ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.9/1-7
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อผู้แต่ง พระปัญานันทมุนี
ชื่อเรื่อง บทธรรมเรืองปัญญา เล่ม ๒
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด การพิมพ์พระนคร
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๕
จำนวนหน้า ๑๗๐ หน้า
หมายเหตุ การแสดงธรรมเทศนาของท่านปัญญานันทภิกขุวัดชลประทานรังสฤษฎ์ ปากเกร็ด นนทบุรี
ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่๘ สิงหาคม ๒๕๑๔ - กันยา ๒๕๑๔ รวม ๕ วัน
การทำบุญตักบาตรข้าวสารไม่ปรากฏหลักฐานว่าแท้จริงเริ่มขึ้นเมื่อใด ในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง การพระราชกุศลตักบาตรน้ำผึ้ง อันเป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้นในเดือนสิบ ทรงอธิบายถึงที่มาของการพระราชกุศลตักบาตรน้ำผึ้งว่า น่าจะรับมาจากอินเดีย และเพิ่งจัดการพระราชพิธีในสมัยรัชกาลที่ ๔ เบื้องต้นได้ทรงตั้งปุจฉาข้องกังขาเหตุผลที่มาของประเพณีว่า “...ข้าพเจ้าเห็นว่าควรจะนำมูลเหตุตามทางที่เทศนานั้นมากล่าวในที่นี้ พอจะได้รู้เรื่องตลอดว่าเหตุการณ์อย่างไรจึงได้เกิดตักบาตรน้ำผึ้งขึ้น และน้ำผึ้งซึ่งดูก็ไม่เป็นประโยชน์อันใดนัก สู้ข้าวสารไม่ได้ ทำไมจึงได้ต้องถึงตักบาตรตักพกดูก็น่าจะถามอยู่ แต่เรื่องที่ข้าพเจ้าจะเล่านั้น จะไม่เดินเนื้อความแต่ตามที่เทศนาอย่างเดียว จะขอแสดงความเห็น และตามที่ตัวทราบเพิ่มเติมปนลงบ้างตามสมควรแก่ข้อความ...” จากนั้นทรงอธิบายว่า ในฤดูสารทสมัยพุทธกาล พระสงฆ์เกิดอาการเจ็บป่วยอาพาธกันมาก ด้วยอาการไข้ที่เรียกว่า “สรทิกาพาธ” คือ อาการป่วยในฤดูสารท มีอาการฉันอาหารไม่ได้และอาเจียน อ่อนเพลีย พระพุทธองค์จึงทรงมีพุทธานุญาต ให้พระสงฆ์ฉันอาหารซึ่งไม่ใช่อาหารหยาบ ๕ สิ่งที่จัดว่าเป็น ทั้งอาหารและเป็นเภสัช ได้แก่ “คือ เนยใสอย่างหนึ่ง เนยข้นอย่างหนึ่ง น้ำมันอย่างหนึ่ง น้ำผึ้งอย่างหนึ่ง น้ำอ้อยอย่างหนึ่ง” แม้ว่าจะเป็นเวลาในช่วงหลังเที่ยงจนถึงรุ่งสว่างของอีกวันก็ตาม จึงทำให้เกิดความนิยม มีผู้นำมาถวายเป็นจำนวนมาก จนเกิดข้อติเตียนหลายประการ เช่น ติเตียนในการสะสมอาหาร จึงทรงกำหนดให้คิลานะเภสัชทั้ง ๕ สิ่งนี้เป็น “สัตตาหกาลิก” คือ กำหนดให้เก็บไว้ได้เพียง ๗ วันนับแต่วันรับ หากเกินกว่านั้นถือว่าเป็นนิสสัคคีย์ “ของเดน ของบูด” ภิกษุที่ยังครองไว้ถือว่าต้องอาบัติปาจิตตีย์ จากนั้นทรงอธิบายเพิ่มเติมว่าอาหารที่เป็นยาทั้ง ๕ สิ่งที่กล่าวนี้ สำหรับในประเทศไทยแล้ว เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำอ้อย ทางการแพทย์ได้ระบุว่าแสลงโรคทั้งสิ้น “คงใช้ได้บ้างแต่น้ำผึ้ง” แต่ไม่สู้จะใช้ประโยชน์ทางยา คงเอามากวนเป็นตังเมเท่านั้น ไม่รู้สึกว่าเป็นยาอันใดเลย สู้น้ำข้าวต้มซึ่งน่าจะเป็นยาที่เหมาะสำหรับคนไทยพระภิกษุไทยมากกว่าไม่ได้ และหากพระพุทธองค์ยังทรงดำรงพระชนม์ชีพอยู่ และทรงทราบ น่าจะทรงอนุญาตให้ถวายน้ำข้าวต้มได้ ทั้งนี้ ในพระราชนิพนธ์เรื่องดังกล่าว มิได้ทรงกล่าวถึงการถวายอาหารเป็นยาของคนไทย และการถวายข้าวสารแต่อย่างใด เมื่อพิจารณาต่อมาเรื่อง การบิณฑบาตจากพระวินัยซึ่งมีข้อกำหนดที่เกี่ยวเนื่อง ๒ ประการ ได้แก่ ๑. พระสงฆ์ไม่ควรเก็บอาหารไว้ข้ามวัน และ ๒. ห้ามไม่ให้พระสงฆ์ทำอาหาร สำหรับอาหารที่ถวายทำบุญตักบาตร จึงมักเป็นอาหารปรุงสำเร็จพร้อมฉัน และหากฉันไม่หมดภายในเพลวันนั้น ต้องบริจาคเป็นทานต่อไป จะนำกลับมาถวายมื้อต่อต่อไปหรือในวันรุ่งขึ้นอีกไม่ได้ ถือว่าเป็นของเดน ของบูด ส่วนในข้อที่ ไม่อนุญาตให้พระสงฆ์ทำครัวหุงหาอาหารนั้น เนื่องจากบางครั้งวัตถุดิบในการทำอาหาร อาจมีเมล็ดพืช หรือพืชซึ่งที่ยังมีรากติดกับดิน อาจจะยังงอกงามเป็นต้นพืชเป็นชีวิตได้ การทำอาหารจึงอาจทำให้เกิดอาบัติปาจิตตีย์เพราะพรากของสีเขียว คือฆ่าชีวิตของต้นพืช โดยข้อห้ามอันนี้จึงทำให้แต่เดิมหากจะถวายภัตตาหารเป็นพืชหรือผลไม้ที่มีเมล็ดที่อาจให้กำเนิดชีวิตต่อไปได้ จึงต้องเอาเมล็ดออกเสียก่อน รวมทั้งจะไม่ถวายวัตถุดิบในการประกอบอาหารจำพวก ข้าวสาร อาหารแห้ง เนื้อสัตว์ ไข่ ตลอดจนเครื่องปรุงรสต่าง ๆ ด้วย พระวินัยซึ่งบัญญัติขึ้นนี้ เพื่อให้พระภิกษุละกิเลส ไม่เป็นผู้สะสมอาหาร และสิ่งอื่นใดนอกจากอัฏฐบริขาร ดังนั้นหากมีญาติโยมบริจาคข้าวสารอาหารแห้ง ซึ่งอาจบรรจุไว้ในถังสังฆทาน พระท่านมักให้ลูกศิษย์ญาติโยมสำรวจ และนำข้าวสารอาหารแห้งดังกล่าว ออกจากเครื่องสังฆทานเสียก่อนที่จะถวาย และนำไปมอบให้แก่ญาติโยมที่ดูแลโรงครัว หรือจัดเตรียมสำหรับทำทานต่อไป เพื่อที่มิให้ของเหล่านั้นกลายเป็น “ของเดน ของบูด” มิอาจนำมาถวายเป็นจังหันได้อีกดังกล่าวมาข้างต้น ทว่า ด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป แม้ว่าจะมีข้อกำหนดดังกล่าว ประเพณีการทำบุญตักบาตรข้าวสารนั้นกลับเป็นที่นิยมของพุทธศาสนิกชนและปฏิบัติตามกันมา เพราะญาติโยมเห็นว่า “ข้าวสาร”เป็นของที่เก็บรักษาไว้ได้นาน และยังเป็นผลดีต่อวัดที่มีพระภิกษุสงฆ์ สามเณรที่จำพรรษาอยู่ในวัดเป็นจำนวนมาก หรือวัดที่มิได้มีพุทธศาสนิกชนมาทำบุญกันเป็นประจำจะได้เป็นคลังอาหารของวัด รวมทั้งพระสงฆ์จะได้บริจาคทานแก่ชาวบ้านต่อไปตามควร เดิมจัดทำบุญตักบาตรข้าวสารในวันพระใหญ่เช่น เทศกาลออกพรรษา ที่เรียกว่าประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ แต่เมื่อพุทธศาสนิกชนเห็นพ้องต้องกันว่าการทำบุญตักบาตรข้าวสารส่งผลดีเช่นนี้ จึงนิยมทำกันอย่างแพร่หลายมิได้จำกัดช่วงเวลา แต่บางท้องถิ่นนิยมทำในช่วงพรรษาระหว่างเดือน ๑๐ ถึงเดือน ๑๒ หรืออาจจัดทำในพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น การติดกัณฑ์เทศน์ เป็นต้น ในระหว่างพรรษาพุทธศาสนิกชนนิยมทำบุญตักบาตรข้าวสาร การประกอบพิธีกรรมมีลักษณะทั่วไปคล้ายกันโดยการกำหนดวัน เวลาขึ้นอยู่กับความสะดวก มรรคนายกแจกฎีกาให้พุทธศาสนิกชนที่มาทำบุญทราบทั่วกันเมื่อถึงเวลาให้นำข้าวสาร อาหารแห้งไปวางไว้รวมกันยังสถานที่ที่กำหนดไว้ จากนั้นพระภิกษุสงฆ์ สามเณร มาประชุมพร้อมกัน มรรคนายกนำอาราธนาศีล มีการรับศีลรับพร จากนั้นอาราธนาธรรม เจ้าอาวาสหรือผู้แทน อนุโมทนาทาน มรรคนายกกล่าวนำคำถวายข้าวสาร พุทธศาสนิกชนกล่าวตาม เมื่อกล่าวคำถวายข้าวสารจบ พระภิกษุสงฆ์ สามเณรอนุโมทนาเป็นอันเสร็จพิธี ประเพณีไทยทั้งหลายในปัจจุบันพบว่ามีการแก้ไข ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างไปบ้าง เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับยุคสมัยอยู่เสมอ แต่ยังคงรักษาและคำนึงถึงแก่นสำคัญของประเพณีนั้นไว้ ซึ่งการทำบุญตักบาตรข้าวสารเป็นตัวอย่างสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมประเพณีให้เหมาะสมแก่ยุคสมัย การทำบุญตักบาตรข้าวสาร ------------------------------------------------------------ค้นคว้าเรียบเรียง : กมลพรรณ บุญสุทธิ์ นักอักษรศาสตร์ กลุ่มจารีตประเพณี สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
มหามกุฏราชสันตติวงศ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส
พระราชโอรสพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้านภวงศ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อย (ธิดาพระอินทอำไพ หรือพระอินทรอภัย คือ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าทัศไภย พระราชโอรสสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ) ประสูติเมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๓๖๕ (นับแบบปัจจุบันตรงกับปีพุทธศักราช ๒๓๖๖)
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ พระองค์เป็นพระราชโอรสหนึ่งในสองพระองค์ที่ประสูตินอกเศวตฉัตร (อีกพระองค์หนึ่งคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร) แรกประสูติมีพระยศที่หม่อมเจ้านพวงศ์
ในรัชกาลที่ ๔ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้านภวงศ์ วรองค์อรรคมหามกุฎ ปรมุตมราโชรส ภายหลังทรงสถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิวลาส ได้ทรงกำกับกรมล้อมพระราชวัง และเมื่อกรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธรสิ้นพระชนม์แล้ว ได้ทรงกำกับกรมพระคลังมหาสมบัติ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๔๑๐ สิริพระชันษา ๔๖ ปี พระราชทานเพลิงศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เป็นต้นราชสกุล นพวงศ์
เรียบเรียง : ณัฐพล ชัยมั่น ภัณฑารักษ์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี กรมศิลปากร
อ้างอิงภาพ : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส
อ้างอิง
ศิลปากร, กรม. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ ๑๔. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค.ลาดพร้าว, ๒๕๕๔.
วันขึ้นปีใหม่ไทย ระหว่างวันที่ ๑๓ - ๑๕ เมษายนของทุกปี หรือที่รู้จักกันในชื่อ “วันสงกรานต์” โดยคำนี้มีที่มาจากภาษาสันสกฤตว่า “สํ - กรานต” แปลว่าการก้าวขึ้น ย่างขึ้น หรืออีกความหมายหนึ่ง คือ การขึ้นศักราชใหม่ จึงนับเป็นวันปีใหม่ไทยสืบมา กระทั่งรัฐบาลได้กำหนดวันปีใหม่ตามปฏิทินสากลเป็นวันที่ ๑ มกราคม เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ซึ่งกิจกรรมที่นิยมในช่วงนี้ นอกจากทำบุญตักบาตร รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ สรงน้ำพระแล้ว อีกกิจกรรมที่ขาดไม่ได้ คือ การประกวดนางสงกรานต์ อิงตามตำนานนางสงกรานต์ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔ คือ “นางรากษสเทวี” เสด็จไสยาสน์หลับเนตรมาเหนือหลังวรวาหะ (หมู หรือ สุกร)
หากพูดถึงความเชื่อในเรื่องโชคลาภและความอุดมสมบูรณ์ “หมู” คงเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ใครหลายคนนำมาเป็นตัวแทนของสิ่งมงคลที่ช่วยเสริมสร้างโชคลาภ ดังจะเห็นได้จากหมูในวัฒนธรรมจีนที่สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ ความร่ำรวย และโชคลาภ ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์มีข้าวของเครื่องใช้ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับความตาย คือ ภาชนะดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์รูปหมู ที่แสดงถึงการเป็นสังคมเกษตรกรรม อีกทั้งยังสะท้อนถึงความอุดมสมบูรณ์
และเพื่อให้เข้ากับคอนเทนต์หมู หมู วันนี้ (๒๙ เมษายน ๒๕๖๔) เพจคลังกลางฯ ขอนำเสนอหนังใหญ่รูปเกวียนลิงเทียมหมู จัดอยู่ในหมวดหนังเบ็ดเตล็ดและเป็นหนังรถ กล่าวได้ว่าเป็นหมวดที่ใช้เป็นฉากประกอบ มีลักษณะเป็นแผ่นหนังฉลุลาย ลงสี เป็นรูปเกวียนมีหลังคาเทียมด้วยหมูหนึ่งคู่ มีเสนาลิงหลายตัวนั่งอยู่ในเกวียน ลิงตัวหนึ่งเป็นสารถี ลิงตัวหนึ่งถือธงรบ และอีกสองตัวนั่งอยู่บนหลังคาเกวียน หนังใหญ่ดังกล่าวเป็นหนังชุดพระนครไหว ซึ่งเป็นหนังใหญ่ที่แสดงถึงฝีมือของช่างหลวงในสมัยรัชกาลที่ ๒ ได้อย่างประณีตงดงาม ต่อมาได้ถูกไฟไหม้เมื่อครั้งที่ประดับอยู่ที่ฝาผนังโรงละครศิลปากร โดยในสมัยรัชกาลที่ ๙ ได้มีการนำหนังใหญ่ชุดพระนครไหวมาซ่อม – สร้างเพิ่มเติมจนสามารถนำกลับมาใช้แสดงใหม่ได้อย่างสมบูรณ์
เทคนิคภาพโดย อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ เผยแพร่และเรียบเรียงโดย ณัฐดนัย อรุณมาศ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร
ชื่อเรื่อง ปณฺณทานานิสํสกถา(ฉลองหนังสือ)
สพ.บ. 398/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 14 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 59 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสานเส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
องค์ความรู้สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น เรื่อง แหล่งโบราณคดีบ้านห้วยสามยอดเทวกุล จังหวัดบึงกาฬจัดทำข้อมูลโดย นางสาวศิริวรรณ ทองขำ นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น
องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น เรื่อง รูปบุคคลทรงครุฑ จากอโรคยาศาล สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (ตอนที่ ๑ : ข้อมูลทั่วไป) โดย นางสาวพรพิณ โพธิวัฒน์ ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น
ชื่อเรื่อง มาเลยฺยสุตฺต (มาลัยหมื่น-มาลัยแสน)
สพ.บ. 240/2ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 32 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 58 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด-ล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
อธิบดีกรมศิลปากร ตรวจเยี่ยมการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานวัดภูเขาทอง พร้อมมอบแนวทางในการบูรณะโบราณสถาน
วันศุกร์ที่ ๑๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๑๕ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เข้ากราบนมัสการพระครูใบฎีกาประเทือง กิตฺติปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดภูเขาทอง และลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานวัดภูเขาทอง ในการนี้อธิบดีกรมศิลปากรได้มอบนโยบายและแนวทางในการบูรณะโบราณสถานรวมไปถึงการปรับปรุงแก้ไขในส่วนต่างๆ ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อตัวโบราณสถานและประชาชนที่เข้ามาเยี่ยมชม โดยมีนางสาวสุกัญญา เบาเนิด ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา นายภัทรพงษ์ เก่าเงิน ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา นายสมพจน์ สุขาบูลย์ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา พร้อมทั้งข้าราชการ เจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา ร่วมลงพื้นที่ในครั้งนี้ ณ วัดภูเขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง ธมฺมปทวณฺณา ธมฺมปทฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ธมฺมปทฺธ)
สพ.บ. 376/7ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 52 หน้า กว้าง 4 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง ธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด-ลองรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี