออกนามเรียกพระโคในพระราชพิธีนี้ว่าพระโค หรือ โคอุศุภราช ก็ได้เช่นกัน      ปัจจุบันตราพระไพสพราช (โคอุศุภราช) จัดแสดงในห้องประวัติศาสตร์ธนบุรี – รัตนโกสินทร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร    ค้นคว้าโดย นายกฤตเมธ เอื้อจารุพร  นักศึกษาฝึกงาน สาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พระนคร


          อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยความคืบหน้าโครงการปรับปรุงและพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องในวาระครบ ๔๐ ปี ที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา เมื่อวันที่ ๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๒๕ ซึ่งจะครบ ๔๐ ปี ในพุทธศักราช ๒๕๖๕ นี้          นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า นับแต่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา เปิดให้บริการตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๒๕ ยังไม่เคยมีการปรับปรุงครั้งใหญ่ ทำให้สภาพปัจจุบันชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา ประกอบกับลักษณะกายภาพของเมืองไชยา เปลี่ยนไปจากเดิม มีการปรับพื้นที่ขยายถนนด้านหน้า ทำให้พื้นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา มีสภาพเป็นที่ลุ่ม น้ำท่วมขังเป็นประจำเกือบทุกปี ส่งผลกระทบต่อโบราณวัตถุที่จัดแสดงและตัวอาคารพิพิธภัณฑ์เป็นอย่างมาก จึงได้มอบหมายให้สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรี ธรรมราช ศึกษาและจัดทำโครงการปรับปรุงพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา ระยะเวลา ๓ ปี (ระหว่างปีงบประมาณ ๒๕๖๔ - ๒๕๖๖) งบประมาณทั้งสิ้น ๘๐ ล้านบาท เป้าหมายสำคัญคือจะดำเนินการซ่อมปรับปรุงพัฒนาอาคารหลังเดิม และสร้างอาคารจัดแสดงเพิ่ม ๑ หลัง พัฒนาการจัดแสดงนิทรรศการภายใน รวมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์ สิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อรองรับพื้นที่ใช้สอยส่วนต่าง ๆ ตามมาตรฐานพิพิธภัณฑ์ในระดับสากล สร้างความภาคภูมิใจแก่คนในชาติ และเป็นแหล่งศึกษามรดกวัฒนธรรมที่สำคัญของนักเรียน นักศึกษา ประชาชน นักท่องเที่ยวต่อไป โดยการจัดแสดงนิทรรศการ นอกจากจะจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และข้อมูลทางวิชาการ ที่แสดงถึงพัฒนาการทางโบราณคดีประวัติศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเฉพาะในช่วงสมัยศรีวิชัยที่ปรากฏหลักฐานว่าเมืองไชยามีบทบาทสำคัญในฐานะศูนย์กลางทางศาสนาและการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของอาณาจักรศรีวิชัยแล้ว อีกประเด็นหนึ่งที่กรมศิลปากรให้ความสำคัญและจะเพิ่มเติมในการจัดแสดงครั้งนี้คือเรื่องราวเกี่ยวกับท่านพุทธทาส ที่มีคุณูปการต่องานโบราณคดีและการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมในฐานะผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา ท่านแรกอีกด้วย          อธิบดีกรมศิลปากร ยังได้มอบนโยบายแก่ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช ภัณฑารักษ์ และนักโบราณคดี ผู้รับผิดชอบการจัดทำบทจัดแสดงนิทรรศการ ให้นำองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่ได้จากการดำเนินงานทางโบราณคดีในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีและใกล้เคียง มานำเสนอเล่าเรื่องราวให้น่าสนใจ รวมทั้งสำรวจ รวบรวม โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่พบในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งปัจจุบันจัดแสดงหรือเก็บรักษาในคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติต่าง ๆ มาจัดแสดงประกอบในนิทรรศการ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา ซึ่งอาจเป็นลักษณะการขออนุมัติเคลื่อนย้ายกลับมาจัดแสดงถาวร หรือการยืมระหว่างพิพิธภัณฑ์เป็นครั้งคราวตามความเหมาะสมต่อไป           ทั้งนี้ ระหว่างดำเนินการปรับปรุงและก่อสร้างอาคารหลังใหม่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา ยังคงเปิดให้บริการผู้เข้าชมในอาคารจัดแสดงหลังที่ ๑ ได้ตามปกติ โดยงดเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมการเข้าชม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๗๗๔๓ ๑๐๖๖ หรือ Facebook : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา //การก่อตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา เริ่มขึ้นเมื่อ พุทธศักราช ๒๔๗๘ โดยพระครูโสภณ เจตสิการาม อดีตเจ้าคณะอำเภอไชยา ได้รวบรวมศิลปโบราณวัตถุมาเก็บรักษาไว้ในพระอุโบสถ พระวิหารหลวง และพระระเบียง ของวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร ต่อมากรมศิลปากรได้พิจารณารับเป็นสาขาพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ เรียกชื่อในขนาดนั้นว่า “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี” โดยจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อม ครั้นต่อมา พุทธศักราช ๒๔๙๓ ท่านพระครูอินทปัญญาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุไชยา ได้เริ่มสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ขึ้น โดยเงินส่วนหนึ่งได้จากการจำหน่ายหนังสือเรื่อง "แนวสังเขปโบราณคดีรอบอ่าวบ้านดอน" ที่ท่านเป็นผู้เขียน มาใช้สำหรับสร้างอาคารเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแบบไทยประยุกต์แล้วเสร็จเมื่อ พุทธศักราช ๒๔๙๕ ต่อมา พุทธศักราช ๒๔๙๙ กรมศิลปากรได้สร้างอาคารพิพิธภัณฑ์เพิ่มอีกหลังทางด้านทิศเหนือ เมื่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ประกอบกับพระวิหารหลวงของวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร ชำรุดทรุดโทรม และทางวัดจะรื้อสร้างใหม่ จึงได้ย้ายโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุทั้งหมดจากวิหารหลวงนำไปเก็บและตั้งแสดงในอาคารพิพิธภัณฑ์ที่สร้างใหม่ ซึ่งก็คือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา ในปัจจุบัน โดยการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ครั้งนั้น ท่านพุทธทาสได้รับความช่วยเหลือดำเนินการจาก มจ.สุภัทรดิศ ดิศกุล และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของกรมศิลปากรอีกหลายท่าน           ต่อมา ในวาระสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๒๕ กรมศิลปากรได้กราบบังคม ทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา ในการนี้ ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสิน ทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา เมื่อวันที่ ๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๒๕ภาพ : จารึกพระนามาภิไธยเนื่องในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงยกฉัตรยอดพระบรมธาตุไชยาและทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา วันเสาร์ที่ ๔ กันยายน ๒๕๒๕ ภาพ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา ในปัจจุบันแบบทัศนียภาพอาคารจัดแสดงหลังใหม่ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา ซึ่งสถาปนิกได้รับแรงบันดาลใจจากรูปแบบอุโบสถวัดจำปา ซึ่งเป็นโบราณสถานสำคัญของเมืองไชยา ภาพ : นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการตรวจรับพัสดุโครงการปรับปรุงและพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และให้คำแนะนำการปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา แก่ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช และข้าราชการ เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๔--------------------------------------------------------------ข่าว/ภาพ : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร


          ศิลปวัฒนธรรมไทยสาขาต่าง ๆ ของชาติ และการดำเนินวิถีชีวิตตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของไทย เป็นสิ่งที่ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ตระหนักในความสำคัญและเห็นสมควรรักษาสืบสานไว้ให้มั่นคงสืบไป ดังปรากฏในปาฐกถาต่าง ๆ เช่น           “การรักษาวัฒนธรรมอันเป็นสมบัติล้ำค่าของเรานั้น คือ การรักษาชาตินั้นเอง” และ “...การดำรง พิทักษ์ และสืบสานวัฒนธรรมของชาติ ของท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้านนับเป็นการตอบแทนบุญคุณแผ่นดินที่ยิ่งใหญ่...” เป็นต้น กล่าวได้ว่าในการปาฐกถาเกี่ยวกับเรื่องศิลปวัฒนธรรมไทยนั้น           ท่านพยายามเน้นย้ำเพื่อสร้างจิตสำนึกของการตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน ด้วยการชี้ให้ทุกคนตระหนักอยู่เสมอว่า ชาติจะดำรงอยู่ได้ต้องมีเอกลักษณ์ที่บ่งบอกให้รู้ถึงความเป็นชาติ สามารถสืบสานกันได้ด้วยธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม โดยบุคคลในชาติเป็นสำคัญของการธำรงรักษาเอกลักษณ์ไว้ซึ่งนอกจากท่านจะปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างแล้ว ยังนำมาเป็นแนวทางของรัฐบาลในสมัยของท่านที่สนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม มีหลายโครงการที่ท่านริเริ่มหรือสำเร็จในสมัยท่าน แม้เมื่อพ้นตำแหน่งทางการเมืองแล้วยังได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการรักษาสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทยด้านต่าง ๆ มาโดยตลอด           “วัฒนธรรมไทยเป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาติเรา เป็นสมบัติเก่าแก่ที่บรรพบุรุษได้คิดสร้างสรรค์ ดำรงรักษาและสืบสานต่อกันมาจนถึงยุคสมัยของเรา วัฒนธรรมของเราจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพวกเรา เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของเรา ชาติของเรา และจะดำรงลักษณะไทยไว้ไม่ได้ ถ้าเราไม่มีวัฒนธรรมและไม่ดำรงรักษาไว้ เพราะฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่สำคัญยิ่งของคนไทยทุกคน ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด ที่จะต้องช่วยกันร่วมมือกัน มีความสำนึกในคุณค่าของวัฒนธรรมของเรา รักและหวงแหนวัฒนธรรมของเราและรู้แจ้งประจักษ์ชัดว่า การรักษาวัฒนธรรมอันเป็นสมบัติล้ำค่าของเรานั้น คือ การรักษาชาตินั้นเอง”ปาฐกถาเรื่อง วัฒนธรรมไทย สมบัติไทย ณ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๗ ---------------------------------------------------------------------เรียบเรียงโดย นายบัณฑิต พูนสุข นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ---------------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง กระทรวงวัฒนธรรม. จารึกไว้ในแผ่นดิน พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ. กรุงเทพฯ: บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด, ๒๕๖๒. ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “วัฒนธรรมไทย สมบัติไทย” โดย ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรี และรัฐบุรุษ, กรุงเทพฯ: มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์, ม.ป.ป.



Messenger