ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
ชื่อเรื่อง ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏธกถา ขุทฺทกนิกายฏธกถ (ธมฺมปทขั้นปลาย)อย.บ. 240/14หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 58 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ; ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง พุทธ ศาสนา บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ
รายงานผลการตรวจสอบโบราณวัตถุที่พบในบริเวณที่ดินนางจุ๊ กล้าค้างพลู หมูที่ 9 บ้านโนนหินขาว ตำบลค้างพลู อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา
การปลงศพ ประเพณีและพิธีกรรมของชาวสุโขทัย ตอนที่ ๔ “กระดูกเผาไฟ บอกอะไรได้บ้าง”....หมายเหตุ : สามารถอ่าน การปลงศพ ประเพณีและพิธีกรรมของชาวสุโขทัย ตอนที่ ๑ ได้ที่ลิ้งค์ https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0XNjrNZ3dGYB6QX71zhKx2YEkfUtcdXNmH2pL3P4eg7pDEMrYXxnMhCdigtCvBwTXl&id=100057669631382&mibextid=qC1gEa..ตอนที่ ๒ ได้ที่ลิ้งค์ https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0346XQHnq3N3XufgvmRq8xwTrip1s8hsLhMmFTQZWEJqcB89AT2PQrp6ALHomAjveml&id=100057669631382&mibextid=qC1gEa..ตอนที่ ๓ ได้ที่ลิ้งค์ https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid02dG4fzDSJfoz1zRHUXKSRJRbYxr3ZwvofpWX2qu64TETTK73YDoqH7871SuWwiRKGl&id=100057669631382
สำนักหอสมุดแห่งชาติ โดยหอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร ขอเชิญชมการแสดงดนตรี "เพลงพ่อของแผ่นดิน" เพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร บรรเลงเพลงโดย วงดุริยางค์สากล สำนักการสังคีต กรมศิลปากร และขับร้องโดย ศิลปินจากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรำลึกพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในวันเสาร์ที่ 2 ธันวาคม 2566 เวลา 13.00-15.30 น. ณ ห้องจัดแสดง ชั้น 2 หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ภายในบริเวณหอสมุดแห่งชาติ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
พบกับศิลปินนักร้อง ได้แก่ ดวงดาว เถาว์หิรัญ สุรพัฒน์ โสภณวิมลรุจน์ มานิต ธุวะเศรษฐกุล ณัฐธิกา เอี่ยมท่าไม้ อิสรพงศ์ ดอกยอ ถิรวัฒน์ ศรีสุรางค์ โฉมวิลัย ยูฮันเงาะ ธนิษฐา นิลบุตร และรัฐพงศ์ ปิติชาญ ควบคุมวงโดย นายธนู รักษาราษฎร์
ชมฟรี! รับบัตรที่นั่งในวันงาน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร 0 2280 9856 และสามารถรับชมการถ่ายทอดสดกิจกรรมผ่านทาง Facebook Live: National Library of Thailand
หมวดหมู่ พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 28 หน้า บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ได้รับบริจาคมาจากพระครูวิมลสังวร วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อโบราณวัตถุ : ภาชนะดินเผาสีแดงขัดมันแบบศิลปะ : สมัยก่อนประวัติศาสตร์ชนิด : ดินเผาขนาด : สูง 9.8 เซนติเมตร ปากกว้าง 14.7 เซนติเมตรอายุสมัย : วัฒนธรรมบ้านเชียงสมัยปลาย 2,300 - 1,800 ปีมาแล้วลักษณะ : ภาชนะดินเผา มีเชิง ตกแต่งด้วยการชุบสีแดง และขัดมันทั้งใบสภาพ : ...ประวัติ : พระครูนันสมณาจารย์ (โผเรียนเป้า) เจ้าคณะใหญ่ อนันนิกาย วัดชัยภูมิการาม มอบให้เมื่อ 17 กรกฎาคม 2518 ได้มาจากบ้านเชียง อำเภอหนองหาน ตำบลบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีสถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีแสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang/360/model/26/ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang
วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๓๐ น. นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้ นายสถาพร เที่ยงธรรม ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วย นางสาวฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม เป็นผู้แทนร่วมแสดงความยินดีกับนายผรณเดช พนศิริวงศ์ กรรมการผู้จัดการหนังสือพิมพ์แนวหน้า และนายปริญญา ช้างเสวก บรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์แนว เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาหนังสือพิมพ์แนวหน้า ครบรอบ ๔๔ ปี ก้าวเข้าสู่ปีที่ ๔๕โอกาสนี้ นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร มอบหมายให้นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ นักอักษรศาสตร์ทรงคุณวุฒิ (ภาษา เอกสาร และหนังสือ) ผู้แทนกรมศิลปากร มอบหนังสือที่ระลึกร่วมแสดงความยินดี ณ สำนักงานหนังสือพิมพ์แนวหน้า ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ
วันภาษาไทยแห่งชาติ 29 กรกฎาคม
-------------------------
ในโลกนี้มีอะไรเป็นไทยแท้ ของไทยแน่นั้นหรือคือภาษา
ซึ่งผลิดอกออกผลแต่ต้นมา รวมเรียกว่าวรรณคดีไทย
อนึ่งศิลปงามเด่นเป็นของชาติ เช่นปราสาทปรางค์ทองอันผ่องใส
อีกดนตรีรำร่ายลวดลายไทย อวดโลกได้ไทยแท้อย่างแน่นอน
...
ได้รู้เช่นเห็นชัดสมบัติชาติ เหลือประหลาดล้วนเห็นเป็นศักดิ์ศรี
ล้วนไทยแท้ไทยแน่ไทยเรามี สิ่งเหล่านี้คือวัฒนธรรม
บทประพันธ์ของศาสตราจารย์ หม่อมหลวง ปิ่น มาลากุล ปูชนียบุคคลของไทยและบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา วัฒนธรรม (วรรณคดี) และการสื่อสารนี้ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทยในฐานะวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ที่น่าภาคภูมิใจประการหนึ่งของไทยและเป็นสมบัติชาติที่สืบต่อมาแต่บรรพชน โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช บูรพกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย ได้ทรงประดิษฐ์คิดค้นอักษรไทย เมื่อพุทธศักราช 1826 ดังปรากฏหลักฐานในจารึกพ่อขุนรามคำแหงหรือศิลาจารึกหลักที่ 1 มรดกล้ำค่าของชาติ ซึ่งองค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก (Memory of the World) ด้วย
ในอดีต เด็กไทยมักเล่าเรียนเขียนอ่านกับพระสงฆ์ที่วัด จนกระทั่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาและมีพระราชประสงค์ให้ราษฎรรู้หนังสือถ้วนหน้าเพื่อพัฒนาตนเองตลอดจนชาติบ้านเมือง จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรทั้งในพระนครและหัวเมืองเพื่อขยายการศึกษาให้ทั่วถึง อีกทั้งให้บรรดาขุนนางนักปราชญ์แต่งตำราวิชาการต่าง ๆ สำหรับกุลบุตรไว้ศึกษาเล่าเรียน เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ อธิบดีกรมการศึกษาพระองค์แรก นิพนธ์แบบเรียนเร็วสำหรับสอนอ่าน เขียน และแต่งหนังสือ ซึ่งได้ใช้เป็นแบบเรียนภาษาไทยในโรงเรียนหลวง พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) แต่งตำราปกีรณำพจนาดถ์และอนันตวิภาค การศึกษาเล่าเรียนภาษาไทยจึงได้เจริญก้าวหน้ากว้างขวางในหมู่ราษฎรนับแต่นั้นมา
ต่อมาเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พุทธศักราช 2505 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ไปทรงร่วมอภิปรายปัญหาการใช้คำไทยกับผู้ทรงคุณวุฒิทางภาษาไทยของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถ ความสนพระราชหฤทัย และความห่วงใยในภาษาไทย ด้วยเหตุนี้ ในวโรกาสมหามงคลทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ ในพุทธศักราช 2542 คณะรัฐมนตรีจึงกำหนดให้วันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติและกระตุ้นให้สถาบันการศึกษา องค์กรภาครัฐและเอกชน ตลอดจนประชาชน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทย การใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง และธำรงภาษาไทยอันเป็นภาษาของชาติไว้ให้ยั่งยืนสืบไป
เรียบเรียงโดย นางสาวพุธิตา ขำบุญลือ นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ
-------------------------
อ้างอิง
คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือเฉลิมพระเกียรติในโอกาส 100 ปี แห่งการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในความทรงจำแห่งโลก. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2554.
ณัฏฐา กล้าหาญ และพุธิตา ขำบุญลือ. 2565. “มรดกความทรงจำแห่งโลกของประเทศไทย.” ใน พิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ. บรรณาธิการ. 111 ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 41 - 50.
ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง วันภาษาไทยแห่งชาติ. เล่ม 116 ตอนที่ 67 ง หน้า 12. 24 สิงหาคม 2542.
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงศึกษาธิการ ร.5 ศ.2/1 เรื่อง พระบรมราชโองการ เรื่องตั้งโรงเรียนในกรุงและหัวเมือง (ม.ท.)
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารเย็บเล่มชุดหนังสือกราบบังคมทูล ร.5 รล.-นก เล่ม 6/26 เรื่องพระศรีสุนทรโวหาร น้อมเกล้าถวายต้นฉบับหนังสือเรียนตัวสะกดคำกลอน เพื่อทรงพิจารณาให้โรงพิมพ์หลวงจัดพิมพ์ (จ.ศ. 1241)
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารส่วนบุคคล หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล สบ.5.26/1 เรื่อง ปรู๊ฟคำประพันธ์ร้อยเรื่อง (พ.ศ. 2461 - 2505)
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพชุดหอพระสมุดวชิรญาณ ภ 002 หวญ 5/33(12) ภาพพระกับลูกศิษย์
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพที่อัดจากฟิล์มกระจกผนึกบนกระดาษแข็ง (ภาพเม้าท์) 10M/27 ภาพพระองค์เจ้าชายดิศวรกุมาร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (พ.ศ. 2405 - 2486) พระราชโอรสในรัชกาลที่ 4 และเจ้าจอมมารดาชุ่ม โรจนดิศ ต้นสกุล ดิศกุล
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพบันทึกเหตุการณ์สำคัญ ฉ/จ/1629 ภาพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพบันทึกเหตุการณ์สำคัญ ฉ/จ/13331 ภาพพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีพนมหมากและพนมดอกไม้วางสักการะอยู่ที่แท่นฐาน ในงานฉลองลายสือไทย ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย วันที่ 17 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2526
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพส่วนบุคคล หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ภ สบ10.1/1 ภาพหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ใส่ชุดสากล
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพอัลบั้มชุดหอพระสมุดวชิรญาณ ภอ 001 หวญ 14/7 ภาพพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ขอเผยแพร่ องค์ความรู้ประจำเดือนมกราคม ๒๕๖๗ เรื่อง "ประติมากรรมปูนปั้นช้างทรงเครื่อง วัดช้างล้อมศรีสัชนาลัย" ประติมากรรมปูนปั้นช้างเป็นคติการใช้ช้างประดับศาสนสถาน ซึ่งน่าจะมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา เพราะช้างเป็นสัตว์ที่มีความเกี่ยวพันกับคติความเชื่อทางศาสนามาตั้งแต่สมัยโบราณ และยังเป็นสัตว์ที่มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติเป็นอันมาก เจดีย์ฐานช้างล้อมนั้นมีต้นแบบจากเจดีย์หรือสถูปในศิลปะลังกาที่เข้ามาพร้อมกับพุทธศาสนาลังกาวงศ์ ซึ่งเจริญรุ่งเรืองอยู่ในแคว้นสุโขทัยพร้อมทั้งศิลปะลังกาที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบทางศิลปะสถาปัตยกรรมของสุโขทัยอย่างเห็นได้ชัด ช้างทรงเครื่อง หรือช้างที่ประดับลวดลายปูนปั้น เป็นประติมากรรมปูนปั้นรูปช้างที่ยืน ๔ ขาเต็มตัวขนาดใกล้เคียงกับช้างจริง ที่ประดับอยู่ที่มุมทั้งสี่เชือกบริเวณรอบฐานของเจดีย์วัดช้างล้อม ศรีสัชนาลัย โดยมีลักษณะพิเศษ คือ มีขนาดใหญ่กว่าช้างตัวอื่น ๆ ซึ่งมีการตกแต่งลวดลายปูนปั้นประดับที่ต้นคอ ต้นขาหน้า ต้นขาหลัง รัดอก และรัดที่งาช้าง การนำเครื่องประดับมาใช้กับช้างปูนปั้นน่าจะคล้ายคลึงกับช้างที่ปราสาทนครวัดของเขมร วัดช้างล้อมมีช้างประจำมุมเจดีย์ทั้งสี่ทิศ โดยมีลักษณะยืนเฉียงหันหน้าไปตามทิศทั้ง ๔ มีลักษณะพิเศษกว่าช้างปูนปั้นธรรมดาที่ไม่มีลวดลายปูนปั้น ซึ่งเป็นช้างที่ทำด้วยศิลาแลง ลักษณะการก่อลำตัวโค้งเป็นรูปครึ่งวงกลม โดยใช้ศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็กก่อเอาด้านหนาชนกัน ซึ่งคล้ายคลึงกับการก่อ เตาสังคโลก และอาจจะได้รับอิทธิพลจากพุกามแล้วพอกลำตัวช้างด้วยปูนปั้นทับซ้อนกันหลายชั้น เช่น ช้างประจำทิศใต้ บริเวณก้นช้างมีการวาดหางแล้วพอกปูนปิดของเดิมแล้วขีดหางทับอีกชั้นหนึ่ง อาจเป็นการสร้างทับซ้อนหรือเพียงการซ่อมแซม อีกทั้งอาจเป็นเทคนิคการทำอย่างใดอย่างหนึ่งของช่างในสมัยนั้น ดังนั้น แถวช้างปูนปั้นที่วัดช้างล้อมน่าจะได้รับอิทธิพลทางด้านรูปแบบการทำช้างปูนปั้นรอบฐานเจดีย์มาจากมหาสถูปในลังกา ส่วนลักษณะแบบช้างยืนเต็มตัวนี้อาจจะได้รับอิทธิพลทางด้านรูปแบบจากนครวัด หรือสถูปในประเทศอินเดีย โดยช่างท้องถิ่นได้คิดดัดแปลงเอาเทคนิคการก่อเตาทุเรียง เมืองศรีสัชนาลัยมาใช้ก่อลำตัวช้างปูนปั้นอีกด้วย ลักษณะการปั้นปูนแต่งเป็นตัวช้างนั้นทำคล้ายคลึงกันทั้งสามเมือง คือ เมืองสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองกำแพงเพชร หรือแม้แต่ในแถบล้านนาเอกสารอ้างอิงกรมศิลปากร. “การศึกษาวิจัยเรื่อง วัดช้างล้อม” ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย. ม.ป.ท. ๒๕๓๐.สุรพล ดำริห์กุล. เจดีย์ช้างล้อมกับประวัติศาสตร์บ้านเมืองและพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๕.ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. นนทบุรี : เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๖๑.
ภาพปูนปั้นรูปบุรุษ
- ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔)
- ปูนปั้น
- ขนาด กว้าง ๙๑ ซม. ยาว ๘๕ ซม. หนา ๕ ซม.
เดิมประดับที่ฐานลานประทักษิณด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของเจดีย์จุลประโทน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑ ภาพปูนปั้น แสดงภาพบุรุษคล้ายยืนสนทนากัน คนทางขวามือของภาพไว้ผมยาวเป็นลอน ในมือถือสิ่งของลักษณะคล้ายอาวุธ
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40100
ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th
เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๐๙พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนแก่งกระจาน อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรีรหัสเอกสาร ภ หจภ (๓) กษ ๑.๑/๘
ผู้แต่ง : ยุพิน เข็มมุกด์ และคณะ ปีที่พิมพ์ : 2548 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : มูลนิธิพระบรมธาตุดอยสุเทพ วัดโลกโมฬี อดีตเคยเป็นพระอารามหลวง เพราะกษัตริย์ทรงสร้างและอุปถัมภ์กว่า 600 ปีกลังจากการได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาทุกยุคสมัย แม้กระทั่งช่วงที่พม่าเข้ามาปกครอง กษัตริย์ให้ความสำคัญกับวัดโลกโมฬี ภายในหนังสือจะมีการบอกเล่าเรื่องราวข้อมูลลำดับประวัติศาสตร์ของวัดจากแรงสร้างจนถึงปัจจุบัน เจดีย์วัดโลกโมฬี วัดโลกโมฬีกับพระราชวงศ์ พระราชสัญจร พระนางสุทธิเทวีกับตราสมเด็จพระสังฆราชวัดโลกโมฬี การสร้างพุทธจักรในอาราจักรล้านนา กว่าจะเป็นวัดโลกโมฬีและภาพประกอบ รวมถึงเรื่องราวของกษัตริย์ในล้านนา อยุธยา พม่า และราชวงศ์ลาวจกจนถึงมังราย (ล้านนา)
บทความจากการสัมมนาทางวิชาการ ในวาระ ๕๐๐ ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-โปรตุเกส เรื่อง "หมู่บ้านโปรตุเกส ณ กรุงศรีอยุธยา: การอนุรักษ์ และการพัฒนา ประจักษ์พยานแห่งสายสัมพันธ์ ๕๐๐ ปี" บรรยายเมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณ โรงแรมตรัง กรุงเทพฯ โดยนายปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์