ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับ ภูมิสถานเมืองเชียงแสน เชียงแสนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ลวดลายปูนปั้นจากวัดป่าสัก พระพุทธรูปศิลปะล้านนาที่พบในเมืองเชียงแสน เรื่องศิลาจารึกพบในจังหวัดเชียงราย
จัดแสดงโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นและขุดแต่งทางโบราณคดี ตั้งแต่ ปีพุทธศักราช 2500 - ปัจจุบัน ทั้งในเมืองเชียงแสนและพื้นที่อื่นๆ ในจังหวัดเชียงราย แบ่งออกเป็น 2 หัวเรื่อง ได้แก่ เรื่องโบราณสถานที่สำคัญในเมืองเชียงแสน เรื่องโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นและขุดแต่งทางโบราณคดี ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2500 - ปัจจุบัน ทั้งในเมืองเชียงแสนและพื้นที่อื่นๆ ในจังหวัดเชียงราย อาทิ พระพุทธรูป เครื่องประดับเจดีย์ แผ่นอิฐมีจารึก และเครื่องสำริด
เรื่อง เสด็จประพาสต้นทั้งสองคราวนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงนิพนธ์คำอธิบายไว้เมื่อพิพ์ครั้งก่อน มีความว่า "พระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชอัธยาศัย โปรดฯ ในการเสด็จประพาสตั้งแต่เสด็เถลิงถวัลยราชสมบัติมา เสด็จประพาสแทบทุกปี เสด็จไปตามหัวเมืองน้อยใหญ่ในพระราชอาณาเขตบ้าง เสด็จไปถึงต่างประเทศบ้าง "
ชื่อเรื่อง ตำนานพระธาตุลำปางหลวง ตำนานพระแก้วมรกต ตำนานเจ้าเจ็ดตน วัดพระธาตุลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
ครั้งที่พิมพ์ 9
สถานที่พิมพ์ ลำปาง
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ศิลป์ประดิษฐ์
ปีที่พิมพ์ 2516
จำนวนหน้า 75 หน้า
รายละเอียด
ตำนานพระธาตุลำปางหลวง ตำนานพระแก้วมรกต ตำนานเจ้าเจ็ดตน วัดพระธาตุลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เป็นหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเก็บเงินบำรุงวัด กล่าวถึง การก่อสร้างวัดและเหตุการณ์เกี่ยวกับวัดพระธาตุลำปางหลวงสมัยพระครูถา ถาวโร เป็นเจ้าอาวาส ตำนานพระธาตุลำปางหลวง ตำนานพระแก้วมรกต ตำนานเจ้าเจ็ดตน เป็นต้น ท้ายเล่มมีบัญชีรายชื่อคณะกรรมการก่อสร้าง บันทึกเรื่องการสมโภชพระพุทธไสยาสน์ (พระเจ้านอน) พระธาตุลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง พร้อมภาพประกอบและแผนผังแสดงอาณาเขตวัดพระธาตุลำปางหลวง
ชื่อผู้แต่ง : สมพร อยู่โพธิ์ชื่อเรื่อง : พระพุทธรูปปางต่าง ๆครั้งที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ ๕สถานที่พิมพ์ : พระนครสำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๔จำนวนหน้า : ๑๕๒ หน้าหมายเหตุ : พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ พ.อ. นายแพทย์ บุญยศ สุพรรณโรจน์ (ต.ม. ต.ช.)(ขุนบุญธรรมบำเทิงเวช) ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมมนัสวิหาร วันที่ ๒๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๔ หนังสือ เรื่อง พระพุทธรูปปางต่าง ๆ นี้ นอกจากจะให้ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธรูปปางต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น ๕๖ ปาง ซึ่งสร้างขึ้นตามคติที่เชื่อถือกันอยู่ในประเทศไทยแล้ว ยังให้ความรู้เรื่องพระพุทธประวัติเพราะพระพุทธรูปทุกปางสร้างขึ้นตามเหตุการณ์ต่าง ๆ ในพระพุทธประวัติ ซึ่งบางตอนก็เป็นเรื่องที่ไม่มีผู้ทราบแพร่หลายทั่วไป
รศ.ดร.บัณฑิต จุลาสัย.สนามบินแห่งแรกของไทย.ศิลปวัฒนธรรม.(๒๘):6;เมษายน 2550.
เมื่อสองพี่น้องตระกูล Wilbur และ Orville Wright สามารถนำเครื่องบินเหินฟ้าสำเร็จได้เป็นครั้งแรก ที่เมือง Kitty Hawk มลรัฐ North Carolina นั้น ทำให้เกิดกระแสความสนใจเกี่ยวกับการบินและเครื่องบิน คนทั่วโลกรวมทั้งผู้คนในประเทศไทยต่างรับรู้เรื่องราวก้าวสำคัญของมนุษยชาติ ผ่านสื่อต่างๆ ในยุคนั้น
๗ ปีต่อมา ชาวต่างประเทศในกรุงเทพฯ ร่วมกันวางแผนนำเครื่องบินมาแสดงในกรุงเทพฯ โดยติดต่อให้ นายชาร์ลส์ แวน เดน บอร์น (Charles Van Den Born) ชาวเบลเยียม นำเครื่องบินแบบอังรีฟาร์มัง ๔ (Henry Farman IV) มาแสดงการบินที่กรุงเทพฯ เป็นลำแรกและครั้งแรกของไทย
นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม
ในสาระสำคัญต่าง ๆ และเพื่ออนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ